พระผู้ให้

 
dets25226
วันที่  15 พ.ค. 2555
หมายเลข  21116
อ่าน  1,543

ไม่ว่าจะให้อุปการะ ให้ทุนทรัพย์เพื่อการศึกษา เปิดเป็นสถาบันนั่นนี่ และอื่นๆ แม้บิณฑบาตได้เยอะ ก็ยังแจกจ่ายให้แก่คนยากจนหรือคนรู้จัก ลูกศิษย์ลูกหา เหมือนมีเมตตา การุณ อยู่เป็นนิตย์ จึงเป็นที่รู้จัก สนิทสนมของคนเป็นอันมาก แต่ตัวผมเองนั้นหาได้เลื่อมใสในการกระทำนั้นแม้แต่น้อย

มิทราบว่าอาจารย์มองความเลื่อมใสของผมนั้นเป็นเช่นไรครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 15 พ.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระภิกษุ เป็นเพศที่สละหมดทุกสิ่ง ไม่กระทำตนดังเช่น ฆราวาสแล้ว เพศบรรพชิตบรรพชา หมายถึง เว้นทั่ว จากกิเลสและวัตถุกาม ดังเช่นคฤหัสถ์ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น การกระทำของพระภิกษุนั้น ก็ต้องเป็นการละคลายกิเลสของตนเอง เป็นสำคัญ โดยกระทำกิจของตน คือ การละกิเลสของตนเองให้ได้เสียก่อน และ ก็ประพฤติตามพระวินัยบัญญัติ ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง เพราะฉะนั้น การกระทำอะไรก็ตาม ที่เป็นดั่งเช่นคฤหัสถ์ ไม่สมควรโดยประการทั้งปวง แม้การกระทำนั้น จะดีสำหรับเพศคฤหัสถ์ แต่การกระทำที่ดีขอองคฤหัสถ์นั้น จะมาเป็นมาตรฐานว่า เป็นสิ่งที่ดีสำหรับเพศพระภิกษุด้วยไม่ได้ ครับ เพราะ เป็นคนละเพศ ละมีจุดประสงค์แตกต่างกัน ของเพศคฤหัสถ์และเพศบรรพชิต เพราะ เพศบรรพชิต สำคัญที่ประโยชน์ตนก่อน คือ เป็นไปเพื่อการละคลายกิเลสโดยส่วนเดียว ไม่ประพฤติดังเช่นคฤหัสถ์ ครับ การกระทำที่ช่วยเหลือคนยากจน โดยการหาทุนทรัพย์ ให้การศึกษา โดยหาทุนทรัพย์ให้เปิดสถาบันการศึกษา ช่วยเหลือคนป่วย มีโรคเอดส์ เป็นต้น ด้วยการหาทุนทรัพย์มาช่วยเหลือ การกระทำเหล่านี้ สามารถเกิดจากจิตที่ดีได้ ที่เป็นกุศล และเป็นสิ่งที่สมควรทำสำหรับเพศที่เหมาะสม คือ เพศคฤหัสถ์ แต่ การกระทำที่เกิดจากกุศลจิต ก็ต้องพิจารณาความเหมาะสม ว่าเหมาะกับเพศที่ดำรงอยู่หรือไม่ด้วย ครับ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ไม่ใช่กิจของสงฆ์ และไม่เหมาะสม กับเพศบรรพชิตโดยประการทั้งปวง เพราะ เพศบรรพชิตมีกิจ ๒ อย่าง คือ คันถธุระ และ วิปัสสนาธุระ

คันถธุระ คือ การศึกษาพระธรรม มีพระพุทธวจนะ และ วิปัสสนาธุระ คือ การเจริญอบรมปัญญาเพื่อดับกิเลส ก็ด้วยอาศัยการศึกษาพระธรรมนั่นเองครับ จะเห็นนะครับ ว่า กิจของท่านมีแค่นี้ ส่วนการช่วยเหลือประการต่างๆ ตามที่กล่าวมา เป็นกิจหน้าที่ของคฤหัสถ์ หากกระทำตามอย่างนั้น ก็เท่ากับว่า ประพฤติดังเช่นคฤหัสถ์ ไม่ได้ทำกิจของบรรพชิต ซึ่งพระพุทธเจ้า ทรงแสดงการช่วยเหลือที่สมควร คือ การช่วยเหลือพระภิกษุด้วยกันครับ คือ ช่วยเหลือในกิจการงานน้อยใหญ่ เช่น การทำจีวร การล้างทำความสะอาดวัด เป็นต้น แต่ไม่ใช่การช่วยเหลือให้การศึกษาทางโลก กับเพศพระภิกษุ อันนี้ก็ไม่ใช่อีกเช่นกัน รวมทั้งการช่วยเหลือที่เป็นแบบเพศคฤหัสถ์ ก็ไม่ควรโดยประการทั้งปวง เพราะ ทำให้ท่านอาบัติ และ เมื่ออาบัติ ไม่เห็นโทษ ย่อมมีโทษกับพระภิกษุรูปนั้น ส่วนการช่วยเหลือกับเพศคฤหัสถ์ โดยพระภิกษุ คือ การให้ความเข้าใจพระธรรม นี่คือการช่วยเหลือ การให้ที่เหมาะสมที่สุด ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 15 พ.ค. 2555

พระผู้ให้ คือ ทำกิจของตนเองก่อน คือ การสละ ละคลายกิเลส ด้วยการศึกษาพระธรรมที่เป็นกิจที่ควรทำของเพศพระภิกษุ เมื่อมีความเข้าใจพระธรรม ประพฤติถูกต้องตรงตามพระวินัย ก็เป็นพระผู้ให้ คือ สามารถให้ความรู้ ความเข้าใจพระธรรมที่ถูกต้องกับเพศคฤหัสถ์และเป็นแบบอย่างที่ดีของเพศบรรพชิต ที่จะให้สิ่งสำคัญ คือ ให้พระพุทธศาสนา เจริญรุ่งเรืองต่อไป และพระภิกษุปฏิบัติตนถูกต้อง เพราะศึกษาพระธรรม ผู้ที่ทำกุศลกับท่าน ก็ย่อมได้กุศล ได้บุญมาก นี่คือ การให้ที่แท้จริง ให้กุศลกับทายก และ ให้ความเข้าใจพระธรรม กับ พุทธบริษัท ครับ เพราะ ไม่มีอะไรที่จะเป็นการให้ที่ประเสริฐเท่ากับการให้ความเข้าใจพระธรรม และก็เป็นกิจที่สมควรกับเพศภิกษุ ครับ

ส่วน ความไม่ดีของท่าน ก็เป็นความไม่ดีของท่าน ไม่ใช่ของใคร เป็นแต่เพียงธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไป เห็นใจคนอื่นเพราะว่า ไม่รู้ จึงทำ และก็เป็นธรรมดาที่ พระพุทธศาสนา ผ่านมา สองพันห้าร้อยกว่าปีแล้ว ย่อมเสื่อมไปเป็นธรรมดา

ดังนั้น การไม่เลื่อมใส ย่อมเป็นสิ่งที่ควร แต่ การไม่เลื่อมใส ไม่ได้หมายถึง การไม่ชอบ แต่ไม่เลื่อมใสในการกระทำที่ไม่ดี ไม่ตรงตามพระวินัยบัญญัติ แล้วจึงน้อมเข้ามาพิจารณาในตน ที่เห็นความไม่ดีของคนอื่น เพื่อเตือนใจ และจะไม่ประพฤติตามสิ่งเหล่านั้น และ เห็นความสำคัญว่า หากไม่ได้ศึกษาพระธรรม ย่อมทำให้เข้าใจผิด สำคัญสิ่งที่ผิดว่าถูก สำคัญสิ่งที่ถูกว่าผิดได้ จึงศึกษาพระธรรม อบรมปัญญามากขึ้น เพราะ ไม่มีอะไร สำคัญเท่าประโยชน์ของตนเอง คือ ปัญญา และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นในจิตใจของตน ครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ

ธุระ ๒ อย่างในพระศาสนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 15 พ.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สำคัญอยู่ที่จุดประสงค์ของการบวชที่แท้จริงว่าเพื่ออบรมเจริญปัญญา ขัดเกลากิเลสของตนเอง ไม่ใช่เพื่ออย่างอื่น เพราะแท้จริงแล้ว เพศบรรพชิต เป็นเพศที่สูงยิ่ง มีความแตกต่างจากคฤหัสถ์อย่างสิ้นเชิง ซึ่งถ้าได้ศึกษาพระธรรมวินัยตามที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้อย่างละเอียดรอบคอบแล้ว จะเข้าใจได้ว่า สิ่งใดที่เพศบรรพชิตกระทำได้ สิ่งใดที่กระทำไม่ได้เป็นการขัดต่อพระธรรมวินัย พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงไว้โดยละเอียดโดยประการทั้งปวง ขึ้นอยู่กับว่าผู้นั้นจะเห็นประโยชน์หรือไม่เท่านั้นเอง ถ้าไม่เห็นประโยชน์ก็อาจจะละเลยในสิ่งที่ควรกระทำ แต่กลับไปทำในสิ่งที่ขัดต่อพระธรรมวินัยเป็นไปเพื่อพอกพูนกิเลสของตนเองให้มีมากยิ่งขึ้น พระภิกษุในสมัยพุทธกาล ท่านมีความจริงใจที่จะอบรมเจริญปัญญาขัดเกลากิเลสให้ยิ่งขึ้น เห็นว่าการอยู่ครองเรือนเป็นที่หลั่งไหลมาของอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงขอบวชในพระพุทธศาสนา มีความจริงใจที่จะฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญา ขัดเกลากิเลสของตนเอง และได้รับประโยชน์จากพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง สูงสุด คือ รู้แจ้งอริยสัจจธรรมดับกิเลสทั้งปวงได้อย่างหมดสิ้นถึงความเป็นพระอรหันต์ ผู้ที่มีปัญญาก็ย่อมจะสามารถเกื้อกูลบุคคลให้เข้าใจธรรมตามความเป็นจริงได้ด้วย เกื้อกูลทั้งผู้ที่เป็นบรรพชิตด้วยกัน และ เกื้อกูลคฤหัสถ์ ด้วยการให้ได้เข้าใจธรรมตามที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ครับ.

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 15 พ.ค. 2555

พระภิกษุยินดีหรือรับเงินทองก็อาบัติแล้ว และ การที่พระให้ทุนการศึกษา ให้เงินคนจน ก็ไม่ใช่หน้าที่ของพระ การที่พระภิกษุไม่รักษาพระวินัยทำให้ศาสนาเสื่อม หน้าที่ของพระภิกษุคือศึกษาธรรมะ และ เผยแพร่ธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Graabphra
วันที่ 15 พ.ค. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
kinder
วันที่ 15 พ.ค. 2555

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
เซจาน้อย
วันที่ 15 พ.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เพศบรรพชิตมีกิจ ๒ อย่าง คือ คันถธุระ และ วิปัสสนาธุระ

ส่วนการช่วยเหลือ กับเพศคฤหัสถ์ โดยพระภิกษุ คือ การให้ความเข้าใจพระธรรม นี่คือการช่วยเหลือ การให้ที่เหมาะสมที่สุด ครับ

สำคัญอยู่ที่จุดประสงค์ของการบวชที่แท้จริงว่าเพื่ออบรมเจริญปัญญา ขัดเกลากิเลสของตนเอง ไม่ใช่เพื่ออย่างอื่น

หน้าที่ของพระภิกษุคือศึกษาธรรมะ และ เผยแพร่ธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงครับ

"ควรเพ่งเล็งกุศลแม้เพียงเล็กน้อยของผู้อื่นเพื่ออนุโมทนา"

"ควรเพ่งเล็งอกุศลแม้เพียงเล็กน้อยของตนเองเพื่อขัดเกลา"

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของอ.ผเดิม, อ.คำปั่นและทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
jaturong
วันที่ 17 พ.ค. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
เข้าใจ
วันที่ 17 พ.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

มีบัณฑิตท่านกล่าวให้ข้อสังเกตไว้ว่า ตอนเป็นนาคก่อนเข้าโบสถ์ก็ได้โปรยทานออกเสมือนดั่งสละซึ่งเงินทองแล้ว แต่พอบวชเสร็จออกจากโบสถ์มือถือย่าม ญาติโยมต่างก็พากันเอาแบงค์ไปใส่ในย่ามกันใหญ่ ตอนโปรยทานเป็นเหรียญตอนรับเป็นแบงค์ พระใหม่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร เลยตามเลย ไม่รู้พระใหม่รู้เรื่องอาบัติหรือเปล่า สาธุ อย่าให้มีโทษเลย พระผู้ให้ ก็ขอกราบขอบพระคุณอาจารย์ ผเดิม และอาจารย์ คำปั่น อย่างสูงยิ่งครับ ที่ให้ความรู้ถูก ความเข้าใจถูกแก่ผมและทุกๆ ท่านครับ

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
dhanan
วันที่ 23 พ.ค. 2555

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ