ขอช่วยอธิบายวิปากปัจจัยให้หายข้องใจ

 
เบน
วันที่  4 ธ.ค. 2549
หมายเลข  2429
อ่าน  3,950

คัดมาจากหนังสือขอช่วยอธิบายให้หายข้องใจ

สภาวธรรมของวิปากปัจจัย : ปัจจัย = วิบากจิต 36 เจ. 38

ปัจจยุบบัน = วิบากจิต 36 เจ. 38 จิตช.15 (เว้นวิญ- ญัติ 2) ปฏิ.กํ. 20

สหชาตปัจจัยเป็นสภาคะของวิปากปัจจัยหมายความว่าอย่างไรวิบากจิต 36 และเจตสิก 38 หมายถึงอะไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 6 ธ.ค. 2549

วิปากปัจจัย หมายถึง ธรรมที่เป็นผลของอกุศลกรรม และผลของกุศลกรรม ที่เป็นนามขันธ์ เป็นปัจจัยแก่กันและกันด้วยอำนาจวิปากปัจจัย สภาวธรรมที่เป็นปัจจัย ได้แก่ วิบากจิต ๓๖ และเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย วิบากจิต ๓๖ ได้แก่ อเหตุวิบาก ๑๕ มหาวิบาก ๘ มหัคคตวิบาก ๙ ผลจิต ๔ รวมเป็น ๓๖ ส่วนเจตสิก ๓๘ ท่านกล่าวโดยรวม คือ เกิดร่วมกับวิบากจิตได้ ได้แก่ อัญญสมานา ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๕ รวมเป็น ๓๘ ประเภท และธรรมที่เป็นปัจจัยในวิบากปัจจัยนี้เป็นนามขันธ์ซึ่งเป็นสหชาตปัจจัยด้วย จึงเป็นสภาคะ คือ เข้ากัน เกิดพร้อมกัน

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
โอ้ละหนอ
วันที่ 7 ธ.ค. 2549

ตามมาตอบปัญหาคุณ ben ครับ เรื่องวิปากปัจจัยนี้ มีความน่าสนใจอยู่เหมือนกันลองพิจารณานะครับเวลาบุคคลมีการทำกุศลกรรม หรือ อกุศลกรรม เราเรียกว่า ทำกรรมไว้

เมื่อมีการทำกรรมก็มีผลของกรรม ผลของกรรมเรียกว่า วิบาก

พอวิบากไปเป็นเหตุช่วยให้ธรรมเกิด ก็เรียกว่าเป็นวิปากปัจจัยมีวจนัตถะว่า วิปาโก จ โส ปจฺจโย จาติ = วิปากปจฺจโยแปลว่า วิบากเป็นปัจจัย จึงเรียกว่า วิปากปัจจัยกล่าวให้ชัดๆ อีกครั้งว่า วิบาก คือผลของกุศลกรรมและอกุศลกรรมเมื่อกรรมจัดแจงส่งผลขณะใด ขณะนั้นวิบากเกิดแล้วคือสุกแล้วแต่ตัววิปากปัจจัยเวลาช่วยอุปการะ ไม่มีตัวตน เป็นแต่มีอำนาจทำให้เกิดได้ดังนั้นจึงควรแบ่งแยกให้ถูกต้องว่า การเกิดขึ้นของจิต เจตสิก รูป จะเป็นผลของวิปากปัจจัยก็มีได้จึงเรียกจิตชนิดนี้ว่า วิปากจิต ส่วนรูปไม่เรียกว่าวิปากรูป แต่เรียกว่ากัมมชรูป (รูปที่เกิดจากกรรม) จึงพอจะเข้าใจได้ว่า วิปากปัจจัย ทำหน้าที่ชนกสัตติ คือช่วยให้วิปากจิตเกิดขึ้นต้นน้ำก็มาจากกรรมนั่นเอง แต่ในขณะต่างๆ ก็มีชื่อเรียกต่างๆ ออกไป

จุดที่น่าสนใจ คือ ตัววิปากจิตที่เกิดขึ้นแล้วซึ่งก็ต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ยังเป็นปัจจัยซึ่งกันและกันได้อีกจึงมีคำกล่าวว่า วิปากจิตเป็นปัจจัย ถามว่าเป็นปัจจัยให้อะไรเกิด แล้วอะไรเป็นปัจจยุบันตอบว่า เป็นปัจจัยให้จิต เจตสิกที่เกิดร่วม..ดังมีพระบาลีที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ว่า วิปากา จตฺตาโร ขนฺธา อรูปิโน อญฺญมญฺญํ วิปากปจฺจเยน ปจฺจโย แปลว่า นามขันธ์ 4 ที่เป็นวิบาก เป็นปัจจัย คือช่วยอุปการะแก่กันและกัน ด้วยอำนาจวิปากปัจจัยพึงทราบว่า เมื่อกล่าวถึงนามขันธ์ 4 แสดงว่า ท่านกำลังจะอธิบายละเอียดแยกแยะลึกลงไปในจิตแต่ละดวงทีเดียว

ท่านอธิบายว่า นามขันธ์ 4 อุปการะกันและกันแบบนี้ นามขันธ์ 1 ช่วยอุปการะแก่นามขันธ์ 3 นามขันธ์ 3 ช่วยอุปการะแก่นามขันธ์ 1นามขันธ์ 2 ช่วยอุปการะแก่นามขันธ์ 2 นามขันธ์ 1 หรือ นามขันธ์ 3 หรือ นามขันธ์ 2 กล่าวรวมๆ ก็ได้แก่วิปากจิต 36 เจตสิก 38 นั่นเองแต่มีการแยกแยะจิตเจตสิกออกมาพิจารณาให้ละเอียดลงไปอีกให้ทราบว่าสิ่งใดเป็นปัจจัย สิ่งใดเป็นปัจจยุบัน

ถึงตรงนี้ ควรเข้าใจว่าวิปากปัจจัย ไม่ได้มีความหมายถึง วิปากจิตตรงๆ แต่มีความหมายถึงการอุปการะกันของสิ่งที่อยู่ในจิตคือขันธ์ต่างๆ กล่าวคือ จิตมีหน้าที่รับอารมณ์วิปากปัจจัยมีหน้าที่ ทำให้เกิด และ ช่วยให้ตั้งอยู่ ซึ่งอันนี้ไม่ใช่หน้าที่ของจิตวิปากปัจจัย และ วิปากจิต สองอย่างนี้ ไม่ได้หมายถึงสิ่งเดียวกันลองพิจารณาในขณะปฎิสนธิกาล คือในปฏิสนธิจิตนั่นแหละปฏิสนธิจิต มีนามขันธ์ 4 มีการอุปการะแก่กันและกันของขันธ์ที่อยู่ในปฎิสนธิจิตดวงนั้น ขยายความออกมาให้เข้าใจก็คือ นามขันธ์ 4 คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์เวลาเป็นปัจจัยก็เป็นไม่ได้เป็นทั้ง 4 ขันธ์...เป็นเต็มที่ได้ 3 ขันธ์ คือยังไงก็ต้องมีขันธ์ที่เหลือเป็นปัจจยุบัน ดังที่อธิบายมาก่อนข้างบนเวลาแสดงอำนาจปัจจัยเต็มๆ ก็มี 7 คือ วิปาก สหชาตะ สหชาตนิสสยะ สัมปยุตตะสหชาตัตถิ สหชาตอวิคต (ในส่วนอำนาจปัจจัยนี้ยังมีเรื่องที่ควรอธิบายขอเว้นไว้ก่อน) การที่วิปากจิต 36 เจตสิก 38 เป็นปัจจัย ก็หมายถึงขณะที่อยู่ในปฏิสนธิกาล หรือปวัตติกาล คือในจิตดวงเดียวกันท่านจึงมีคำว่า "อญฺญมญฺญํ" อยู่

พอไปอ่านตำราว่า วิปากปัจจัยคือ วิปากจิต 36 เจตสิก 38 วิปากปัจจยุบัน ก็คือ วิปากจิต 36 เจตสิก 38 อีก

จับความแค่นี้จะไปนึกว่าวิปากจิตเป็นวิปากปัจจัย..ลืมนึกไปว่า แท้จริงผลกรรมที่กำลังส่งผลนั่นแหละเป็นวิปากปัจจัยถ้าคิดเป็นตัวเดียวกัน ทั้งคู่แบบนี้..ก็ต้องย้อนไปดูที่ท่านท่านก็อธิบายไว้ อย่างที่ผมจำมาว่าให้ฟัง

ถ้าทำความเข้าใจว่าวิปากปัจจัยคืออะไรถ้าทำความเข้าใจว่าวิปากจิตคืออะไรถ้าทำความเข้าใจว่านามขันธ์ 4 คือ อะไรถ้าทำความเข้าในนามขันธ์ 3 คืออะไร ฯลฯ

ก็คงจะเข้าใจที่ผมอธิบายมาธรรมของพระพุทธองค์ละเอียดลึกซึ้งมากจริงๆ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เบน
วันที่ 7 ธ.ค. 2549

ปัจจัยธรรม คือ ธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดผลโดยตรงปัจจยุบบันธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นผลซึ่งเกิดจากปัจจัยขอเรียนถามว่า ทำไมปัจจัยและปัจจยุบบันของวิบากปัจจัยจึงเป็นวิบากจิต 36 และเจตสิกที่เกิดด้วยเหมือนกัน

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
อิสระ
วันที่ 7 ธ.ค. 2549

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เบน
วันที่ 7 ธ.ค. 2549

ขอบพระคุณทุกท่านที่ช่วยให้เข้าใจยิ่งขึ้น ตามความเข้าใจวิบากปัจจัยหมายความว่าวิบากจิตจะเกิดขึ้นรับผลของกรรมได้ต้องมีปัจจัยคือการเกิดขึ้นของจิต คือมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ถ้าเจตสิกไม่เป็นปัจจัย วิบากจิตดวงนี้ก็ไม่สามารถเกิดขึ้นรับผลของกรรมได้เหมือนสหชาติต้องเกิดพร้อมกัน แต่เมื่อกล่าวด้วยวิบากปัจจัยมุ่งหมายถึงเป็นอุปการะแก่กันและกัน ผิดถูกอย่างไรขอท่านผู้รู้ช่วยชี้แนะด้วย อีกอย่างชนกสัตติหมายถึงอะไรค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
โอ้ละหนอ
วันที่ 7 ธ.ค. 2549

คุณเบนครับ .. ขออธิบายเพิ่มสักนิด ว่าทำไมจึงเหมือนกัน ทั้งเหตุและผลในวิปากจิต มีนามขันธ์ที่เป็นปัจจัย ทำหน้าที่เป็นวิปากปัจจัยในวิปากจิตดวงเดิมนั่นแหละก็มีวิปากปัจจยุบัน ทำหน้าที่เป็นวิปากปัจจยุบันในบรรดานามขันธ์ 4 การเป็นปัจจัย หรือ ปัจจยุบันนั้น เป็นโดยการเปรียบเทียบคือในบรรดานามขันธ์ 4 เปรียบกันได้ 3 วิธี

1. ถ้านามขันธ์ 1 เป็นปัจจัย ช่วยอุปการะ นามขันธ์ 3 ที่เหลือเป็นปัจจยุบัน

2. ถ้านามขันธ์ 3 เป็นปัจจัย ช่วยอุปการะ นามขันธ์ 1 ที่เหลือเป็นปัจจยุบัน

3. ถ้านามขันธ์ 2 เป็นปัจจัย ช่วยอุปการะ นามขันธ์ 2 ที่เหลือเป็นปัจจยุบัน

ขอยกตัวอย่างให้เป็นรูปธรรมคือ ถ้าเวทนาขันธ์ เป็นปัจจัย นามขันธ์ 3 ที่เหลือคือ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นปัจจยุบัน ถ้าเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ เป็นปัจจัย นามขันธ์ 2 ที่เหลือคือสังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นปัจจยุบัน ถ้าเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ เป็นปัจจัย นามขันธ์ 1 ที่เหลือคือ วิญญาณขันธ์ เป็นปัจจยุบันเปรียบเทียบกันแบบนี้ คงพอเข้าใจนะครับ

ทั้งปัจจัย และปัจจยุบัน อยู่ในจิตดวงเดียวกัน คือ วิบาก 36/38เวลาพูดถึงวิปากปัจจัย..ก็คือ วิปากจิต 36/38 เวลาพูดถึงวิปากปัจจยุบัน ก็คือวิปากจิต 36/38 เช่นกัน ดังนี้จะเห็นว่าวิปากปัจจัย คืออำนาจที่ทำการส่งผลในระดับภายในจิตแต่ละดวง ไม่ได้ทำการส่งผลระหว่างจิตกับจิต อย่างจุติ กับ ปฏิสนธิ อย่างที่เข้าใจ จุติจิต กับ ปฏิสนธิจิต เป็นไปได้ด้วยอำนาจอื่นขออธิบายเพิ่มดังนี้ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
pornpaon
วันที่ 8 ธ.ค. 2549
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
เบน
วันที่ 9 ธ.ค. 2549

ขอบพระคุณสมาชิก โอ้ละหนอและทุกท่าน ขอเรียนถามว่า ชนกสัตติ คืออะไร

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
study
วันที่ 10 ธ.ค. 2549

คำว่า ชนกสัตติ หมายถึง ความสามารถให้เกิด คือ ปัจจัยนั้นเป็นปัจจัยให้ปัจจยุบันเกิดขึ้น

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
papon
วันที่ 5 พ.ย. 2556

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
chatchai.k
วันที่ 16 ม.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ