ผลของกรรม ที่เป็นรูป กับที่เป็นนาม ต่างกันอย่างไร

 
khundong
วันที่  23 เม.ย. 2556
หมายเลข  22797
อ่าน  2,118

รูปไม่เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดกัมมัชรูป และวิบากจิตนามธรรม ได้แก่ จิต เจตนาเจตสิกที่เกิดร่วมกับเหตุ 6 (เจตสิก 6 ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ และอโลภะ อโทสะ อโมหะ) ที่ล่วงเป็นกรรม ให้ผลเป็นวิบากจิตและกัมมัชรูป เจตนาเจตสิกนั้น เป็นกัมมปัจจัยให้เกิดวิบากจิตและกัมมัชรูป


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 23 เม.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เมื่อกล่าวถึงผลของกรรม ก็จะต้องเข้าใจคำว่า กรรมที่เป็นตัวเหตุ คือ กุศลกรรมและอกุศลกรรม ที่จะทำให้เกิดผล ผลของกุศลกรรมและอกุศลกรรมมีสองอย่าง คือ รูปและนาม กุศลกรรมและอกุศลกรรมเป็นเหตุให้เกิดนาม คือ จิต เจตสิก ที่เรียกว่า วิบาก เมื่อใช้คำว่า วิบากจะมุ่งหมายถึงนามธรรมเท่านั้น ที่เป็นจิต เจตสิก ส่วนผลของกรรมที่เกิดจากเหตุ คือ กุศล อกุศล ไม่ใช่มีแค่จิต เจตสิก แต่มีรูปด้วย เช่น กัมมัชชรูป คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ซึ่งเกิดในขณะที่ปฏิสนธิจิตที่เป็นวิบากจิต เกิดขึ้นพร้อมกับรูป คือ กัมมัชรูป รูปที่เกิดจากกรรม เพราะฉะนั้น กุศลกรรมและอกุศลกรรมที่เป็นเหตุ เป็นเหตุให้เกิดทั้งนาม คือ จิต เจตสิก ที่เรียกว่าวิบากจิต วิบากเจตสิก รวมทั้ง กุศลกรรม อกุศลกรรม เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดรูปที่เกิดจากกรรม กัมมชรูป คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย เป็นต้นด้วย แต่รูปไม่ใช่วิบาก แต่รูปเป็นผลของกรรม ครับ

ดังนั้น เราจะต้องแยกคำว่า วิบาก กับ ผลของกรรม ว่าไม่เหมือนกัน วิบาก มุ่งหมายถึง จิต เจตสิกเท่านั้น ไม่รวมรูป ส่วนผลของกรรม รวมทั้งรูปและนาม จึงกล่าวได้ว่า กุศลกรรม อกุศลกรรมที่เป็นเหตุ ผลของกรรม คือ วิบาก (จิต เจตสิก) และ รูป ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ใฝ่รู้
วันที่ 23 เม.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
nopwong
วันที่ 23 เม.ย. 2556

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
boonpoj
วันที่ 24 เม.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
rrebs10576
วันที่ 24 เม.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
nong
วันที่ 24 เม.ย. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
j.jim
วันที่ 24 เม.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
khampan.a
วันที่ 24 เม.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ความเป็นจริงของสภาพธรรม เป็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น ใครๆ ก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น สำหรับในเรื่องของกรรมและผลของกรรมก็เป็นธรรม กรรมเป็นเหตุ ซึ่งมีทั้งเหตุที่ดีและเหตุที่ไม่ดี เมื่อเหตุต่างกัน ผลก็ต้องต่างกัน จะเหมือนกันไม่ได้ เหตุดีย่อมให้ผลที่ดี ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ในทางตรงกันข้าม ถ้าเป็นเหตุไม่ดี ผลก็ย่อมเป็นผลที่ไม่ดี ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ โดยไม่มีใครทำให้เลย ผลของกรรมมีทั้งนามธรรม (วิบากจิตและเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย) และรูปธรรม (รูปที่เกิดจากกรรม) โดยไม่มีใครจัดสรร แต่ความจริงเป็นอย่างนั้น เป็นธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น ครับ

การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมในชีวิตประจำวัน ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นแห่งปัญญา ความเข้าใจถูกเห็นถูกในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง แม้ในเรื่องกรรมและผลของกรรมก็เช่นเดียวกัน ไม่พ้นไปจากธรรมเลย ไม่พ้นจากชีวิตประจำวันด้วย ผู้ที่ได้ศึกษาพระธรรมคำสอนในทางพระพุทธศาสนา ย่อมจะเป็นผู้มีความเข้าใจว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับบุคคลแต่ละคน หรือแม้กระทั่งเกิดกับตัวเอง ไม่ว่าดีหรือร้าย น่าปรารถนาหรือไม่น่าปรารถนาก็ตาม ล้วนแล้วแต่เป็นเพราะกรรมที่เคยได้กระทำมาแล้วทั้งสิ้น ไม่มีใครทำให้เลย ซึ่งจะเห็นได้ว่า ถ้าไม่มีเหตุคือกรรมที่ได้กระทำมาแล้ว ผลที่จะเกิดย่อมมีไม่ได้ แต่เพราะมีเหตุคือกรรมที่ได้กระทำแล้ว เมื่อได้โอกาสที่กรรมจะให้ผล ผลจึงเกิดขึ้น พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง เป็นเครื่องเตือนที่ดีสำหรับทุกแง่มุมของชีวิต จึงควรอย่างยิ่งที่ทุกคนจะได้พิจารณาว่า ชีวิตเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน แต่ความตายเป็นสิ่งแน่นอนสำหรับทุกคน ควรที่จะเห็นโทษของอกุศลที่เป็นเหตุให้กระทำอกุศลกรรม แล้วจะเป็นเหตุให้ได้รับผลที่ไม่ดีข้างหน้า โดยไม่เพียงแค่กลัวผลของอกุศลกรรมเท่านั้น ต้องกลัวที่เหตุคืออกุศลกรรมด้วย ดังนั้นเมื่อจะสะสมกรรมที่จะทำให้เกิดผลในภายหน้า ก็พึงกระทำเฉพาะกรรมอันงาม คือ กุศลกรรม เท่านั้น ส่วนสิ่งที่ไม่ดีคืออกุศลทั้งหลาย ซึ่งไม่เป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนและแก่บุคคลอื่น ไม่ควรที่จะสะสมให้มีมากขึ้น เพราะเหตุว่า อกุศลกรรมเป็นที่พึ่งไม่ได้ แต่สิ่งที่จะเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย ทั้งในโลกนี้และในโลกหน้านั้น ก็คือ กุศล ความดีทั้งหลายเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ ปัญญา ซึ่งเป็นความเข้าใจถูกเห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง ครับ.

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
wannee.s
วันที่ 24 เม.ย. 2556

ผลของกรรมเป็นรูปก็ได้ เช่น เกิดมาทำให้รูปร่างหน้าตาดีเพราะผลของการรักษาศีล ผลของคนทุศีลทำให้หน้าตาไม่ดี รูปไม่ดี ผิวพรรณทราม เป็นต้น ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
swanjariya
วันที่ 24 เม.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 25 เม.ย. 2556

รูปไม่เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดกัมมัชรูปและวิบากจิตนามธรรมได้แก่จิต เจตนาเจตสิกที่เกิดร่วมกับเหตุ6 (เจตสิก6ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะและอโลภะ อโทสะ อโมหะ) ที่ล่วงเป็นกรรม..ให้ผลเป็นวิบากจิตและกัมมัชรูป..เจตนาเจตสิกนั้นเป็นกัมมปัจจัยให้เกิดวิบากจิตและกัมมัชรูป

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
khundong
วันที่ 25 เม.ย. 2556

ขอบคุณและขออนุโมทนาครับ

สอบถามเพิ่มเติม

กัมมัชรูป เป็นอย่างไรครับ เกิดเฉพาะปฏิสนธิอย่างเดียวใช่หรือเปล่า

รูปเกิดจากกรรม เป็นอย่างไร

รูปเกิดจากอุตุ เป็นอย่างไร

รูปเกิดจากจิต เป็นอย่างไร

รูปเกิดจากอาหาร เป็นอย่างไร

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
paderm
วันที่ 25 เม.ย. 2556

เรียนความเห็นที่ 12 ครับ

กัมมชรูป คือ รูปที่เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐาน ในขณะปฏิสนธิจิตมีกัมมชรูปบางกลุ่มเกิดร่วมด้วย คือ หทยรูป ภาวรูป ชีวิตรูป

กัมมชรูปบางกลุ่มเกิดภายหลังจากปฏิสนธิจิตดับไปแล้ว รูปที่เกิดเพราะกรรมเป็นสมุฏฐานนั้นเป็นกัมมชรูป เกิดทุกขณะของจิต คือ เกิดขณะอุปาทะของจิต เกิดขณะฐิติของจิต เกิดขณะภังคะของจิตทุกดวง เว้นไม่เกิดก่อนจุติจิต ๑๗ ขณะ ฉะนั้นรูปที่เกิดเพราะกรรมเป็นสมุฏฐานจึงดับหมดพร้อมกับจุติจิต ทำให้สิ้นสุดความเป็นบุคคลในชาตินั้นทั้ง ๕ ขันธ์

เชิญคลิกอ่านที่นี่ ครับ

จิตตชรูป

รูปที่เกิดจาดอุตุเป็นสมุฏฐาน

อาหารชรูป

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
jaturong
วันที่ 25 เม.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
orawan.c
วันที่ 7 พ.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
peem
วันที่ 10 ม.ค. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ