ความรู้สึกว่าสังเกตเห็นความดีใจของตนเอง คืออะไร

 
machulees
วันที่  20 มิ.ย. 2556
หมายเลข  23075
อ่าน  3,252

ในเวลาที่ได้รับสิ่งที่อยากได้ แล้วตื่นเต้นดีใจมาก แต่ในเวลานั้นก็คล้ายว่ารู้สึกถึงความที่ใจตื่นเต้น ยินดี ลิงโลดมากด้วย แล้วความรู้สึกตื่นเต้นดีใจนั้นก็เหมือนลดลงไป ไม่ทราบว่าลักษณะนี้ทางธรรมะ อธิบายว่าอย่างไรคะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 21 มิ.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอหรันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

แสดงให้เห็นถึงความเป็นจริงว่าธรรม ไม่พ้นไปจากชีวิตประจำวันเลย มีจริงๆ

ในชีวิตประจำวัน ทุกขณะ ขณะที่ได้รับสิ่งที่อยากได้ ก็เกิดความตื่นเต้นดีใจ

ถ้ากล่าวตามธรรมแล้ว ไม่พ้นไปจากความเกิดขึ้นเป็นไปของธรรม ที่เป็นโลภะที่

ประกอบด้วยความรู้สึกที่เป็นโสมนัส ขณะที่ได้รับสิ่งที่น่าพอใจ นั้น เป็นผลของ

กุศล แต่หลังจากนั้น อกุศลที่ประกอบด้วยโลภะ ก็เกิดขึ้นเป็นไป เป็นปกติของ

ผู้ที่ยังมีความติดข้องต้องการอยู่ ซึ่งเป็นธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจ

บังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น แต่ความเป็นจริงของธรรม คือ เกิดแล้วดับไป ไม่เที่ยง

ไม่ยั่งยืน ชีวิตประจำวัน ไม่ได้มีเฉพาะโลภะเท่านั้น ที่เกิดขึ้นเป็นไป ขณะอื่นที่ไม่

ใช่โลภะ ก็มี ทั้งหมดนั้นล้วนเป็นธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัยทั้งสิ้น

ประโยชน์ของการได้ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ฟังในสิ่งที่มีจริงบ่อยๆ เนืองๆ

ก็เพื่อเข้าใจสภาพธรรมที่มีจริงๆ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งไม่เคยรู้มาก่อนว่าเป็นธรรม

โลภะ ก็เป็นธรรม ความรู้สึกตื่นเต้น ก็เป็นธรรม เกิดเพราะเหตุปัจจัย ครับ

…ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 21 มิ.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ธรรมเป็นเรื่องละเอียด เพราะเป็นเรืองของนามธรรม ที่ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตา

แต่เห็นได้ด้วยปัญญา ที่เป็นสภาพธรรม นามธรรมที่เป็น จิต เจตสิก ที่เกิดขึ้นและ

ดับไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการพิจารณาธรรมจะต้องพิจารณาเป็นทีละขณะจิต ไม่ใช่

การพิจารณาเป็นเรื่องราวรวมๆ กัน

ในขณะที่ได้รับสิ่งที่อยากได้ ก่อนจะได้รับ ก็มีการเห็น ขณะที่เห็น ก็เป็นจิตชาติวิบาก

ขณะนั้นเป็นผลของกรรม ซึ่ง ไม่ใช่เราที่เห็น แต่แป็นจิต ที่ทำหน้าที่เห็นในขณะนั้น

เมื่อเห็นแล้ว จิตที่เห็นดับไป เป็นปัจจัยให้จิตอื่นๆ เกิดต่อ เพราะ ไม่ใช่เพียงเห็นเท่านั้น

ก็คิดนึกเป็นรูปร่าง สัณฐาน เป็นสิ่งของ ที่สมมติเรียกว่าเป็นอะไร เป็นดอกไม้ เป็นของ

ที่ชอบ เป็นต้น

เมื่อเห็นเป็นสิงหนึ่งสิ่งใด ที่สำคัญว่าเป็นของที่ชอบแล้ว โดยมากของปุถุชน ที่หนา

ด้วยกิเลสก็ยึดถือ ติดข้องด้วยโลภะ ติดข้องพอใจในสิ่งนั้น ซึ่งขณะที่พอใจ ติดข้อง

ที่มีกำลังมากขณะนั้น ก็จะต้องมีความรู้สึกที่เรียกว่า เวทนา เกิดร่วมด้วยในขณะนั้น

เพราะความติดข้อง มีกำลังมาก ก็เกิดความรู้สึกที่โสมนัส แช่มชื่น สุขใจเป็นอย่างมาก เพราะติดข้องด้วยโลภะในของนั้นมากนั่นเอง

เหมือนการได้ของขวัญที่ถูกใจ ก็เกิดความติดข้องพอใจ และดีใจอย่างมากที่ได้ของ

นั้น แต่เป็นสภาพธรรมที่จะต้องดับไป ดังนั้น แม้จะรู้ หรือ ไม่รู้ก็ตามว่ากำลังยินดี พอใจอย่างมาก แต่ สภาพธรรมที่เป็นโลภะที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกที่ยินดี โสมนัส ก็จะต้องดับไป ไม่ตั้งอยู่ได้เลย เมื่อดับไปแล้ว จิตประเภทอื่นๆ ก็เกิดขึ้น เช่น จิตที่ได้ยิน จิตที่

คิดนึกเรื่องอื่นๆ ก็ทำให้ความรู้สึกที่สุข โสมนัส ที่ยินดีที่ได้ของนั้น เบาบางลง หรือ หาย

ไปได้ธรรมดา

ดังนั้น การรู้ว่า มีความรู้สึกที่พอใจอย่างมากที่ได้ของ มีความละเอียด เพราะแม้ขณะ

ที่โกรธ ก็รู้ว่าโกรธ ขณะที่ชอบมาก ก็รู้ว่าชอบมาก ประโยชน์ไม่ได้อยู่ที่ทำให้ความรู้สึก

ชอบหายไป เมือรู้ว่ากำลังชอบมาก แต่ประโยชน์ที่สำคัญ ในพระพุทธศาสนา คือ จะต้อง

เกิดปัญญา ความเข้าใจถูก เพราะฉะนั้น ขณะที่ชอบมาก และรู้ว่าชอบมาก ยินดีพอใจ

มาก ปัญญาขณะนั้นรู้อะไร หากรู้ว่ากำลังชอบมาก ไม่ใช่ปัญญาในพระพุทธศาสนา

เพราะ ผู้ที่ไม่ได้ศึกษาพระธรรมก็รู้ว่า ชอบมาก รู้ว่า กำลังโกรธอยู่ แต่ผู้ที่รู้ เช่นนั้นเป็นการรู้ด้วยความเป็นเรา ไม่ใช่รู้ด้วยปัญญา ความหมายคือเป็นเราที่รู้ แต่ไม่ใช่

ปัญญาที่รู้ เพราะ ที่ถูกต้อง และเป็นหนทางการดับกิเลส คือ เป็นการรู้ความจริงขณะ

ที่ยินดีพอใจมาก ว่า เป็นแต่เพียงธรรมไม่ใช่เรา ที่ยินดีพอใจ นี่ต่างหากที่เป็นหนทาง

ที่ถูก และเป็นการเจริญอบรมปัญญาตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง เพื่อละความเป็นเรา

ละความเห็นผิดว่ามีเรา มีสัตว์ บุคคล อันเป็นหนทางการละกิเลส ครับ

ดังนั้น ที่ความรู้สึกแปรปรวนไป แม้เป็นการรู้ที่ไม่ใช่ปัญญาที่รู้ด้วยความเป็นเรา

ไม่ได้รู้ว่าเป็นธรรม ก็เป็นกฎธรรมชาติของสภาพธรรมที่ไม่เที่ยง ที่จะต้องเกิดขึ้นและ

ดับไป แปรปรวนไปเป็นธรรมดา ซึ่งภาษาธรรมเรียกว่า วิปริณนามทุกข์ คือ แม้ความ

สุขที่เกิดขึ้น ก็ไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง เพราะ ความสุขนั้นที่เกิดขึ้น ก็แปรปรวนไปเป็น

ธรรมดา ก็หมดความสุข แม้จะยินดีพอใจเท่าไหร่ ความสุขนั้นก็หมดไป ไม่เที่ยงเลย

พระพุทธเจ้าถึงทรงแสดงว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าทรงกำหนดรู้ทุกข์

คือ รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นและดับไป ว่าไม่เทียง เป็นทุกข์ และ เป็น

อนัตตา ด้วยพระปัญญา และทรงแสดงธรรมสั่งสอนสัตว์โลกให้เข้าใจ ซึ่งหนทางการ

อบรมปัญญาที่ถูกต้อง จึงไม่ใช่การจะไปทำ จะไปจดจ้องดูสภาพธรรม แต่จะต้องเริ่ม

จากการฟังพระธรรมให้เข้าใจ ปัญญาขั้นการฟังจะเจริญขึ้นเอง และก็จะสามารถทำให้

รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงได้ในอนาคต ครับ ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
bsomsuda
วันที่ 22 มิ.ย. 2556

"หนทางการอบรมปัญญาที่ถูกต้อง

จึงไม่ใช่การจะไปทำ จะไปจดจ้องดูสภาพธรรม

แต่จะต้องเริ่มจากการฟังพระธรรมให้เข้าใจ

ปัญญาขั้นการฟังจะเจริญขึ้นเอง

และก็จะสามารถทำให้รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงได้ในอนาคต"

ขอบพระคุณและขออนุโมทนา อ.คำปั่น อ.ผเดิม และทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
peem
วันที่ 23 มิ.ย. 2556

ขออนุโมทนาคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
one_someone
วันที่ 23 มิ.ย. 2556

...ขณะที่ชอบมาก และรู้ว่าชอบมาก ยินดีพอใจมาก ปัญญาขณะนั้นรู้อะไร หากรู้ว่ากำลังชอบมาก ไม่ใช่ปัญญาในพระพุทธศาสนาเพราะ ผู้ที่ไม่ได้ศึกษาพระธรรมก็รู้ว่า ชอบมาก รู้ว่า กำลังโกรธอยู่ แต่ ผู้ที่รู้เช่นนั้นเป็นการรู้ด้วยความเป็นเรา ไม่ใช่รู้ด้วยปัญญา ความหมายคือเป็นเราที่รู้ แต่ไม่ใช่ปัญญาที่รู้ เพราะ ที่ถูกต้อง และเป็นหนทางการดับกิเลส คือ เป็นการรู้ความจริงขณะที่ยินดีพอใจมาก ว่า เป็นแต่เพียงธรรมไม่ใช่เรา ที่ยินดีพอใจ นี่ต่างหากที่เป็นหนทางที่ถูก และเป็นการเจริญอบรมปัญญาตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง เพื่อละความเป็นเราละความเห็นผิดว่ามีเรา มีสตว์ บุคคล อันเป็นหนทางการละกิเลส....สาธุครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
daris
วันที่ 23 มิ.ย. 2556

กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
wittawat
วันที่ 23 มิ.ย. 2556

ท่านผู้ถามควรเริ่มด้วยการเข้าใจว่า ธรรมคือ อะไรก่อนนะครับ

และด้วยเหตุนี้ แม้ไม่มีชื่อเลย ก็กำลังมีความจริงที่กำลังปรากฏครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
SRPKITT
วันที่ 25 มิ.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ