วิธีผึกอานาปาสติ

 
มนตรี999
วันที่  1 ส.ค. 2556
หมายเลข  23283
อ่าน  1,180

อยากได้ วิธี ผึกอานาปาสติ ตั้งแต่แรกจนจบ ครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 1 ส.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อานาปานสติ คือ สติที่ระลึกรู้เป็นไปในลมหายใจ ซึ่งก็ต้องเป็นผู้ละเอียดว่า ไม่ใช่มี

แต่สติเท่านั้น แต่ต้องมีปัญญาด้วย ซึ่ง อนาปานสติ มีทั้งที่เป็นใน สมถภาวนา และ

วิปัสสนาภาวนา

อานาปานสติที่เป็นสมถภาวนา มีลมหายใจที่เป็นบัญญติเป็นอารมณ์ ผู้ที่อบรมอานาปานสติสมาธิจะต้องมีปัญญามาก จะต้องรู้ความต่างกันของกุศลจิตและอกุศจิต ต้องรู้ว่าจะพิจารณาอย่างไร จิตจึงจะค่อยๆ สงบจากอกุศลยิ่งขึ้นจากขณิกสมาธิ ค่อยๆ สงบขึ้นจนเป็นอุปจารสมาธิ จะต้องรู้จักองค์ฌานคือรู้ลักษณะของวิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา จึงสามารถประคองจิตให้ตั้งมั่นใน

อารมณ์จนเป็นอัปปนาสมาธิ และต้องมีปัญญาเห็นโทษขององค์ฌานต้นๆ และ

ค่อยๆ ละองค์ฌานที่ละองค์โดยการไม่ใสใจ จึงสามารถอบรมจิตให้สงบเป็นฌาน

จิตขั้นสูงยิ่งขึ้น อานาปานสตินี้เป็นอารมณ์ที่ละเอียดสุขุม จึงเป็นอารมณ์ของผู้ที่

มีสติไม่หลงลืม เป็นอารมณ์ของมหาบุรุษ คือ อาจหรือสามารถบรรลุมรรคผล

ได้ในชาตินั้น

สำหรับอานาปานสติที่เป็นวิปัสสนาภาวนา มีลมหายใจซึ่งเป็นปรมัตถเป็นอารมณ์ ในมหาสติปัฏฐานสูตร ทรงแสดงอานาปานบรรพในหมวดกายานุปัสส-นา เพราะลมหายใจเป็นส่วนหนึ่งของกาย เป็นสภาพที่ปรุงแต่งกาย และเคยยึดถือว่าเป็นลมหายใจของเรา เป็นเราหายใจ แต่ขณะที่สติปัฏฐานเกิดขึ้น รู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏคือ ธาตุดิน ธาตุไฟ หรือธาตุลม ซึ่งกระทบ

ที่กาย อาจจะเป็นลักษณะที่อ่อนนุ่ม หรืออบอุ่น หรือเคลื่อนไหว ซึ่งปรากฏที่ช่องจมูกหรือริมฝีปาก เพียงลักษณะใดลักษณะหนึ่ง และเริ่มรู้คือค่อยๆ เข้าใจว่า เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่งซึ่งมีลักษณะอย่างนั้นเอง คือเป็นธาตุที่ไม่รู้อารมณ์เป็นการถ่ายถอนความเข้าใจผิดที่เคยยึดถือว่า เป็นเราที่หายใจ หรือเป็นลมหายใจของเรา และขณะที่สติเกิดนั้น ไม่ได้สนใจว่าลมหายใจจะกระทบที่ใดเพียงรู้ว่ามีสภาพธรรมที่กำลังปรากฏเท่านั้น สติที่เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย จากการฟังจนเข้าใจ ไม่มีการเตรียมตัวจดจ้องหรือต้องการให้มีสติมาก่อน จึงเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว ถ้ามีความเห็นถูกมีความเข้าใจที่ถูกต้อง สติปัฏฐานก็จะโคจรไปในอารมณ์ต่างๆ ทางตาบ้าง ทางหูบ้าง ทางจมูกบ้าง ทางลิ้นบ้าง ทางกายบ้าง ทางใจบ้าง จนทั่ว ไม่ใช่จดจ้องอยู่ที่ลมหายใจที่ปรากฏทางกายอย่างเดียว จึงจะค่อยๆ ซึมซาบความเป็นอนัตตา และเข้าใจเห็นชัดในสภาพธรรมตามความเป็นจริงยิ่งขึ้น จนกว่าปัญญาจะสมบูรณ์เป็นวิปัสสนาญาณตามลำดับขั้น จนบรรลุมรรคผลในที่สุด ซึ่งต้องใช้เวลานานไม่ใช่เพียงภพเดียวชาติเดียวจึงควรอบรมปัญญาจากการฟัง การพิจารณาไปโดยที่ไม่หวัง เพราะความหวังเป็นเครื่องเนิ่นช้า (ปปัญจธรรม คือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ) เป็นเครื่องถ่วงความเจริญของปัญญา

ก็ต้องเข้าใจเบื้องต้น ว่าใครทำ เราหรือธรรม หากไม่มีความเข้าใจเบื้องต้น แม้แต่

คำว่า ธรรมคืออะไรให้ถูกต้อง ไม่ต้องกล่าวถึงอานาปานสติ แม้แต่การเจริญสติปัฏฐาน

ที่เป็นปกติในชีวิตประจำวัน ก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องที่จะทำ แต่

เป็นเรื่องที่จะค่อยๆ เข้าใจ ซึ่งในพระไตรปิฎก แสดงถึงเรื่องอานาปานสติ ว่าเป็นอารมณ์

ของมหาบุรุษ คือ ผู้ที่ปัญญามาก สะสมบารมีมามากจึงจะอบรม อานาปานสติได้ เพราะ

อานาปานสติ เป็นอารมณ์ที่ละเอียดลึกซึ้งอย่างยิ่ง หากอยากจะทำ ก็ไม่มีทางถึง เพราะ

ด้วยความต้องการ ไม่ใช่ด้วยความเข้าใจครับ

ขณะนี้ กำลังหายใจ แต่ไม่รู้เลยว่ากำลังหายใจอยู่ และหากบอกว่ารู้ไหมที่กำลัง

หายใจขณะนี้ ก็ตอบได้ ว่ากำลังหายใจ แต่การรู้ว่ากำลังหายใจอยู่ ไม่ใช่เป็นการเจริญ

วิปัสสนา ที่เป็น อานาปานสติเลยครับ ซึ่งการเจริญวิปัสสนา ต้องมีสภาพธรรมที่มีจริง

เป็นอารมณ์ให้สติและปัญญารู้ นั่นคือ ขณะที่หายใจ มีอะไรปรากฎที่กำลังหายใจ

ขณะที่มีลมกระทบ ก็มี เย็น ร้อน เป็นต้น สภาพธรรมเหล่านี้มีจริง ก็รู้ความเป็นธรรม

ไม่ใช่เรา ขณะที่หายใจ เช่น เย็นก็เป็นธรรมไม่ใช่เรา ขณะที่สติและปัญญาเกิดในขณะ

นั้นครับ ทีละขณะ แต่ละสภาพธรรมครับ

สติและปัญญาเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ เพราะเป็นธรรมไม่ใช่เรา แม้แต่การ

กำหนดลมหายใจ ไม่มีใครกำหนด แต่เมื่อไหร่ที่สติและปัญญาเกิดในขณะนั้น ชื่อว่า

เป็นการระลึกลักษณะที่ปรากฎที่ลมหายใจครับ จึงไม่ต้องไปทำ ไปพยายามกำหนดให้

สติเกิด เพราะเมื่อสติจะเกิด หรือ ปัญญาจะเกิดย่อมเกิดเอง โดยไม่มีการบังคับ เพราะ

บังคับไม่ได้ เป็นแต่เพียงธรรมไม่ใช่เรา แต่เมื่อไหร่ที่จะพยายามกำหนดให้รู้ที่ลมหายใจ

เป็นตัวเรา คือ เป็นโลภะที่ต้องการจะรู้ ไม่ใช่สติและปัญญา ครับ

เรื่องที่สำคัญที่สุด คือ ความเข้าใจถูก นั่นคือ ปัญญา ซึ่งปัญญาจะเจริญได้ ก็ต้อง

เริ่มจากปัญญาขั้นการฟัง ศึกษาพระธรรมให้เข้าใจ เป็นเบื้องต้น เพราะเมื่อมีความเข้าใจ

เบื้องต้น ก็สามารถทำให้เข้าใจในคำแต่ละคำ และหนทางปฏิบัติที่ถูกต้อง แม้แต่เรื่อง

ของ อานาปานสติ ครับ

ดังนั้นขอให้ คุณ มนตรี999 ไม่ต้องเลือกที่อยากจะเจริญอารมณ์ใด อารมณ์หนึ่งโดย

เฉพาะนะครับ มีการเจริญอานาปานสติ เป็นต้น เพราะ จริงๆ แล้ว ไม่ใช่เราที่เลือกแต่เป็น

สติที่เกิดขึ้นเองที่จะทำหน้าที่รู้ลักษณะสภาพธรรมใด โดยไม่ได้จำเป็นที่จะต้องไปรู้

ลมหายใจเลย เพราะ สติเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ จึงไม่มีเราที่เลือก

ก็ขอให้กลับมาสู่ความเข้าใจถูกอีกครั้ง คือ เริ่มต้นให้ถูกด้วยการฟังให้เข้าใจในเรื่อง

สภาพธรรม และ กลับมาสู่ความเข้าใจถูกที่ว่า ไม่มีเรา มีแต่ธรรม และธรรม ก็เป็อนัตตา

สติ และ ปัญญาก็เป็นอนัตตา จึงไม่มีเราที่จะให้สติเกิดที่ไหน และ อารมณ์ใด สำคัญ

ตอนนี้ คือ อบรมเหตุ คือ การฟังให้เข้าใจไปเรื่อยๆ สติ และ ปัญญา จะเกิดขึ้นเอง

เมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น ครับ ขออนุโมทนา คุณ มนตรี999 มา ณ ที่นี้

เชิญคลิกอ่านที่นี่

อานาปานสติ - ภูมิแห่งมนสิการของมหาบุรุษ [1]

การเดินอานาปานสติ จะเป็นวิปัสสนาหรือไม่

เชิญคลิกฟังที่นี่ ครับ

อานาปานสติหมายความว่าอย่างไร

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
mouy179
วันที่ 1 ส.ค. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 1 ส.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สำคัญอยู่ที่ความเข้าใจถูกเห็นถูก จากการที่ได้ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรร

ค่อยๆ สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกไปตามลำดับ ไม่ใช่การไปทำอะไรด้วย

ความไม่รู้ ด้วยความจดจ้องต้องการ จึงควรตั้งต้นที่การฟังพระธรรมให้เข้าใจ

อานาปานสติ เป็นสติที่มีลมหายใจเป็นอารมณ์ เป็นได้ทั้งสมถภาวนาและ วิปัสสนา ภาวนา ซึ่งจะขาดปัญญาไม่ได้เลยทั้งสมถภาวนาและวิปัสสนา แต่ผลต่างกัน เพราะสมถภาวนา เพียงระงับกิเลสด้วยการข่มไว้เท่านั้น ไม่สามารถดับกิเลสใดๆ ได้เลย แต่ถ้าเป็นวิปัสสนาหรือสติปัฏฐานแล้ว สามารถทำให้รู้แจ้งสภาพธรรมตามความเป็นจริง ดับกิเลสได้ตามลำดับขั้น สูงสุด คือ ถึงความเป็นพระอรหันต์ดับกิเลสทั้งปวงได้อย่างหมดสิ้น เรื่องเจริญสติปัฏฐาน เป็นเรื่องของปัญญาที่เข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง สติเกิดขึ้นระลึกและปัญญารู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมในขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสติปัฏฐานไว้ ๔ ประการ ไม่ใช่เพียงประการเดียวเท่านั้นการเจริญสติปัฏฐานไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่ว่าเป็นเรื่องที่จะต้องอาศัยการฟังในสิ่งที่มีจริงเนืองๆ บ่อยๆ พิจารณาเหตุผลแล้วก็เจริญเหตุให้สมควรแก่ผลด้วย ข้อสำคัญประการหนึ่ง ก็คือ จะต้องไม่เข้าใจผิดว่าเป็นสติปัฏฐานเฉพาะบางสิ่งบางประการ หรือ เลือกเจาะจงเฉพาะบางนามธรรม บางรูปธรรม แต่ต้องเข้าใจให้ถูกต้องตามความเป็นจริงว่าทุกอย่างที่เป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายทางใจ นั้น เป็นสติปัฏฐานทั้งสิ้น เพราะเป็นที่ตั้งให้สติสัมปชัญญะเกิดขึ้นระลึกรู้ตามความเป็นจริงได้ ลมหายใจ ก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วย เพราะลมหายใจเป็นส่วนหนึ่งของกาย เป็นสภาพที่ปรุงแต่งกาย และเคยยึดถือว่าเป็นลมหายใจของเรา เป็นเราหายใจ แต่ขณะที่สติปัฏฐานเกิดขึ้น รู้ลักษณะ ของสิ่งที่กำลังปรากฏคือ ธาตุดิน ธาตุไฟ หรือธาตุลมเริ่มที่จะเข้าใจว่าเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่งซึ่งมีลักษณะอย่างนั้นเอง คือ เป็นธาตุที่ไม่รู้อารมณ์ (คือเป็นรูปธรรม) เป็นการถ่ายถอนความเข้าใจผิดที่เคยยึดถือว่า เป็นเราที่หายใจ หรือเป็นลมหายใจของเรา ทั้งนี้ แล้วแต่ว่าสติจะระลึกรู้ลักษณะใด โดยไม่จำกัดและไม่เจาะจง เพราะเป็นอนัตตาไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
nopwong
วันที่ 2 ส.ค. 2556

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 2 ส.ค. 2556

อานาปานสติเป็นอารมณ์ของมหาบุรุษ เช่น พระพุทธเจ้า และ พระมหาสาวก

เพราะเป็นอารมณ์ที่ละเอียดมาก และ ต้องมีปัญญามากจึงจะรู้ได้ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
มนตรี999
วันที่ 2 ส.ค. 2556

ครับ ขอบคุณครับ งั้นต้องใช้การเจริญ สติปฐานสี่ พิจารณา กายในกาย เวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม ใช่ไหมครับ ให้เกิดปัญญา ถ้าฟังธรรมอยางเดียว ใจจะมีกำลัง สู้กับกิเลส ไม่ไหวแน่ ผมคงโดนกิเลส ตีตายแน่เลย สติอารมณ์ ฝ่ายดำ ทางโลก มันชอบดึง ให้ใจตกต่ำ จิต ยังมีกำลังไมพอ ที่จะสู้ ขอคำชี้แนะด้วยครับ ไม่ได้ว่าฟังธรรม ไม่ดีนะครับ แต่บัวที่จมน้ำ คงฟังให้เข้าใจยาก ไม่เหมือนบุคลที่กำลังจะพ้นจากน้ำจากโคลนตม ย่อมเข้าใจง่าย นับถึอ พี่พี่ ครูบาอาจารย์ ทุกคนครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
paderm
วันที่ 2 ส.ค. 2556

เรียนความเห็นที่ 6 ครับ

ควรเข้าใจว่าหนทางการอบรมปัญญาที่ถูกต้องไม่ได้หมายความว่าจะไม่ให้

กิเลสเกิดขึ้น เป็นไปไม่ได้เลยเพราะขึ้นชื่อว่าปุถุชน ย่อมเกิดกิเลสขึ้นเป็น

ธรรมดา เพราะฉะนั้นหนทางที่ถูกคือเมื่อกิเลสเกิดแล้ว ก็เข้าใจว่าเป็นธรรม

ไม่ใช่เรา เพราะกิเลสที่ต้องละอันดับแรก คือ ความเห็นผิดว่ามีเรา มีสัตว์

บุคคล เริ่มจากการฟัง จะเป็นรากฐานที่ถูกต้อง จนปัญญาเกิดรู้ว่าแม้ว่า

อกุศลเป็นธรรม ไม่ใช่เราครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
มนตรี999
วันที่ 2 ส.ค. 2556

ขอบคุณครับ

ปล่อยวาง กิเลส ปล่อยวาง ตัวเรา ปล่อยวาง ความคิด มีสติแค่รู้ กิเลส ตัวแรกคือตัวเราเอง ที่สร้างตัวเราขึ้นมา เหมือนเงาที่ติดตามตัว โดยทีเราไมรู้ตัว วิ่งไล่จับกิเลส ก็เหมือนวิ่งไล่จับเงา ที่จับต้องไม่ได้ สภาวะธรรมใดใด ก็แค่ผ่านมา แล้วก็ผ่านไป จับต้องไม่ได้ มีเกิดมีดับไป เป็นเช่นนั้นเอง

กราบอนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
มนตรี999
วันที่ 2 ส.ค. 2556

ขอถอนคำพูด ที่ว่า ฟังธรรม อย่างเดียว แล้วใจจะมีกำลังสู่กับกิเลส ไม่ไหว นะครับ จะปฎิบัติ อย่างเดียว พอดีไปอ่านเจอ ข้อคิดเห็น ของอาจารย์ผู้รู้ ในบ้านธัมมะ เลยเข้าใจ มันคงจะเสียเวลาเปล่า ถ้าไม่รู้พระธรรมคำสอนก่อน ไปปฎิบัติ สุดทายก็หลงทาง ไม่ได้อะไรเลย เป็นความเชื่อที่ผิด ของการไม่ได้ศึกษา หรือความไม่รู้ คิดไปเอง ขออนุโมทนาครับ คำสอนของอาจารย์ท่านหนึ่งครับก็อบปี้มา

ปัญญาไม่ได้เกิดจากการผจญภัยในป่า และต้องเกือบใกล้สิ้นชีวิต ปัญญาจึงเกิดได้

แต่ปัญญาเกิดเพราะอาศัยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม แม้ในสมัยพุทธกาล ท่าน

พระสารีบุตร ท่านก็ฟังธรรมจนบรรลุ ไม่ได้จะต้องไปสู่ป่า ผจญอันตรายจึงจะเกิดปัญญา

บรรลุธรรม เพศฆราวาส มี นางวิสาขา ฟังธรรม บรรลุ ไม่ได้ไปสู่ป่า ผจญอันตรายเพราะ

ท่านได้สะสมปัญญามาแล้ว เมื่อได้ฟังพระธรรม จึงบรรลุธรรม และ หากเป็นยุคสมัยนี้

ที่มีปัญญาน้อยกว่าคนในสมัยพุทธกาล จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษา พระธรรมคำสอน

ของพระพุทธเจ้า บ่อยๆ เนืองๆ เพื่อความเจริญขึ้นของปัญญา เพราะหากไปทำไป

ปฏิบัติเอง โดยไม่ได้ฟังพระธรรมบ่อยๆ เนืองๆ ย่อมไม่สามารถที่จะถึงการบรรลุธรรม

ได้เลย เพียงเพราะผ่านอันตรายถึงชีวิต ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
surat
วันที่ 3 ส.ค. 2556

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ