"ผู้ที่รู้ว่าอกุศลจิตเกิดยังดีกว่าผู้ที่ไม่รู้ว่ากุศลจิตเกิด"

 
papon
วันที่  11 ต.ค. 2556
หมายเลข  23828
อ่าน  953

เรียนอาจารย์ทั้งสองท่าน

"ผู้ที่รู้ว่าอกุศลจิตเกิดยังดีกว่าผู้ที่ไม่รู้ว่ากุศลจิตเกิด" เป็นประโยคในพระสูตหรือไม่และมีความหมายอย่างไรครับ ขอขอบคุณและขออนุโมทนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 11 ต.ค. 2556

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 339

ข้อความบางตอนจาก อนังคณสูตร

บุคคล ๔ จำพวก

[๕๔] ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า คุณครับ บุคคล ๔ จำพวก เหล่านี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวกนั้น เป็นไฉน

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลลางคนในโลกนี้ มีอังคณกิเลส แต่ไม่รู้ตามเป็นจริงว่า เรามีอังคณกิเลสในภายใน ๑ บุคคลลางคนในโลกนี้ มีอังคณกิเลส ก็รู้ตามเป็นจริงว่า เรามีอังคณกิเลสในภายใน ๑ บุคคลลางคนในโลกนี้ ไม่มีอังคณกิเลส แต่ไม่รู้ตามเป็นจริงว่า เราไม่มีอังคณกิเลสในภายใน ๑ บุคคลลางคนในโลกนี้ ไม่มีอังคณกิเลส ก็รู้ตามเป็นจริงว่า เราไม่มีอังคณกิเลสในภายใน ๑. (อังคณกิเลสคือ กิเลสเพียงดังเนินหมายถึง กิเลสประการต่างๆ มีโลภะ โทสะ เป็นต้น) ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลใดมีอังคณกิเลส แต่ไม่รู้ตามเป็นจริงว่า เรามีอังคณกิเลสในภายใน บุคคล ๒ จำพวกที่มีอังคณกิเลสเหมือนกันนี้ บุคคลนี้ บัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษเลวทราม ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลใดมีอังคณกิเลส รู้ตามเป็นจริงว่า เรามีอังคณกิเลสในภายใน บุคคล ๒ จำพวกที่มีอังคณกิเลสเหมือนกันนี้ บุคคลนี้ บัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษประเสริฐในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลใดไม่มีอังคณกิเลส แต่ไม่รู้ตามเป็นจริงว่า เราไม่มีอังคณกิเลสในภายใน บุคคล ๒ จำพวกที่ไม่มีอังคณกิเลสเหมือนกันนี้ บุคคลนี้ บัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษเลวทราม ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลใดไม่มีอังคณกิเลสเลย รู้ตามเป็นจริงว่า เราไม่มีอังคณกิเลสในภายใน บุคคล ๒ จำพวก ที่ไม่มีอังคณกิเลสเหมือนกันนี้ บุคคลนี้ บัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษประเสริฐ

แสดงให้เห็นว่า การรู้ความจริงของสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ว่า เป็นธรรมเป็นกุศล อกุศลตามความเป็นจริงย่อมประเสริฐกว่า ผู้ที่มีกุศลแต่ไม่รู้ว่าเป็นธรรม เพราะฉะนั้น หนทางที่ถูก คือ เข้าใจตัวจริงของสภาพธรรม ที่มีในขณะนี้ว่า เป็นธรรมไม่ใช่เรา เป็นหนทางการดับกิเลสที่ถูกต้อง ครับ

อนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 11 ต.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ถ้าไม่มีโอกาสได้ฟังพระธรรม จะไม่สามารถรู้ได้เลยถึงความเป็นจริงของสภาพธรรมที่เป็นกุศล เป็นอกุศล ตลอดจนถึงสภาพธรรมประการอื่นๆ ด้วย

เรื่องของกุศลในวันหนึ่งๆ มีมากมาย เกิดขึ้นบ่อยมาก เมื่อเทียบส่วนกันกับกุศลในแต่ละวันแล้ว เทียบกันไม่ได้เลย เพราะกุศลมีมากกว่ากุศลอย่างเห็นได้ชัด เรื่องของกุศล เป็นเรื่องที่ละเอียดมาก การสะสมทางฝ่ายกุศลนั้น เกิดขึ้นเป็นไปทั้งทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ ซึ่งค่อยๆ เพิ่มขึ้นและสะสมปรุงแต่งทำให้มีกุศลจิตที่วิจิตรมากที่ทำให้เกิดการกระทำทางกาย ทางวาจา ที่ต่างกันออกไปในวันหนึ่งๆ ซึ่งมีเป็นอย่างมากทีเดียว พระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงไว้โดยละเอียดนั้น เป็นเครื่องเตือนและชี้ให้เห็นกุศล ตามความเป็นจริง ว่าขณะที่จิตเป็นกุศลจะมีการกระทำทางกายและวาจาอย่างไรบ้าง ซึ่งจะต่างกับขณะที่จิตเป็นกุศลอย่างสิ้นเชิง

ประโยชน์สูงสุดของการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ซึ่งเป็นการศึกษาเรื่องของสภาพธรรมที่มีจริงในชีวิตประจำวัน ก็เพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูก ในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง และเพื่อขัดเกลากิเลสของตนเองให้เบาบางลง เห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้ว น้อมประพฤติในสิ่งที่ดีงาม จะเห็นได้ว่า ธรรมมีทั้งฝ่ายที่เป็นกุศลธรรม และฝ่ายกุศลธรรม แล้วก็เริ่มเห็นโทษของกุศลธรรม ปัญญาที่เห็นโทษก็จะทำให้ค่อยๆ เว้นจากกุศลธรรมแล้วเจริญกุศลธรรมเพิ่มขึ้น จากที่เคยกระทำผิด กระทำไม่ถูกต้องเหมาะสม ก็เริ่มใหม่ ที่จะน้อมประพฤติในสิ่งทีดีงามต่อไป ถ้ามีกุศลมาก ทุกข์ย่อมน้อยลง แต่ถ้ามีอกุศลมาก ทุกข์ก็ยิ่งเพิ่มขึ้น การฟังพระธรรมให้เข้าใจและเห็นโทษของกุศล ย่อมเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่จะทำให้กุศลจิตเกิดได้ จึงควรอย่างยิ่งที่แต่ละคนจะได้ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม สะสมปัญญาไปตามลำดับ เพื่อละความไม่รู้ เพื่อเห็นโทษของกุศลตามความเป็นจริง และเพื่อขัดเกลากิเลสของตนเอง ต่อไป ครับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 11 ต.ค. 2556

ไม่ว่าจะเป็นกุศลจิตเกิด หรือ อกุศลจิตเกิด ถ้ารู้ทั้งกุศลจิตและอกุศลจิตดีกว่าค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
papon
วันที่ 11 ต.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ