เว้นจากความพูดเท็จ ไม่พึงโอ้อวด

 
pirmsombat
วันที่  23 พ.ย. 2554
หมายเลข  20076
อ่าน  2,208

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

[เล่มที่ 66] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒- หน้าที่ 355

ข้อความบางแห่งในพระสุตตันตปิฎกเล่มนี้

เชิญคลิกอ่านที่นี่

เว้นจากความพูดเท็จ ไม่พึงโอ้อวด[ ขุททกนิกาย มหานิทเทส ]


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 23 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

คำพูดต่างๆ มีได้ เพราะอาศัย จิตและเจตสิกและรูปทีjเกิดขึ้น หากไม่มีจิต เจตสิก และรูปแล้ว การพูดก็มีไม่ได้เลย การพูด วาจาที่พูดออกมาย่อมแสดงถึง จิตที่เป็นกุศล หรือ อกุศล การพูดเท็จ เป็นการพูดที่มีเจตนาที่จะกล่าวคลาดเคลื่อนตามความเป็น จริง ซึ่งไม่ว่าจะกล่าวเท็จในลักษณะใด ก็ต้องมาจากจิตที่เป็นอกุศล พระโสดาบันละ การพูดเท็จได้เด็ดขาด แต่ปุถุชนยังมีการพูดเท็จอยู่ครับ แต่เมื่อมีการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ปัญญาเจริญมากขึ้น ก็จะค่อยๆ เห็นโทษ แม้การกล่าวไม่ตรงตาม ความเป็นจริง ซึ่งไม่เป็นประโยชน์กับผู้พูดและผู้ฟังโดยประการทั้งปวง และเมื่อกล่าว ไม่ตรงแล้ว สิ่งอื่นๆ ก็ไม่จะตรงด้วย ปัญญาที่เจริญขึ้น ย่อมเห็นโทษและกล่าวตรงตาม ความเป็นจริงมากขึ้นครับ

ความโอ้อวด มีจริง เกิดจากจิตที่เป็นอกุศล ขณะนั้นมีความต้องการที่เป็นโลภะ อยากให้คนอื่นรู้ สิ่งที่ตนมี แม้จะมีอยู่ในสิ่งนั้น ไม่ว่าเป็น ลาภ ยศ สรรเสริญ คุณธรรม แต่จิตขณะนั้น พูดด้วยความต้องการให้คนอื่นรู้ ด้วยโลภะ

ผู้ที่ปัญญา ย่อมปกปิด ไม่โอ้อวดความดี คุณธรรมและสิ่งต่างๆ ที่ตนมีอยู่ แต่เปิดเผย โทษ คือ กิเลสของตนที่มี เพื่อที่จะสำรวมขัดเกลากิเลสต่อไปครับ

...ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณหมอและทุกๆ ท่านครับ...

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 23 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การกล่าวเท็จ (มุสาวาท) ไม่ใช่เรื่องที่เล็กน้อย แสดงให้เห็นถึงกิเลสที่สะสมอยู่ในใจ จึงเป็นเหตุให้กล่าวคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ทั้งที่ๆ คำจริง-ความจริง น่าจะเป็นสิ่งที่ควรจะกล่าวได้ง่ายกว่าคำเท็จ แต่เพราะกิเลสที่ได้สะสมมาจึงทำให้ไม่น้อมไปในทางที่เป็นกุศลโดยง่าย บุคคลบางคนพูดคำไม่จริง ง่ายมาก รวดเร็ว จนเกือบจะเป็นปกติธรรมดา ก็เพราะขาดหิริโอตตัปปะ แต่ถ้าเป็นผู้ที่ได้ทราบว่าขณะที่พูดคำไม่จริงนั้นกำลังสะสมอุปนิสัยที่เป็นอกุศลแม้ในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งต่อไปถ้าเป็นเรื่องใหญ่ๆ ก็ย่อมจะกระทำได้โดยง่าย เพราะว่าในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่มีความจำเป็นอะไรที่จะพูดไม่จริง ก็ยังพูดได้ เพราะฉะนั้นถ้าเป็นเรื่องใหญ่ ก็ยิ่งจะมีข้ออ้าง หรือมีข้อแก้ตัวในการพูดอยู่เสมอๆ แต่ถ้าเป็นผู้ที่เห็นโทษของอกุศลทางวาจาในเรื่องของการพูดเท็จ ก็จะทำให้ละอายและระวังในคำพูดมากยิ่งขึ้น รวมทั้งละอายในการที่จะพูดคำหยาบคำส่อเสียด และ คำเพ้อเจ้อ ซึ่งเป็นวจีทุจริต อีกด้วย ครับ

...ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณหมอและทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
nong
วันที่ 24 พ.ย. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
pirmsombat
วันที่ 24 พ.ย. 2554

ขอบพระคุณและอนุโมทนาในกุศลจิตของคุณผเดิม คุณคำปั่นและทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
pamali
วันที่ 24 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมพระรัตนตรัย....

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิของทุกๆ ท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 24 พ.ย. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาคุณหมอ อาจารย์ผเดิม อาจารย์คำปั่น และทุกๆ ท่านครับ

เคยได้สนทนากับอาจารย์ผเดิมว่า พระโพธิสัตว์ ท่านไม่เคยล่วงเรื่องวาจาทุจริตเลย แต่ศีลข้ออื่นท่านก็มีบกพร่องไปบ้างเลยอยากจะทราบถึงเหตุผลอันสำคัญในเรื่องของ "วาจา" ครับ ว่าด้วยเหตุใด ท่านจึงรักษาวาจาเป็นอย่างยิ่ง

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
paderm
วันที่ 24 พ.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 6 ครับ

สำหรับพระโพธิสัตว์ที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เมื่อได้รับการพยากรณ์ว่าจะเป็น พระพุทธเจ้า ศีลข้ออื่นท่านล่วงได้ แต่ศีลข้อที่ 4 คือ มุสาวาท การกล่าวให้คลาด เคลื่อนจากความเป็นจริง อันเป็นการหักรานประโยชน์ของผู้อื่น พระโพธิสัตว์ไม่ทำ อีกต่อไปครับ

เหตุผลมีดังนี้ครับ การจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า จะต้องบำเพ็ญบารมี 10 ซึ่ง สัจจบารมี ความจริง ตรง เป็นแกนหลักสำคัญขอบารมี 10 เช่นกัน คือ ต้องเริ่มจาก ความเป็นผู้ตรงไม่คลาดเคลื่อน หากไม่ตรงตั้งแต่ต้น คือ ไม่มี วจีสัจจะ วาจาที่จริงแล้วก็จะไม่มีทางปรมัตถะสัจจะ พระนิพพาน การดับกิเลสได้เลยครับ

เพราะฉะนั้น จะต้อง เป็นผู้ตรง จริงอย่างไรก็อย่างนั้น หากพระโพธิัสัตว์เริ่มจากความไม่ตรง คือ ไม่จริง แม้แต่เบื้องต้นก็ไม่มีทางถึง ความจริง สัจจะ สูงสุด คือ พระนิพพาน การดับกิเลสได้ ด้วยตนเองเลยครับ

สัจจะ จึงเป็นแกนหลักสำคัญของบารมี 10 ด้วย ดังนั้น ศีลข้ออื่นท่านล่วงได้ แต่ ท่านไม่กล่าวคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ไม่ล่วงศีลข้อ มุสาวาทเลยครับ ดังตัวอย่าง ในชาดก ที่พระโพธิสัตว์เป็นฤาษี ล่วงศีล ข้อ 3 กับพระมเหสีของพระราชา เมื่อพระ ราชากลับมา พระโพธิสัตว์คิดว่า เมื่อเรากล่าวว่าเราไม่ได้ทำ พระราชาก็จะทรงเชื่อเรา แน่นอนแต่เราจะไม่กล่าวคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง เมื่อทำก็ต้องบอกว่าทำ ท่าน จึงกราบทูลพระราชาตามความเป็นจริง พระโพธิสัตว์รักษาสัจจะ วจีสัจจะเป็นเบื้องต้น เพื่อความถึงปรมัตถสัจจะ ความจริงสูงสุด คือ พระนิพพาน ดับกิเลสตามเหตุผลที่กล่าว มา อันแสดงว่า พระโพธิสัตว์ ไม่ล่วงศีลข้อที่ 4 ครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 24 พ.ย. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาอาจารย์ผเดิมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
pirmsombat
วันที่ 24 พ.ย. 2554

สนทนากับความคิดเห็นที่ 8

รบกวนขออีเมลแอดเดรสของคุณผู้ร่วมเดินทาง ได้ไหมครับ

ของผม pirmsb@gmail.com

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
เซจาน้อย
วันที่ 24 พ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
chatchai.k
วันที่ 6 เม.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ