พุทธศาสนากับความจริง

 
วิศวกรสนใจธรรม
วันที่  31 ก.ค. 2556
หมายเลข  23276
อ่าน  1,810

กระผมได้ศึกษาพระสัททธรรมมาก่อนหน้านี้มาบ้าง มีข้อสังสัยหลายอย่าง กระผมฟัง

หลวงปู่,หลวงตา หรือพระอาจารย์ที่มีความรู้เกี่ยวกับพุทธศาสนาเทศน์แล้วยังไม่เข้าใจ

ครับ สมมติว่า เราทำผิดศีล5 ข้อใดข้อหนึ่ง เช่น เราโกหก (ผิดศีลข้อ4) ท่านว่า ตาย

แล้วจะไปนรก หรือว่าเราไปลักทรัพย์เขาอย่างนี้ ท่านว่าตายแล้วจะไปนรก มันเกี่ยว

กันยังไงครับ หมายความว่า ถ้าเราเสพอารมนี้ไปเรื่อยๆ เมื่อเราตายไป มันจะติดตัวเราไป

ยังไง จึงจะไปลงนรกได้ มันเหมือนเราบอกเด็กน้อยว่า " ไอ้หนูเอ็งอย่าดื้อนะ ถ้าดื้อแล้ว

ตุ๊กแกจะออกมากินตับ" คือมันไม่มีเหตุผลเลยครับ ตุ๊กแกที่ไหนจะมากินตับได้ เพราะมัน

ตัวเล็กนิดเดียว กระผมอยากทราบคำอธิบายที่เป็นเหตุผล แสดงถึงที่มาของเหตุและผล

ที่ชัดเจนครับ เวลาเราให้ทานก็เหมือนกัน ท่านบอกว่าสาเหตุของความรวย เกิดจากการ

ให้ทาน กระผมคิดว่า ยิ่งถ้าเราให้ทานไปเท่าไร เงินในกระเป๋าเราก็ยิ่งน้อยลงนะครับ???


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 31 ก.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระพุทธศาสนา เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นความจริง เพราะแสดงสิ่งที่มีจริง

ที่ทุกคนกำลังมี กำลังปรากฎ เช่น เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้ม รส รู้กระทบสัมผัส จิตที่ดี

จิตไม่ดี ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่มีจริงในชีวิตประจำวัน ไม่ใช่พียงเท่านั้น พระพุทธศาสนา

ก็ยังแสดงเหตุผล คือ สิ่งที่มีจริงที่เกิดขึ้น ล้วนแล้วแต่จะต้องมีเหตุปัจจัย จึงเกิดขึ้นเป็น

ไป อย่างสมเหตุ สมผล ซึ่งผู้ที่จะรู้ความจริงเช่นนี้ได้ ก็ต้องเป็นผู้ศึกษาพระธรรมด้วย

ตนเอง อย่างละเอียดรอบคอบ ลึกซึ้ง ถ่องแท้จริงๆ อย่างเช่น การจะทำอาหารชนิดใด

ก็จะต้องศึกษาในเรื่องอาหารนั้น อย่างจริงจัง ลึกซึ้ง ถ่องแท้ ให้เข้าใจถูก จึงจะสามารถ

บอกได้ว่า อาหารนี้เป็นอย่างไร

เช่นเดียวกันพระพุทธศาสนา ก็จะต้องศึกษาอย่างละเอียดรอบคอบ ไม่ใช่เพียงส่วน

ใดส่วนหนึ่งเท่านั้น ซึ่งพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงในบางส่วนนั้น ก็แสดงไว้ใน

เรื่องกรรม และผลของกรรมไว้ว่า ทุกอย่างที่เกิดขึ้น จะต้องมีเหตุ และย่อมสมควรกับ

ผลด้วย

หากพิจาณาเหตุการณ์ที่แต่ละคนพบกัน อย่างเช่น การเห็น ทำไมบางคนเห็นสิ่งที่ดี

บางคนเห็นสิ่งที่ไมดี ทำไมบางคนได้ยินเสียงที่ดี บางคนได้ยินเสียงที่ไม่ดี ก็ต้องมีเหตุ

เพราะว่า ทำไมแต่ละคน ได้รับสิ่งที่ดี ไม่ดี ไม่เหมือนกันเลย ดังนั้นก็ต้องเพราะการทำ

กรรมในอดีตที่ผ่านมานั่นเอง เป็นปัจจัย

หากเห็นความทุกข์ทรมานของคนบางคนในโลกนี้ ถูกไฟไหม้ทั้งเป็น แต่บางคน ไม่

ถูกไฟไหม้ แม้โลกนี้ก็มีอยู่ให้เห็นกัน ทำไมถึงเกิดได้ และเกิดกับบางคน ก็เพราะจะต้อง

มีเหตุคือ เพราะ เคยทำกรรมที่ไม่ดี เป็นต้น เช่น มีการทำร้ายผู้อื่น ด้วยไฟ เมื่อตน

ปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นอย่างไร ตนเองก็ต้องได้รับอย่างนั้น อย่างเช่น พระจักขุบาล เป็น

พระอรหันต์ แต่ท่านบำเพ็ญเพียรจน ตาท่านแตก ทำให้ตาบอด ก็ได้กล่าวถึงกรรมใน

อดีตของท่านที่ทำให้ท่านตาบอดในปัจจุบันว่า ท่านเป็นหมอรักษาโรค มีคนมาให้

รักษาตา และคนที่มารักษา กล่าวว่าถ้ารักษาหาย จะยอมเป็นทาสรับใช้ เมื่อนางคนนี้

หายโรค เมื่อไปหาหมออีก ก็ลวงว่ายังไม่หาย เพราะไม่อยากเป็นทาสรับใช้ หมอรู้ว่า

นางคนนี้หลอก จึงโกรธ จึงหลอกนางให้หยอดยาใหม่ อันปรุงยาพิษให้ เมื่อนาง

หยอดตา ตาของนางก็บอดสนิท นี่คือผลของกรรม ที่ทำให้พระจักขุบาล ตาบอด

เพราะเป็นหมอปรุงยา มีเจตนาให้ผู้อื่นตาบอด ตนเองก็ต้องตาบอด สมควรแก่กรรม

ดังนั้น การกระทำที่ดี ไม่ดี ย่อมมีผล และการเกิดขึ้น การได้รับสิ่งที่ดี ไม่ดีก็ต้องมี

เหตุไม่ใช่เกิดมาลอยๆ การที่ถูกไฟไหม้ทั้งเป็นในชาตินี้ หรือแม้ถูกน้ำร้อนลวก ก็

เจ็บปวดมาก ทำไมถึงเกิดขึ้น และจะมีสถานที่ ที่ได้รับผลของกรรมที่หนักกว่านี้ไหม

ที่ถูกไฟไหม้ทั้งเป็นนานกว่านี้ แม้จะมองไม่เห็น แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มี เช่น

ฆ่า พ่อ ฆ่าแม่ ทำในสิ่งที่ไม่ดีอย่างนี้ การทำเช่นนี้ ไม่มีผล หรือไม่เป็นไร หรือแต่มี

กรรมที่ทำแล้วและ เมื่อกรรมให้ผล กรรมที่มากกว่านั้น มากกว่า การถูกน้ำร้อนลวก

ถูกไฟไหม้เพียงมีไม่กี่นาที ครับ กรรมย่อมควรกับเหตุที่ได้ทำไว้

และคนที่ไม่ให้ ไม่รู้จักเสียสละ คิดแต่จะได้ ไม่ให้เลย เมื่อไม่ให้ จะหวังในสิ่งที่ให้

คนอื่นได้รับได้อย่างไร เพราะเหตุไม่สมควรกับผลครับ ดูง่ายๆ ในโลกนี้ ผู้ไหว้ก็ย่อม

มีผู้ที่ไหว้ตอบ ได้รับสิ่งที่ดี ถ้าไม่ให้ จะได้ในสิ่งที่ตนเองไม่ให้ได้อย่างไร ส่วนผู้ที่ให้

เมื่อมีการให้ ปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสิ่งที่ดี ตนเองก็ต้องได้รับสิ่งที่ดีเช่นกัน เพียงแต่

ว่า จะต้องอาศัยระยะเวลาของกรรมที่จะให้ผล ไม่ใช่เพียงปัจจุบันที่ให้แล้วหมดในขณะ

นั้น ครับ

ดังนั้นก็ต้องพิจารณาธรรมโดยละเอียด เพราะผู้ที่จะเชื่อ ศรัทธาในพระพุทธศาสนา

ผู้นั้น ก็จะต้องศึกษาพระธรรม โดยละเอียดเช่นกัน ซึ่งพระธรรมย่อมมีเหตุ มีผลกับผู้ที่

ศึกษาและเข้าใจ แต่ย่อมไม่มีเหตุ ไม่มีผล ไม่น่าศรัทธา สำหรับผู้ที่ไม่ได้ศึกษาและ

ไม่ได้เข้าใจในคำสอน ครับ

ขออนุโมทนาที่เป็นผู้เริ่ม ศึกษาพระธรรม ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 31 ก.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ ๓๘๙

บุรุษทำกรรมเหล่าใดไว้ เขาย่อมเห็นกรรม

เหล่านั้นในตน ผู้ทำกรรมดีย่อมได้รับผลดี ผู้ทำ

กรรมชั่วย่อมได้รับผลชั่ว บุคคลหว่านพืชเช่นใด

ย่อมได้รับผลเช่นนั้น.

ขอเชิญคลิกศึกษาเพิ่มเติมได้ที่หัวข้อนี้ ครับ

ทำดี ดี ทำชั่ว ชั่ว [จุลลนันทิยชาดก]

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า พระพุทธศาสนา คือ อะไร? พระพุทธศาสนา เป็นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นบุคคลผู้เลิศที่สุด ประเสริฐที่สุดในโลก พระสัมมา-สัมพุทธเจ้า ทรงมีพระมหากรุณาต่อสัตว์โลกทั้งปวง เมื่อพระองค์ ทรงตรัสรู้เป็นพระ-พุทธเจ้าแล้ว ทรงแสดงพระธรรมที่พระองค์ทรงตรัสรู้โปรดเวไนยสัตว์ ตลอดระยะเวลา

๔๕ พรรษา ทรงแสดงสัจจธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่มีจริง บ่อยๆ เนืองๆ ก็เพื่อให้ผู้ฟัง มีความ

เข้าใจสภาพธรรม ตามความเป็นจริง พร้อมทั้งน้อมประพฤติปฏิบัติตาม จนกระทั่งถึง

ความเป็นผู้หมดจดจากกิเลสได้ ในที่สุด จึงเห็นได้ว่า สิ่งที่เป็นที่พึ่งที่แท้จริง ในชีวิต

คือ ความเข้าใจพระธรรม ที่พระองค์ทรงแสดง ซึ่งจะทำให้ผู้ที่ได้ฟังได้ศึกษา มีความ

เข้าใจตามความเป็นจริง เป็นไปเพื่อการเจริญขึ้นของปัญญา เพื่อขัดเกลากิเลสจนหมด

สิ้น ถ้าไม่ได้อาศัยพระธรรม ไม่มีการอบรมเจริญปัญญาแล้ว สังสารวัฏฏ์ ก็จะดำเนินไป

อย่างไม่มีวันจบสิ้น นี่ก็เป็นเหตุเป็นผล อยู่แล้ว ไม่ว่าพระองค์จะทรงแสดงธรรม โดยนัย

ใด ทั้งพระสูตร พระวินัย และ พระอภิธรรม ก็ไม่พ้นไปจากให้พุทธบริษัทได้เข้าใจธรรม

ตามความเป็นจริง เป็นปัญญาของตนเอง

ก่อนการศึกษาพระธรรม ไม่รู้อะไรเลยสักอย่าง แต่เมื่อมีศรัทธาเห็นประโยชน์ของการ

เข้าใจธรรม ฟังด้วยความตั้งใจจริง ความข้าใจถูกเห็นถูกก็จะค่อยๆ เจริญขึ้น สามารถแยก

แยะได้ว่า อะไรจริง อะไรไม่จริง เพราะได้เข้าใจอย่างถูกต้องว่า คำสอน ที่พระสัมมา-

สัมพุทธเจ้าทรงแสดง เป็นไปเพื่อความเข้าใจถูกโดยตลอด คำสอนที่สอนให้ไม่รู้

ความจริง สอนให้หลงงมงาย สอนให้ทำอะไรด้วยความไม่รู้ สอนให้ติดข้องต้องการ

นั่นไม่ใช่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ในเรื่องกรรม ทั้งที่เป็นกรรมดี และ กรรมชั่ว ตลอดจนถึงผลของกรรมทั้งสองอย่าง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงโดยละเอียดโดยประการทั้งปวง กรรมดี ให้ผลดี
กรรมชั่ว

ให้ผลที่ไม่ดี ไม่น่าปรารถนา โดยไม่มีใครทำให้เลย

สัตว์โลกมีความหลากหลายต่างกัน เพราะการสะสม และ หลากหลาย โดยการได้
รับ

ผลของกรรม ด้วย เมื่อได้ศึกษาพระธรรมให้เข้าใจ จะทำให้มั่นคงในคุณความดี สะสม

ความดี ขัดเกลากิเลสของตนเอง ละเว้นเหตุที่ไม่ดี ที่เป็นอกุศลกรรม เพราะอกุศลกรรม

ทำร้ายตนเอง ทั้งในขณะทำ และ ในขณะที่ให้ผลด้วย

ประเด็นเรื่องการเจริญกุ
ศลในพระพุทธศาสนา นั้น เป็นไปเพื่อการขัดเกลากิเลส ของตนเอง เป็นสำคัญ ไม่ใช่เพื่อความติดข้องต้องการ ไม่ใช่เพื่อลาภ สักการะ สรรเสริญ

แม้แต่ในเรื่องการให้ทาน การให้ทานนั้น สำเร็จได้เมื่อมีสิ่งของที่จะให้ และ การให้ นั้น ก็เพื่อประโยชน์สุขของผู้รับ ขณะนั้นสละความตระหนี่ สละความเห็นแก่ตัว และเพิ่มพูน

ความดียิ่งขึ้นด้วย เป็นการเติมความดีในชีวิตประจำวัน และเมื่อความดีสำเร็จแล้ว สะสม

สืบต่อ เก็บรักษาอย่างดีไว้ในจิต เมื่อถึงคราวให้ผล ก็ให้ผลกับผู้กระทำนั่นเอง ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 31 ก.ค. 2556

คนที่ให้ทาน ก็ทำให้มีทรัพย์ไม่จน แต่ต้องใช้เวลาไม่ใช่ให้ผลทันที

เปรียบเหมือนชาวนาปลูกข้าว ต้องรอกาลเวลาที่จะให้ผล ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
papon
วันที่ 31 ก.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
nopwong
วันที่ 1 ส.ค. 2556

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 2 ส.ค. 2556

พระธรรมเป็นคำสอน..สอนสิ่งที่มีอยู่จริงบางทีเรียกว่าวาจาสัจจะ..ถ้าไม่มีอยู่จริงไม่

เรียกพระธรรม..ดังนั้น ไอ้หนูเอ็งอย่าดื้อนะ ถ้าดื้อแล้วตุ๊กแกจะออกมากินตับ ไม่ใช่

พระธรรมที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าแน่นอน..โดยทั่วไปสิ่งที่ดีหรือไม่ดี..เช่นศีล5..

ถึงไม่ศึกษาพระธรรมคนทั่วไปสามารถตัดสินได้ว่าดีหรือไม่ดี..เช่นโกหกหรือ

ลักทรัพย์.เป็นสิ่งที่ไม่ดีที่คนทั่วไปรู้ได้..ถ้าสังคมมีแต่คนโกหกและลักทรัพย์สังคมจะ

วุ่นวายแค่ไหน..พระธรรมกล่าวว่าเหตุดีผลย่อมดี..ให้ทานทำให้ปริมาณของเงินน้อย

ลงก็จริงแต่เชื่อว่าท่านก็คงเคยให้ทานเช่นไปทำบุญที่วัด ให้ขอทาน ให้อภัย เคยไหม

ที่มีความสุขเพราะการกระทำนั้น..หากศึกษาพระธรรมจะพบคำว่าละกิเลสได้ด้วย

ปัญญา..หากทำอะไรแล้วเดือดร้อนไม่ใช่ปัญญาแน่นอน

ถ้าท่านไม่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องใดๆ ๆ ท่านก็อาจะไม่เชื่อหรือตัดสินได้พระธรรมเป็นสิ่งละเอียดลึกซึ้ง..แม้คำว่าเหตุย่อมสมควรแก่ผล..หรือทำดีย่อมได้ดี

เป็นคำสอนที่เรียกว่าพระธรรม (เป็นจริง) ท่านอาจจะเถียงว่าไม่จริงหากไม่ศึกษาพระ

ธรรม แต่หากศึกษาพระธรรมมากขึ้นความสงสัยจะหายไปเอง..ไม่เชื่อก็ลองศึกษาดู

คะ....ผู้ศึกษาธรรมะอาจพูดว่ากลัวนรกน้อยกว่ากลัวความเห็นผิด..เช่นเห็นผิดว่ากรรม

ไม่มีผลของกรรมย่อมไม่มี (อกิริยทิฎฐิ เห็นว่าการกระทำใดๆ ไม่ชื่อว่าเป็นอัน

กระทำ ผลบาปบุญไม่มีแก่ผู้ทำกระทำแล้วก็เป็นอันแล้วกันไป ปฏิเสธการกระทำ

โดยประการทั้งปวง) ขออนุโมทนาคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
orawan.c
วันที่ 7 ส.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
tookta
วันที่ 12 ส.ค. 2556

ในการทำบุญทำทานไม่ควรที่จะคิดเล็กคิดน้อย ถ้าเราคิดจะทำบุญหรือทำทานนั้น ไม่ใช่ว่า

เราอยากจะได้บุญ แต่เรากลับคิดว่าเราทำบุญแล้วเราจะมีความสุขและสบายใจ ที่ได้ช่วย

ให้บุคคลที่อยู่ในความทุกข์ หรือ มีความลำบาก ให้เขามีความทุกข์ และความลำบาก ให้

น้อยที่สุด ถ้าเราทำบุญ หรือ ทำทานเพื่อหวังผล ตัวเราก็คงจะไม่มีความสุขหรอกนะ

เพราะตัวเราจะไม่สงบคอยแต่คิดว่าเมื่อไรเราจะได้บุญกุศลที่เราได้ทำไป เราคิดว่าคนเรา

เกิดมาก็มีกรรมเป็นของตนเองอยู่แล้ว ถ้าเรามีกรรมไม่ดีก็ต้องก้มหน้ารับกรรมเก่าของเรา

ไป และ พยามที่ไม่สร้างกรรมใหม่ขึ้นมาอีก (เอาเป็นว่าเราก็ทำตัวไม่ให้เป็นภาระกับผู้อื่น

ช่วยผู้อื่นที่เราสามารถทำได้ ถ้าเราช่วยเขาไม่ได้ ก็ทำใจมันเป็นกรรมของเขา เราเลย

ช่วยเขาไม่ได้ เป็นธรรมดาที่คนเราอาจจะใช้คำพูดที่ไม่ดีกับผู้อื่น แต่เราก็ควร

พยายามใช้คำพูดดีๆ กับผู้อื่นให้มากที่สุด หรือ ใช้คำพูดที่ไม่ทำร้ายใจผู้อื่น คิดว่าเท่านี้เราก็ได้ทำบุญ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
thilda
วันที่ 15 ส.ค. 2556

"ดังนั้นก็ต้องพิจารณาธรรมโดยละเอียด เพราะผู้ที่จะเชื่อ ศรัทธาในพระพุทธศาสนา

ผู้นั้น ก็จะต้องศึกษาพระธรรม โดยละเอียดเช่นกัน ซึ่งพระธรรมย่อมมีเหตุ มีผลกับผู้ที่

ศึกษาและเข้าใจ แต่ย่อมไม่มีเหตุ ไม่มีผล ไม่น่าศรัทธา สำหรับผู้ที่ไม่ได้ศึกษาและ

ไม่ได้เข้าใจในคำสอน ครับ"

ขอบพระคุณท่านอาจารย์เผดิมค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
thilda
วันที่ 15 ส.ค. 2556

การให้ทาน จริงๆ แล้ว ก็เหมือนช่วยตัวเอง คือ ช่วยขจัดความตระหนี่ออกไป ฝึกละวาง

ความยึดว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้เป็นของตน เมื่อฝึกให้แล้ว ก็เป็นการสะสม ต่อไปก็ให้ได้มากขึ้น

บ่อยขึ้น และด้วยความไม่ลังเลมากขึ้น มีเมตตามากขึ้น แต่ต้องให้ด้วยปัญญาและให้

โดยไม่หวังผลตอบแทน เพียงแต่อยากมอบประโยชน์ให้กับผู้ที่ได้รับ ไม่งั้นหนักสมอง

ต้องคอยคิดกำไรขาดทุน ให้ทานเท่านี้ หากเงินหายจำนวนเดียวกันนี้ ก็คงไม่รู้สึก

ใจหาย เสียใจ เสียดายมากเกินไป เพราะเคยให้จำนวนเท่านั้นมาแล้วค่ะ

ขอบพระคุณที่ให้โอกาสแสดงความคิดเห็นค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
starter123
วันที่ 17 ส.ค. 2556

การที่เราทำทำผิดศีล 5 ข้อใดข้อหนึ่ง ที่บอกว่าเราตายไปแล้วไปนรก ก็เพราะว่า ตอนที่

เรามีชีวิตอยู่เรา มีร่างกายเป็นอามีส สมมติเรากินเหล้าเราสนุกสนาน โดยการที่เราใช้

ร่างกายเสพเหล้า พอเราตายไปใจเราอยากกินเหล้าอยู่นะ แต่เรากินไม่ได้ เราก็เลยเป็น

ทุกข์เป็นร้อนเหมือนตกนรก หรือเราตอนที่เราทำผิดศีลข้อ 1 เราฆ่าด้วยความโมโห หรือ

ต้องการกินเนื้อ พอเราตายไปเราไม่มีร่างกายที่จะทำได้ถ้าใจเราเสพอารมณ์ฆ่าแล้วเรา

จะทำไม่ได้ เมื่อเราโกรธหรืออยากกินเนื้อขึ้นมา แต่ว่าทำผิดศีลข้อ การใช้คำพูดและการ

ลักทรัพย์ไม่รู้ว่าจะอธิบายยังไง

การที่เราให้ทานมากๆ ในภพนี่ ร่างกายเราจะไม่มีอะไรเลยนะ นึกถึงสภาพตอนที่เรา

ทำบุญด้วยใจเป็นกุศลนะ ตอนนั้นเป็นเวลาหลายชั่วโมงเลยแหละ ที่เราไม่อยากกิน

อะไร ข้าวก็ไม่กิน ของอร่อยๆ ก็ไม่อยากกิน ตอนที่เราตายไป (ไม่มีร่างกายแล้ว) ใจเรา

ก็จะมีสภาพอย่างนั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
papon
วันที่ 21 ส.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ