วิชชาสูตร ... วันเสาร์ที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๕๖

 
มศพ.
วันที่  1 ธ.ค. 2556
หมายเลข  24109
อ่าน  1,631

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺสพุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิสงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ•••..... ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย .....•••
... สนทนาธรรมที่ ...


มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา (มศพ.)

พระสูตร ที่จะนำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ

วันเสาร์ที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๕๖ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. คือ

วิชชาสูตร

(ว่าด้วยวิชชาเป็นหัวหน้าแห่งกุศลธรรม)

จาก

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔- หน้าที่ ๒๘๔



(ภาพแสดงบรรยากาศการสนทนาธรรมที่มูลนิธิฯ วันอาสาฬหบูชา ๒๒ ก.ค. ๒๕๕๖)

...นำสนทนาโดย...

ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และ คณะวิทยากร

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔- หน้าที่ ๒๘๔

วิชชาสูตร

(ว่าด้วยวิชชาเป็นหัวหน้าแห่งกุศลธรรม)

[๒๑๑] จริงอยู่ พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้

สดับมาแล้วว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อวิชชา เป็นหัวหน้าแห่งการถึงพร้อม

แห่งกุศลธรรม อหิริกะ อโนตตัปปะเป็นไปตาม ดูกร ภิกษุทั้งหลาย

ส่วน วิชชาแล เป็นหัวหน้าแห่งการถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม หิริและโอตตัปปะ

เป็นไปตาม

พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคาถาประพันธ์ ดังนี้ว่า

ทุคติอย่างใดอย่างหนึ่ง ในโลกนี้

และในโลกหน้า ทั้งหมด มีอวิชชาเป็นมูล

อันความปรารถนาและความโลภก่อขึ้น ก็-

เพราะเหตุที่บุคคลเป็นผู้มีความปรารถนา-

ลามก ไม่มีหิริ ไม่เอื้อเฟื้อ ฉะนั้น จึงย่อม

ประสบบาป ต้องไปสู่อบาย เพราะบาปนั้น

เพราะเหตุนั้น ภิกษุสำรอกฉันทะ โลภะ

และอวิชชาได้ ให้วิชชาบังเกิดขึ้นอยู่

พึงละทุคติทั้งปวงเสียได้.

เนื้อความแม้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น

ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบวิชชาสูตรที่ ๓.

อรรถกถาวิชชาสูตร

ในวิชชาสูตรที่ ๓ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปุพฺพงฺคมา ได้แก่ เป็นหัวหน้าโดยอาการ ๒ อย่าง คือ

โดยสหชาตปัจจัย และ อุปนิสสยปัจจัย หรือ เป็นประธานแห่งอกุศลธรรม

เบื้องหน้า. จริงอยู่ การเกิดขึ้นแห่งอกุศล เว้นจากอวิชชาเสียแล้ว

ย่อมมีไม่ได้. บทว่า สมาปตฺติยา ได้แก่ เพื่อความถึงพร้อม คือ เพื่อความ

เป็นไป เพื่อการได้ซึ่งสภาวธรรมตามความเป็นจริง. ความเป็นอุปนิสสยปัจจัย

แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย โดยความเป็นปัจจัยแห่งอโยนิโสมนสิการ ด้วยการ

ปกปิดโทษแห่งความเป็นไปของอกุศล และโดยความที่ยังละไม่ได้ ย่อม

ปรากฏในความนั้น.

คติแม้ทั้งหมด ชื่อว่า ทุคติ ในคาถานี้ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์มีพยาธิ

และมรณะเป็นต้น ด้วยประการฉะนี้. อีกอย่างหนึ่ง กายทุจริต วจีทุจริต

และมโนทุจริต ชื่อว่า ทุคติ เพราะคติที่ถูกกิเลสมีราคะเป็นต้นประทุษร้าย

เป็นไปทางกาย วาจา และใจ. บทว่า อสฺมึ โลเก ได้แก่ ในโลกนี้ หรือ

ในมนุษยคติ. บทว่า ปรมฺหิ จ ได้แก่ ในคติอื่นจากมนุษยคตินั้น. บทว่า

อวิชฺชามูลิกา สพฺพา ได้แก่ ความวิบัติ คือ ทุจริต แม้ทั้งหมดนั้น มีอวิชชา

เป็นมูลอย่างเดียว เพราะมีอวิชชาเป็นหัวหน้า โดยนัยดังกล่าวแล้ว. บทว่า

อิจฺฉาโลภสมุสฺสยา ความว่า ชื่อว่า อิจฺฉาโลภสมุสฺสยา เพราะอันความ

ปรารถนามีลักษณะแสวงหาสิ่งอันยังไม่ถึงพร้อม และอันความโลภมีลักษณะ

อยากได้สิ่งอันถึงพร้อมแล้ว ก่อขึ้น คือ สะสม. บทว่า ยโต ได้แก่ เพราะ

มีอวิชชาเป็นเหตุ เป็นผู้ถูกอวิชชาปกปิด. บทว่า ปาปิจฺโฉ ได้แก่ ผู้มีความ

ปรารถนาลามก ไม่เห็นโทษ ทำความหลอกลวงเป็นต้น ด้วยการยกย่องคุณ

ที่ไม่มีเพราะมีความปรารถนาลามก เพราะถูกอวิชชาปกปิด. พึงเห็นว่า

แม้ความปรารถนาที่เกินประมาณ ท่านก็ถือเอาแล้ว ด้วยโลภะ นั่นแล.

บทว่า อนาทโร ได้แก่ เว้นจากความเอื้อเฟื้อในเพื่อนสพรหมจารี เพราะไม่มี

โอตตัปปะอันถือโลกเป็นใหญ่. บทว่า ตโต ได้แก่ เพราะเป็นเหตุแห่งอวิชชา

ความปรารถนาลามก ความไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ. บทว่า ปสวติ ได้แก่

สะสมบาป มีกายทุจริตเป็นต้น. บทว่า อปายํ เตน คจฺฉติ ได้แก่ ย่อมไป

คือ ย่อมเข้าถึงอบาย มีนรกเป็นต้น เพราะบาปตามที่ขวนขวายนั้น. บทว่า

ตสฺมา ได้แก่ เพราะอวิชชาเป็นต้นเหล่านี้ เป็นรากเหง้าแห่งทุจริตทั้งปวง

และเป็นเหตุแห่งความเศร้าหมองอันเป็นแดนเกิดในทุคติทั้งปวง อย่างนี้

ฉะนั้น ภิกษุสำรอกความปรารถนาความโลภ อวิชชา อหิริกะ และอโนตตัปปะได้

ละด้วยสมุจเฉท. ถามว่า สำรอกอย่างไร จึงจะให้วิชชาเกิดขึ้นได้. ตอบว่า

ขวนขวายตามลำดับวิปัสสนาและตามลำดับมรรคแล้วยังวิชชา คือ อรหัตมรรค

ให้เกิดในสันดานของตน. บทว่า สพฺพา ทุคฺคติโย ได้แก่ พึงละ คือ

พึงสละพึงก้าวล่วงทุคติ กล่าวคือทุจริตแม้ทั้งปวง หรือ คติ ๕ ทั้งปวง

อันชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ในวัฏฏะ. จริงอยู่ กรรมวัฏฏ์

และวิปากวัฏฏ์เป็นอันละได้ด้วยการละกิเลสวัฏฏ์นั่นแล ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาวิชชาสูตรที่ ๓.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 1 ธ.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความโดยสรุป

วิชชาสูตร

(ว่าด้วยวิชชาเป็นหัวหน้าแห่งกุศลธรรม)

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า อวิชชา (ความไม่รู้) เป็นหัวหน้าของอกุศลธรรม

มี อหิริกะ (ความไม่ละอายต่อบาป) อโนตตัปปะ (ความไม่เกรงกลัวต่อบาปและ

ผลของบาป) เป็นต้น ส่วน วิชชา (ปัญญา ความเข้าใจถูกเห็นถูก) เป็นหัวหน้า

ของกุศลธรรมทั้งหลาย มี หิริ (ความละอายต่อบาป) โอตตัปปะ (ความเกรงกลัว

ต่อบาปและผลของบาป) ดังนั้น จึงควรละฉันทะ (ความพอใจที่เกิดร่วมกับ

อกุศล) โลภะ และอวิชชา แล้ว ยังวิชชาให้เจริญ จึงจะละทุคติทั้งปวงได้.

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่

โมหะ โมหเจตสิก ความเห็นผิด ความไม่รู้ อวิชชา

ฉันทะ กับ โลภะ

โลภะเป็นทั้งครูและศิษย์

หิริโอตตัปปะ เป็นธรรมคุ้มครองโลก

ทุคติภูมิ

ตกเหว [ตอนที่ ๓ จบ...เหวที่ลึกที่สุดคืออวิชชา]

....ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
papon
วันที่ 1 ธ.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
orawan.c
วันที่ 2 ธ.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
จิตและเจตสิก
วันที่ 2 ธ.ค. 2556

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่ 3 ธ.ค. 2556

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ladawal
วันที่ 5 ธ.ค. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
จิตและเจตสิก
วันที่ 14 ม.ค. 2557

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Nataya
วันที่ 2 เม.ย. 2561
กราบอนุโมทนาค่ะ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ