การหลีกสภาพธรรมที่ไม่พอใจ

 
papon
วันที่  12 ต.ค. 2556
หมายเลข  23838
อ่าน  1,031

เรียน อาจารย์ทั้งสองท่าน

กระผมขอเรียนถามเกี่ยวกับอกุศลวิบากที่ทุกคนต้องพบทางทวารทั้ง 5 ว่า ในกรณีที่มีการเห็นภาพ ที่ไม่น่าพอใจ ก็หนีไปหาภาพที่ตนเองชอบ เช่นหนีไปห้างสรรพสินค้า ซึ่งก็เป็นโลภะ ที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน หรือว่านั่นก็คือ กุศลวิบาที่ผู้นั้นได้รับครับ ขอความอนุเคราะห์ด้วย ครับ
ขออนุโมทนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 12 ต.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กรรม เป็นสภพาธรรมที่ยุติธรรม ไม่มีใครหนีกรรม ที่เป็นผลของกรรมได้เลย ตราบใดที่ยังมีขันธ์ 5 จึงไม่มีเรา มีแต่ธรรม เมื่อเป้นเช่นนั้น ที่เป้นธรรม จึงเป็นอนัตตา ไม่สามารถบังคับบัญชาได้ ดังนั้น วิบาก ที่เป็นผลของกรรม ที่เกิดในชีวิตประจำวัน เช่น เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้กระทบสัมผัส ก็ไม่สามารถบังคับบัญชาได้ ไม่สามารถเลือกได้เลยว่า เห็นจะเกิดเมื่อไหร่ และ จะดับไปเมื่อไหร่ และจะเห็นสิ่งใด เพราะการเห็นเป็นวิบาก ซึ่งแล้วแต่ว่าจะเห็นสิ่งที่ดี ก็เมื่อกุศลกรรมให้ผล เห็นสิ่งที่ไม่ดี เมื่ออกุศลกรรมให้ผล แม้ทาง หู จมูก ลิ้น และกาย ก็โดยนัยเดียว เมื่อเป็นผลของกรรมที่เป็นธรรม จึงไม่สามารถบังคับ หลีกหนีได้ เพราะเป็นกรรมของแต่ละคน เป็นไปตามเหตุปัจจัย แม้ขณะนี้จะเห็นสิ่งที่ไม่ดี แม้จะหนีไปที่ไหน อย่างไร ก็เมื่อเหตุปัจจัยพร้อมก็ทำให้ได้เห็นไม่ดีอีกก็ได้ ขณะที่เดินทางไปห้าง ก็พบกับสิ่งที่ไม่ดี ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กายได้ จึงไม่มีที่ไหน ที่จะสามารถหนีกรรม ที่เป็นผลของกรรมได้ ครับ

สมดังพระพุทธพจน์ที่ว่า

บุคคลที่ทำกรรมชั่วไว้ หนีไปแล้วในอากาศ ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้ หนีไปในท่ามกลางมหาสมุทร ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้หนีเข้าไปสู่ซอกภูเขา ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้ (เพราะ) เขาอยู่แล้วในประเทศแห่งแผ่นดินใด พึงพ้นจากกรรมชั่วได้ ประเทศแห่งแผ่นดินนั้น หามีอยู่ไม่

สถานที่ที่ปลอดภัย พ้นจากรรม คือ พระนิพพาน คือ การไม่มีการเกิดขึ้นของขันธ์อีกเลย เพราะผลของกรรม ที่เป็นวิบาก ก็คือเป็นวิญาณขันธ์ ที่เป็นจิต ครับ เมื่อไม่มีการเกิด ก็ไม่มีการได้รับวิบาก ครับ เพราะฉะนั้นหนทางที่ถูกต้องคือ การไม่ใช่การหลีกหนี เพราะ หนีผลของกรรมไม่ได้ แม้แต่พระพุทธเจ้า ก็ไม่สามารถหนีได้ แต่หนทางที่ถูกคือ การเข้าใจความจริงในสิ่งที่เกิดแล้ว ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา หนทางนี้ ย่อมรู้ว่า เป็นธรรมไม่ใช่เรา ปัญญาเจริญขึ้น ย่อมละกิเลส และละเหตุ ที่เหตุแห่งทุกข์ จนดับกิเลส หมดทุกข์อย่างแท้จริง โดยอบรมเหตุ ต่อไป คือ การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
papon
วันที่ 12 ต.ค. 2556

เรียน อาจารย์ ทั้งสอง ท่าน

กระผมพอจะเริ่มเข้าใจบ้างเกี่ยวกับสภาพธรรมที่เป็นอนัตตา แต่ที่เรียนถามอาจารย์เกี่ยวกับกรณีข้างต้น เพราะว่ามีคนในครอบครัวกระผมกระทำตนเช่นนี้ เพราะเข้าใจว่า เขาคิดว่าสภาพธรรมที่เขาประสบอยู่ เป็นสิ่งที่เป็นเรา และคิดว่า สิ่งนี้เป็นสุข ทุกข์ โดยที่กระผมก็ไม่ทราบว่า เขาจะวิ่งหนีอะไร หรืออาจารย์มีข้อคิดเห็นอะไร ขอความกรุณาเพิ่มเติม เพื่อก่อเกิดปัญญา จะเป็นพระคุณยิ่งครับ

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
สิริพรรณ
วันที่ 12 ต.ค. 2556

เคยคิดเช่นเดียวกับ คุณ PAPON แต่เมื่อฟังพระธรรมบ่อยๆ ได้ทราบว่า เห็น หรือได้ยินเป็นวิบากที่เคยได้ทำไว้ ไม่ว่าดีหรือไม่ดี จึงคิดว่า " ยอมรับเสียจะได้หมดไปเรื่องหนึ่ง แล้วให้เกิดประโยชน์ เตือนตัวเองซะเลยคือ ให้เป็นพยานว่า นี่ไงเป็นผลของกรรมนะ มีจริงนะ ยังจะทำกรรมใหม่อีกหรือ ไม่เข็ดหรือไง" ไม่รู้พอจะใช้ได้ไหม แต่ไม่ใช่ทุกครั้งนะ เวลาขาดสติก็ไม่ทัน ก็ตั้งหลักใหม่ กับคู่กรณีเดิมๆ

นั่นแหละเป็นคำถามที่ดีมากค่ะ เพราะเราต้องเจออยู่ในชีวิตประจำวัน

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 12 ต.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

วิบากซึ่งเป็นผลของกรรมนั้น มาจากเหตุ คือ กรรมที่ตนเองได้กระทำแล้วเท่านั้น จะเห็นได้ว่า กรรมของใครก็เป็นของคนนั้น จะแบ่งปันให้กันไม่ได้ ไม่เหมือนกับทรัพย์สมบัติที่จะพอจะแบ่งปันให้คนอื่นได้ แต่ละบุคคลก็กระทำกรรมมามากทั้งนั้น ไม่ใช่เฉพาะในชาตินี้ชาติเดียว ในอดีตชาติที่ผ่านๆ มาก็กระทำมาแล้ว นับไม่ถ้วน เนื่องจากสังสารวัฏฏ์ยาวนานมาก เมื่อกระทำอกุศลกรรมไปแล้ว ถึงแม้ว่า หนีไปอยู่ ณ สถานที่แห่งใดด้วยความมุ่งหมายว่าจะทำให้ตนเองรอดพ้นจากการให้ผลของกุศลกรรม ก็ย่อมไม่สามารถที่จะรอดพ้นจากการให้ผลของกุศลกรรมไปได้เลย กุศลกรรมที่ได้กระทำแล้ว ถึงคราวที่ให้ผล ก็ย่อมให้ผลแล้ว แต่ว่าจะให้ผลมาก เผ็ดร้อน หนักเบา ก็ตามควรแก่กุศลกรรมนั้นที่ตนได้กระทำแล้วนั่นเอง ซึ่งไม่มีใครทำให้เลย ขึ้นอยู่กับกรรมที่ตนเองได้กระทำไว้แล้วอย่างเดียว จะโทษใครก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้น ในชีวิตประจำวันจะเป็นผู้ประมาทไม่ได้เลยจริงๆ เพราะความประมาทเป็นทางแห่งความเสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นเหตุให้กุศลพอกพูนหนาแน่นเพิ่มมากยิ่งขึ้น ควรอย่างยิ่งที่จะเป็นผู้ไม่ประมาทในการเจริญกุศลประการต่างๆ สะสมกุศลไว้เมื่อยังมีชีวิตอยู่ เพราะกุศลเท่านั้นที่จะเป็นที่พึ่งได้ครับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 12 ต.ค. 2556

กรรมทำแล้วหนีไม่พ้น ตามกรรมที่ไม่ดี ที่ทำ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
papon
วันที่ 12 ต.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
peem
วันที่ 12 ต.ค. 2556

ขออนุโมทนาคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
intra
วันที่ 14 ต.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ