การคิดถึงอดีตเป็นความติดข้องหรือไม่ครับ

 
papon
วันที่  3 ธ.ค. 2556
หมายเลข  24118
อ่าน  1,209

เรียน อาจารย์ทั้งสองท่าน

การคิดถึงอดีตเป็นความติดข้องหรือไม่อย่างไรครับ ขอความอนุเคราะห์

ขออนุโมทนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 3 ธ.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขึ้นอยู่กับสภาพจิตในขณะนั้นเป็นสำคัญ ว่าเป็นอย่างไร ถ้าคิดเป็นไป กับด้วยความติดข้องต้องการ ผูกพัน ไม่สละไม่ปล่อยในเรื่องนั้นๆ ก็ไม่พ้น ไปจากโลภะ หรือ ถ้าคิดไปด้วยความโกรธความขุ่นเคืองใจ ก็เป็นอกุศล อีกอย่างหนึ่งที่ไม่ใช่โลภะ แต่เป็นไปด้วยโทสะ แต่บางครั้งคิดถึงสิ่งที่ ล่วงไปแล้วด้วยกุศลจิตก็ได้ ปรารภถึงความไม่เที่ยงของสภาพธรรม ที่เกิดแล้วดับไป ปรารภถึงกุศลที่ตนเองได้เคยกระทำไว้ เป็นต้น

ขณะที่คิด อะไรเป็นสภาพธรรมที่มีจริงๆ ไม่พ้นไปจากความเกิดขึ้นเป็นไป ของจิตและเจตสิกธรรมที่เกิดร่วมด้วยในขณะนั้น แสดงถึงความเกิดขึ้นเป็นไป ของธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัยจริงๆ ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น

พระธรรม ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง เพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกของผู้ ที่ได้ฟังได้ศึกษาอย่างแท้จริง เป็นไปเพื่อประโยชน์โดยส่วนเดียว ไม่ว่าจะทรง แสดงพระสูตรใด ส่วนใดก็ตาม ไม่พ้นไปจากเพื่อให้เข้าใจสภาพธรรมที่มีจริงๆ ในขณะนี้ว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เรา และ ธรรม ไม่สามารถบังคับบัญชาได้ เพราะเกิด ขึ้นเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย พระธรรมจึงเป็นเครื่องเตือนทุกแง่มุม เพื่อความ เจริญขึ้นของกุศลธรรม ขัดเกลากิเลสอกุศลธรรม สำคัญที่ความเข้าใจถูกเห็นถูก จริงๆ เมื่อกล่าวถึงปัจจุบันแล้วก็คือ ขณะนี้ ขณะนี้ มีสภาพธรรมเกิดปรากฏ มีให้ศึกษาอยู่ตลอด ไม่ต้องไปแสวงหาที่ไหน ความเป็นผู้อยู่ด้วยความเข้าใจธรรม อยู่ด้วยกุศลธรรม จึงเป็นสิ่งที่สมควรที่สุด ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 3 ธ.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ความคิดนึก เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ที่เป็นนามธรรม คือ เป็นสภาพธรรมที่รู้อารมณ์ หมายถึงว่า เมื่อความคิดเกิดขึ้น จะต้องรู้อะไรบางอย่าง นั่นคือขณะที่มีความคิดนึก เกิดขึ้น จะต้องมีสิ่งที่ถูกคิด สิ่งที่ถูกคิด เรียกว่า อารมณ์ เพราะฉะนั้น ความคิดนึก จึงเป็นนามธรม เป็นสภาพธรรมที่รู้อารมณ์ ซึ่ง ความคิดนึก ก็ไม่พ้นจากนามธรรม คือ จิต เจตสิก อาศัยจิตที่เป็นใหญ่ในการรู้ ก็ทำให้มีการคิดนึก เพราะ อาศัยจิต และ อีก นัยหนึ่ง วิตกเจตสิกก็ทำหน้าที่ ตรึกนึกคิดได้ ครับ

พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ครับว่า วิตกเจตสิก ที่เป็นสภาพธรรมที่ตรึก นึกคิด และ อาศัยจิตด้วยนั้น ท่านเปรียบเหมือนเท้าของโลก คือ ก้าวไปทุกที่ ทุกเวลาได้ คิดเรื่อง ต่างๆ อย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้น จิตและเจตสิกเป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้นและดับไป อย่างรวดเร็ว และ จิต เมื่อเกิดขึ้น ก็ย่อมคิดนึก ไปในเรื่องราวต่างๆ ตามความทรงจำ ไว้ ที่เคยจำไว้ จำไว้ในเรื่องอะไร ก็คิดไปในเรื่องนั้น เพียงแต่ว่า จะคิดด้วยกุศล หรือ อกุศล ซึ่ง เพราะ อาศัยกิเลสเป็นปัจจัย ก็ทำให้คิดไปในเรื่องราวต่างๆ ที่อยู่รอบตัว และ คิดเรื่องตนเองก็ได้ แต่คิดด้วยจิตที่เป็นอกุศล ด้วยความฟุ้งซ่าน เพราะอาศัย เหตุ คือ กิเลสเป็นสำคัญ ครับ

ความคิดนึก ที่กล่าวว่า เรือ่งราวในอดีต เรือ่ราวในปัจจุบัน เรือ่ราวในอนาคต แท้ ที่จริงก็เป้นการนึกเรื่องที่สมมติว่าเป็นเรื่องในอดีต แท้ที่จริง ขณะนั้น ก็เป็นจิตที่มี บัญญัติเป็นอารมณ์ เมื่อเข้าใจตรงนี้ จิตที่มีบัญญัติเรื่องราวเป็นอารมณ์ สามารถเป็น กุศลจิตที่คิดนึกก็ได้ แม้จะนึกเรื่องที่สมมติว่าเป็นเรื่องอดีต ยกตัวอย่างเช่น ระลึกถึง กุศลที่ได้ทำมาแล้ว เป็นต้น และ คิดนึก เรื่องราวในอดีต ด้วย อกุศลก็ได้ เช่น นึกถึง ญาติ พี่น้อง เป็นต้น ซึ่งก็ยังจำแนก การคิดนึก เป็นการคิดนึกด้วยอกุศลที่หลากหลาย อีกเช่นกัน ไม่ใช่เพียงเพราะ การติดข้องเท่านั้น นึกถึงเรื่องราวในอดีต ด้วย โทสะ มูลจิตก็ได้ ด้วยโลภมูลจิต ความติดข้องก็ได้ ตามเหตุปัจจัยของสภาพธรรมทีเ่กิดขึ้น เป็นไปครับ

สิ่งทีสำคัญ ของผู้ที่ศึกษาธรรมในหนทางที่ถูกต้อง คือ การไม่ใช่ห้ามไม่ให้คิดเรื่อง อดีต หรือไม่ให้จิตไม่เป็นอกุศล เพราะ เป็นไปไม่ได้ แต่ หนทางการอบรมปัญญาที่ ถูกต้อง คือ การรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนั้นว่า เป็นแต่เพียงธรรม ไม่ใช่เรา คิดมีจริง ไม่ใช่เราคิด เป็นธรรมไม่ใช่เรา อกุศลมีจริง เป็นแต่เพียงธรรม ไม่ใช่เรา ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
papon
วันที่ 3 ธ.ค. 2556

ขอขอบคุณอาจารย์ทั้งสองท่านและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
thilda
วันที่ 4 ธ.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
phawinee
วันที่ 6 ธ.ค. 2556

อนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
peem
วันที่ 24 ส.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 26 ก.พ. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Sea
วันที่ 10 มี.ค. 2565

ขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ