การฝึกจิตด้วยอริยมรรค 4 ในอรรถกถา

 
ทรง
วันที่  23 มี.ค. 2555
หมายเลข  20854
อ่าน  3,158

การฝึกจิตด้วยอริยมรรค ๔ ในอรรถกถา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 23 มี.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรื่องฝึกจิตด้วยอริยมรรค มีองค์ แปด ใน ธรรมบท เรื่อง ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งที่พระองค์ได้ตรัสพระคาถาว่า

การฝึกจิตอันข่มได้ยาก เป็นธรรมชาติเร็ว

มักตกไปในอารมณ์ตามความใคร่ เป็นการดี

(เพราะว่า) จิตที่ฝึกแล้ว ย่อมเป็นเหตุนำสุขมาให้.

ซึ่งในอรรถกถา ก็อธิบายพูดถึงการฝึกจิตด้วย อริยมรรค ครับ ที่ว่า

การฝึกจิตเห็นปานนี้นั้น เป็นการดี คือความที่จิตอันบุคคลฝึกฝน ด้วยอริยมรรคได้แก่ความที่จิตอันบุคคลทำแล้วโดยประการที่จิตสิ้นพยศได้ เป็นการดี. ถามว่า " เพราะเหตุไร? " แก้ว่า " เพราะว่า จิตนี้อันบุคคลฝึกแล้ว ย่อมเป็นเหตุนำสุขมาให้ คือว่า จิตที่บุคคลฝึกแล้ว ได้แก่ทำให้สิ้นพยศ ย่อมนำมาซึ่งความสุขอันเกิดแต่มรรคผล และสุขคือพระนิพพานอันเป็นปรมัตถ์." ซึ่งจะขออธิบายให้พอเข้าใจโดยภาษาง่ายๆ ในเรื่องการฝึกจิตด้วยอริยมรรค ครับ

ก่อนอื่นต้องเข้าใจพื้นฐานก่อนครับว่าไม่มีเรา ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน มีแต่ธรรม คือ จิต เจตสิก รูป และไม่สามารถบังคับบัญชาได้ ดังนั้นจึงไม่มีตัวเราที่ฝึก ที่จะทำ เป็นสภาพธรรมที่ทำหน้าที่เกิดขึ้นเป็นไป คือ สติและปัญญาที่เกิดขึ้น ขณะนั้น ฝึกจิตจากที่เคยสะสมมามาก ทำให้อกุศล หรือ กิเลสน้อยลง ฝึกจิตให้ตรง ที่เคยคดจากกิเลส ก็ตรงขึ้นด้วย ธรรมที่ทำหน้าที่ฝึก คือ สติและปัญญา ไม่ใช่เราที่จะฝึก จะทำ จะฝึกจิตครับ

การฝึกจิตด้วยอริยมรรค ก็คือ ด้วยการเจริญสติปัฏฐาน รู้ความจริงของสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ที่กำลังปรากฏว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ขณะนั้นชื่อว่า กำลังฝึกจิตแล้วด้วยปัญญาที่เกิดรู้ความจริง ซึ่งเป็นการเจริญอริยมรรคในขณะนั้น ฝึกจิตด้วยอริยมรรคในขณะนั้นที่รู้ความจริงว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ซึ่งจะถึงการรู้ความจริง ที่เป็นการฝึกจิตด้วยปัญญาได้ ก็ต้องเริ่มจากปัญญาขั้นการฟัง ฟังให้เข้าใจ ก็จะถึงการฝึกจิตด้วยอริยมรรค ครับ

สำคัญที่มีความเข้าใจเบื้องต้นว่า ไม่มีเราที่จะฝึก มีแต่ธรรมะเป็นไป ทำหน้าที่ คือ สติและปัญญาที่รู้ความจริง เป็นการฝึกจิตให้ออกจากกิเลสในขณะนั้นครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 23 มี.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การจะฝึกจิต (ไม่มีตัวตนที่ฝึก) จากที่เป็นอกุศล ตกไปในฝักฝ่ายของอกุศล บ่อยๆ เนืองๆ ให้ลดน้อยลง เริ่มเป็นกุศลที่เพิ่มขึ้นในชีวิตประจำวัน ได้นั้น สิ่งสำคัญที่สุดต้องอาศัยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม สะสมปัญญา ความเข้าใจถูก เห็นถูกไปตามลำดับ เพราะเหตุว่าเมื่อปัญญาเจริญขึ้นไป ย่อมจะช่วยบรรเทาอกุศลจิตให้ลดน้อยลงได้ และที่สำคัญ ปัญญานี้เองจะสามารถดับกิเลสได้ตามลำดับมรรค สูงสุดคือ ปัญญาขั้นอรหัตตมรรค ดับกิเลสทั้งปวงได้อย่างเด็ดขาดไม่เกิดอีกเลย

การฟังพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงเพื่อประโยชน์ คือ เข้าใจถูก เห็นถูกตามความเป็นจริง เพื่อละอกุศลทั้งหลาย จนกระทั่งไม่สามารถเกิดได้อีกเลย นี่คือพระมหากรุณาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีต่อสัตว์โลก พระบารมีทั้งหมดที่พระองค์ทรงบำเพ็ญมาตลอดระยะเวลาสี่อสงไขยแสนกัปป์ ก็เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์โลกอย่างแท้จริง พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงตลอด ๔๕ พรรษา จึงเป็นเครื่องฝึกที่ดี เพราะทำให้ผู้ที่ได้รับการฝึก มีความเข้าใจถูก เห็นถูกตามความเป็นจริง ในสิ่งที่พระองค์ทรงแสดง และสามารถดับกิเลสได้ตามลำดับขั้น ครับ

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ ครับ

จิตที่ฝึกแล้ว เป็นเหตุนำสุขมาให้ [คาถาธรรมบท]

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
kinder
วันที่ 23 มี.ค. 2555

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
orawan.c
วันที่ 24 มี.ค. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เซจาน้อย
วันที่ 24 มี.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 24 มี.ค. 2555

ในพระไตรปิฎกมีแสดงไว้ ท่านเปรียบการฝึกจิต เหมือนการดัดศรให้ตรง หมายความว่า ละอกุศลที่คด แล้วซื่อตรงด้วยกุศล และ ประกอบด้วยปัญญา ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
pat_jesty
วันที่ 26 มี.ค. 2555

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
jaturong
วันที่ 27 มี.ค. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
บริสุทธิ์
วันที่ 7 มิ.ย. 2555

ในพระไตรปิฎกมีแสดงไว้ ท่านเปรียบการฝึกจิต เหมือนการดัดศรให้ตรง หมายความว่า ละอกุศลที่คด แล้วซื่อตรงด้วยกุศล และ ประกอบด้วยปัญญา ค่ะ

อยู่ตรงส่วนไหนของพระไตรปิฎก

ขอหลักฐานอ้างอิงด้วยครับ เพื่อการศึกษาต่อไป

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
nong
วันที่ 7 มิ.ย. 2555

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
khampan.a
วันที่ 7 มิ.ย. 2555

อ้างอิงจาก : หัวข้อ 20854 ความคิดเห็นที่ 9 โดย บริสุทธิ์

ในพระไตรปิฎกมีแสดงไว้ ท่านเปรียบการฝึกจิต เหมือนการดัดศรให้ตรง หมายความว่า ละอกุศลที่คด แล้วซื่อตรงด้วยกุศล และ ประกอบด้วยปัญญา ค่ะ

อยู่ตรงส่วนไหนของพระไตรปิฏก ขอหลักฐานอ้างอิงด้วยครับ เพื่อการศึกษาต่อไป

ขออนุโมทนา

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความดังกล่าวได้ที่นี่ครับ

เรื่องพระเมฆิยเถระ [คาถาธรรมบท]

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ