ปาติโมกขสังวรศีล

 
ผู้มีกิเลส
วันที่  25 มี.ค. 2557
หมายเลข  24629
อ่าน  6,674

ขอเรียกแทนตัวเองว่า ผม เพราะตอนนี้ยังเป็นภิกษุ อยู่นะครับ

เรื่องมีความเป็นมาแบบนี้ครับ คือตอนนี้ผมบวชอยู่ กะว่าบวชประมาณ 1 เดือนครับ แล้วคือก่อนผมจะบวชผมบอกสีกาว่า 'จะไม่เอาโทรศัพท์มาใช้' แต่สุดท้ายผมก็ต้องเอามาครับ เพื่อเอาไว้ติดต่อธุระกับโยมทางบ้าน แล้วผมดันไปกดต่อ wifi ของที่วัด ทีนี้ line มันก็เด้งขึ้นมาครับ สีกาส่ง line มาว่า 'คิดถึง' เป็นระยะๆ เลยครับ เพราะเค้าไม่รู้ว่าผมเอาโทรศัพท์มาใช้แล้ว พอผมเห็นผมก็ตกใจครับ จึงส่งข้อความ (sms) กลับไปบอกประมาณว่า 'เลิกส่งไลน์มาได้แล้วครับ ผมกลัวอาบัติ ผมสบายดีครับ ไม่ต้องเป็นห่วง' หลังจากนั้นสีกาก็ไม่ได้ส่งอะไรมาอีกเลย ประเด็นคือตัวสีกาคงไม่ได้ตั้งใจจะส่งมาให้ผมเห็นตอนบวชหรอกครับ คงกะว่าส่งมาแล้วให้ผมออกไปอ่านตอนที่ลาสิกขาไปแล้ว ส่วนตัวผมก็ไม่ได้คิดว่าเค้าจะส่งมาแบบนี้ ผมจึงอยากถามหน่อยครับ ว่าถ้าเป็นแบบนี้ผมจะอาบัติสังฆาทิเสสไหมครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 25 มี.ค. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ปาริสุทธิศีล ๔ ทรงแสดงโดยตรงกับพระภิกษุ แต่ก็ไม่ห้ามบุคคลทั่วไปว่าห้ามปฏิบัติ

ปาริสุทธศีล ๔ คือ ปาฏิโมกขสังวรศีล ๑ อินทริย์สังวรศีล ๑ ปัจจยสันนิสิตศีล ๑ อาชีวสันนิสิตศีล ๑ ข้อแรกหมายถึงศีลปาฏิโมกข์ได้แก่ศีล ๒๒๗ ของพระภิกษุ ข้อที่ ๒ การสำรวมอินทรีย์ ๖ เป็นสติปัฏฐานโดยตรง ข้อที่ ๓ การพิจารณาปัจจัยโดยแยบคายแล้วจึงบริโภค ข้อที่ ๔ การเลี้ยงชีพโดยอาชีพที่ชอบคือสัมมาอาชีวะ

ปาติโมกขสังวร หมายถึง การสำรวมระวังในศีลปาฏิโมข์ คือ ท่านกล่าวถึงศีลของพระภิกษุซึ่งเป็นศีลที่เป็นหลักเป็นประธาน โดยความหมายถึงการไม่ล่วงศีล การรักษาศีลที่มาในพระปาฏิโมกข์ ๒๒๗ ข้อ และความหมายปาฏิโมกข์มีหลายความหมาย

อ่านข้อความโดยตรงจากพระไตรปิฎก

[เล่มที่ 44] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 391

เชิญคลิกอ่านที่..... นัยของปาติโมกข์

ซึ่งคฤหัสถ์ สามารถปฏิบัติปาติโมกขสังวรศีลได้ครับ

แต่เป็นบางข้อ

อนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 25 มี.ค. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

คฤหัสถ์ ไม่ใช่บรรพชิต มีศีลที่ต้องสำรวมระวังรักษาอยู่เป็นนิตย์ ที่เรียกว่านิจจศีลหรือ ศีล ๕ มีการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เป็นต้น และถ้าสิ่งไหนดี ก็สามารถน้อมประพฤติปฏิบัติตามได้ ขอเชิญอ่านคำบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ฯ ได้ที่นี่ครับ

คฤหัสถ์รักษาศีลตามพระวินัยได้ตามควร

เพราะฉะนั้นแต่ละคนจะมีศีล มีความประพฤติขัดเกลามากน้อยสักเท่าไร ก็เป็นเรื่องที่ทำเฉพาะตัว ไม่ใช่ทำเพื่อประกาศให้คนอื่นชื่นชมอนุโมทนา รับรู้หรืออะไรต่างๆ ทั้งสิ้น ถ้าผู้ใดอ่านพระวินัยปิฎกทั้งๆ ที่เป็นคฤหัสถ์ จะเห็นได้จริงๆ ว่า ที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติความประพฤติที่ดีงามทั้งกายวาจา ยิ่งกว่าของคฤหัสถ์ ก็แสดงให้เห็นว่าผู้ที่อยู่ในเพศสมณะ ต้องสงบจริงๆ ระดับไหนแค่ไหน ไม่ใช่จะเหมือนอย่างคฤหัสถ์ แต่ทุกข้อที่บัญญัติเพื่อขัดเกลายิ่งขึ้น เพื่อความสงบ เป็นเรื่องเฉพาะตัว ซึ่งคฤหัสถ์เวลาอ่านแล้ว ถ้าเห็นว่าสิ่งนี้ดี น่าประพฤติปฏิบัติตาม ทำได้ไหมคะ ไม่มีข้อห้ามเลย ต้องไปบอกใครไหมว่า เรามีศีลมากกว่านั้นอีก เราเที่ยวไปเก็บเล็กเก็บน้อยจากพระวินัยมาประพฤติปฏิบัติ แล้วเราก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องนับว่าเรามีตั้งเท่านั้น หรือตั้งเท่านี้ แต่สิ่งใดที่ดีงามที่ทรงบัญญัติไว้สำหรับพระภิกษุ คฤหัสถ์ที่เห็นสมควรจะกระทำตามได้ก็ทำ โดยที่ว่ายังเป็นเพศของคฤหัสถ์ แล้วก็ไม่จำเป็นที่จะไปบอกใครว่า มีการกระทำที่เป็นไปตามพระวินัยเพิ่มขึ้น เป็นศีลข้อนั้นข้อนี้ เพราะว่าทั้งหมดของพระพุทธศาสนาเป็นเรื่องของการขัดเกลา"

....ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 25 มี.ค. 2557

คฤหัสถ์รักษาศีลของพระได้เป็นบางข้อ เท่าที่ทำได้ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
j.jim
วันที่ 26 มี.ค. 2557

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
nopwong
วันที่ 28 มี.ค. 2557

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
bigcat001
วันที่ 9 ส.ค. 2565

อนุโมทนาสาธุ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ