การศึกษาพระพุทธศาสนาในแบบของเรา

 
fouron
วันที่  21 พ.ค. 2556
หมายเลข  22933
อ่าน  1,106

กระผมมีข้อสงสัยในฐานะที่เป็นพุทธศาสนิกชนวัยรุ่นคนหนึ่งว่า ตลอดเวลาที่ผมได้ศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ ว่า การศึกษาที่ผมเจอตลอดมานั้นมีอุปสรรคในการจดจำ คือ ต้องเรียนเป็นภาษาบาลี สันสกฤต เช่น การเรียนศีล จะต้องจดจำเป็นปานาติปาตาฯ ตลอดไปหรือครับ ทำไมเราถึงไม่จดจำหรือสอนเป็นภาษาไทยไปเลยครับ ผมลองสอบถามคนแก่หลายคนแล้วพบว่าไม่รู้ว่าพระท่านพูดอะไร ภาษาอะไร ได้แต่ฟังไปแล้วรอได้กรวดน้ำ รับพร เพราะคนเราก็มีกันหลายระดับมาก แต่คนในระดับที่ต่ำจะสามารถที่จะรับรู้ถึงความจริงอันประเสริฐที่ง่ายกว่า เช่น ถ้าสอนคนที่โง่ให้ขันติ เขาก็คงจะไม่รู้ว่าคืออะไร แต่หากสอนคนโง่ให้อดทน เขาคงจะเข้าใจดีกว่าขันติเสมอไปครับ เพราะเขาเข้าใจในภาษาที่เขาใช้อยู่มากกว่าที่จะจำ หรือเปล่าครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 21 พ.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การศึกษาพระธรรม คือ การศึกษาพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วพระธรรมไม่ได้จำกัดเชื้อชาติ ผู้ใดสะสมอบรมปัญญามา ก็สามารถเข้าใจได้ โดยสามารถเข้าใจตามภาษาของตน อย่างเกิดเป็นคนไทย พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแปลมาเป็นภาษาไทยแล้วก็เข้าใจตามภาษาไทย ภาษาที่ตนเข้าใจ สมดังที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ว่าไม่ควรดูหมิ่นภาษาชาวบ้าน ความหมาย คือ เข้าใจภาษาตามภาษาท้องถิ่นในสมัยนั้นตามท้องถิ่นนั้นเป็นสำคัญ เพราะไม่ว่าจะแสดงโดยภาษาอะไร และ ใช้ภาษาอะไร ก็สื่อความหมาย ก็กำลังแสดงความจริงของสภาพธรรมที่ไม่มีชื่อ แต่มีลักษณะให้รู้ เช่น สภาพธรรมที่เป็นจิต สภาพธรรมที่เป็นรูป ก็มีสภาพธรรมตามความเป็นจริง มีลักษณะที่กำลังปรากฎในขณะนี้ ในชีวิตประจำวัน เช่น เห็น ได้ยิน เหล่านี้ อย่างภาษาบาลีใช้ว่าจักขุวิญญาณ ภาษาไทยก็หมายถึงเห็น เป็นต้น ดังนั้น ก็เข้าใจธรรมด้วยภาษาไทย คือ เข้าใจคำว่าเห็น ว่าเป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นสภาพรู้ โดยไม่ต้องไปจดจำภาษาบาลีที่เป็นจักขุวิญญาณเลย ครับ

แต่หากว่าได้ยินคำภาษาบาลี บางครั้งก็ได้ยินคำภาษาบาลีบ้าง ก็ควรที่จะได้พิจารณาว่า ทุกครั้งที่ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ได้ยกคำบาลีขึ้นกล่าวนั้น ท่านอาจารย์จะมีคำอธิบายทุกครั้ง ว่าคำนั้นหมายถึงอะไร เพราะฉะนั้น เรื่องคำบาลีจึงไม่ใช่อุปสรรค ขอเพียงฟังบ่อยๆ เนืองๆ ไม่ปล่อยมือจากพระธรรม ความเข้าใจถูกเห็นถูกย่อมจะเจริญขึ้นอย่างแน่นอน

ดังนั้น ปัจจุบันมีพระธรรมที่แสดงเป็นภาษาไทย ก็เข้าใจโดยภาษานั้น ปัญญาก็สามารถเกิดขึ้นได้ตามภาษาที่ตนเข้าใจ ต่างจากการท่องบาลี ก็เป็นเพียงสัญญาความจำ ไม่ได้เกิดปัญญาความเข้าใจ ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
j.jim
วันที่ 21 พ.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 21 พ.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ผู้ที่สะสมมาดีเพียงได้ยินคำว่าธรรม หรือ คำอะไรต่างๆ ที่เกี่ยวกับธรรม ก็มีความประสงค์ที่จะศึกษาที่จะเข้าใจให้ถูกต้อง ซึ่งจะแตกต่างไปจากผู้ที่ไม่ได้สะสมเหตุที่ดีมาเลย ได้ยินก็ได้ยินไป ไม่สนใจที่จะฟังที่จะศึกษา พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นเรื่องที่ละเอียด ยากที่จะเข้าใจ จึงต้องอาศัยการฟัง การศึกษาบ่อยๆ เนืองๆ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง สะสมความเข้าใจไปทีละเล็กทีละน้อย ค่อยๆ เรียน ค่อยๆ รู้ เพราะพระธรรมเป็นสิ่งที่ควรศึกษาที่สุด เมื่อได้ฟังพระธรรมบ่อยๆ อ่านบ่อยๆ ก็จะค่อยๆ คุ้นกับคำที่เป็นภาษาบาลี พร้อมกับคำแปลที่ถูกต้อง

การที่จะเข้าใจความจริงของสภาพธรรมได้ไม่มีหนทางอื่นนอกจากฟังพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ถ้าจะมองในอีกมุมหนึ่ง ควรเอาเวลาที่คิดว่าจะไปเรียนภาษาบาลี (ซึ่งจะต้องใช้เวลามากทีเดียว) มาเป็นเวลาแห่งการฟังพระธรรม อ่านพระไตรปิฎก เพิ่มพูนความเข้าใจยิ่งขึ้น นี้คือสิ่งที่จะเป็นที่พึ่งได้อย่างแท้จริง เพราะเวลาของแต่ละบุคคลเหลือน้อยเต็มทีแล้ว ไม่รู้ว่าจะละจากโลกนี้ไปเมื่อใด ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 21 พ.ค. 2556

การศึกษาธรรม ภาษาไหนก็ได้ที่คนฟังธรรมแล้วเข้าใจ เพราะมาจากคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า คือ พระไตรปิฎก ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
jaturong
วันที่ 22 พ.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
orawan.c
วันที่ 23 พ.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
pavee
วันที่ 25 พ.ค. 2556

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
fouron
วันที่ 10 มิ.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ