ขอรบกวนคำแนะนำในเรื่องการบวชพระค่ะ

 
rosemary
วันที่  16 เม.ย. 2556
หมายเลข  22764
อ่าน  1,998

ขอรบกวนคำแนะนำในเรื่องการบวชพระ และสิ่งที่ควรอ่าน ควรศึกษา ให้กับน้องชายซึ่งจะบวชประมาณ 15 วันค่ะ

ขอกราบขอบคุณอาจารย์ทุกท่านมากค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 16 เม.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ผู้ที่จะบวชเป็นพระภิกษุ เมื่อจะบวช ควรศึกษาพระวินัย เท่าที่จะพอเข้าใจได้ รวมทั้ง การฟังพระธรรมในส่วนอื่นๆ เพื่อประโยชน์กับตนเอง คือ เมื่อบวชไปแล้ว จะได้ประพฤติถูกต้องตามพระวินัยเท่าที่ทำได้ และ เป็นประโยชน์กับผู้อื่น คือ อุบาสก อุบาสิกา ที่ทำบุญกับพระภิกษุรูปนั้น ที่จะได้บุญ กุศล ในพระที่บวชใหม่ และ ประพฤติถูกต้อง

ซึ่ง ควรเริ่มจาก การศึกษาพระวินัย ในข้อห้ามต่างๆ โดยเฉพาะการรับเงินทอง ว่าเป็นสิ่งที่ไม่สมควร สามารถปฏิเสธได้ หากใครจะถวาย และ นำแผ่นซีดี ในชุด เทปวิทยุ แผ่นที่ 10 หรือ เปิดฟังในเวปได้ ในหมวด ซีดีธัมมะ ในชุด เทปวิทยุ แผ่นที่ 10 จะอธิบายพระวินัยในส่วนต่างๆ ให้เข้าใจ จะได้ประพฤติถูกต้อง ตรงตามพระวินัยมากขึ้น

อีกประการหนึ่ง ควรจะอาศัยช่วงเวลาก่อนที่จะบวช และกำลังบวช ศึกษาพระธรรม เท่าที่ทำได้ โดยการนำหนังสือธรรมมาอ่านก่อนที่จะบวช รวมทั้งฟังแผ่นซีดีธรรมก่อนที่จะบวช เรื่องอะไรก็ได้ ที่ฟังแล้ว ค่อยๆ เข้าใจ เพื่อปลูกศรัทธาและความสนใจพระธรรมในหนทางที่ถูก เมื่อสึกออกมาแล้ว ย่อมจะมีพืชเชื้อ คือ การสะสมปัญญาทีละน้อย ก็จะทำให้สนใจธรรม และเห็นประโยชน์ของการเจริญกุศล อบรมปัญญมากขึ้นแม้อยู่ในเพศคฤหัสถ์ ครับ เพราะการบูชาพระพุทธเจ้า บูชาพระรัตนตรัย และ เป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี ไม่ได้อยู่ที่การบวช หรือ ไม่บวช แต่อยู่ที่จิตใจที่มีความเข้าใจพระธรรมเป็นสำคัญ ครับ

ขออนนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ใฝ่รู้
วันที่ 16 เม.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 16 เม.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สิ่งสำคัญที่สุดคือความเข้าใจ จุดประสงค์ต้องตรงว่า บวช เพื่ออะไร เพื่อฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญาขัดเกลากิเลสของตนเองในเพศที่สูงกว่าคฤหัสถ์ ส่วนหนึ่งก็ต้องเป็นหน้าที่ของญาติหรือบุคคลใกล้ชิดที่จะแนะนำในสิ่งที่ดีที่ถูกที่ควรให้ เพราะเพศบรรพชิตแตกต่างไปจากเพศคฤหัสถ์โดยประการทั้งปวง ถ้ารักษาไม่ดี ไม่น้อม ประพฤติตามพระธรรมวินัยก็ย่อมมีโทษแก่ตนเองโดยส่วนเดียว สิ่งที่จะเกื้อกูลได้ดีที่สุด ก็คือพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง

ได้ฟังรายการแนวทางเจริญวิปัสสนา บรรยายโดยท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ มีประเด็นเรื่องการบวชจากผู้ร่วมสนทนาว่า จำเป็นจะต้องบวชเป็นบรรพชิตหรือไม่ ท่านอาจารย์ได้ตอบเพื่อให้ได้คิดว่า บวชเพื่อศึกษาพระธรรมใช่หรือไม่? ในเมื่อมีความประสงค์จะศึกษาพระธรรมแล้ว อยู่ในเพศไหนก็ศึกษาได้ ขึ้นอยู่กับการสะสมของแต่ละบุคคลอย่างแท้จริง ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Guest
วันที่ 16 เม.ย. 2556

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
A1ONE
วันที่ 16 เม.ย. 2556

๑. ควรเลือกถานที่ที่จะไปบวชด้วยครับ มีสถานที่ที่ยังมีการปฎิบัติตามพระวินัยอย่างถูกต้อง ผมเคยผ่านการบวชและอยู่ในสถานที่แห่งนี้ครับ

๒. ถ้าไปอยู่ในสถานที่ที่ไม่ปฎิบัติตามพระวินัย หย่อนยานในพระวินัย แต่ตัวเราต้องการจะทำตามพระวินัย ผู้อื่นก็จะบอกเราว่าทำตัวเคร่ง เคร่งจัด หรือบอกเราว่าไม่ต้องเคร่งมาก มันอยู่ที่ใจ มันผ่านไป๒๕๐๐กว่าปีแล้วนะ อย่าคิดอะไรมากเลย (หมายความว่าอย่างไร คำๆ นี้ได้ยินบ่อยมาก) ซึ่งลำบากมากที่จะต้องทำตัวให้ถูกต้องแต่คนอื่นทำไม่ถูกต้อง

สุดท้ายก็อยู่ร่วมกันยาก เพราะฉะนั้นจึงขอให้พิจารณาเองว่าสถานที่นั้นเหมาะสมหรือไม่ ครับ ขึ้นอยู่กับว่ามีปัญญามีสติรู้สึกว่าสิ่งใดถูกต้องเหมาะสม สมควรนะครับ เพราะผู้ที่ทำ ไม่ถูกต้อง อาจไม่รู้สึกตัวว่าไม่ถูกต้อง หรือรู้สึกว่าไม่ถูกต้องแต่ก็ไม่ได้ศึกษาสิ่งที่ถูกต้อง ไม่มีใครคอยเตือนคอยบอก พออยู่ไปนานๆ ก็เลยปล่อยไปตามเลย คิดว่าไม่เป็นไรไม่ต้องเคร่งมากมันอยู่ที่ใจ (หมายความว่าอย่างไร คำๆ นี้ได้ยินบ่อยมาก) จนมีความยินดีพอใจในสิ่งที่ตนเองคิดว่าถูกต้องทั้งๆ ที่ไม่ถูกต้อง ไม่สมควร มันไม่ใช่

ผมคิดว่ามันอยู่ที่ใจนี้หมายถึง ใจมีความเคารพในพระธรรมคำสอน ใจมีหิริโอตตัปปะ ใจมีความศรัทธา ใจมีความรู้ซึ้งในคำสอนที่มุ่งหมายเพื่อขัดเกลากิเลสเจริญปัญญา ใจไม่กล้าที่จะละเลยพระวินัย เมื่อใจคิดที่จะละเลยพระวินัยมีความรู้สึกว่าไม่ถูกต้อง มีความรู้สึกร้อนรนในใจเมื่อละเลยพระวินัยหรือสงสัย สถานที่ที่ปฎิบัติถูกต้องจะมีพระรุ่นพี่คอยบอกเมื่อสงสัยในพระวินัยทุกๆ ข้อ ทุกอย่าง เมื่อรู้ว่าสิ่งใดถูกต้อง ใจเราก็จะเบาสบายเพราะเรามิได้ละเมิดสิ่งนั้น หรือถ้าไม่ได้ตั้งใจก็ปลงอาบัติ ต่อไปก็สำรวมระวังไม่ทำอีก ไม่ใช่ทำบ่อยๆ โดยตั้งใจแล้วมาปลงอาบัติแบบนี้ไม่ใช่นะครับ ที่ที่ถูกต้องจะไม่มีการสอนบอกแบบนี้ อาบัติเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งมีเป็นประจำแทบทุกวัน (หรือทุกวัน) ซึ่งก็เกิดจากการเผลอสติ ลืมตัว ในชีวิตประจำวันของพระภิกษุ เช่น การพูดจาเล่นๆ ก็มี การเดิน การนั่ง การนอน ฯลฯ ก็ค่อยๆ รู้สึกตัวไปทีละนิดๆ แก้ไขไปทีละนิดๆ ศึกษาไปทีละนิดๆ (ส่วนอาบัติไหญ่ๆ อย่าง ปาราชิก ๔ เป็นอาบัติหนัก ห้ามละเด็ดขาด สังฆาทิเสส ๑๓ ข้อ เป็นอาบัติหนักรองจากปาราชิกก็ไม่ควรละเมิด)

๓. ตัวอย่างแค่การฉันข้าว ห้ามฉันเสียงดัง ห้ามคุยกัน ห้ามเพ่งเล็งผู้อื่น ฯลฯ (ถ้าจำไม่ผิดนะครับ) มีผ้าเช็ดบาตร ผ้าเช็ดปาก ผ้ารองนั่ง แก้วน้ำส่วนตัวมีฝาปิด ฯลฯ ถ้าไปอยู่ในสถานที่ที่หย่อนยานในพระวินัย สิ่งเหล่านี้จะไม่ค่อยเห็นเลยครับ อาจไม่มีใครบอกใครสอนด้วย เพราะตนเองทำไม่ค่อยถูกต้อง จะไปบอกให้คนอื่นทำสิ่งที่ถูกต้องได้หรือครับ ผมว่าสมัยนี้ควรเลือกสถานที่ที่จะบวชให้ดีนะ ครับ ไม่งั้นเราจะอาบัติตั้งแต่วันแรกจนวันสุดท้ายของการบวช (สึกขา) (อาบัติเล็กๆ สะสมไปกลายเป็นอาบัติใหญ่ๆ ความไม่ละอายต่อบาป ความไม่กลัวบาป ความไม่เคารพ สะสมไปเรื่อยๆ จนมีกำลังมากขึ้น) อันนี้ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของท่านเองนะครับ

๔. มีการทดสอบโดยให้ไปอยู่วัดก่อนบวช เพื่อศึกษาพระวินัย ข้อปฎิบัติของพระภิกษุสามเณร เพื่อดูอัธยาศัยของตนเองว่าเหมาะสม ถูกจริตตนเอง รับได้หรือไม่ อันนี้ เป็นเรื่องของการสะสมอัธยาศัยมาแต่ปางก่อน ขึ้นอยู่กับบุญเก่าของท่านนะครับ ถ้าท่านคิดว่าใช่ อยู่ได้ ก็โอเค ถ้าคิดว่าไม่ไหวเคร่งเกินไป ก็ตัวใครตัวมัน คำว่าเคร่ง ฟังดูแล้วมันน่ากลัว ซึ่งน่าจะเป็นคำที่ตั้งขึ้นมาในภายหลัง เพื่อสนองกิเลสของตนเอง ส่วนผู้ที่ปฎิบัติตามคำสอนได้อย่างดี (อาจจะ) ตามกำลังสติปัญญา มีความเคารพในคำสอน มีหิริโอตัปปะ มีความรู้สึกว่าถูกต้อง จะเบาสบาย มีความปลาบปลื้มใจ นึกถึงเมื่อใดก็สุขใจเมื่อนั้น ว่าเราได้ทำในสิ่งที่ถูกต้อง (ตามกำลังสติปัญญา)

สิ่งสำคัญที่สุดคือการศึกษาพระธรรมคำสอนครับ ไม่ว่าจะบวชหรือไม่บวชก็ ตาม เช่นการฟังการอ่าน การสอบถามข้อสงสัย ซึ่งเราจะรู้ตัวเราเองว่ามีอัธยาศัย อย่างไร แค่ไหน จากความเข้าใจพระธรรม (ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา จำมาเขียนนะ ครับ) ครับ... ผิดพลาดไปก็ขออภัย ถ้าเพิ่มเติม แนะนำ หรือแก้ไขได้ก็แก้ไขได้เลย ครับ...

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
A1ONE
วันที่ 16 เม.ย. 2556

ถ้ามีความปรารถนาจะบวชอย่างแรงกล้าก็ห้ามยากนะครับ ถ้าบอกให้ศึกษาพระธรรม ก็คงยังไม่เข้าใจว่าพระธรรมคืออะไร ศึกษาทำไม มีประโยชน์อย่างไร ซึ่งต้องใช้เวลาศึกษายาวนานมากในการศึกษา ยกเว้นถ้ามีปัญญาสะสมมามากแล้วนะครับจะเข้าใจได้เร็ว (ตัวท่านเองที่จะรู้ตนเองว่าเข้าใจพระธรรมแค่ไหน)

แต่การบวชให้ผลเห็นๆ กันอยู่ในเบื้องต้นว่าพ่อแม่มีความปลาบปลื้มใจ ลูกๆ ก็ดีใจที่จะได้บวชตอบแทนคุณพ่อแม่ นี่ก็เป็นความเชื่อที่เชื่อกันมานานนะครับ การที่จะฟังพระธรรมแล้วเปลี่ยนความเชื่อทันทีคงยากมากนะครับ ในเมื่อตั้งใจจะบวชมากๆ คงห้ามไม่ได้ ได้แต่แนะนำในสิ่งที่คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์นะครับ แต่ก็ไม่แน่อาจจะเข้าใจธรรมเร็วก็ได้นะครับก็ลองๆ ฟังธรรมดูนะครับ

ป.ล.ขอแก้ไขนะครับ ความเห็นที่5 ข้อ ๒บรรทัดรองสุดท้าย อาบัติปาราชิกห้ามล่วงละเมิดเด็ดขาดครับ ส่วนอาบัติสังฆาทิเสส ๑๓ ข้อ การจะออกจากอาบัติต้องมีการทำพิธีกรรม โดยต้องมีพระ (พระปกติที่ไม่ต้องอาบัติ) ๒๐ รูป ร่วมสวดออกจากอาบัติ ต้องอยู่วัดโดยมีพระ ๔ รูปอย่างน้อยอยู่ด้วย (ถ้าจำไม่ผิด) ต้องมีการสวดบอกอาบัติ เมื่อเจอพระวัดอื่น ต้องอยู่แยกสถานที่จากพระปกติ (ถ้าจำไม่ผิด) และรายละเอียด อื่นๆ ซึ่งมีอีกมาก ซึ่งอาบัติสังฆาทิเสสก็ไม่ควรล่วงละเมิดด้วยเช่นกันครับ

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
A1ONE
วันที่ 16 เม.ย. 2556

ขอเพิ่มเติมจากความเห็นที่ 5 ข้อที่ ๓ นะครับ

. ทำไมต้องใช้แก้วน้ำส่วนตัว เพราะเมื่อก่อนใช้แก้วน้ำร่วมกันเกิดมีโรคระบาด ไปทั่ว (ถ้าจำไม่ผิดครับ)

๒. ทำไมต้องมีฝาปิดแก้วน้ำส่วนตัวเพราะมดแมลง ฝุ่นละอองต่างๆ ตกลงไปในแก้วน้ำครับ (ถ้าจำไม่ผิด)

๓. เวลาล้างบาตรเสร็จแล้วต้องใช้ผ้าเช็ดบาตรเช็ดบาตรให้แห้งไม่งั้นจะมีกลิ่นอับ (ถ้าจำไม่ผิด)

๔. เวลาตากบาตรไม่ควรตากบาตรนานเพราะบาตรจะไหม้ได้ครับ เคยเกิดขึ้นมาแล้วครับ (อันนี้จำได้ดี (ถ้าจำไม่ผิด))

๕. และอื่นๆ ครับ

สิกขาบทมีที่มาที่ไป ไม่ใช่จะตั้งขึ้นมาลอยๆ โดยไม่มีสาเหตุครับ สอบถามจาก ท่านอาจารย์และพระรุ่นพี่หลายๆ พรรษา หรือศึกษาพระธรรม (ตามพระไตรปิฎก) จากมูลนิธิ ศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนาแห่งนี้ครับ จะให้คำตอบได้ครับ แม้จะไม่ทั้งหมด (หรือ เปล่า) แต่ก็มากพอสมควร เพื่อเอื้อเฟื้อพระวินัย ความเคารพ มีหิริโอตตัปปะ ย่อมมีสติ (เคยได้ยินมานะครับ) ไม่หลงทำผิดโดยไม่รู้ตัวว่าทำผิดมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อเกื้อกูลต่อการ เจริญกุศลต่างๆ ที่ยิ่งๆ ขึ้นไป ขึ้นอยู่กับสติปัญญาของท่านในการพิจารณาว่าถูกต้องสมควร เหมาะสมมีประโยชน์เพียงใดหรือไม่ครับ...

ถ้าจะบวชทั้งที ก็ขอให้ได้อยู่สถานที่ที่ดีๆ เป็นมงคล พบกัลยาณมิตร หรือครูบาอาจารย์ที่มีความรู้มีปัญญาแนะนำอบรมสิ่งที่ถูกต้องนะครับ แค่ 15 วัน อดทนทำสิ่งที่ถูกต้องให้ได้นะครับ...เมื่อสึกลาเพศออกมาแล้วก็ขอให้ศึกษาพระธรรม (ตามพระไตรปิฎก) ครับ ไปเรื่อยๆ นะครับ... (อันนี้ขึ้นอยู่กับสติปัญญาของตนเองนะครับว่าจะเห็นประโยชน์ เพียงใด)

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
rosemary
วันที่ 16 เม.ย. 2556

ขอขอบคุณและอนุโมทนาบุญทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
หนทางสงบ
วันที่ 19 เม.ย. 2556

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
jaturong
วันที่ 19 เม.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
orawan.c
วันที่ 7 พ.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ