ปฐมวัฑฒิสูตร - ธนสูตร - ๒๑ ต.ค. ๒๕๔๙

 
บ้านธัมมะ
วันที่  18 ต.ค. 2549
หมายเลข  2287
อ่าน  1,459

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ

••• ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย •••

ทุกวันเสาร์...ขอเชิญร่วมรายการ

สนทนาธรรมที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

พระสูตร ที่นำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ

วันเสาร์ที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๔๙

เวลา ๐๙:๐๐ - ๑๒:๐๐ น.

ปฐมวัฑฒิสูตร

ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญ ๕ ประการ

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 153

ธนสูตร

ว่าด้วยทรัพย์ ๕ ประการ

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 107

นำการสนทนาโดย..ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และคณะวิทยากร

ขอเชิญท่านอ่านพระสูตรนี้ได้ในกรอบต่อไป ครับ ...


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ต.ค. 2549

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 153

๓. ปฐมวัฑฒิสูตร

ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญ ๕ ประการ

[๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้เจริญด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญ ๕ ประการ ชื่อว่าย่อมเจริญด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญอย่างประเสริฐ ชื่อว่าเป็นผู้ยึดถือสาระ และยึดถือสิ่งประเสริฐแห่งกาย ธรรมเป็นเหตุเจริญ ๕ ประการ เป็นไฉน คือ ย่อมเจริญด้วยศรัทธา ย่อมเจริญด้วยศีล ย่อมเจริญด้วยสุตะ ย่อมเจริญด้วยจาคะ ย่อมเจริญด้วยปัญญา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้เจริญด้วยธรรม เป็นเหตุเจริญ ๕ ประการนี้แล ชื่อว่าย่อมเจริญด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญอย่างประเสริฐ ชื่อว่าเป็นผู้ยึดถือสาระ และยึดถือสิ่งประเสริฐแห่งกาย อริยสาวกผู้ใด ย่อมเจริญด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา ทั้งสองฝ่าย อริยสาวกผู้เช่นนั้น เป็นสัปบุรุษ มีปรีชา เห็นประจักษ์ ชื่อว่าย่อมยึดถือสาระแห่ง ตนในโลกนี้ไว้ได้ทีเดียว

จบ ปฐมวัฑฒิสูตรที่ ๓

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ต.ค. 2549

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 153

อรรถกถาปฐมวัฑฒิสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมวัฑฒิสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า วราทายี คือ เป็นผู้ยึดเอาไว้ได้ซึ่งสาระอันสูงสุด. คำที่เหลือในสูตรนี้และสูตรที่ ๔ ง่ายทั้งนั้นแล.

จบ อรรถกถาปฐมวัฑฒิสูตรที่ ๓

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 ต.ค. 2549

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 107

๗. ธนสูตร ว่าด้วยทรัพย์ ๕ ประการ

[๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉนคือ ทรัพย์ คือ ศรัทธา ๑ ทรัพย์ คือ ศีล ๑ ทรัพย์ คือ สุตะ ๑ ทรัพย์ คือ จาคะ ๑ ทรัพย์ คือ ปัญญา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็ทรัพย์ คือ ศรัทธา เป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา ย่อมเชื่อพระปัญญาเครื่องตรัสรู้ของตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่า ทรัพย์ คือ ศรัทธา

ก็ทรัพย์ คือ ศีล เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ เว้นขาดจากการดื่มสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท นี้เรียกว่า ทรัพย์ คือ ศีล

ก็ทรัพย์ คือ สุตะ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ นี้เรียกว่า ทรัพย์ คือ สุตะ

ก็ทรัพย์ คือ จาคะ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้มีใจปราศจากมลทิน คือ ความตระหนี่ อยู่ครองเรือน มีจาคะอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการเสียสละ ควรแก่การขอ ยินดีในทานและการจำแนกทาน นี้เรียกว่า ทรัพย์ คือ จาคะ

ก็ทรัพย์ คือ ปัญญา เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาอันหยั่งถึงความตั้งขึ้นและความเสื่อมไป เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่า ทรัพย์ คือ ปัญญา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๕ ประการนี้แล ผู้ใดมีความเชื่อในตถาคต ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว มีศีลอันงาม อันพระอริยะ ชอบใจ สรรเสริญ มีความเลื่อมใสในพระสงฆ์ และมีความเห็นตรง บัณฑิตทั้งหลายกล่าวผู้นั้นว่า ไม่เป็นคนขัดสน ชีวิตของผู้นั้นไม่เปล่าประโยชน์ เพราะ เหตุนั้น ผู้มีปัญญา เมื่อนึกถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึงประกอบ ศรัทธา ศีล ปสาทะ และความเห็นธรรมเนืองๆ เถิด

จบ ธนสูตรที่ ๗

(พระสูตรนี้ ไม่มีอรรถกถา)

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
chatchai.k
วันที่ 17 พ.ย. 2563

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ