ลักษณะอย่างไร จึงเรียกว่า คล้อยตามอารมณ์

 
rojer
วันที่  2 พ.ค. 2555
หมายเลข  21061
อ่าน  2,316

ช่วยอธิบายและยกตัวอย่างให้ด้วยครับ

เช่นพอมองเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่นดอกไม้ สัญญาก็จะเกิดคิดถึงสิ่งๆ นั้นต่อว่าเป็นดอก ชื่ออะไร ... อย่างนี้เรียกคล้อยตามอารมณ์หรือเปล่าครับ หรือว่าต้องถึงขั้นสวยหรือ ไม่สวย ชอบหรือไม่ชอบก่อน จึงจะเรียกว่าคล้อยตามอารมณ์


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 3 พ.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การคล้อยตามอารมณ์ โดยมาก มุ่งอธิบาย ขณะที่กิเลสเกิดขึ้น โดยเฉาพะ โลภะ ที่เป็นความยินดี ติดข้อง ต้องการ ขณะที่โลภะเกิดใน สิ่งที่เห็น เสียงที่ได้ยิน เป็นต้น ตามอารมณ์ที่ปรากฎทางตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ ขณะที่ยินดีติดข้องในอารมณ์เหล่านั้น ชื่อว่า คล้อยตามอารมณ์ คล้อยตามด้วยอกุศลจิต คือ โลภะ ครับ

ดังนั้น ขณะที่เพียงเห็น ขณะนั้นยังไม่ติดข้อง ในอารมณ์ที่เห็น ยังไม่คล้อยตามอารมณ์ด้วย โลภะ แต่เมื่อเห็นแล้ว เกิดอกุศล ติดข้องในสีที่เห็น คล้อยตามอารมณ์แล้ว และ ใน วิถีจิตวาระอื่นๆ ต่อไปที่คิดนึกเป็นรูปร่างสัณฐาน คือ เป็นดอกไม้ ขณะนั้น ก็จะต้องเป็นจิตที่เป็นกุศล จิต อกุศลจิตในขณะที่เห็นดอกไม้ หากเมื่อใด เห็นดอกไม้แล้วติดข้อง พอใจ ยินดี ชื่อว่าคล้อยตามอารมณ์ด้วยโลภะ แต่ถ้า เห็นดอกไม้และเกิดกุศลจิต ขณะนั้น ไม่ชื่อว่า คล้อยตามอารมณ์ พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ทั้งหลาย ก็เห็นเป็นดอกไม้ เห็นเป็นสัตว์ บุคคล แต่ไม่คล้อยไปตามอารมณ์นั้น เพราะไม่เกิดอกุศลจิตเลย ในสิ่งที่เห็น ได้ยิน ... คิดนึก จึงชื่อว่า ไม่คล้อยไปตามอารมณ์ด้วยโลภะ เป็นต้น ครับ

ปุถุชน จึงเป็นปกติที่คล้อยไปตามอารมณ์ คือ คล้อยด้วยโลภะ ที่คล้อยไปที่จะยินดีติดข้อง ไม่สละ ในอารมณ์นั้น เพราะยังยินดีติดข้องอยู่ จึงชื่อว่า คล้อยไปในอารมณ์นั้น หนทางที่จะละอกุศล ละการคล้อยไปตามอารมณ์ด้วยโลภะ เป็นต้น ไม่ใช่การไม่ให้ไม่เห็น ไม่ได้ยิน เพราะ แม้คิดนึก ติดข้องในอารมณ์ ก็คล้อยไปตามอารมณ์แล้ว หนทางที่ถูก คือ เข้าใจอารมณ์ที่กำลังปรากฏ และ แม้จิตที่กำลังคล้อยไป ที่เป็นอกุศลอยู่ว่าเป็นเพียงธรรม ไม่ใช่เรา อกุศลที่เกิดขึ้น ก็เป็นแต่พียงธรรม เป็นต้น ขณะที่รู้ความจริงเช่นนี้ ก็ไม่ได้คล้อยไปตามอารมณ์ เพราะเป็นกุศลประกอบด้วยปัญญา ไม่ได้ยินดี ติดข้อง แต่สละได้ด้วยปัญญา จึงชื่อว่าไม่คล้อยไปตามอารมณ์ ครับ

ซึ่งก็อาศัยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ก็จะค่อยๆ เข้าใจความจริง และค่อยๆ ละการคล้อยไปตามอารมณ์ด้วยปัญา ครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

[เล่มที่ 76] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒๒ - หน้าที่ 384

บรรดาอกุศลเหตุ ๓ นั้น โลภะ เป็นไฉน?

ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความคล้อยตามอารมณ์ ความยินดี ความเพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนักแห่งจิต ความอยาก ความสยบ ความหมกมุ่น ความใคร่ ความรักใคร่

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
rojer
วันที่ 3 พ.ค. 2555

ผมมองว่า การคล้อยตามอารมณ์ เป็นโลภะที่ละเอียดกว่าโลภะที่ยินดีพอใจติดข้องในสิ่งที่เห็น ได้ยิน ได้ฟัง ครับ

เช่นถ้า เราสนใจหรือจงใจหรือใส่ใจหรือมีฉันทะ ในการดูหรือฟังหรือทำหรือคิดนึกถึงเรื่องราวสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อย่างนี้เรียกว่า คล้อยตามอารมณ์แล้ว ยังไม่ต้องถึงขั้นติดข้องพอใจก็เป็นโลภะแล้ว

ส่วนโลภะที่ติดข้องยินดีพอใจในนิมิตและอนุพยัญชนะของสิ่งๆ นั้น เป็นขั้นที่หยาบกว่า คือ มันเกิดคนละขณะกัน ในขณะที่สนใจ จงใจ ใส่ใจ ไปดู ฟัง ทำหรือคิดเป็นเรื่องราวถึงสิ่งหนึ่ง ก็เป็นโลภะชนิดหนึ่ง แต่ตรงที่ติดข้องก็เป็นโลภะอีกขั้นหนึ่งที่หยาบกว่าครับ

ถ้าไม่ถูกต้อง ช่วยชี้แนะด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เข้าใจ
วันที่ 3 พ.ค. 2555

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 3 พ.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ตราบใดที่ยังไม่ได้มีปัญญาถึงขั้นที่จะดับโลภะ ความติดข้องยินดีพอใจได้อย่างเด็ดขาด ความยินดีพอใจย่อมเกิดขึ้นมีเป็นธรรมดา คล้อยตามอารมณ์ เป็นธรรมที่มีจริง เกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร โลภะ ซึ่งเป็นความยินดีพอใจนั้น มีหลายระดับขั้น มีทั้งโลภะที่เกิดขึ้นเป็นปกติในชีวิตประจำวัน เช่น อาบน้ำ แปรงฟัง แต่งตัว รับประทานอาหารหรือไปเที่ยว ณ สถานที่ต่างๆ เป็นต้น นี้ก็ เป็นโลภะ ถ้าไม่ได้ศึกษาย่อมจะไม่รู้เลยว่าเป็นโลภะ และอีกประการหนึ่ง คือโลภะที่มีกำลังมาก หรือ โลภะเกินประมาณเป็นความติดข้องที่มีกำลังมาก เป็นเหตุให้ล่วงเป็นทุจริตกรรมประการต่างๆ เบียดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อนได้ นี้คือ โลภะซึ่งเป็นสภาพธรรม ที่มีจริง

โลภะ เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นอกุศลธรรม ไม่ว่าจะเกิดกับใคร ก็เป็นอกุศลธรรม ไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะเป็นอย่างอื่นไปได้ เพราะลักษณะของโลภะ คือ ความติดข้อง ยินดีพอใจ ยึดติดในอารมณ์ ไม่สละ ไม่ปล่อย ในเมื่อ โลภะ เป็นอกุศลธรรม จึงเป็นสิ่งที่ดีไม่ได้อกุศลธรรม จะมากหรือน้อย ก็ไม่ดีทั้งนั้น

สภาพธรรม จึงไม่พ้นไปจากชีวิตประจำวันเลย ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม สภาพธรรมต่างๆ ก็มีพร้อมที่จะให้เราได้เข้าใจ พร้อมที่จะให้ได้รู้ชัด พร้อมที่จะให้ประจักษ์แจ้งได้ ที่สำคัญ คือ ความเข้าใจถูก เห็นถูก อันเริ่มมาจากการฟัง การศึกษาพระธรรมเป็นปกติในชีวิตประจำวัน สะสมความเข้าใจไปตามลำดับ ครับ.

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
paderm
วันที่ 3 พ.ค. 2555

เรียนความเห็นที่ 2 ครับ

ในความเป็นจริง โลภะ กับ ความติดข้อง ยินดีพอใจ ก็คือ อย่างเดียวกัน ขณะที่โลภะเกิดขึ้น ขณะนั้น ติดข้องพอใจแล้ว แล้วแต่ว่าจะติดข้อง ยินดีพอใจในสภาพธรรมอะไร ที่เป็นอารมณ์อยู่ในขณะนั้น ครับ ซึ่ง คำว่า คล้อยตามอารมณ์ เป็นลักษณะของโลภะ ประการหนึ่ง แต่ไม่ใช่เป็นการแสดงถึง โลภะอย่างละเอียด ไม่ว่าโลภะอย่างเบาบาง หรือ อย่างมีกำลังที่เกิดขึ้น เช่น เพียงสนใจ ใส่ใจ ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ด้วยโลภะขณะนั้น ก็ต้องมีสิ่งที่ใส่ใจ สนใจ เรียกว่า เป็นอารมณ์ของโลภะ ซึ่งอารมณ์ของโลภะ ก็ไม่พ้น ทางตา หู ... ใจ ดังนั้น โลภะระดับใดที่เกิดขึ้น ก็ชื่อว่า คล้อยไปตามอารมณ์ทั้งสิ้น

ดังนั้น การคล้อยไปตามอารมณ์ เป็นการแสดงลักษณะของโลภะประการหนึ่ง แต่ไม่ใช่เป็นการแสดงถึง ระดับของโลภะ ครับ ยกตัวอย่างเช่น ขณะที่เพียงยินดีพอใจ ในสิ่งที่เห็น ซึ่ง ยังไม่ได้รู้เลยว่า เป็นสัตว์ บุคคล เห็นเพียง สี โลภะเกิดแล้ว เบาบางมาก ไม่รู้เลยว่าโลภะเกิด แต่ขณะนั้น ก็คล้อยไปในอารมณ์แล้ว ในอารมณ์ คือ สีที่ติดข้องในสีคล้อยไปตามอารมณ์ คือ รูปารมณ์และเมื่อคิดนึก ว่าเป็นคนนั้น คนนี้ เช่น เห็นเป็นดอกไม้แล้วชอบ ชอบดอกไม้ คือ เป็นนิมิตที่เป็นบัญญัติเป็นอารมณ์ ก็ชื่อว่า คล้อยไปตามอารมณ์แล้ว ตามอารมณ์อะไร คือ ธัมมารมณ์ ที่เป็นบัญญัติ นั่นเอง (ดอกไม้)

สรุปได้ว่า การคล้อยไปตามอารมณ์ ก็คือ โลภะที่คล้อยไปในอารมณ์ ๖ ประการ คือ รูปารมณ์ (สี) สัทารมณ์ (เสียง) คันธารมณ์ (กลิ่น) รสารมณ์ (รส) โผฐัพพารมณ์ (สิ่งที่กระทบสัมผัส) และธัมมารมณ์ (จิต เจตสิก บัญญัติ เช่น ดอกไม้ และนิพพาน เป็นต้น)

ดังนั้น โลภะไม่ว่าระดับใด จะเบาบาง หรือ มีกำลัง ก็ชื่อว่า คล้อยไปตามอารมณ์ คือ ติดข้องในอารมณ์ ๑ อารมณ์ใด ในอารมณ์ ๖ ครับ

ส่วนคำกล่าวที่ว่า

ส่วนโลภะที่ติดข้องยินดีพอใจในนิมิตและอนุพยัญชนะของสิ่งๆ นั้น เป็นขั้นที่หยาบกว่า คือ มันเกิดคนละขณะกัน ในขณะที่สนใจ จงใจ ใส่ใจ ไปดู ฟัง ทำหรือคิดเป็นเรื่องราวถึงสิ่งหนึ่ง ก็เป็นโลภะชนิดหนึ่ง แต่ตรงที่ติดข้องก็เป็นโลภะอีกขั้นหนึ่งที่หยาบกว่าครับ


- ขณะที่สนใจ ใส่ใจ ในขณะนั้นโลภะเกิดแล้วโดยไม่รู้ตัวเลยครับ ไม่ว่าขณะที่สนใจใส่ใจไม่มีโลภะ แล้วโลภะค่อยเกิด หลังจากนั้น ขณะที่เห็น เป็นสัตว์ บุคคล นิมิตครับ โลภะสามารถเกิดได้อย่างรวดเร็วแม้วิถีทางปัญจทวาร แม้ยังไม่รู้ว่าเป็นดอกไม้ เห็นเพียง สี โลภะเกิดแล้ว ติดข้องในสีนั้น ขณะที่ใส่ใจ สนใจจะดู ฟัง อะไรที่อยากจะใส่ใจสนใจ ก็คือ โลภะนั่นเองครับ ดังนั้น เพราะ สภาพธรรมเกิดดับอย่างรวดเร็ว จึงไม่รู้เลยว่าโลภะเกิดแล้ว และเพราะสะสมโลภะมามาก จึงทำให้โลภะเกิดอย่างรวเร็วและไม่รู้เลยว่าโลภะเกิดแล้ว นอกจากปัญญาที่คมกล้าเท่านั้นที่จะรู้ได้ ครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
rojer
วันที่ 3 พ.ค. 2555

ขอบคุณที่ช่วยอธิบายให้อย่างละเอียดเลยครับ


ทีนี้จะถามถึงสภาวธรรมทางมโนทวารวาร

ในขณะที่รู้ว่าเป็นดอกไม้ (บัญญัติอารมณ์) สมมติว่าเป็นวาระที่ ๒ พอวาระถัดไปทางมโนทวารวาระที่ ๓ ก็คิดถึงเรื่องดอกไม้ต่อว่าเป็นดอกอะไรแค่นี้ก็จัดว่าเป็นลักษณะคล้อยตามอารมณ์แล้วใช่ไหมครับ เพราะเป็นการสนใจ ใส่ใจ ในนิมิตและอนุพยัญชนะนั้น จึงมีการคิดต่อ โดยไม่จำเป็นต้องรู้สึกชอบ พอใจในนิมิตนั้นในวาระนั้น

สำหรับผู้ที่ไม่ใส่ใจในนิมิตนั้น เช่นพระอรหันต์ หรือผู้ที่สติเกิดระลึกได้ในขณะนั้น ก็แค่รู้ว่าเป็นอะไร แต่ไม่สนใจ ไม่ใส่ใจ ไม่คิดต่อหรือไม่ติดข้องในนิมิตนั้น

อย่างนี้ถูกต้องไหมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
เซจาน้อย
วันที่ 3 พ.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
paderm
วันที่ 4 พ.ค. 2555

เรียนความเห็นที่ 6 ครับ

การคล้อยไปตามอารมณ์มุ่งหมายถึงขณะที่ติดข้อง ยินดีพอใจ แต่ขณะที่ไม่ติดข้อง ไม่เกิดโลภะ ไม่ชื่อว่าคล้อยไปตามอารมณ์ ดังนั้นขณะที่เห็นเป็นดอกไม้ แต่ไม่ติดข้อง ไม่เกิดโลภะ ไม่ชื่อว่า คล้อยตามอารมณ์ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
wannee.s
วันที่ 4 พ.ค. 2555

ในพระไตรปิฎกแสดงไว้ เรื่องของกิเลสต่างๆ เช่น ทันทีที่เห็นก็เกิดโลภะแล้ว ท่านเปรียบเหมือนกับต้นไม้ที่มียาง เช่น ต้นมะเดื่อ ฯลฯ พอเอามีดกรีดยาง ยางก็ไหลออกมาเลย กิเลสของปุถุชนก็เป็นอย่างนั้น เพราะยังละไม่ได้ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
rojer
วันที่ 4 พ.ค. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ