พระโสดาบันกับรูปที่ดี

 
วิริยะ
วันที่  2 ม.ค. 2555
หมายเลข  20284
อ่าน  1,632

เรียนถาม

พระโสดาบันท่านเห็นของสวยงาม ได้ยินเสียงที่ดี ได้รสที่ดี ได้กลิ่นที่ดี ได้รับกระทบสัมผัสที่ดี ท่านยังมีโลภะคือยังติดข้องอยู่ แต่จิตเห็น จิตได้ยิน จิตลิ้มรส จิตที่ได้กลิ่น และจิตกระทบสัมผัสของท่านเป็นเช่นไร

ขอบพระคุณอย่างสูง


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 2 ม.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขณะที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้กระทบสัมผัส คือ สภาพธรรมที่เป็นจิต เจตสิกที่เกิดขึ้น ซึ่งขณะนั้น เป็นจิตที่เป็นชาติวิบาก คือ เป็นผลของกรรม ขณะที่เห็นสิ่งที่ดีเป็น จักขุวิญญาณกุศลวิบาก เป็นวิบากทางตาที่ดี อันเกิดจากกุศลกรรม หรือ กรรมดีให้ผล ทำให้เห็นสิ่งที่ดี แต่เมื่อเห็นสิ่งทีดี่แล้ว อกุศล ก็สามารถเกิด มีโลภะ เป็นต้นติดข้องในสิ่งที่ได้เห็น เช่น เห็นดอกไม้ ก็ติดข้องใน สี ที่สวยที่บัญญัติว่าเป็นดอกไม้ได้ครับ

คำถาม คือ ขณะที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้กระทบสัมผัสของพระโสดาบันเป็นอย่างไรพระธรรมเป็นสัจจะ คือ เป็นอภิธรรม ธรรมที่ละเอียดยิ่ง ไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะครับ ดังนั้น ขณะที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้กระทบสัผมัส ไม่ว่าของใคร ไม่ว่าจะเป็นของ สัตว์เดรัจฉาน ของมนุษย์ ของเทวดา ของปุถุชน ของพระโสดาบัน ของพระพุทธเจ้า จิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส จิตรู้กระทบสัมผัสนั้น ไม่ต่างกันเลย คือ เป็นจิต ชาติวิบากที่เป็นผลของกรรมเช่นกัน เหมือนกัน ทำกิจอย่างเดียวกัน คือ จิตเห็นก็ทำ หน้าที่รู้สิ่งที่ปรากฏทางตา จิตได้ยินทำกิจหน้าที่รู้เสียง ... เป็นต้น ไม่ว่าเกิดกับใครทำ กิจหน้าที่อย่างเดียวกัน และต่างก็เป็นวิบากจิตเหมือนกันครับ และก็มีเจตสิกทีเกิดร่วม ด้วย ๗ ดวง มี ผัสสเจตสิก เป็นต้น เท่ากันหมด ไม่ว่าจะเป็นของปุถุชน ของสัตว์ เดรัจฉาน ของพระโสดาบัน ของพระพุทธเจ้า ก็มีเจตสิก ๗ ดวงเท่ากัน ไม่มากและ ไม่น้อยไปกว่านี้ครับ

สรุป คือ จิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส จิตรู้กระทบสัมผัส ของพระโสดาบัน เป็น ชาติวิบากทีเป็นผลของกรรม ไม่ได้พิเศษไปกว่าบุคคลอื่น หากกรรมดีให้ผล ก็ทำ ให้เห็นสิ่งที่ดี หากกรรมไม่ดีให้ผล ก็ทำให้เห็นสิ่งที่ไม่ดีครับ เพียงแต่ว่า เมื่อท่านเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้กระทบสัมผัสแล้ว ท่านจะไม่สำคัญผิดว่า เป็นเรา เป็นสัตว์ บุคค เลย เพราะท่านดับความเห็นผิด ที่ยึดถือว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตนแล้วครับ แต่ปุถุชน เมื่อเห็นแล้ว ก็ยึดถือว่าเป็นเรา เป็นสัตว์ บุคคล เป็นเราอยู่ครับ แต่จิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส จิตรู้กระทบสัผมัส เหมือนกัน ทั้งสิ้น เพราะเป็น ชาติวิบากเช่นกัน และทำกิจเหมือนกัน คือ ทำกิจเห็น เหมือนกัน เป็นต้น และเมื่อพูดถึงความละเอียด แล้ว จิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส จิตรู้กระทบสัมผัสของพระโสดาบัน ไม่มี อนุสัยกิเลสที่นอนเนื่อง ที่ดับได้แล้ว คือ ทิฏฐานุสัย หมายถึง ความเห็นผิด และ วิจิกิจฉานุสัย หมายถึง ความสงสัย เลยครับ แต่จิตเห็น ... จิตรู้กระทบสัมผัส ของปุถุชน ยังมีอนุสัยกิเลสที่นอนเนื่อง ครบอยู่เต็มครับ

ดังนั้นขณะที่พระโสดาบันเห็นสิ่งทีดี เป็นเพราะผลของกรรมที่ดีให้ผล ได้เห็นรูปที่ดีครับ แต่ท่านจะไม่ยึดถือว่าเป็นเรา เป็นสัตว์บุคคลที่เห็น หรือ สิ่งที่เห็นเป็นสัตว์ บุคคล เพราะท่านเข้าใจว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เราแล้วครับ แต่สามารถเกิดความติดข้อง ชอบได้ แต่ไม่ได้มีความเห็นผิดครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
peem
วันที่ 2 ม.ค. 2555
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เซจาน้อย
วันที่ 2 ม.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 2 ม.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เฉพาะขณะที่เห็น (จักขุวิญญาณ) เกิดขึ้นนั้น เป็นผลของกรรม มีเหตุ คือ กรรมที่ได้กระทำแล้วเป็นปัจจัย จึงทำให้จักขุวิญญาณเกิดขึ้นได้ ถ้าเป็นผลของกุศลกรรมก็ทำให้ได้เห็นในสิ่งที่ดีที่น่าปรารถนา น่าใคร่น่าพอใจ ในทางตรงกันข้ามถ้าเป็นผลของอกุศลกรรมก็ทำให้ได้เห็นสิ่งที่ไม่น่าปรารถนาไม่น่าใคร่ไม่น่าพอใจ ความจริงเป็นอย่างนี้จะเปลี่ยนแปลงให้เป็นอย่างอื่นก็ไม่ได้ เห็นเป็นเห็น ไม่ว่าจะเป็นใครเห็นก็ตาม ขณะที่กิเลสเกิดขึ้น ไม่ใช่ในขณะที่เห็น เพราะในขณะที่เห็นจะไม่มีกิเลสไม่มีอกุศลธรรมเกิดร่วมด้วยเลย เมื่อจักขุวิญญาณเกิดแล้วดับไป เป็นเหตุให้จิตขณะต่อไปคือสัมปฏิจฉันนจิต เกิดขึ้นรับรู้อารมณ์นั้นต่อ เมื่อสัมปฏิจฉันนจิตดับไปแล้ว สันตีรณจิต เกิดต่อ เมื่อสันตีรณจิตดับไปแล้ว โวฏฐัพพนจิตเกิดต่อ ต่อจากนั้นถึงจะเป็นอกุศลจิต หรือ กุศลจิต (หรือมหากิริยาจิตสำหรับพระอรหันต์) ตามการสะสมของแต่ละบุคคล แต่พระโสดาบัน (ยังไม่ใช่พระอรหันต์) ท่านยังมีความติดข้องยินดีพอใจในสิ่งที่กำลังปรากฏเพราะยังดับโลภะที่ติดข้องในรูปเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ไม่ได้ แต่ท่านดับความเห็นผิดได้อย่างหมดสิ้นแล้ว ดังนั้น ถึงแม้ว่าพระโสดาบันจะมีความติดข้อง แต่ก็ไม่มีความติดข้องที่เกิดร่วมกับความเห็นผิด แต่เมื่อใดก็ตามที่รู้แจ้งอริยสัจจธรรมถึงความเป็นพระอนาคามีบุคคล เมื่อนั้นก็จะไม่มีโลภะที่ติดข้องยินดีพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะอีกเลย และถ้าดับกิเลสได้อย่างหมดสิ้น ถึงความเป็นพระอรหันต์แล้ว ไม่มีกิเลสใดๆ เกิดขึ้นอีกเลย ไม่ว่าจะประสบกับอารมณ์ใดๆ ก็ตาม ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 2 ม.ค. 2555

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
วิริยะ
วันที่ 2 ม.ค. 2555

เรียนถาม

พระโสดาบันท่านเห็นดอกไม้งามๆ แล้วท่านเห็นเป็นบัญญัติ แต่ท่านไม่ได้บอกว่า เป็น ตัวท่านที่เห็น หรือ บอกว่า ดอกไม้นั้นๆ เป็นของท่าน หรืออย่างไร ดิฉันไม่เข้าใจคำว่า สักกายทิฏฐิ โดยทั่วไป ปุถุชนที่เห็น เค้าก็ไม่ได้บอกว่า เราเห็น คือเห็นอะไร ก็เห็นสิ่ง นั้น เป็นบัญญัติไปเลย เช่นกัน เพียงเติมคำว่า "เรา" ลงไป ก็หมายความว่า มีความเป็น ตัวตนที่เห็น หรืออย่างไร

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
intra
วันที่ 2 ม.ค. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
paderm
วันที่ 2 ม.ค. 2555

เรียนความเห็นที่ 6 ครับ

แน่นอนครับว่า ทั้งปุถุชนและพระโสดาบัน ต่างก็เห็น เป็นดอกไม้ที่เป็นบัญญัติเหมือน กัน แต่ความต่างกัน คือ ปุถุชนเมื่อเห็นแล้ว แม้จะไม่ได้ยึดถือว่าเป็นสัตว์ บุคคลในขณะต่อไป แต่ ก็มีเหตุปัจจัยที่สำคัญว่า เป็นดอกไม้จริงๆ สำคัญว่ามีเรา มีสิ่งต่างๆ จริงๆ ครับ เช่น หากถามว่า เห็นอะไร ดอกไม้ ใช่ไหม ปุถุชนก็ต้องตอบว่าดอกไม้ และดอกไม้มีจริงไหม ก็ตอบว่ามีจริง อันแสดงว่ายังมีความยึดถือว่า มีสัตว์ บุคคล มีสิ่งต่างๆ ไม่รู้ว่าเป็น ธรรม แต่ พระโสดาบัน ประจักษ์สภาพธรรมแล้ว จึงรู้ตามความเป็นจริง และไม่มีเหตุ ปัจจัยที่จะสำคัญว่า มีสัตว์ บุคคล มีสิ่งต่างๆ เพราะท่านมีปัญญารู้แล้วว่าเป็นธรรมครับ

ดังนั้น สักกายทิฏิ คือ ความยึดถือว่าเป็นสัตว์บุคคล ยังมีอยู่ สำหรับปุถุชน ยังไม่ได้ดับ และพร้อมที่จะเกิด และ จิตของปุถุชน ในแต่ละขณะ ก็มีอนุสัย คือ ทิฏฐานุสัย คือ ความเห็นผิดนอนเนื่องไป ต่างจาก จิตของพระโสดาบัน ที่ไม่มีทิฏฐานุสัยเกิดอีกแล้วครับ

ดังนั้นที่ผมกล่าวว่า ปุถุชนเมื่อเห็นเป็นดอกไม้ ก็ยึดถือว่าเป็นสัตว์ บุคคล ในที่นี้ มุ่งหมายถึง ยังมี สักกายทิฏฐิ ที่เป็น ทิฏฐานุสัย คือ ความเห็นผิดที่เป็นกิเลสนอนเนื่อง อยู่ที่ทำใ้ห้ยังมีความเห็นผิด ว่ามีสัตว์ บุคคล เป็นสิ่งต่างๆ จริงๆ เกิดขึ้นได้ครับ ซึ่งขณะที่เห็นผิด คือ ขณะที่มีความเห็นเกิดขึ้นในจิตใจว่ามีเรา มีสัตว์ บุคคลจริงๆ มีดอกไม้จริงๆ ครับ ขณะนั้นเป็นเรา ด้วยความเห็นผิดที่เป็นสักกายทิฏฐิครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
วิริยะ
วันที่ 2 ม.ค. 2555

เรียนถาม

จากความเห็นที่ 6 หมายความว่า เมื่อปุถุชนเห็นเป็นบัญญัติ จะต่างกับพระโสดาบันที่เห็นเป็นบัญญัติตรงที่ว่า พระโสดาบันท่านไม่ยึดว่าสิ่งนั้นเป็นบัญญัติเช่น เห็นรูปท่าน ก็รู้ว่าเป็นสี ได้ยินเสียงดนตรี ท่านก็รู้ว่าเป็นเสียง ได้ลิ้มรสหวาน รสเค็ม ท่านก็รู้ว่าเป็น เพียงรส พร้อมทั้งรู้นามธรรมคือสภาพรู้ด้วย ปุถุชนรู้ว่าเป็นบัญญัติและไม่รู้ในสภาพรู้ เข้าใจถูกต้องหรือไม่ ดิฉันเข้าใจว่า พระโสดาบัน เห็นดอกไม้ ท่านคงไม่เห็นเป็นดอกไม้ คงเห็นเป็นสี แต่ท่านก็ยังติดข้อง จึงไม่เข้าใจ เพราะปุถุชน เห็นเป็นรูปร่าง สัณฐาน สิคะ จึงได้ติดข้อง ดิฉันปัญญาน้อย อาจารย์อย่าเพิ่งเบื่อเสียก่อน

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
paderm
วันที่ 2 ม.ค. 2555

เรียนความเห็นที่ 9 ครับ

พระโสดาบัน และ ปุถุชน ต่างก็เห็นเป็นบัญญัติ คือ เห็นเป็นดอกไม้ ไม่ใช่พระโสดาบันจะไม่เห็นเป็นดอกไม้นะครับ แม้พระพุทธเจ้าก็เห็นเป็นท่านพระอานนท์ เห็นศาลา เห็นอาหาร เห็นบาตร เห็นจีวร คือ เห็นเป็นบัญญัติ เรื่องราว เพราะเมื่อ เห็นแล้ว ขณะที่เห็น เป็นเพียงสี แต่ไม่มีใครห้ามวิถีจิต ที่ไม่ให้คิดต่อได้ ต้องคิดต่อ ทางมโนทวาร คิดเป็นรูปร่าง สัณฐาน เป็นดอกไม้ แม้พระโสดาบัน พระพุทธเจ้าก็เห็น เ็ป็นดอกไม้ เช่นกับปุถุชนเห็น ซึ่งพระโสดาบัน เมื่อเห็นเป็นดอกไม้ ท่านก็ติดข้อง พอใจได้ เป็นโลภะได้ แต่ไม่ไ่ด้มีความเห็นผิด ว่ามีเรา เป็นดอกไม้จริงๆ ครับ เพราะ ท่านประจักษ์ความจริงที่เป็นแต่เพียงสภาพธรรมไม่ใช่เราแล้วครับ

ส่วนปุถุชน เห็นดอกไม้ ก็เกิดโลภะที่ชอบได้ และ อาจจะเกิดความเห็นผิดที่เกิดร่วมกับโลภมูลจิตก็ได้ อันสำคัญว่า เป็นดอกไม้จริงๆ หลังจากเห็นเป็นดอกไม้แล้วครับ ดังนั้น เมื่อ เห็นเป็นดอกไม้แล้ว อาจเป็นกุศลก็ได้ เป็นอกุศลที่เพียงติดข้องก็ได้ แต่ไม่เห็นผิด ว่ามีสัตว์ บุคคล มีสิ่งต่างๆ เพียงชอบเท่านั้น หรือ อาจเห็นผิด สำคัญว่ามีดอกไม้จริงๆ ก็ได้ การเห็นเป็นรูปร่างสัณฐาน เป็นบัญญัติ ซึ่งจากการเห็นเป็นบัญญัติแล้ว จึงเป็น ไปได้ทั้งกุศล และ อกุศลครับ ดังนั้น ทุกคน ไม่ว่าใคร ต่างก็เห็นเป็นดอกไม้ สิ่งที่ต่างกัน คือ ปัญญานั่นเองครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
วิริยะ
วันที่ 2 ม.ค. 2555

เรียนถาม

จากความเห็นที่ 10 โลภมูลจิต ที่ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิดของ ปุถุชน และ พระโสดาบัน ต่างกันอย่างไร พระโสดาบันท่านไม่มีความเห็นผิดในสักกายทิฏฐิ แน่นอน แต่ปุถุชนไม่เห็นผิดอย่างไร จะเป็นอย่างที่ดิฉันเข้าใจหรือไม่ว่า ปุถุชน ถึงแม้ว่า จะมีโลภมูลจิต ทิฏฐิคตวิปปยุต ก็มิได้หมายความว่า จะเป็นเช่นนั้นตลอดไป ยังมีโอกาสที่จะมีโลภมูลจิต ทิฏฐิคตสัมปยุต เกิดขึ้นได้ เพราะปัญญายังไม่ถึงขั้นพระโสดาบัน

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
paderm
วันที่ 2 ม.ค. 2555

เรียนความเห็นที่ 11 ครับ

โลภมูลจิต ที่ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิดของ ปุถุชน และ พระโสดาบัน ต่างกันอย่างไร


จิตที่เป็นโลภะ ของปุถุชนและพระโสดาบัน โดยสภาพธรรมแล้ว ไม่ต่างกัน คือ ทำกิจหน้าที่ติดข้อง แต่ที่แตกต่างกัน คือ ระดับกำลังของโลภะของพระโสดาบัน ย่อมมีกำลังเบาบางกว่า ของปุถุชนครับ


พระโสดาบันท่านไม่มีความเห็นผิดในสักกายทิฏฐิแน่นอน แต่ปุถุชนไม่เห็นผิดอย่างไร จะเป็นอย่างที่ดิฉันเข้าใจหรือไม่ว่า ปุถุชนถึงแม้ว่า จะมีโลภมูลจิต ทิฏฐิคตวิปปยุต ก็มิได้หมายความว่า จะเป็นเช่นนั้นตลอดไป ยังมีโอกาสที่จะมีโลภมูลจิต ทิฏฐิคตสัมปยุต เกิดขึ้นได้ เพราะปัญญายังไม่ถึงขั้นพระโสดาบัน


ปุถุชน มีโลภะมูลิตที่ประกอบด้วยความเห็นผิด และไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด ขณะ ที่ปุถุชนเห็นผิด คือ ขณะที่มีความเห็นขึ้นมา ที่ผิดจากความเป็นจริง ยกตัวอย่างเช่น คนหนึ่ง เห็นดอกไม้ แล้วชอบ ขณะที่ชอบ เป็นโลภะ แต่ไม่ได้มีความเห็นขึ้นมาในใจ เลยว่า ดอกไม้เที่ยง ไม่เกิดดับ และดอกไม้มีจริง เพียงแต่เห็นแล้วก็ชอบ ขณะนั้น เป็น โลภะที่ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิดครับ แต่ถ้าถามคนนั้นต่อไปว่า ตกลงมีดอกไม้จริงไหม คนนั้นก็ตอบด้วยความเห็นขึ้นมาว่า ก็มีจริง หรือ แม้ไม่ตอบ แต่คิดนึกในใจว่า ดอกไม้มีจริง เพราะเห็นอยู่และเที่ยง นี่เกิดความคิดเห็น ความเห็นขึ้นมาแล้ว ที่เป็น ความเห็นไม่ตรงตามความเป็นจริง ขณะที่คิดเห็นอย่างนั้นจึงเป็น โลภมูลจิตที่ประกอบด้วยความเห็นผิดครับ ยินดีพอใจ ในความเห็นผิดนั้น ซึ่งปุถุชน มีโอกาสที่จะเกิดความเห็นผิดได้ เป็นธรรมดา ตราบใดที่ยังไม่ใช่พระโสดาบันตามที่ผู้ถามได้เข้าใจถูกแล้วครับ ในประเด็นนี้

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
วิริยะ
วันที่ 2 ม.ค. 2555

เรียนถาม

สืบเนื่องจากความเห็นที่ 10 นะคะ ที่ท่านกล่าวว่า ไม่ว่าจะเป็นพระอริยบุคคล หรือ ปุถุชน การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส การได้รับกระทบสัมผัส ย่อมเหมือน กันหมด แต่ต่างกันตรงปัญญา ซึ่งความเข้าใจแต่แรก เข้าใจว่า การเจริญสติปัฏฐาน จะทำให้ผู้เจริญสติ รู้อารมณ์ที่ไม่ใช่บัญญัติ เมื่อไม่ใช่บัญญัติ ก็จะไม่ติดข้อง

ทีนี้ อยากเรียนถามว่า เมื่อพูดถึงวิถีจิต ในวาระแรกสำหรับจิตเห็น เห็นเป็นสี สำหรับ ปุถุชนที่ปัญญายังไม่ถึง ก็ยังไม่สามารถเห็นเป็นสี ใช่มั้ยคะ ส่วนพระโสดาบันท่าน เห็นเป็นสี แล้วคิดเป็นรูปร่างสัณฐาน แต่ท่านมิได้เห็นผิดในบัญญัติที่เห็นว่าเป็น สิ่งนั้น แต่ท่านยังละโลภมูลจิตไม่ได้ ท่านจึงยังติดข้องอยู่ เข้าใจถูกต้องหรือไม่

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
paderm
วันที่ 2 ม.ค. 2555

เรียนความเห็นที่ 13 ครับ

ควรเข้าใจครับว่า โลภะ เกิดได้ทั้งทางปัญจทวาร และ ทางมโนทวาร ความหมาย คือ แม้เห็นเพียง สี โลภะก็เกดิได้ ไม่จำเป็นจะต้องเป็นบัญญัติแล้ว โลภะจะเกิดไม่ได้ นะครับ โลภะติดข้องได้เกือบทุกอย่าง แม้แต่ปรมัตถธรรม ที่เป็น สี เป็นต้น ก็ติดข้องได้ ดังนั้น วาระแรกที่ทางปัญจทวาร เช่น ทางตา เมื่อเห็นสี จิตเห็นดับไป ชวนจิต เกิดต่อ เป็นอกุศลได้ทันที คือ ติดข้อง พอใจในสีนั้นครับ

แต่ขณะที่สติปัฏฐานเกิด รู้ลักษณะของ สิ่งที่ปรากฎทางตา คือ สี ในขณะนั้น ขณะ นั้นรู้ว่าเป็นธรรมะไม่ใช่เรา ชวนจิตในขณะนั้น เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล เพราะปัญญาเกิดรู้ ความจริงครับ ซึ่ง ปุถุชนที่ยังไม่ใช่พระโสดาบัน สามารถอบรมปัญญา คือ การเจริญสติปัฏฐาน หรือ ถึงวิปัสสนาญาณได้ คือ รู้ว่าเป็นเพียงสี แม้เพียงวาระแรกที่เกิดก็รู้ได้ แม้ยังไม่ใช่พระโสดาบัน ก็รู้ได้ครับ เพียงแต่ปัญญายังไม่คมกล้าพอที่จะดับความเห็น ผิดได้จริงๆ แต่ก็สามารถรู้ว่าเป็นเพียงสีได้ แม้ในวาระแรกครับ ด้วยสติปัฏฐานเกิดระลึก ลักษณะของสี ทางปัญจทวาร วาระแรกในขณะนั้นครับ ส่วนพระโสดาบันก็รู้ว่าเป็น เพียงสี และก็รู้บัญญัติด้วย แต่ท่านไม่สำคัญผิด ว่าบัญญัติมีจริง แต่ท่านรู้ว่าสิ่งที่มีจริง คือ สี เพราะท่านประจักษ์ ปัญญาคมกล้าแล้วครับ ซึ่งผู้ถามมีความเข้าใจถูกต้องแล้ว ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
วิริยะ
วันที่ 3 ม.ค. 2555

เรียนถาม

จากความเห็นที่ 14 ดิฉันคงจะไม่ค่อยสงสัยเกี่ยวกับประเด็นพระโสดาบันกับรูปที่ดี แต่กลับจะสงสัยเกี่ยวกับ โลภะซึ่งติดข้องแม้แต่ในปรมัตธรรมมากกว่า ขอเรียบเรียง ความเข้าใจว่า ดิฉันไม่ได้สัมผัสปรมัตอะไรทั้งสิ้น ทั้งทางตา หู จมูก ลิ้น และกาย แต่ การเจริญสติปัฏฐาน เป็นการลับปัญญาให้คมกล้า จากที่ไม่เคยรู้ปรมัตถ์ ก็อาจจะรู้ และ เมื่อรู้แล้วก็อาจจะติดข้องหรือไม่ติดข้อง ก็ได้ ขึ้นอยู่กับปัญญามีมากหรือมีน้อย ปัญญา ค่อยๆ เพิ่มขึ้นจนถึงขั้นดับความเห็นผิดว่ามีบัญญัติจริงๆ และปัญญาก็เพิ่มขึ้นไปตาม ลำดับขั้น เป็นเช่นนั้นหรือไม่

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
paderm
วันที่ 3 ม.ค. 2555

เรียนความเห็นที่ 15 ครับ

ถูกต้องแล้วครับ การเจริญสติปัฏฐาน คือ การค่อยๆ รู้ความจริงที่มีแต่เพียงสภาพธรรมเท่านั้น และเมื่อปัญญาเจริญขึ้น ก็ค่อยๆ ละความไม่รู้ และความเห็นผิด ว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตนครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
วิริยะ
วันที่ 3 ม.ค. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
pat_jesty
วันที่ 9 ม.ค. 2555

รบกวนสอบถามเพิ่มเติมค่ะ

"จิตที่เป็นโลภะ ของปุถุชนและพระโสดาบัน โดยสภาพธรรมแล้ว ไม่ต่างกัน คือ ทำกิจหน้าที่ติดข้อง แต่ที่แตกต่างกัน คือ ระดับกำลังของโลภะของพระโสดาบัน ย่อมมีกำลังเบาบางกว่า ของปุถุชนครับ" กำลังที่มาก หรือเบา แตกต่างกันที่ลักษณะของอะไรบ้างคะ

รบกวนขอรายละเอียดอีกหน่อยค่ะ

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
paderm
วันที่ 9 ม.ค. 2555

เรียนความเห็นที่ 19 ครับ

กำลังของโลภมูลจิตที่แตกต่างกัน ด้วยอำนาจอนุสัยกิเลสที่พระโสดาบัน ดับความเห็นผิดแล้ว แต่จิตที่เป็นโลภะของปุถุชนยังมีอนุสัยกิเลส คือ ความเห็นผิดนอนเนื่องอยู่ครับ และ โลภะที่เป็นประเภทเดียวกัน คือ ติดข้องใน รูป เสียง กลิ่น รส เป็นต้น ของ พระโสดาบัน ไม่มีกำลัง คือไม่ล่วงออกมาทางกาย วาจาจนถึงกรรมบถ เช่น การลักขโมย แต่ปุถุขน โลภะ ติดข้องในรูป เสียง ... เหมือนกัน แต่มีกำลัง คือ ล่วงออกมา ทางกาย วาจาและถึงกรรมบถ มีการลักขโมยครับ

ดังนั้น โลภะมีกำลังแตกต่างกัน เพราะ ปัญญาแตกต่างกัน และ มีอนุสัยกิเลสที่ยังไม่ได้ดับนอนเนื่องอยู่ กับ ไม่มีอนุสัยกิเลส บางประเภทที่ไม่นอนเนื่องในจิตแล้วครับ ในขณะที่เกิดโลภมูลจิตครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
pat_jesty
วันที่ 9 ม.ค. 2555

แล้วโลภมูลจิตประเภทที่ไม่มีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วยของปุถุชน (ในขณะที่สติปัฏฐานเกิด ... ใช่มั้ยคะ) กับของพระโสดาบันก็ยังคงมีกำลังต่างกันด้วยระดับของปัญญาอีกด้วยรึเปล่าคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 22  
 
paderm
วันที่ 9 ม.ค. 2555

เรียนความเห็นที่ 21 ครับ

ต้องแยกเป็นขณะจิตไปครับ ขณะที่เป็นโลภะ ก็ขณะหนึ่ง ขณะที่สติปัฏฐานเกิดก็ขณะหนึ่งครับ เมื่อเปรียบเทียบโลภะของปุถชนกับพระโสดาบัน กำลังของโลภะแตกต่างกันได้ ตามที่กล่าวมาแล้วในความเห็นที่ 20 ครับ ส่วน ขณะที่สติปัฏฐานเกิด ของปุถุชน กับของพระโสดาบัน สติปัฏฐานของทั้งสองบุคคล ก็มีกำลังแตกต่างกันเช่นกัน ตามกำลังของปัญญาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 23  
 
pat_jesty
วันที่ 9 ม.ค. 2555

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 25  
 
pobkorn
วันที่ 12 ม.ค. 2555

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 26  
 
chatchai.k
วันที่ 21 พ.ย. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ