ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

 
dets25226
วันที่  9 ก.ย. 2554
หมายเลข  19680
อ่าน  3,881

มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกหรือไม่อย่างไร

ด้วยความเคารพอย่างสูง


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 9 ก.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ก่อนอื่นเราจะต้องเข้าใจเศรษฐกิจพอเพียงให้ดีและถูกต้องก่อนครับ

“...เมื่อปี ๒๕๑๗ วันนั้นได้พูดถึงว่า เราควรปฏิบัติให้พอมีพอกิน พอมีพอกินนี้ก็แปล

ว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ถ้าแต่ละคนมีพอมีพอกิน ก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอ

กินก็ยิ่งดี และประเทศไทยเวลานั้นก็เริ่มจะเป็นไม่พอมีพอกิน บางคนก็มีมาก บางคนก็

ไม่มีเลย...”

พระราชดำรัส เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา

ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑ “...พอเพียง มีความหมายกว้างขวางยิ่งกว่านี้อีก คือคำว่าพอ ก็พอเพียงนี้ก็พอแค่นั้น

เอง คนเราถ้าพอในความต้องการก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคน

อื่นน้อย ถ้าประเทศใดมีความคิดอันนี้ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า

พอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข พอเพียงนี้อาจจะมี มีมากอาจ

จะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น...”

พระราชดำรัส เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา

ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑ “...ไฟดับถ้ามีความจำเป็น หากมีเศรษฐกิจพอเพียงแบบไม่เต็มที่ เรามีเครื่องปั่น

ไฟก็ใช้ปั่นไฟ หรือถ้าขั้นโบราณกว่า มืดก็จุดเทียน คือมีทางที่จะแก้ปัญหาเสมอ ฉะนั้น

เศรษฐกิจพอเพียงก็มีเป็นขั้นๆ แต่จะบอกว่าเศรษฐกิจพอเพียงนี้ ให้พอเพียงเฉพาะตัว

เองร้อยเปอร์เซ็นต์นี่เป็นสิ่งทำไม่ได้ จะต้องมีการแลกเปลี่ยน ต้องมีการช่วยกัน ถ้ามีการ

ช่วยกัน แลกเปลี่ยนกัน ก็ไม่ใช่พอเพียงแล้ว แต่ว่าพอเพียงในทฤษฎีในหลวงนี้ คือให้

สามารถที่จะดำเนินงานได้...”

พระราชดำรัส เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา

ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๒

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 9 ก.ย. 2554

เศรษฐกิจพอเพียง จึงมีหลักใหญ่ 3 ประการครับ คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล

และการมีภูมิคุมกันที่ดี อธิบายดังนี้ครับ

ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป ไม่เบียดเบียน

ตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่พอประมาณ

ความมีเหตุผล หมายถึง การใช้หลักเหตุผลในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ โดยพิจารณา

จากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ

การมีภูมิคุ้มกันที่ดี หมาย ถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการ

เปลี่ยนแปลงรอบตัว ปัจจัยเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้นั้น จะต้องอาศัยความรู้ และคุณธรรม

เป็นเงื่อนไขพื้นฐาน กล่าวคือ เงื่อนไขความรู้ หมายถึง ความรอบรู้ ความรอบคอบ และ

ความระมัดระวังในการดำเนินชีวิตและการประกอบการงาน ส่วนเงื่อนไขคุณธรรม คือ

การยึดถือคุณธรรมต่างๆ อาทิ ความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทน ความเพียร การมุ่งต่อ

ประโยชน์ส่วนรวม

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 9 ก.ย. 2554

จากที่กล่าวมา เศรษฐกิจพอเพียง ไม่ได้มีอยู่ในพระไตรปิฎกโดยตรง แต่ก็แสดงถึง

แนวคิด อันเป็นไปเพื่อการละ ความพอดี ซึ่งตรงกับหลักธรรมของพระพุทธเจ้าที่เป็น

ความมักน้อย ความสันโดษ เพราะความสันโดษ ไมไ่ด้หมายถึง การไม่รับ การไม่แสวง

หาเลย แต่เป็นการรับพอประมาณ การพอใจตามมีตามได้ และการรู้จักแบ่งปันเมื่อได้

ของที่ดีเหมาะสม ก็เป็นการสันโดษ และตรงกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงครับ

ความพอประมาณ ซึ่งเป็นหลักคิดข้อหนึ่งของเศรษฐกิจพอเพียง ก็เอื้อต่อการใช้ชีวิต

ที่เหมาะสม ดังในวินัยคฤหัสถ์ที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้ ว่า การใช้ชีวิตเรื่องการใช้จ่าย

ทรัพย์ ก็แบ่งทรัพย์เพื่อบริโภคด้วยตนเองส่วนหนึ่ง เก็บไว้สำหรับการทำงานด้วยและ

แบ่งใช้สอยเพื่อให้ผู้อื่นครับ นี่คือ หลักของวินัยคฤหัสถ์บางข้อครับ ซึ่งก็คล้ายกับแนว

คิดความพอเพียง พอประมาณ และที่สำคัญ ความพอเพียงก็แสดงถึงประเด็นเรื่อง การ

ไม่เบียดเบียนตนและผู้อื่นเป็นสำคัญด้วย พระธรรมของพระพุทธเจ้าก็แสดงว่าการใช้

ชีวิตก็ไม่ควรเบียดเบียนตนและผู้อื่น ทั้งการดำรงชีวิตประจำวัน การใช้จ่ายทรัพย์ ไม่

เบียดเบียนตนและผู้อื่น การอยู่ร่วมในสังคมด้วยครับ

ส่วนการมีภูมิคุ้มกันที่ดี ในแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ก็แสดงถึงให้เน้นหลัก คือ มี

คุณธรรม มีความซื่อสัตบ์ อดทน เมตตา เป็นต้น ในการดำรงชีวิตและตัดสินปัญหา ซึ่ง

ก็สอดคล้องกับพระธรรมในบางส่วนที่ให้สัตว์โลก ดำรงตนด้วยคุณความดี มีคุณธรรม

ประการต่างๆ มี เมตตา และขันติ เป็นต้น รวมทั้งพิจารณาด้วยปัญญาอันเกิดจกาการ

ศึกษาพระธรรมครับ

ดังนั้นเศรษฐกิจพอเพียง ก็เป็นหลักคิดที่เป็นไปเพื่อความอยู่เป้นสุขของประชาชน

เพราะไม่ใช่เพื่อความโลภมาก จนทำให้มีการทำทุจริต เบียดเบียนผู้อื่นและเบียด

เบียนตนเพราะความโลภที่เกินกำลัง รู้จักแบ่งปันและใช้ชีวิตให้เหมาะสม อันสมควร

กับฐานะของตนเอง ดังนั้นที่สังคมมีปัญหาในปัจจุบันเพราะ การเป็นผู้ไม่รู้จักพอ ด้วย

อำนาจกิเลส แต่ถ้ารู้จักพอด้วยความเข้าใจถูก ก็จะทำให้สังคมและการดำเนินชีวิตเป็น

ไปในทางที่ถูกต้องครับ เพราะฉะนั้นเศรษฐกิจพอเพียงแม้จะไมไ่ด้แสดงในพระไตรปิฎก

โดยตรง แต่ก็เป็นแนวคิดที่เป็นประโยชน์ เป็นไปเพื่อความสุขเพราะรู้จักพอและไม่โลภ

มากจนเกินพอดีนั่นเองและให้ดำรงอยู่ในคุณธรรมในการดำเนินชีวิตครับ

การได้ศึกษาพระธรรมของพระพุทธเจ้าและเข้าใจพระธรรม พร้อมๆ กับการใช้ชีิวิตที่

เหมาะสมด้วยปัญญา และด้วยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงย่อมทำให้การดำรงชีวิตมีความ

สุขและทำให้ประเทศชาติดำรงอยู่ได้ครับ เพราะยิ่งต้องการ โลภะมากเท่าไหร่ก็เป็น

โทษกับตนเองและสังคมครับ ขออนุโมทนา

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 9 ก.ย. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาอาจารย์ผเดิมครับ

ขออนุญาตเพิ่มเติมในส่วนคำว่า "ภูมิคุ้มกันที่ดี" นั้น อาจจะหมายรวมถึง ความไม่ประมาทด้วยหัวข้อหนึ่ง ได้หรือไม่ครับ

ความไม่ประมาทในทางธรรมที่มีอยู่ในพระไตรปิฎกก็คือ การมีสติไปในทาน ในศีล ในภาวนา

ไม่ประมาทโดยหมั่นระลึกไปในเรื่องของทาน การให้เพื่อผู้อื่น การให้เพื่อลดความตระหนี่อันเป็นเหตุของความไม่สันโดษ การให้อภัยซึ่งกันและกัน เป็นอภัยทาน การให้สิ่งที่ทำให้ผู้อื่นเกิดปัญญาไปในกุศล ทำให้ได้พบความสุข เป็นธรรมทาน

ไม่ประมาทโดยหมั่นระลึกไปในเรื่องของศีล เมื่อมีตนเองเป็นปกติ ไม่ไปทำลายผู้อื่น ก็เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีมากส่วนหนึ่ง

ไม่ประมาทโดยหมั่นระลึกไปในเรื่องของการอบรมตนให้เกิดปัญญา อันเป็นภูมิคุ้มกันที่สำคัญที่สุด มีปัญญาที่เห็นผิด เห็นถูก เห็นชอบ เห็นไม่ชอบ เห็นกุศล เห็นอกุศล เห็นว่า การให้ การบริจาค การไม่เบียดเบียนผู้อื่น การสันโดษ ความอดทน ขยัน ความซื่อสัตย์ ตั้งใจทำดี มีเมตตา การวางตัวไว้ดี และการรู้ความเป็นไปที่แท้จริงของโลก เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น เมื่อมีปัญญาที่มั่นคงจริงๆ แล้ว ก็พร้อมที่จะรับมือกับทุกสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความเปลี่ยนแปลงที่ไม่ดี ความไม่สงบ ความวุ่นวายในบ้านเมือง ภัยพิบัติทั้งหลาย ก็มีแต่ปัญญานี้แหละที่จะเป็นภูมิคุ้มกันที่แท้จริงนะครับ

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
paderm
วันที่ 9 ก.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 4 ครับ

ถูกต้องครับ ตามที่ท่านผู้ร่วมเดินทางกล่าวครับ ภูมิคุ้มกันที่ดี คือ กุศลธรรมและควาไม่

ประมาทที่เป็นกุศลธรรมประการต่างๆ และที่ดีที่สุด คือ ปัญญา เพราะมีปัญญา จึงคุ้มกัน

อกุศล คุ้มกันให้ประพฤติในสิ่งที่ถูกต้องและตัดสินอย่างถูกต้องในการดำเนินชีวิตครับ

ขออนุโมทนาด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
nong
วันที่ 9 ก.ย. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
dets25226
วันที่ 9 ก.ย. 2554

ดังที่อาจารย์ได้อธิบายมานั้น

ผมมีความคิดเห็นว่า แนวคิดนี้ เป็นการประยุกต์เอาหลักคุณธรรมมาใช้ในการบริหารจัดการ ซึ่งเป็นเรื่องดี ไม่มีผิดเลย

ผู้รู้สึกว่า ธรรมะแม้ข้อหนึ่งนั้น เป็นสิ่งที่หาประมาณไม่ได้ เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ประเสริฐยิ่งนัก เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็เพิ่มพูนสติ เพิ่มพูนปัญญา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
paderm
วันที่ 9 ก.ย. 2554
ขออนุโมทนาที่มีความเข้าใจถูกเช่นกันครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
wannee.s
วันที่ 9 ก.ย. 2554
ในพระไตรปิฏกมีแสดงไว้ ความสันโดษ ตามมีตามได้ มีแล้ว พอแล้ว ไม่โลภ ไม่อยากได้ของคนอื่น ไม่แสวงหาเพิ่ม ยินดีในของๆ ตน ความสันโดษเป็นกุศลค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
khampan.a
วันที่ 9 ก.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง มีทุกระดับขั้น ไม่ใช่ว่าจะมีเฉพาะระดับขั้นที่เป็นโลกุตตระ คือ ดับกิเลสได้เด็ดขาด เท่านั้น ทรงแสดงไว้ตั้งแต่ขั้นต้น ว่าสิงใดที่เป็นเพื่อความเจริญในปัจจุบัน ไม่เดือดร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชีวิตของผู้ที่เป็นคฤหัสถ์ การที่จะมีความสุข ได้นั้น ก็จะต้องเป็นผู้มีทรัพย์ (ซึ่งจะต้องมีความขยันหมั่นเพียร แสวงหาโดยชอบธรรม) รู้จักใช้จ่ายทรัพย์ให้เป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนและแก่ผู้อื่น ไม่ต้องเป็นหนี้สินใคร และที่ำสำคัญจะต้องเป็นผู้กระทำงานที่ไม่มีโทษ ซึ่งก็คือ การกระทำในสิ่งที่ดีทุกประการ แม้แต่ในเรื่องของอาชีพการงาน ก็ละเว้นอาชีพทุจริตทุกประเภท ด้วย นอกจากนั้น ก็มีหลักธรรมมากมายที่อุปการ-เกื้อกูลให้ชีวิตดำเินินไป อย่างไม่เดือดร้อน คือ ขยันหาทรัพย์ เมื่อหาทรัพย์มาได้แล้ว ก็รู้จักเก็บรักษาเพื่อประโยชน์ในด้านต่างๆ รู้จักคบเพื่อนที่ดีงาม และ เลี้ยงชีพอย่างพอเหมาะ ไม่ให้ฟุ่มเฟือยนัก ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ทั้งหมดทั้งปวงนั้น จะทำให้ชีวิตเป็นไปอย่างมีความสุข และจะอุปการะให้ได้เจริญกุศลประการต่างๆ มีการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญา สะสมทรัพย์ที่ประเสริฐ เป็นต้น โดยไม่ต้องมีความกังวลในเรื่องความเป็นอยู่เลย เพราะมีชีวิตที่เป็นสุขแล้ว ซึ่งก็ย่อมจะขึ้นอยู่กับการสะสมมาของแต่ละบุคคลด้วย ว่าจะเห็นคุณประโยชน์ของกุศลธรรมมากน้อยแค่ไหน เพราะแต่ละคนเป็นแต่ละหนึ่ง ไม่เหมือนกันเลย ครับ. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
kinder
วันที่ 10 ก.ย. 2554
ขออนุโมทนา
 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
กมลพร
วันที่ 12 ก.ย. 2554

ความพอเพียงในความเข้าใจของดิฉัน จริงๆ แล้วก็คือ การรู้จักพอ คือหลักการเดินสายกลาง และ การลดละกิเลส ในทางพระพุทธศาสนานั้นเอง

เป็นหัวข้อที่น่าสนใจ ขออนุโมทนา
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ