การถือศีล 8 และน้ำปานะ

 
tookta
วันที่  16 ก.พ. 2555
หมายเลข  20566
อ่าน  28,246

มีคนบอกมาว่า การถือศีล ๘ หลังเวลาเที่ยงวันไปแล้ว สามารถ ดื่ม นม โยเกิร์ต โอวัลติน และไมโล ได้ เพราะว่าจัดว่าเป็นน้ำปานะ อยากทราบว่าถูกต้องหรือไม่คะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 16 ก.พ. 2555

ขอนอบน้อมแ่ด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ศีล ๘ ในสมัยครั้งพุทธกาลเรียกว่า อุโบสถศีล มีองค์ ๘ คือ เว้นจากการฆ่า ๑ เว้นจากการลักทรัพย์ ๑ เว้นจากการประพฤติอพรหมจรรย์ ๑ เว้นจากมุสาวาท ๑ เว้นจากสุราเมรัย ๑ เว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล ๑ เว้นจากการตกแต่งร่างกายและดูการเล่น ๑ เว้นจากการนั่งนอนบนที่นอนสูงใหญ่ ๑

ซึ่งสำหรับการเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือ เว้นจากากรบริโภคอาหารหลังเที่ยงไปแล้ว ห้ามบริโภคอาหารครับ ซึ่ง นมและโยเกิร์ต จัดว่าเป็นอาหาร บริโภคหรือ ทาน หลังเที่ยงไม่ได้ครับ หลังเที่ยงดื่มน้ำเปล่า และ น้ำปานะ ได้ครับ

สำหรับศีล ๘ นั้น ในศีล ๘ ข้อหนึ่ง คือ การงดเว้นจากการทานอาหารในยามวิกาล คือ เลยเที่ยงไปแล้ว ห้ามทานอาหาร แต่ อนุญาตทานน้ำปานะและเภสัชได้เมื่อป่วยครับ ดังนั้น นม โยเกิร์ต โอวัลตินและไมโล ไม่เป็นน้ำปานะและเภสัช แต่จัดเป็นอาหาร

ดังนั้นการดื่ม นม โยเกร์ต โอวัลตินและไมโล หลังเวลาเที่ยงวันไปแล้ว สำหรับผู้ที่รักษาศีล ๘ และพระภิกษุ ผู้รักษาศีล ๘ ศีล ขาดครับ นมและโยเกิร์ต ทานไม่ได้หลังเที่ยงนะครับ ส่วนพระภิกษุถ้าทาน นม หลังเที่ยงต้องอาบัติปาจิตตีย์


การรักษาศีลอุโบสถ หรือ ศีล ๘ จุดประสงค์เพื่อขัดเกลากิเลสมากขึ้น แต่ต้องรู้จักอุปนิสัยของตน และจุดประสงค์ว่ารักษาเพื่ออะไร ถ้ารักษาเพื่อจะได้บุญมากหรือเพื่ออานิสงส์อื่น รวมทั้ง จะได้เกิดในภพที่ดี เป็นเทวดาเป็นต้น ตรงนี้ไม่ใช่จุดประสงค์ที่ถูกต้อง แต่ที่ถูกคือ เพื่อขัดเกลากิเลสของตนเองเพิ่มขึ้นจากศีล ๕ และเป็นไปเพื่อการละและดับกิเลสส่วนเดียวเท่านั้นครับ

ดังข้อความในพระไตรปิฎกเรื่องจุดประสงค์ที่ถูกและผิดในการรักษาศีลอุโบสถ หรือ ศีล ๘ ครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ

การรักษาอุโบสถที่ถูกคือเพื่อขัดเกลาและดับกิเลส [ทุติยราชสูตร]

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 16 ก.พ. 2555

ขอนอบน้อมแ่ด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

จุดประสงค์ของการรักษาศีล ๘ เพื่อประโยชน์แก่การขัดเกลากิเลสของตนเอง ไม่ใช่เห็นว่า ศีล ๘ มากกว่าศีล ๕ ก็รักษา โดยที่ไม่มีความเข้าใจอะไร ไม่ได้มุ่งที่ จะขัดเกลากิเลสเลย อย่างนี้ย่อมไม่ถูกต้อง เมื่อเป็นผู้มีความตั้งใจว่าจะเป็นผู้รักษา ศีล ๘ แล้ว ก็จะต้องน้อมที่จะรักษาด้วย ศีล ๘ ข้อที่ ๖ คือ งดเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือ หลังเที่ยงไปแล้ว เพราะการรักษาศีล ๘ จะต้องเป็นผู้งดเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือ หลังเที่ยงไปแล้ว รับประทานอาหารไม่ได้ เว้นไว้แต่น้ำปานะ แม้แต่น้ำปานะ ก็เป็นเรื่องที่ละเอียด ต้องศึกษาให้เข้าใจจริงๆ ไม่ใช่ว่าอะไรที่เป็นน้ำๆ เหลวๆ เช่น โยเกิร์ต นม โอวัลติน เป็นต้น ก็จะเป็นน้ำปานะทั้งหมด ไม่ใช่อย่างนั้นเลย ซึ่งจะมีความเข้าใจที่ถูกต้อง ก็ต้องอาศัยการฟัง พระธรรม ศึกษาพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง

ถ้าไม่สามารถรักษาศีล ๘ ได้ ก็พึงเป็นผู้รักษาศีล ๕ พร้อมทั้งมีการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมอบรมเจริญปัญญาตามที่คฤหัสถ์จะพึงกระทำได้ อย่างนี้ ก็เป็นสิ่งที่ดีแล้ว ดีกว่า ไปกระทำอะไรด้วยความไม่รู้ ด้วยความเข้าใจผิด หรือมีจุดประสงค์ที่ไม่ถูกต้อง ครับ.

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
พรรณี
วันที่ 16 ก.พ. 2555

ขออนุโมทนาค่ะ

ขอสนทนาด้วยค่ะ

ถ้าไม่มีน้ำปานะในขณะนั้น ไม่มีเครื่องดื่มอื่นๆ ที่ทดแทนได้เลยหรือคะ อย่างเช่นน้ำโซดา แฟนต้า หรือน้ำเขียว น้ำแดง หรือโกโก้ผงที่ไม่มีอาหารประเภทนมเจือปน ข้อห้ามในข้อ ๖ คือห้ามรับประทานอาหารหลังเที่ยงวันเป็นต้นไป คนส่วนใหญ่จะไม่เข้าใจว่าสิ่งที่เจือปนด้วยผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมวัว จัดว่าเป็นอาหารถ้าถือศีล ๘ แล้วควรงดเว้นด้วย

ช่วยกรุณาให้ความกระจ่างอีกครั้งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 17 ก.พ. 2555

เรียนความเห็นที่ 3 ครับ

หลังเที่ยงทานน้ำปานะได้ น้ำปานะ คือน้ำผลไม้ที่ทรงอนุญาตไว้ มี ๘ ชนิด และอื่นๆ ตามสมควร เมื่อคั้นเอาเฉพาะน้ำ กรองไม่ให้มีกาก แต่ถ้าไม่มีน้ำปานะ น้ำอื่นพวกโซดา แฟนต้า

นม ไมโล อย่างนี้ทานหลังเที่ยงไม่ได้ แต่ถ้าเกิดป่วย ร่างกายอ่อนเพลียมากสามารถทานเภสัช รักษาร่างกายได้ มีน้ำผึ้ง น้ำอ้อย เป็นต้น ได้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เซจาน้อย
วันที่ 17 ก.พ. 2555

ขอนอบน้อมแ่ด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
jaturong
วันที่ 17 ก.พ. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
peem
วันที่ 17 ก.พ. 2555
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
apichet
วันที่ 7 ธ.ค. 2566

กราบอนุโมทนาสาธุครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ