รู้สึกขี้อิจฉา

 
fafira
วันที่  27 มี.ค. 2555
หมายเลข  20872
อ่าน  1,684

เมื่อเห็นคนที่ได้ดีกว่า รู้สึกว่าตนเองเดือนร้อน อิจฉา จะทำอย่างไรดี


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 28 มี.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ก็ไม่พ้นจากสภาพธรรมที่เกิดขึ้นเป็นไป คือ จิต เจตสิก รูป โดยไม่มีเรา ที่ทำให้เกิด และไม่มีเรา ที่เกิดความรู้สึกอย่างนั้นอย่างนี้ แม้แต่ความอิจฉา ริษยา ก็เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ลักษณะของความอิจฉาริษยา หรือ อิสสานั้น คือ ขณะนั้นย่อมไม่ชอบใจ ไม่พอใจ ขุ่นใจ ในเมื่อบุคคลอื่นได้ลาภ ได้สักการะ ได้ความเคารพ ได้ความนับถือ ได้รับการไหว้และบูชา กล่าวได้ว่าเห็น บุคคลอื่นได้ดีแล้ว ทนไม่ได้ ไม่ต้องการให้ผู้อื่นได้ดี นี้เป็นลักษณะของความ อิจฉา ริษยา (ธรรมที่ตรงกันข้ามกับความริษยา คือ มุทิตา ความพลอยยินดี เมื่อผู้อื่นได้ดี เมื่อผู้อื่นได้รับในสิ่งที่ดี) ความริษยา จึงมีความไม่พอใจไม่อยากให้ผู้อื่นได้ในสิ่งที่ดี เป็นลักษณะของความอิจฉาริษยาครับ

ผู้ที่จะไม่เกิดความอิจฉา ริษยาอีกเลย คือ ผู้ที่เป็นพระอริยเจ้า มีพระโสดาบัน เป็นต้น ก็จะไม่เกิดความอิจฉา ริษยา แต่ในเมื่อยังเป็นปุถุชน ความอิจฉา ริษยาก็เกิดได้ในชีวิตประจำวัน ดังนั้น หนทางละ คือ เข้าใจในสิ่งที่เกิดแล้ว เพราะเราไม่สามารถบังคับบัญชาได้ เพราะมีตัวเรา สำคัญว่ามีเรานั่นเอง ก็ทำให้เกิดความอิจฉา ริษยา เพราะในความเป็นจริง การที่ใครจะได้ดี มีความสุข ไม่ใช่เขาที่ได้ แต่เพราะ กรรมดีให้ผล ทำให้บุคคลนั้นได้ ดังนั้น เพราะกรรมดีเป็นเหตุ จึงทำให้มีความสุข ได้รับสิ่งที่ดี ทาง ตา คือ การเห็นที่ดี ได้ยินเสียงที่ดี เป็นต้น ครับ

เพราะไม่เข้าใจความจริงว่า อิจฉา ริษยาเป็นธรรมที่จะต้องเกิดเป็นธรรมดากับปุถุชน แม้แต่ผู้ที่ศึกษาธรรมแล้วก็ตาม ครับ แต่เพราะสำคัญผิดว่ามีเรา จึงเดือดร้อนกับความเป็นเรา ว่าเราไม่ดี เราอิจฉา ริษยา ทั้งๆ ที่ความจริงก็เป็นเพียงสภาพธรรมที่เป็นอกุศลจิต มีความอิจฉา ริษยา โดยที่ไม่ใช่เราที่อิจฉา ริษยาเลย เป็นเพียงสภาพธรรมที่เป็นไป และเกิดแล้ว ดังนั้น หนทางละ คือ ไม่ใช่หนทางที่จะไม่ให้อิจฉา ริษยาเกิด เพราะเป็นไปไม่ได้ มีเหตุปัจจัยที่จะต้องเกิด แต่หนทางละจริงๆ คือ เข้าใจสิ่งที่เกิดว่า คือ อะไร เข้าใจว่าเป็นแต่เพียงธรรมเป็นไป และไม่ใช่เราที่อิจฉา ริษยา

แม้ความเข้าใจเพียงขั้นการฟังเช่นนี้ ว่าไม่ใช่เรา และเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ก็ไม่เดือดร้อนกับอกุศลที่เกิด เพราะรู้ เข้าใจเบื้องต้นว่า ไม่มีเราที่อิจฉา เพราะหากเข้าใจผิด ก็เป็นอกุศลซ้อน อกุศล คือ อิจฉา เกิด ก็เดือดร้อน (เกิดโทสะ) ว่า เป็นเราที่ไม่ดีไม่อยากให้เกิด ลืมไปว่า ต้องเกิดแน่ และไม่สามารถบังคับบัญชาได้ และไม่มีเราที่ไม่ดี มีแต่ธรรมที่เป็นไป ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 28 มี.ค. 2555

การเข้าใจถูกเบื้องต้นเช่นนี้ คือ เริ่มจากความเข้าใจธรรม แม้ยังไม่สามารถละอิจฉาได้ แต่นี่เป็นหนทางที่ถูกต้อง ที่จะค่อยๆ เข้าใจความจริงของอิจฉา ว่าคืออะไร คือ เป็นแต่เพียงธรรม การเข้าใจแบบนี้ คือ เข้าใจว่าเป็นแต่เพียงธรรม อบรมปัญญาไปเรื่อยๆ อนาคตกาล ก็ย่อมถึงการดับกิเลส บรรลุเป็นพระโสดาบัน ถึงตอนนั้นความอิจฉา ริษยาก็จะไม่เกิดขึ้นอีกเลย ครับ

การศึกษาธรรม จึงไม่ใช่ เป็นยาที่กินแล้วจะหายโรคทันที หรือ สนิมที่เกาะที่เหล็กจะทำความสะอาดเพียงครั้งเดียว ให้สนิมออกจากเหล็กจนหมด ก็เป็นไปไม่ได้ ต้องทำความสะอาดบ่อยๆ ซึ่งโรคใจคือกิเลส สะสมมามาก ต้องค่อยๆ สะสมปัญญา และค่อยๆ เข้าใจถูกในสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว ก็จะค่อยๆ ละคลายทีละน้อย ตามกำลังปัญญาที่เกิดขึ้นทีละน้อยจากการศึกษาพระธรรม ครับ

หนทางที่ถูก คือ ศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรมต่อไป ปัญญาที่เจริญขึ้นย่อมเห็นโทษของกิเลส อกุศลก็จะเกิดน้อยลงตามปัญญาที่เจริญขึ้น แต่หากจะให้บอกวิธีและทำได้ทันที นั่นไม่ใช่หนทางที่จะละกิเลสได้จริงๆ เพราะมีแต่เราที่จะพยายามทำ ไม่ใช่ปัญญาทำหน้าที่ ครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่ครับ

ความอิจฉา

อิจฉาหมั่นไส้เพื่อนตัวเอง

ทำอย่างไรหนูจึงจะไม่อิจฉาเพื่อน

ขอฟังข้อธรรมที่เกี่ยวข้องกับความริษยาค่ะ

เหตุใกล้ให้เกิดมุทิตาจิต และการพิจารณาเพื่อลดความอิจฉาริษยา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 28 มี.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ไม่ว่าจะกล่าวถึงสิ่งใด ก็ไม่พ้นไปจากสภาพธรรมที่จริง ในขณะนี้เลย สิ่งที่มีจริงๆ นั่นแหละ คือ ธรรม มีจริง เกิดขึ้นจริง ซึ่งเป็นเครื่องพิสูจน์พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า สิ่งที่เกิดขึ้นจริง มีจริงนั้น ตรงตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงทุกประการ แม้แต่ความริษยา ก็เป็นธรรม แต่เป็นธรรมฝ่ายที่เป็นอกุศล ไม่ดี ไม่นำมาซึ่งประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น เกิดขึ้นเมื่อใด จิตใจไม่สบายเมื่อนั้น ตราบใดที่ยังไม่ได้ดับกิเลสประเภทนี้ได้อย่างหมดสิ้นถึงความเป็นพระโสดาบัน ความริษยาก็สามารถเกิดขึ้นได้ ในขณะที่เห็นคนอื่นได้ดี มีความสุข แล้วทนไม่ได้ แต่ละบุคคลย่อมมีตามการสะสม บางคนอาจจะมีมาก บางคนอาจจะมีน้อย ซึ่งก็ไม่พ้นไปจากริษยาเมื่อผู้อื่นได้วัตถุสิ่งของสักการะ สรรเสริญ เป็นต้น ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นเป็นไปได้ทั้งนั้น ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

ประโยชน์ของการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ก็เพื่อเข้าใจธรรมตามความเป็นจริง กุศล ก็เป็นธรรม อกุศลก็เป็นธรรม สิ่งที่ไม่ใช่ทั้งกุศล และ ไม่ใช่ทั้งอกุศล ก็เป็นธรรม ไม่ใช่เราเลย เป็นแต่เพียงธรรมที่เมื่อมีเหตุปัจจัยก็เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ ไม่มีเราแทรกอยู่ในสภาพธรรมเหล่านั้นเลย

ถึงแม้ว่าจิตของเราจะเร่าร้อนเพราะความริษยาสักเท่าใด บุคคลที่สมบูรณ์ด้วยลาภ สักการะ สรรเสริญ สุข เพราะกรรมดีที่ได้กระทำมาแล้ว ก็มีเหตุที่จะทำให้ลาภ สักการะ สรรเสริญ สุขนั้นอุดมสมบูรณ์ แต่ในขณะนั้นจิตของตนเองเร่าร้อนเพราะกิเลสของตนเอง คนอื่นเขามีความสุข สบายดี ตัวเราเองต่างหากที่เป็นทุกข์เพราะกิเลสของตนเอง, ความเข้าใจค่อยๆ เจริญขึ้นไปทีละเล็กทีละน้อย เมื่อไม่ขาดการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม พิจารณาไตร่ตรองในเหตุในผลของธรรมตามที่ได้ยินได้ฟัง เรื่องการละกิเลสเป็นเรื่องที่ยาวไกลมาก

ถึงแม้ว่าจะรู้ว่ากิเลสไม่ดี แต่ก็ยังไม่สามารถละได้เพราะปัญญายังไม่เจริญจนกระทั่งถึงขั้นที่สามารถละได้ ต้องอาศัยการอบรมเจริญปัญญา สะสมความเข้าใจถูกไปตามลำดับ ด้วยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม พิจารณาพระธรรมในชีวิตประจำวันจริงๆ ครับ.

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 28 มี.ค. 2555

ให้เห็นโทษว่านี้เป็นกิเลส เป็นธรรมะฝ่ายอกุศล ควรละ ถ้ามีความคิดที่แยบคาย ก็จะทำให้เราฉลาดในความคิด และ รู้ว่าใครจะได้ดีมีความสุข ก็เพราะกรรม ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
fafira
วันที่ 28 มี.ค. 2555
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 20872 ความคิดเห็นที่ 1 โดย paderm

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ก็ไม่พ้นจากสภาพธรรมที่เกิดขึ้นเป็นไป คือ จิต

เจตสิก รูป โดยไม่มีเรา ที่ทำให้เกิด และไม่มีเรา ที่เกิดความรู้สึกอย่างนั้นอย่างนี้

แม้แต่ความอิจฉา ริษยา ก็เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ลักษณะของความอิจฉาริษยา

หรือ อิสสานั้น คือ ขณะนั้นย่อมไม่ชอบใจ ไม่พอใจ ขุ่นใจ ในเมื่อบุคคลอื่นได้ลาภ

ได้สักการะ ได้ความเคารพ ได้ความนับถือ ได้รับการไหว้และบูชา กล่าวได้ว่าเห็น

บุคคลอื่นได้ดีแล้ว ทนไม่ได้ ไม่ต้องการให้ผู้อื่นได้ดี นี้เป็นลักษณะของความ

อิจฉา ริษยา (ธรรมที่ตรงกันข้ามกับความริษยา คือ มุทิตา ความพลอยยินดี เมื่อ

ผู้อื่นได้ดี เมื่อผู้อื่นได้รับในสิ่งที่ดี) ความริษยา จึงมีความไม่พอใจไม่อยากให้

ผู้อื่นได้ในสิ่งที่ดี เป็นลักษณะของความอิจฉาริษยาครับ

ผู้ที่จะไม่เกิดความอิจฉา ริษยาอีกเลย คือ ผู้ที่เป็นพระอริยเจ้า มีพระโสดาบัน เป็นต้น

ก็จะไม่เกิดความอิจฉา ริษยา แต่ในเมื่อยังเป็นปุถุชน ความอิจฉา ริษยาก็เกิดได้ในชีวิต

ประจำวัน ดังนั้น หนทางละ คือ เข้าใจในสิ่งที่เกิดแล้ว เพราะเราไม่สามารถบังคับ

บัญชาได้ เพราะมีตัวเรา สำคัญว่ามีเรานั่นเอง ก็ทำให้เกิดความอิจฉา ริษยา เพราะใน

ความเป็นจริง การที่ใครจะได้ดี มีความสุข ไม่ใช่เขาที่ได้ แต่เพราะ กรรมดีให้ผล ทำให้

บุคคลนั้นได้ ดังนั้น เพราะกรรมดีเป็นเหตุ จึงทำให้มีความสุข ได้รับสิ่งที่ดี ทาง ตา

คือ การเห็นที่ดี ได้ยินเสียงที่ดี เป็นต้น ครับ

เพราะไม่เข้าใจความจริงว่า อิจฉา ริษยาเป็นธรรมดาที่จะต้องเกิดเป็นธรรมดา กับ

ปุถุชน แม้แต่ผู้ที่ศึกษาธรรมแล้วก็ตาม ครับ แต่เพราะสำคัญผิดว่ามีเรา จึงเดือดร้อน

กับความเป็นเรา ว่าเราไม่ดี เราอิจฉา ริษยา ทั้งๆ ที่ความจริงก็เป็นเพียง สภาพธรรม

ที่เป็นอกุศลจิต มีความอิจฉา ริษยา โดยที่ไม่ใช่เราที่อิจฉา ริษยาเลย เป็นเพียงสภาพ

ธรรมที่เป็นไป และเกิดแล้ว ดังนั้น หนทางละ คือ ไม่ใช่หนทางที่จะไม่ให้อิจฉา ริษยา

เกิด เพราะเป็นไปไม่ได้ มีเหตุปัจจัยที่จะต้องเกิด แต่หนทางละจริงๆ คือ เข้าใจสิ่งที่

เกิดว่า คือ อะไร เข้าใจว่าเป็นแต่เพียงธรรมเป็นไป และไม่ใช่เราที่อิจฉา ริษยา

แม้ความเข้าใจเพียงขั้นการฟังเช่นนี้ ว่าไม่ใช่เรา และเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ก็ไม่

เดือดร้อนกับอกุศลที่เกิด เพราะรู้ เข้าใจเบื้องต้นว่า ไม่มีเราที่อิจฉา เพราะหากเข้าใจ

ผิด ก็เป็นอกุศลซ้อน อกุศล คือ อิจฉา เกิด ก็เดือดร้อน (เกิดโทสะ) ว่า เป็นเราที่ไม่ดี

ไม่อยากให้เกิด ลืมไปว่า ต้องเกิดแน่ และไม่สามารถบังคับบัญชาได้ และไม่มีเราที่

ไม่ดี มีแต่ธรรมที่เป็นไป ครับ

ขอบคุณมากค่ะ สำหรับแนวทางที่แนะนำมา

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
pat_jesty
วันที่ 28 มี.ค. 2555

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
tookta
วันที่ 28 มี.ค. 2555

เราควรพอใจในสิ่งที่เรามีอยู่ หรือ สิ่งที่เราเป็นอยู่ เราก็เป็นสุขแล้ว เราอย่าเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับผู้อื่นจนทำให้เกิดความอิจฉา ริษยา (ความอิจฉา หรือริษยามันจะทำร้ายใจของเราเอง และจะส่งผลกระทบให้เราต้องเดือดร้อนในภายหลัง) และถ้าเราเห็นผู้อื่นได้ดีก็ควรจะยินดีกับเขาด้วย และถ้าเราไม่ได้ดีเท่าเขาก็ขอให้คิดว่าเราทำบุญ หรือ กุศลมาน้อย และเราก็ควรที่จะพยายามสร้างบุญ หรือ กุศลให้มากขึ้นนะคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
orawan.c
วันที่ 29 มี.ค. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
nong
วันที่ 29 มี.ค. 2555

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
jaturong
วันที่ 29 มี.ค. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 29 มี.ค. 2555

[๕๘๘] ดูก่อนมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษ ก็ตาม มีใจริษยา ย่อมริษยา มุ่งร้าย ผูกใจอิจฉาในลาภสักการะ ความเคารพความนับถือ การไหว้ และการบูชาของตนอื่น. เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีศักดาน้อย. ดูก่อนมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดาน้อยนี้ คือ มีใจริษยา ย่อมริษยา มุ่งร้าย ผูกใจอิจฉาในลาภ สักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ และการบูชาของคนอื่น.

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
เซจาน้อย
วันที่ 30 มี.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
lovedhamma
วันที่ 1 เม.ย. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ