ถ้านั่งสมาธิแล้วจิตไม่ปรุงแต่งอะไรอีกจะทำยังไง

 
น้ำพริกปลาทู
วันที่  4 ก.ย. 2554
หมายเลข  19650
อ่าน  1,227

เป็นคำถามทางทฤษฎีครับ การปฎิบัติยังไม่ถึง

แต่ขอถามว่า จิตคนเรานี่หิวโหยอยู่ตลอดเวลา แล้วเราแก้ด้วยการนั่งสมาธิ จนจิตรวมไม่ปรุงแต่งอะไรใดๆ อีก นิ่งสงบอยู่แบบนั้นตลอดเวลา แม้จะถอนสมาธิออกมา จิตมันก็นิ่งสงบอยู่อย่างนั้น แล้วเราจะทำยังไงต่อเหรอ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 4 ก.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

จิตเป็นสภาพรู้ ทำหน้าที่เป็นใหญ่ในการรู้ ดังนั้นจิตไม่ใช่หิวโหย ซึ่งผู้ถามคงหมายถึง

ความอยาก ความต้องการที่เป็นโลภะ ซึ่งเป็นเจตสิก ไม่ใช่จิต แต่เมื่อเกิดร่วมกับจิต จึง

เป็นจิตที่มีความต้องการ ติดข้อง ดังนั้นการจะแก้ความติดข้อง แก้ไม่ให้มีกิเลส ก็ต้องรู้

ว่าหนทางที่ถูกต้องคืออะไร ใช่การนั่งสมาธิหรือไม่

การจะแก้กิเลส ละกิเลสด้วยสภาพธรรมอย่างหนึ่งคือปัญญา ปัญญาเกิดจากการฟัง

การศึกษาพะรธรรม ปัญญาจะค่อยๆ เจริญขึ้นเรื่อยๆ จนถึงการปฏิบัติ คือ การระลึก

ลักษณะของสภาภพะรรมในขณะนี้ว่าเป็นธรรมไม่ใชเรา ดังนั้นปัญญาจึงไม่ใช่เกิดจาก

การทำสมาธิ ตามที่เข้าใจกันเลยครับ อันนี้ไม่ถูกต้อง ดังนั้น ความนิ่ง ความมีสมาธิ

ไม่ใช่เครื่องวัดว่าจะไม่มีกิเลสในขณะนั้นครับ เพราะเมื่อได้ศึกษาพระธรรมในส่วน

ละเอียดจะเข้าใจถูกว่า การนิ่ง เป็นสมาธิ เป็นการทำหน้าที่ของสภาพธรรมอย่างหนึ่ง

คือ เอกัคคตาเจตสิก ทีเกิดกับจิตทุกดวง ทุกประเภท ดังนั้นการนิ่ง จิตไม่สัดส่ายไป

เป็นสมาธิจึงเกิดกับอกุศลก็ได้ กุศลก็ได้ เพราะฉะนั้น สมาธิจึงเป็นไปทั้งสัมมาสมาธิ

สมาธิที่ถูกและมิจฉาสมาธิ สมาธิที่ผิดครับ แต่สัมมาสมาธิคือความตั้งมั่นด้วยกุศล คือ

สงบจากกิเลส แต่ไม่ใช่เพราะความนิ่ง ไม่สัดส่ายครับ เพราะความสงบ มุ่งหมายถึง

สงบจากกิเลส ไม่ใช่สงบเพราะจิตนิ่งครับ จึงเริ่มเข้าใจใหม่ว่า หนทางในการดับกิเลส

อบรมปัญญาไม่ใช่การเจริญสมาธิ แต่เป็นการอบรมปัญญาจากการศึกษาพระธรรม และ

เมื่อปัญญาเจริญถึงพร้อม ก็สามารถรู้ความจริงในขณะนี้ นั่นคือปฏิบัติในพระพุทธ

ศาสนาไม่ใช่การนั่งสมาธิครับ

การจะทำยังไงต่อ คือ กลับมาสู่ความเข้าใจใหม่อาศัยการฟังพระธรรมให้เข้าใจแม้แต่

คำว่าธรรมคืออะไรให้เข้าใจก็จะค่อยๆ ปฏิบัติถูกต้องครับ ขออนุโมทนา

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 4 ก.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น หนทางเดียว ที่จะทำให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในลักษณะของสภาพธรรม ที่กำลังมีกำลังปรากฏ ตามความเป็นจริง นั้น ต้องฟังพระธรรม ต้องศึกษาพระธรรมที่

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ด้วยความตั้งใจจริงๆ เพราะพระธรรมทั้งหมดนั้น

แสดงให้ผู้ฟังผู้ศึกษาได้เข้าใจตามความเป็นจริง และสภาพธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่มีจริงนั้น มีจริงในชีวิตประจำวัน ไม่ต้องไปทำอะไรที่ผิดปกติขึ้นมาในการที่จะรู้ธรรม ต้องเป็นปกติจริงๆ ไม่ใช่ผิดปกติ แม้แต่ในเรื่องของ สมาธิ ซึ่งถ้าได้ศึกษาอย่างละเอียดแล้ว จะไม่เข้าใจผิดเลย จะไม่เข้าใจผิดว่าสมาธิเป็นรูปแบบของการปฏิบัติ สมาธิ เป็นเรื่องที่ละเอียดมาก มีทั้งมิจฉาสมาธิ และ สัมมาสมาธิ ซึ่งถ้าไปทำอะไรด้วยความเป็นตัวตน ด้วยความจดจ้องต้องการว่าเป็นทางที่จะทำให้หลุดพ้น นั่นล้วนเป็นมิจฉาสมาธิทั้งหมด ไม่ใช่หนทางที่เป็นไปเพื่อสงบระงับกิเลส แต่เป็นไปเพื่อพอกพูนกิเลส พอกพูนสังสารวัฏฏ์ให้ยืดยาวต่อไป ส่วนสมาธิที่เป็นกุศล ก็มีเพราะสมาธิ เป็นเจตสิกประการหนึ่งที่เกิดกับจิตทุกประเภท (เอกัคคตาเจตสิก) ขึ้นอยู่กับว่าจะเกิดกับจิตประเภทใด ถ้าเกิดกับอกุศล (ซึ่งมีมากเป็นอย่างยิ่ง) เป็นอกุศลสมาธิหรือเป็นมิจฉาสมาธิ แต่ถ้าเกิดกับกุศลจิตก็เป็นกุศลสมาธิ ทั้งหมดทั้งปวงนั้น ต้องเริ่มที่การฟัง การศึกษาด้วยความละเอียดรอบคอบจริงๆ ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะกระทำอะไรด้วยความไม่รู้ เพราะถ้าหากทำด้วยความไม่รู้ ผล คือ ทำให้ไม่รู้ต่อไป และเพิ่มพูนอกุศลให้มีมากขึ้นจนยากที่จะแก้ไขได้ ครับ. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
น้ำพริกปลาทู
วันที่ 5 ก.ย. 2554
อธิบายได้ละเอียดมากๆ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
pat_jesty
วันที่ 5 ก.ย. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
kinder
วันที่ 5 ก.ย. 2554
การศึกษาพระธรรมต้องเป็นผู้ละเอียด ขออนุโมทนา
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
SOAMUSA
วันที่ 6 ก.ย. 2554

กราบอนุโมทนาในธรรมทานของอาจารย์ทุกท่านค่ะ

ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ

พวกที่เล่นมายากล เช่น สามารถทำช้อนงอได้ อันนี้จัดเป็นมิจฉาสมาธิใช่หรือไม่คะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
paderm
วันที่ 6 ก.ย. 2554

เรียนความเห็นที่ 8 ครับ จิตใดที่เป็นอกุศล มี เอกัคคตาเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยที่เป็นองค์ธรรมของสมาธิ ขณะที่

เล่นมายากล จิตเป็นอกุศล มีความตั้งมั่นในอกุศล จึงเป็นมิจฉาสมาธิครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ