เลือกเพศได้หรือไม่

 
nattawan
วันที่  3 ส.ค. 2556
หมายเลข  23291
อ่าน  2,114

เหตุปัจจัยที่กำหนดความเป็นชาย และหญิง มีอะไรบ้าง เลือกเพศได้หรือไม่


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 4 ส.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สภาพธรรมแต่ละอย่าง เกิดขึ้น ตามเหตุปัจจัย ไม่สามารถบังคับบัญชาได้เลย เพราะ

ไม่มีเรา มีแต่ธรรมที่เป็นไป แม้แต่เรื่องของการเกิดเป็นเพศชาย เป็นเพศหญิง ซึ่ง

ในความเป็นจริง ก็เป็นพียงสภาพธรรมที่เป็นไป ที่เป็นรูปธรรม ที่เกิดขึ้นเป็น ปุริสภาวรูป

ที่แสดงลักษณะของชาย จึงบัญญัติสมมติว่า เป็นผู้ชาย และ อิตถีภาวะรูป ก็เป็นรูปที่

แสดงลักษณะของหญิง จึงสมมติบัญญัติว่าเป็นผู้หญิง ซึ่งปุริสภาวะรูป ที่แสดงลักษณะ

ผู้ชาย และอิตถีภาวะรูป ที่แสดงลักษณะของผู้หญิงล้วนแต่มีกรรมเป็นปัจจัย มีกรรมเป็น

เหตุสำคัญ เพราะฉะนั้น จากคำถามที่ว่า เหตุปัจจัยที่กำหนดความเป็นชาย และหญิง มี

หลายปัจจัยดังนี้

1.กรรม

การเกิดเป็นเพศชาย ก็เพราะ อาศัย กุศลกรรมที่มีกำลังกว่า จึงเป็นเพศชาย ส่วนหญิง

อาศัย กุศลกรรม ที่มีกำลังน้อยกว่า จึงเป็นเพศหญิง

อีกประการหนึ่ง อาศัยกุศลกรรม ที่บุคคลนั้นทำ มีความยินดีในความเป็นเพศชาย แต่

ตนเองเป็นผู้หญิง จึงกระทำกุศลกรรม ปรารถนา ในความเป็นชาย เมื่อกรรมนั้น ให้ผล

ชาติใด ชาติหนึ่ง ย่อมถึงการเป็นผู้ชายได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - 447

ส่วนหญิงทั้งหลาย ทำบุญทั้งหลายมีทานเป็นต้น คลายความพอใจในความเป็นหญิง

ก็ตั้งจิตว่า " บุญของข้าพเจ้าทั้งหลายนี้ ขอจงเป็นไปเพื่อกลับได้อัตภาพเป็นชาย"

ทำกาละแล้ว ย่อมกลับได้อัตภาพเป็นชาย.

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ส่วน กุศลกรรมที่หญิง ปรนนิบัติ สามี ยำเกรงสามี ด้วยกุศลกรรมนั้น ก็ย่อมได้เกิดเป็น

ชายได้อีกเช่นกัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - 447

พวกหญิง ที่มีผัวดังเทวดา ย่อมกลับได้อัตภาพเป็นชาย แม้ด้วยอำนาจแห่ง

การปรนนิบัติดีในสามีเหมือนกัน.

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ฝ่าย อกุศลกรรม ผู้ที่ทำบาป คือ การล่วงศีลข้อ 3 ประพฤติ ในบุตร ภรรยา ผู้อื่น

เศษของกรรม ย่อมทำให้เกิดเป็นผู้หญิงหลายร้อยชาติ เป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - 447

ชายอาจกลับเป็นหญิงและหญิงอาจกลับเป็นชายได้ จริงอยู่ พวกผู้ชาย ชื่อว่าไม่เคยกลับเป็นผู้หญิง หรือพวกผู้หญิงไม่เคยกับเป็นผู้ชาย ย่อมไม่มี. เพราะว่า พวกผู้ชายประพฤติล่วงในภริยาทั้งหลายของชนอื่น ทำกาละแล้ว ไหม้ในนรกสิ้นแสนปีเป็นอันมากเมื่อกลับมาสู่ชาติมนุษย์ ย่อมถึงภาวะเป็นหญิง สิ้น ๑๐๐ อัตภาพ

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

2.ความพอใจในเพศ ย่อมได้เพศนั้น

เพราะ อาศัย ความติดข้อง ยินดีพอใจในเพศของตนที่มีกำลัง ยินดีในความเป็นหญิง

เป็นต้น ก็ย่อมเป็นปัจจัยให้เกิดเป็นหญิงได้อีกเช่นกัน สมดังพระพุทธพจน์ดังนี้

เชิญคลิกอ่านได้ที่การเกิดเป็นชายและหญิง [สังโยคสูตร]

-------------------------------------

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 271

..... ชายใดปรารถนาเป็นบุรุษทุกๆ ชาติไป ก็พึงเว้น ภรรยาผู้อื่นเสีย เหมือนบุคคลล้างเท้าสะอาดแล้วเว้น จากเปือกตม ฉะนั้น หญิงใดปรารถนาเป็นบุรุษทุกๆ ชาติไป ก็พึงยำเกรงสามี เหมือนนางเทพอัปสรผู้เป็น บาทบริจาริกายำเกรงพระอินทร์ ฉะนั้น ผู้ใดปรารถนา โภคทรัพย์ อายุ ยศและสุขอันเป็นทิพย์ก็พึงเว้นบาป ทั้งหลายประพฤติแต่สุจริตธรรม ๓ อย่าง สตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ควรเป็นผู้ไม่ประมาทด้วยกาย วาจา ใจ ฯล

---------------------------------------------------------

ที่สำคัญ ไม่ได้อยู่ที่จะเกิดเป็นเพศอะไร แต่ สำคัญที่การกระทำ และ ใจ เป็นสำคัญ

เพราะ ความดี ความชั่ว ไม่ได้อยู่ที่การเกิดเป็นเพศอะไร แต่อยู่ที่ใจ และ การกระทำ

ของแต่ละบุคคลเป็นสำคัญ ปัญญา คุณความดี สามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่เลือกเพศ

โดยนัยตรงกันข้าม อวิชชา ความไม่รู้ และ ความชั่ว ก็สามารถเกิดได้ โดยไม่ได้เลือก

เพศเช่นกัน ทุกคนเคยเกิดมาเป็นเพศชาย เพศหญิงมาหมดแล้ว นับชาติไม่ถ้วน สำคัญ

คือ ขณะนี้ ปัจจุบัน ที่ควรจะสะสมปัญญา สะสมคุณความดี เพื่อที่จะสั่งสมสิ่งที่ดี เพื่อ

ที่จะละกิเลสที่เป็นสิ่งที่ไม่ดีในอนาคต ครับ

ปัญญา จึงเกิดได้ทุกเพศ ตราบใดที่ผู้นั้น ศึกษา ฟังพระธรรมด้วยความเคารพ

และ แยบคาย ครับ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 88

(โสมาสูตร)

ความเป็นสตรีจะทำอะไรได้ เมื่อจิต ตั้งมั่นดีแล้ว เมื่อญาณเป็นไปแก่ผู้เห็นธรรมอยู่

โดยชอบ ผู้ใดพึงมีความคิดเห็นแน่อย่างนี้ว่า เราเป็นสตรี หรือว่าเราเป็นบุรุษ หรือจะยัง

มีความเกาะเกี่ยวว่า เรามีอยู่ มารควรจะกล่าวกะผู้นั้น.

------------------------------------------------

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถาเล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 178

สตรีก็เป็นบัณฑิตได้ มิใช่แต่บุรุษจะเป็นบัณฑิตได้ในที่ทุกสถาน แม้สตรีมีปัญญา

เห็นประจักษ์ก็เป็นบัณฑิตได้ในที่นั้นๆ .

มิใช่บุรุษจะเป็นบัณฑิตได้ในที่ทุกสถาน แม้สตรีที่คิดความได้รวดเร็ว ก็เป็นบัณฑิตได้.

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
nattawan
วันที่ 4 ส.ค. 2556

ขอบคุณและขออนุโมทนาค่ะ

เหตุใดผู้หญิงจึงไม่สามารถเป็นพระพุทธเจ้าคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 4 ส.ค. 2556

เรียนความเห็นที่ 2 ครับ

ทุกคนเกิดมาเป็นผู้ชาย และ ผู้หญิงมาหมดแล้ว แต่ เพศชายเกิดจากุศลที่มีกำลัง

มากกว่าเพศหญิง และ เพศชาย เป็นผู้มีจิตใจ แกล้วกล้า มากกว่าเพศหญิง ดังนั้นการ

จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า จึงต้องเป็นเพศชาย ที่เกิดจากกุศลที่มีกำลัง และต้องทำ

ความเพียรใหญ่ เพื่อดับกิเลส จึงต้องเป็นผู้มีจิตใจเข็มแข็ง ดั่งเช่น เพศชาย ครับ

ผู้หญิง จึงไม่สามารถเกิดเป็นพระพุทธเจ้า และ เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ได้ ครับ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 296

(๑๒) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ สตรีพึงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ บุรุษพึงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า นั่นเป็นฐานะที่มีได้.

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
nattawan
วันที่ 4 ส.ค. 2556

ขอบคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 4 ส.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขณะนี้ ได้เกิดมาเป็นมนุษย์แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเพศใดก็ตาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า การเกิดเป็นมนุษย์ เป็นสิ่งที่ได้แสนยาก เพราะจะ

ต้องได้ด้วยผลของกุศล ไม่ได้จำกัดว่าจะเป็นผลของกุศลประเภทใด ขึ้นอยู่กับว่ากุศล

ประเภทใดจะให้ผล ซึ่งไม่พ้นไปจากความดีในชีวิตประจำวัน ทั้งทาน ศีล และการอบรม

เจริญปัญญา ถ้าเทียบกันระหว่างสุคติภูมิ กับ อบายภูมิแล้ว การไปเกิดในอบายภูมิ

ไปได้ง่ายกว่าสุคติภูมิจริงๆ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเปรียบเทียบไว้ด้วยข้ออุปมา

ฝุ่นที่ปลายพระนขา (เล็บ) ที่พระองค์ทรงช้อนขึ้นมา กับ ฝุ่นที่ผืนแผ่นดินว่า ผู้ที่เกิด

เป็นมนุษย์ มีเป็นส่วนน้อย เหมือนกับฝุ่นที่อยู่ปลายพระนขาของพระองค์ ส่วนผู้ที่ไป

เกิดเป็นสัตว์ในอบายภูมิ มีมาก เหมือนกับฝุ่นที่ผืนแผ่นดิน ซึ่งควรจะได้พิจารณา

เป็นอย่างยิ่ง

เมื่อได้เกิดมาเป็นมนุษย์แล้ว ถ้าไม่ได้ฟังพระธรรม ไม่ได้ศึกษาพระธรรม ก็จะเป็นผู้ไม่

รู้ต่อไป ไม่คุ้มค่าเลยกับการที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ซึ่งได้ยากแสนยากแต่ไม่ได้สะสม

ปัญญา ก็จะทำให้ตายไปพร้อมกับความไม่รู้ และจะไม่รู้อีกต่อไปนานแสนนานใน

สังสารวัฏฏ์ ยากที่จะพ้นไปได้

การมีโอกาสได้ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ฟังในสิ่งที่มีจริงบ่อยๆ เนืองๆ สะสม

ความเข้าใจที่ถูกต้องไปตามลำดับ ได้สะสมความดี และ สะสมปัญญา ย่อมเป็นชีวิต

ที่คุ้มค่า คุ้มค่าแล้วกับการที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ที่มีอวัยวะครบถ้วน [พร้อมที่จะรองรับ

พระธรรม] และได้พบพระพุทธศาสนา ได้ฟังพระธรรมซึ่งหาฟังได้ยากเป็นอย่างยิ่งจาก

บุคคลผู้มีปัญญา เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ก็ควรที่จะได้ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม อบรม

เจริญปัญญา เพื่อรู้สภาพธรรมคือ นามธรรมและรูปธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง

ต่อไป เวลาของแต่ละบุคคล เหลือน้อยเต็มทีแล้ว ถ้าไม่เริ่มฟัง ไม่เริ่มศึกษาตั้งแต่ใน

ขณะนี้ การที่จะฟัง การที่จะศึกษาในขณะต่อๆ ไป ก็จะมีไม่ได้, เริ่มต้นตั้งแต่ในขณะนี้

เป็นการดีอย่างยิ่ง ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
nattawan
วันที่ 4 ส.ค. 2556

ขอบคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
wannee.s
วันที่ 4 ส.ค. 2556

เลือกเกิดเป็นผู้ชายก็อย่าผิดศีลข้อกาเม และ ถ้าจะป็นผู้ชาย ต้องทำบุญ

ที่มีกำลัง หนักแน่น ไม่โลเล ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
mouy179
วันที่ 4 ส.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ธนฤทธิ์
วันที่ 7 ส.ค. 2556

ขอบคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
peem
วันที่ 27 พ.ค. 2562

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ