ทดแทนคุณแก่ผู้กระทำอุปการะแก่ตน [ปลาสชาดก]

 
khampan.a
วันที่  1 ก.ย. 2554
หมายเลข  19631
อ่าน  1,210

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ ๔๑๙

๗. ปลาสชาดก

(ว่าด้วยขุมทรัพย์ที่ฝั่งไว้ที่โคนต้นไม้)

[๕๒๖] ดูก่อนพราหมณ์ ท่านก็รู้ว่าต้นทอง-

กวาวนี้ไม่มีจิต ไม่ได้ยินเสียงอะไร และไม่

รู้สึกอะไรเลย เพราะเหตุไรท่านจึงพยายาม

มิได้มีความประมาท ถามถึงสุขไสยาอยู่

เสมอมา.

[๕๒๗] ต้นทองกวาวต้นใหญ่ ปรากฏไปใน

ที่ไกล ตั้งอยู่ในภูมิประเทศราบเรียบ เป็น

ที่อยู่อาศัยของทวยเทพ เพราะเหตุนั้น

ข้าพเจ้าจึงนอบน้อมต้นทองกวาวนี้ และ

เทพเจ้าผู้สิงอยู่ที่ต้นทองกวาวนี้ด้วย เพราะ

เหตุแห่งทรัพย์.

[๕๒๘] ดูก่อนพราหมณ์ ข้าพเจ้าเพ่งถึงความ

กตัญญูจักทำการทดแทนคุณท่านตามอานุ-

ภาพ ความดิ้นรนของท่านผู้มาถึงสำนักของ

สัตบุรุษทั้งหลาย ไฉนจักเปล่าจากประโยชน์

เล่า.

[๕๒๙] ไม้เลียบต้นใด อยู่เบื้องหน้าต้น-

มะพลับเขาล้อมไว้ มหาชนเคยบูชายัญกัน

มาแต่ก่อน เป็นต้นไม้ใหญ่ ขุมทรัพย์เขาฝั่ง

ไว้ที่โคนต้นไม้เลียบนั้นแล ไม่มีเจ้าของ

ท่านจงไปขุดเอาทรัพย์นั้นเถิด.

จบ ปลาสชาดกที่ ๗

อรรถกถาปลาสชาดกที่ ๗

พระศาสดาทรงบรรทม ณ เตียงปรินิพพาน ทรงปรารภ

พระอานันทเถระ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า อเจตน

พฺราหฺมณ อสุณนฺต ดังนี้.

ได้ยินว่า ท่านผู้มีอายุนั้น ทราบว่า ในเวลาปัจจุสมัยใกล้รุ่ง

แห่งราตรีวันนี้ พระศาสดาจักปรินิพพาน ก็นึกถึงตนว่า ก็เราแล

ยังเป็นเสขบุคคลมีกิจที่จะต้องทำ แต่พระศาสดาของเราจักปรินิพพาน

การอุปัฏฐากบำรุงที่เรากระทำแก่พระศาสดามาตลอดเวลา ๒๕ ปี น่า

จักไร้ผลถูกความเศร้าโศกครอบงำ จึงเหนี่ยวไม้สลักประตูห้องน้อย

ในอุทยานร้องไห้อยู่. พระศาสดาเมื่อไม่ทรงเห็นท่านพระอานนท์ จึง

ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานนท์ไปไหน ครั้นได้ทรงสดับ

ดังนั้นแล้ว จึงรับสั่งให้เรียกท่านมาประทานโอวาท แล้วตรัสว่า

อานนท์ เธอเป็นผู้ได้ทำบุญไว้แล้ว จงหมั่นประกอบความเพียร

เธอจักหมดอาสวะโดยเร็วพลัน เธออย่าได้คิดเสียใจไปเลย การ

อุปัฏฐากที่เธอกระทำแก่เราในบัดนี้ เพราะเหตุไรเล่าจักไร้ผล การ

อุปัฏฐากที่เธอกระทำแก่เรา แม้ในกาลที่เรายังไม่มีราคะเป็นต้น ใน

ชาติก่อนก็ยังมีผล แล้วทรงนำเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติในพระนคร

พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นรุกขเทวดาต้นทองกวาว ในที่

ไม่ใกล้พระนครพาราณสี. ในกาลนั้น ชาวเมืองพาราณสี พากัน

ถือเทวดามงคล จึงขวนขวายในการทำพลีกรรมเป็นต้นเป็นนิตยกาล.

ครั้งนั้น มีพราหมณ์เข็ญใจคนหนึ่งคิดว่า แม้เราก็จักปรนนิบัติเทวดา

องค์หนึ่ง จึงทำโคนต้นทองกวาวใหญ่ต้นหนึ่งซึ่งยืนต้นอยู่ในพื้นที่สูง

ให้ราบเตียนปราศจากหญ้า แล้วล้อมรั้ว เกลี่ยทรายปัดกวาด แล้ว

เจิมด้วยของหอมที่ต้นไม้ บูชาด้วยดอกไม้ ของหอมและธูป ตาม

ประทีปแล้วกล่าวว่า ท่านจงอยู่เป็นสุขสบาย แล้วทำประทักษิณ

ต้นไม้แล้วหลีกไป. เช้าตรู่วันที่สอง พราหมณ์นั้นไปถามถึงการนอน

เป็นสุขสบาย. อยู่มาวันหนึ่ง รุกขเทวดาคิดว่า พราหมณ์นี้ปฏิบัติ

เรายิ่งนัก เราจักทดลองพราหมณ์นั้นดู เขาปฏิบัติบำรุงเราด้วยเหตุ

อันใด ก็จักให้เหตุอันนั้น เมื่อพราหมณ์นั้นมาปัดกวาดโคนไม้ จึงยืน

อยู่ใกล้ๆ ด้วยเพศของพราหมณ์แก่ แล้วกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

ดูก่อนพราหมณ์ ท่านก็รู้ว่าต้นทอง-

กวาวนี้ไม่มีจิตใจ ไม่ได้ยินเสียงและไม่รู้สึก

อะไร เพราะเหตุไรท่านจึงเพียรพยายาม มิได้

มีความประมาท ถามถึงสุขไสยาอยู่เสมอ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสุณนฺต แปลว่า ไม่ได้ยินเสียง

ได้แก่ ชื่อว่าไม่ได้ยินเสียง เพราะไม่มีเจตนาเลย. บทว่า ชาโน

แปลว่า รู้อยู่ ได้แก่ ท่านเป็นผู้รู้อยู่. บทว่า ธุว อปฺปมตฺโต

แปลว่า ไม่มีความประมาทเป็นนิจ ได้แก่ เป็นผู้ไม่ประมาทเป็นนิตย์.

พราหมณ์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ต้นทองกวาวใหญ่ปรากฏไปในที่ไกล

ตั้งอยู่ในภูมิประเทศราบเรียบ เป็นที่อยู่อาศัย

ของทวยเทพ เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึง

นอบน้อมต้นทองกวาวนี้ และเทพเจ้าผู้สิง

อยู่ที่ต้นทองกวาวนี้ด้วย เพราะเหตุแห่ง

ทรัพย์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทูเร สุโต ความว่า ดูก่อน

พราหมณ์ ต้นไม้นี้ปรากฏไปในที่ไกล มิใช่ปรากฏอยู่ในที่ใกล้ๆ .

บทว่า พฺรหาว แปลว่า ใหญ่. บทว่า เทเส ิโต ได้แก่ ยืนต้น

อยู่ในภูมิประเทศอันสูง ราบเรียบ. บทว่า ภูตนิวาสรูโป ได้แก่

มีสภาวะเป็นที่อยู่อาศัยของเทวดา คือ เทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่จักสิงอยู่

ที่ต้นทองกวาวนี้แน่. บทว่า เต จ ธนสฺส เหตุ ความว่า เรา

นอบน้อมต้นไม้นี้ และเทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้นี้ เพราะเหตุแห่ง

ทรัพย์ มิใช่เพราะไม่มีเหตุ.

รุกขเทวดาได้ฟังดังนั้น มีความเลื่อมใสพราหมณ์ จึงปลอบ.

โยนพราหมณ์นั้นให้เบาใจว่า พราหมณ์ เราเป็นเทวดาผู้สิงอยู่ที่

ต้นไม้นี้ ท่านอย่ากลัวไปเลยเราจะให้ทรัพย์แก่ท่าน แล้วยืนในอากาศ

ที่ประตูวิมานของตน ด้วยเทวานุภาพอันยิ่งใหญ่ ได้กล่าวคาถา ๒

คาถานอกนี้ว่า :-

ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นมาเพ่งถึงความ

กตัญญู จักทำการทดแทนคุณท่านตาม

สมควรแก่อานุภาพ การที่ท่านดิ้นรนมายัง

สำนักของสัตบุรุษทั้งหลาย จะพึงเปล่า

ประโยชน์ได้อย่างไรเล่า.

ไม้เลียบต้นใด อยู่เบื้องหน้าต้นมะ-

พลับเขาล้อมไว้ มหาชนเคยบูชายัญกันมา

แต่ก่อน เป็นต้นไม้ใหญ่ ขุมทรัพย์เขาฝังไว้

ที่โคนต้นไม้เลียบนั้นแล ไม่มีเจ้าของ ท่าน

จงไปขุดเอาทรัพย์นั้นเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยถามุภาว ได้แก่ ตามสามารถ

คือ ตามกำลัง. บทว่า ภตญฺญุต ความว่า รู้คุณที่ท่านทำไว้แก่เรา

ชื่อว่าเพ่งถึงความกตัญญูซึ่งมีอยู่ในตนนั้น. บทว่า อาคมฺม แปลว่า

มาแล้ว บทว่า สต สกาเส ได้แก่ ในสำนักของสัตตบุรุษทั้งหลาย.

บทว่า โมฆา แปลว่า เปล่า. บทว่า ปริยนฺทิตานิ ความว่า

ดิ้นรนด้วยวาจาด้วยการถามถึงการนอนเป็นสุขสบาย และดิ้นรนด้วย

กายด้วยการทำการปัดกวาดเป็นต้น จักไม่เป็นผลแก่ท่านได้อย่างไร.

บทว่า โย ตินฺทุรุกฺขสฺส ความว่า รุกขเทวดายืนที่ประตูวิมาน

นั่นแหละ เหยียดมือแสดงว่า ต้นเลียบนั้นได้ตั้งอยู่เบื้องหน้าต้น

มะพลับ. ในบทว่า ปริวาริโต เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

ที่โคนต้นเลียบนั้น ต้นเลียบนี้ชื่อว่า เขาล้อมไว้ เพราะเขาฝังทรัพย์

ไว้รอบโคนต้นไม้นั้น ชื่อว่า เขาเคยบูชายัญ เพราะทรัพย์เกิดขึ้น

แก่พวกเจ้าของตนแรกๆ ด้วยอำนาจยัญที่เขาบูชาแล้วในกาลก่อน

ชื่อว่ายิ่งใหญ่ เพราะเป็นต้นไม้ใหญ่ โดยมีหม้อขุมทรัพย์มิใช่น้อย

ชื่อว่าเขาฝังไว้ ชื่อว่าไม่มีทายาท เพราะบัดนี้ทายาททั้งหลายไม่มี.

ท่านกล่าวอธิบายนี้ไว้ว่า ขุมทรัพย์ใหญ่นี้เราฝังไว้ โดยหม้อขุมทรัพย์

เอาคอจดคอติดๆ กันรอบโคนต้นไม้นี้ ไม่มีเจ้าของ ท่านจงไป จงขุด

ขุมทรัพย์นั้นเอาไป.

ก็แหละเทวดานั้น ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงให้โอวาทแก่

พราหมณ์ว่า พราหมณ์ ท่านขุดเอาขุมทรัพย์นั้นไปจักลำบากเหน็ด

เหนื่อย ท่านจงไปเถิด เราเองจักนำขุมทรัพย์นั้นไปยังเรือนของท่าน

แล้วจักฝังไว้ ณ ที่โน้นและที่โน้น ท่านจงใช้สอยทรัพย์นั้นจนตลอด

ชีวิต จงให้ทาน รักษาศีลเถิด แล้วยังทรัพย์นั้นให้ไปประดิษฐาน

อยู่ในเรือนของพราหมณ์นั้น ด้วยอานุภาพของตน

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง

ประชุมชาดกว่า พราหมณ์ในครั้งนั้น ได้เป็นพระอานนท์ในบัดนี้

ส่วนรุกขเทวดาในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาปลาสชาดกที่ ๗.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
jaturong
วันที่ 24 เม.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ