ขณะที่จิตกำลังคิดนึก

 
เอื้อมธรรม
วันที่  17 เม.ย. 2556
หมายเลข  22769
อ่าน  1,269

* รู้ว่าจิตคิดเป็นนาม ขณะคิด (ไม่รวมถึงเรื่องราวที่คิด) เป็นรูป ถูกหรือผิดครับ

อนุโมทนา..


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 17 เม.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สภาพธรรมที่มีจริง มี ๒ อย่าง คือ รูปและนาม รูป คือ สภาพธรรมที่ไม่รู้อะไรเลย ไม่คิดนึก ไม่โกรธ ไม่โลภ ไม่หลง ไม่รู้อะไรทั้งสิ้น ส่วนสภาพธรรมที่เป็นนาม ที่เป็น จิต เจตสิก เป็นสภาพธรรมที่รู้ คือ รู้ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่เรียกว่ารู้อารมณ์ เพราะฉะนั้นเมื่อใดที่เป็นจิต เจตสิกเกิดขึ้น ขณะนั้นไม่ใช่รูป แต่เป็นสภาพธรรมที่เป็นนาม รู้อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งในขณะนั้น

ยกตัวอย่างที่ผู้ถามได้ถามว่า ขณะที่คิดนึกเป็นรูปใช่ไหม ขณะที่คิดนึก อะไรคิดนึก จิตและเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยทำหน้าที่คิดนึก เป็นจิตที่คิดนึก เพราะฉะนั้นขณะที่จิตเกิดขึ้น มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย เป็นสภาพรู้ ไม่ใช่รูป เพราะฉะนั้น ขณะที่คิดนึกจึงไม่ใช่รูป แต่ขณะที่คิดนึกก็จะต้องมีเรื่องให้คิดนึก เรื่องราวที่คิดนึกเป็นสิ่งที่ถูกจิตรู้ คือ จิตที่คิดนึก กำลังรู้ เรื่องราวที่คิดนึก ยกตัวอย่างเช่น ขณะที่กำลังคิดนึกถึงเรื่องงานที่กำลังทำ ขณะที่คิดนึก เป็นจิต เป็นสภาพรู้ ไม่ใช่รูป เพราะกำลังรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใด คือ กำลังรู้เรื่องราวที่เป็นการงานในขณะนั้นที่เป็นบัญญัติ เมื่อกำลังรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เป็นจิตที่คิดนึกก็จึงไม่ใช่รูป เพราะรูปย่อมไม่รู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเลย ครับ

รูปที่เป็นสภาพไม่รู้อะไร จึงไม่ใช่จิต เจตสิก และ ไม่ใช่ขณะที่คิดนึก เพราะขณะที่คิดนึก เป็นจิตทำหน้าที่คิดนึก ครับ ส่วนรูปที่มีในชีวิตประจำวัน ที่เป็นสภาพธรรมที่ไม่รู้อะไร เช่น สี เสียง กลิ่น รส สิ่งที่กระทบสัมผัส เป็นต้น ดังนั้น อาศัยการเข้าใจเบื้องต้นว่า สภาพธรรมที่เป็นสภาพรู้ ไม่ใช่รูป เพราะรูปไม่รู้อะไร สภาพธรรมที่รู้ คือ จิต เจตสิก ครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
j.jim
วันที่ 17 เม.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เอื้อมธรรม
วันที่ 17 เม.ย. 2556

ขออนุโมทนา

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ใฝ่รู้
วันที่ 17 เม.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 17 เม.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ประโยชน์จากการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ก็เพื่อเข้าใจสภาพธรรมที่มีจริง ที่กำลังมีกำลังปรากฏตามความเป็นจริง ซึ่งสิ่งที่ศึกษานั้น ไม่พ้นจากขณะนี้เลย ไม่พ้นไปจากสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ ถึงแม้จะมีสภาพธรรมที่มีจริงๆ ในขณะนี้ แต่เพราะไม่รู้ จึงต้องศึกษาด้วยความละเอียดรอบคอบจริงๆ ก่อนอื่นเมื่อกล่าวถึงคำอะไร ก็ต้องเข้าใจให้ชัดเจนในคำที่กล่าวถึงด้วย จึงจะเป็นประโยชน์ในการศึกษาอย่างแท้จริง แม้กระทั่งคำว่าความคิดนึก

ขณะที่คิด เป็นธรรมที่มีจริง เป็นจิตที่คิด คิดถึงเรื่องราวต่างๆ จากการได้เห็นบ้าง ได้ยินบ้าง ได้กลิ่นบ้าง รวมถึงไปในขณะที่ฝันด้วย ดังนั้น ขณะที่คิด อะไรที่มีจริง ก็ต้องเป็นจิต เป็นสภาพธรรมที่มีจริง (และเมื่อจิตเกิดขึ้น ก็ต้องมีสภาพธรรมที่เกิดร่วมกับจิตคือเจตสิก ด้วย) ส่วนเรื่องราวที่จิตคิดนั้นไม่ใช่สิ่งที่มีจริง ไม่ใช่รูปธรรมและนามธรรม แต่เป็นบัญญัติเรื่องราวต่างๆ เรื่องราวต่างๆ นั้นเป็นสิ่งที่จิตรู้ เรื่องราวจึงเป็นอารมณ์ของจิตที่กำลังคิดในขณะนั้น ซึ่งก็จะเข้าใจไปถึงคำว่าอารมณ์ด้วย เพราะสิ่งใดก็ตามที่จิตรู้สิ่งนั้นเป็นอารมณ์ของจิต

คิดเป็นธรรม เป็นนามธรรม การรู้ถูกเห็นถูกตามความเป็นจริงว่าคิดเป็นธรรม ไม่ใช่เรา ก็เป็นนามธรรม เพราะรูปธรรมไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลย

เมื่อฟังบ่อยๆ เนืองๆ ไม่ขาดการฟังพระธรรม ความเข้าใจถูกเห็นถูกก็จะค่อยๆ เจริญขึ้น เพิ่มพูนความมั่นคงในความเป็นจริงของสภาพธรรมที่มีจริงยิ่งขึ้น ว่ามีแต่ธรรมที่เกิดขึ้นเป็นไปเท่านั้น ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล ไม่มีตัวตนแทรกอยู่ในสภาพธรรมเหล่านั้นได้เลยแม้แต่ในขณะที่คิด ก็ไม่ใช่ตัวเราที่คิด แต่เป็นธรรม คือ จิตเกิดขึ้นคิด ในขณะนั้นเป็นธรรมที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
gantana
วันที่ 17 เม.ย. 2556

ขออนุโมทนา

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
wannee.s
วันที่ 17 เม.ย. 2556

ขณะที่คิดนึก ขณะนั้นเป็นนามธรรม เป็นธาตุรู้ อาการรู้ ไม่ใช่รูปธรรม เพราะรูปไม่ใช่สภาพรู้ รูปไม่คิดนึก รูปไม่มีความรู้สึก ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 18 เม.ย. 2556

คิด อะไรที่คิด รูปคิดไม่ได้ คิดเป็นนามธรรมได้แก่จิตและเจตสิก (นามธรรม ได้แก่จิต เจตสิก นิพพาน) สิ่งที่จิตคิดเรียกว่าอารมณ์เป็นได้ทั้งนามธรรม รูปธรรมและบัญญัติ

ขออนุโมทนาคะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ