ชีวิตในสมัยพุทธกาล

 
surasak
วันที่  29 ส.ค. 2554
หมายเลข  19600
อ่าน  7,844

ขอสอบถามผู้รู้ดังนี้ครับ

๑. การดำเนินชิวิตเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร ของชาวอินเดียในสมัยพุทธกาลนั้นลักษณะอาหารเป็นอย่างไร และบริโภควันละกี่มื้อ

๒.ตามพระธรรมวินัย พระสงฆ์ ฉันอาหารได้วันละกี่มื้อเวลาใดบ้าง ทราบมาว่าพระสงฆ์ประเทศพม่า ต้องฉันหลังเที่ยงแต่ก่อนอาทิตย์ตกดิน จริงเท็จอย่างไร

๓. พระไตรปิฎกฉบับใดบ้างที่กล่าวถึงร่างกายมนุษย์และการดูแลรักษาโรค และมีการบรรยายในซีดีธรรมมะ รายการวิทยุหมายเลขใด

ขออนุโมทนาบุญทุกท่านที่ให้ความรู้ครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 29 ส.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

๑. การดำเนินชิวิตเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร ของชาวอินเดียในสมัยพุทธกาลนั้น

ลักษณะอาหารเป็นอย่างไร และบริโภควันละกี่มื้อ

--------------------------------------------------------------

อาหารในสมัยพุทธกาล ก็โดยทั่วไปก็ไม่ต่างจากปัจจุบันที่สืบต่อมาจนบัดนี้ และชาว

บ้านทั่วไปก็ทาน 3 มื้อ ซึ่งก่อนที่พระพุทธเจ้าจะบัญญัติสิกขาบท ห้ามพระภิกษุฉันใน

เวลาวิกาล ก่อนหน้านั้น พระภิกษุก็บิณฑบาต ตอนเย็น ตอนค่ำ ซึ่งก็ทำให้ฆราวาส

ติเตียนในการกระทำ และทำให้คฤหัสถ์ตกใจ เมื่อได้เห็นพระภิกษุเดินบิณฑบาตในตอน

ค่ำ เพราะสำคัญว่าเป็นปีศาส เป็นต้นครับ

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

๒.ตามพระธรรมวินัย พระสงฆ์ ฉันอาหารได้วันละกี่มื้อเวลาใดบ้าง ทราบมาว่าพระสงฆ์

ประเทศพม่า ต้องฉันหลังเที่ยงแต่ก่อนอาทิตย์ตกดิน จริงเท็จอย่างไร

------------------------------------------------------------------------

ตามพระวินัยบัญญัติแล้ว พระห้ามฉันอาหารเลยเที่ยงครับ แต่หลังจากเที่ยงฉันน้ำปานะ

ได้ครับ ดังนั้นภิกษุไม่ว่าประเทศใด บวชที่ไหนก็ตาม ต้องปฏิบัติตามพระวินัยบัญญัติ

ครับ ไม่ใช่ไปฉันตอนเย็น ตอนค่ำได้ครับ

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

๓. พระไตรปิฎกฉบับใดบ้างที่กล่าวถึงร่างกายมนุษย์และการดูแลรักษาโรค และมีการ

บรรยายในซีดีธรรมมะ รายการวิทยุหมายเลขใด

---------------------------------------------------------------------------

พระไตรปิฎกที่อธิบาย ส่วนต่างๆ ของร่างกายโดยละเอียด อันแสดงถึงความปฏิกูล ไม่

สะอาด อยู่ในพระไตรปิฎก ตามลิ้งนี้ครับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 47

ส่วนในเรื่องของโรค พระพุทธเจ้าแสดงเหตุเกิดโรค ประการต่างๆ แต่ไม่แสดงวิธีการ

รักษาโรคโดยละเอียด ดังเช่นหมอรักษาโรค พระองค์แสดงบางโรคเท่านั้นเกิดจากอะไร

และวิธีรักษาอย่างไรพอสังเขป เพราพระองค์เน้นที่รักษาโรคทางใจ คือ กิเลส เพราะมี

กิเลสนั่นเอง จึงมีการเกิด และทำให้มีโรคประการต่างๆ เพราะมีการเกิดขึ้นของขันธ์ 5

ครับ ดังนั้น โรคคือกิเลส พระองค์แสดงหนทางดับโรคเหล่านี้ครับ

คำบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ ที่อธิบายเรื่องร่างกาย ความปฏิกูลของร่างกาย อยู่

ในแผ่น เอ็มพี 3 ชุด เทปวิทยุ แผ่นที่ 15 ครับ ขออนุโมทนา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓- หน้าที่ 278 ว่าด้วยโรค ๘ อย่าง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโรคไว้๘อย่างเหล่านี้ คืออาพาธมีน้ำดี (กำเริบ)

เป็นสมุฏฐาน ๑ อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน ๑ อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน ๑

อาพาธที่เกิดจากโรคดี โรคเสมหะ โรคลม มาประชุมกัน ๑ อาพาธที่เกิดจาก

เปลี่ยนฤดู ๑ อาพาธที่เกิดจากการบริหาร (ร่างกาย) ไม่ถูกต้อง ๑ อาพาธ

ที่เกิดจากการพยายาม (ทำให้เกิดขึ้น) ๑ อาพาธที่เกิดจากวิบากกรรม ๑.

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 29 ส.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น -ไม่ว่าจะเป็นใคร ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค ย่อมเป็นสิ่งที่สำคัญ คือ บริโภคเพื่อยังชีวิตให้เป็นไปได้เท่านั้น ไม่ใช่เพื่อความเพลิดเพลินมัวเมา เป็นต้น

ตัวอย่างบุคคลที่ตระกละ (กินจุ) ๕ จำพวก ซึ่งไม่ควรเอาเยี่ยงอย่าง

๑. ผู้บริโภคมาก จนกระทั่งลุกไม่ขึ้น ต้องให้คนอื่นช่วยจับมือตนเพื่อให้ลุกขึ้นได้.๒. ผู้บริโภคมาก แม้จะลุกขึ้นได้ แต่ไม่อาจนุ่งผ้าได้ (กินจนท้องโต) .๓. ผู้บริโภคมาก จนไม่สามารถลุกขึ้นได้ นอนกลิ้งอยู่ตรงนั้นเลย.๔. ผู้บริโภคมาก จนล้นถึงปาก จนถึงกับพวกกาสามารถบินมาจิกกินได้เลย. ๕. ผู้บริโภคมาก จนกระทั่งอาเจียนออกมาตรงนั้นเลย ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเิติมได้ที่นี่ครับ

ผู้รู้จ้กประมาณในโภชนะ [อรรถกถาปฐมภิกขุสูตร]
ผู้รู้จักประมาณในการฉันอาหาร [อรรถกถาสัมปันนสูตร] พราหมณ์ตะกละ ๕ คน [ธรรมสังคณี]

-พระภิกษุ เป็นเพศบรรพชิตที่จะต้องขัดเกลากิเลสเป็นอย่างยิ่ง สิ่งสำคัญ คือ ศึกษาพระธรรมวินัยให้เข้าใจ แล้วน้อมประพฤติปฏิับัติตาม เว้นในสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้าม และ ประพฤติในสิ่งที่พระองค์ทรงอนุญาต แม้แต่การบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือ เลยเที่ยงไปแล้ว เป็นอาบัิตปาจิตตีย์ มีโทษสำหรับพระภิกษุรูปนั้น -ตราบใดที่ยังมีกาย ย่อมไม่พ้นไปจากโรคทางกาย และตราบใดที่ยังมีกิเลส ก็ยังไม่พ้นจากโรคทางใจ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โรค ๒ อย่างนี้ โรค ๒ อย่าง เป็นไฉน? คือ โรคกาย ๑ โรคใจ ๑ ปรากฏอยู่ว่า สัตว์ทั้งหลาย ผู้ยืนยันว่าไม่มีโรคทางกายตลอด เวลา ๑ ปีก็มี ยืนยันว่าไม่มีโรคทางกายตลอดเวลา ๒ ปีก็มี ๓ ปีก็มี ๔ ปีก็มี๕ ปีก็มี ๑๐ ปีก็มี ๒๐ ปีก็มี ๓๐ ปีก็มี ๔๐ ปีก็มี ๕๐ ปีก็มี ๑๐๐ ปีก็มี ยิ่งกว่า ๑๐๐ ปีก็มี แต่ว่าผู้ที่จะยืนยันว่า ไม่มีโรคทางใจแม้เพียงเวลาครู่เดียวนั้น หาได้ยากในโลก เว้นแต่พระขีณาสพ (พระอรหันต์) ” (จาก ... พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต โรคสูตร) โรค หมายถึง สภาพที่เสียดแทง โรคทางกาย เสียดแทงกายให้ได้รับความเจ็บปวด ทรมาน แต่โรคทางใจ คือ กิเลส เป็นสภาพที่ทำให้จิตเศร้าหมอง ย่อมเสียดแทงจิตใจของสัตว์ทั้งหลายให้เร่าร้อน และไม่ให้ออกไปจากวัฏฏะ โรคทางใจ เป็นโรคที่เห็นยาก เมื่อเป็นเช่นนี้โรคทางใจจึงรักษาได้ยากกว่าโรคทางกาย ซึ่งจะต้องใช้เวลาอันยาวนานในการสะสมกุศล ซึ่งเป็นยาที่จะรักษาโรคทางใจ ถ้าผู้ใดพิจารณาอกุศลที่ตนมีตามความเป็นจริงแล้วรีบแก้ไขโดยที่พิจารณาเห็นโทษ ก็ย่อมจะดีกว่าการปล่อยให้โรคทางใจนั้นกำเริบหนักยิ่งขึ้น จนยากที่จะแก้ไขได้ พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว เท่านั้น ที่จะเป็นเครื่องรักษาโรคทางใจได้ ตามลำดับขั้น จนกว่าจะถึงความเป็นผู้ไม่มีโรคทางใจอีกเลย นั่นก็คือ บรรลุเป็นพระอรหันต์ ครับ. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 29 ส.ค. 2554

อาสวะที่ละได้เพราะการพิจารณา [ ๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึง

ละได้ เพราะการพิจารณาเสพ? คือ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัย นี้

พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพบิณฑบาตมิใช่เพื่อจะเล่น มิใช่เพื่อมัวเมา มิใช่เพื่อ

ประดับ มิใช่เพื่อตบแต่ง เพียงเพื่อให้ กายนี้ดำรงอยู่ เพื่อให้เป็นไป เพื่อกำจัดความ

ลำบาก เพื่ออนุเคราะห์แก่ พรหมจรรย์ ด้วยคิดว่า จะกำจัดเวทนาเก่าเสียด้วย จะไม่ให้

เวทนาใหม่ เกิดขึ้นด้วย ความเป็นไป ความไม่มีโทษ และความอยู่สบายด้วย จักมี แก่

เรา ฉะนี้

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
surasak
วันที่ 29 ส.ค. 2554
ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนา ที่ได้ให้ความรู้ครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ขนุนน้อย
วันที่ 8 ต.ค. 2560

มีความตั้งใจที่จะศึกษาพระธรรมวินัยโดยละเอียดขอความอนุเคราะห์จากผู้รุ้ทุกท่านด้วยครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ