การพูดให้กำลังใจ

 
Pigmy
วันที่  19 ส.ค. 2554
หมายเลข  18986
อ่าน  11,343

การพูดให้กำลังใจคนอื่น ผลักดันผู้อื่น ส่งเสริมแรงใจในการกระทำกิจต่างๆ

ภาษาอังกฤษเรียกว่า Motivation

เท่าที่ทราบ การพูดให้กำลังใจ ส่วนใหญ่จะเป็นการกระตุ้นให้คนเกิดความทะยานอยาก

อย่างเช่น พูดให้ลุกขึ้นสู้ ลุกขึ้นมาทำงานทำการ ทำมาหากิน ฯลฯ

ไม่ได้พูดให้สละละคลายอะไรเลย

แล้วก็น่าจะจัดว่าเป็นการพูดเพ้อเจ้อด้วย (หนึ่งในอกุศลกรรมบถ)

ผมจึงอยากทราบว่า การมีหน้าที่พูดให้กำลังใจผู้อื่น

ถ้าในทางของพระธรรม เป็นการสมควรมั้ยครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 19 ส.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

พระธรรมเป็นเรื่องละเอียด แม้แต่เรื่องของการพูด เพระาการพูด ก็คือการทำหน้าที่ ของ

จิตและเจตสิกที่เกิดขึ้นครับดังนั้นในชีวิตประจำวันการพูดจึงเป็นไปด้วยกุศลหรืออกุศล

ก็ได้ครับ การพูดให้กำลังใจ ก็เป็นเรื่องของจิต เจตสิกและรูปที่ทำหน้าที่ จึงทำให้มีการ

ใช้คำพูดที่เรียกว่าการให้กำลังใจ ดังนั้น การพูดด้วยกุศลจิตให้กำลังใจ คือ ให้ความ

สบายใจ ด้วยเจตนาที่เป็นกุศลนั้น ไม่ใช่การพูดเพ้อเจ้อ เพราะการพูดเพ้อเจ้อ สำคัญ

ที่จิตของผู้พูดเป็นสำคัญด้วยครับดังเช่น พระพุทธเจ้า เมื่อพบพระภิกษุผู้เป็นอาคันตุกะ

มาจากที่อื่น พระองค์ก็ทรงทำปฏิสันถาร ถามพระภิกษุว่าสบายดีหรือ พออดทนได้หรือ

แม้จะไม่ใช่คำพูดเรืองธรรม แต่เกิดจากจิตที่ดี จิตอันงาม ก็ไม่เป็นการพูดเพ้อเจ้อเลยครับ

หรือบางคราวพระพุทธเจ้าเมื่อเห็นพระภิกษุรูปใดรูปใดรูปหนึ่งกระทำความดี ก็ทรง

อนุโมทนา และกล่าวสรรเสริญว่าดีแล้ว และขอให้ทำความดีนั้นต่อไป ให้ดียิ่งขึ้น การ

กล่าวอย่างนั้น กล่าวด้วยจิตที่งาม จิตที่ชื่นชมในกุศลธรรมและตรัสด้วยให้ภิกษุทั้หลาย

ประพฤติในสิ่งที่ดีมากขึ้น หรือ จะเรียกตามภาษาชาวโลกที่ว่า motivation การส่งเสริม

แรงใจในทางกุศลก็ได้ครับ

แต่ในกรณีที่ถามในเรื่องการพูดให้กำลังใจของชาวโลก ตามที่กล่าวแล้วครับ ก็เป็นไป

ได้ทั้งกุศลหรือ อกุศลเพราะเรื่องของจิตเป็นเรื่องละเอียด เช่น พูดให้เขาทำงานประกอบ

อาชีพเลี้ยงชีพ ก็พูดด้วยจิตที่เป็นอกุศลก็ได้ และคำพูดนั้นไมได้หมายถึง การพูดเพ้อเจ้อ

คือ ทำลายประโยชน์ของผู้อื่นที่ได้รับฟังครับ การพูดเพ้อเจ้อต้องเป็นเรื่องที่ไม่เป็น

ประโยชน์และทำลายประโยชน์ของผู้ฟังด้วยครับ แต่จิตขณะที่พูดเพื่อให้บุคคลนั้น

ประกอบอาชีพเพื่อให้ได้เงินมากๆ หรือทำอาชีพใหม่ จิตขณะนั้นก็เป็นอกุศลส่วนใหญ่ครับ

แต่ในทางกลับกัน จิตขณะนั้นเป็นกุศลก็ได้ ในเรื่องเดียวกันและไม่ใช่การพูดเพ้อเจ้อด้วย

เพราะจิตเป็นกุศลครับ เช่น พูดด้วยเจตนาดี หวังดี ด้วยกรุณา ด้วยคำแนะนำที่มีประโยชน์

เพื่อให้ชีวิตของเขาดีขึ้นจึงพูด หรือ พูดให้กำลังเมื่อเขาเป็นทุกข์ในเรื่องการงาน จึงหวังดี

ด้วยความกรุณา จึงพูดให้กำลังใจครับ จิตขณะนั้นเป็นกุศลครับเพราะฉะนั้นการกระทำ

อย่างเดียวกัน จิตต่างกันก็ได้ เป็นกุศลก็ได้ เป็นอกุศลก็ได้ครับ ดังนั้นการพูดให้กำลังใจ

ผู้อื่นด้วยจิตกุศลไม่ใช่ด้วยการประจบ หรือด้วยอกุศล สมควรพูดครับ เพราะกุศล เป็นสิ่งที่

ควรพูด แต่รู้จักกาลเทศะในการพูดด้วยครับ แม้แต่พระพุทธเจ้า ก็ทรงสอบถามถึงภิกษุที่

ท้อใจบ้างกระสันอยากสึกบ้าง ไม่มีความเพียรที่จะอบรมปัญญาบ้าง ด้วยการให้กำลังใจกับ

พระภิกษุเหล่านั้นด้วยการแสดงพระธรรมเทศนา เพื่อให้ภิกษุรูปนั้นพิจารณาไตร่ตรองคิด

ตามและกลับมีกำลังใจ ซึ่งกำลังใจในทางพระพุทธศานาที่แสดงไว้ กำลังใจคือปัญญา

เมื่อพระองค์แสดงธรรม ภิกษุเข้าใจเกิดปัญญา ก็มีกำลังใจ เกิดกำลังใจคือปัญญา

กำลังใจในพระพุทธศาสนา จึงไม่ใช่ ความหึกเหิม ลุกขึ้นสู้ด้วยโลภะ แต่เป็นปัญญาที่

เห็นจริงตามธรรม จึงมีกำลังใจ กำลังญานกำลังปัญญาตามความเป็นจริงครับ เพราะฉะนั้น

คำพูดใดพูดแล้วอกุศลของตนเกิดและเจริญ และเป็นโทษกับผู้อื่นไม่ควรพูด แต่คำพูดใด

กุศลของตนเจริญและกุศลของคยอื่นเจริญด้วย ควรพูดครับ ขออนุโมทนา

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 19 ส.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตราบใดที่ยังไม่สามารถดับกิเลสใดๆ ได้เลย ชีวิตที่ดำเนินไปในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็นกาย หรือวาจา หรือใจ ก็ย่อมประกอบไปด้วยกิเลสนานาประการ โลภะบ้าง โทสะบ้าง โมหะ บ้าง เป็นต้น อยู่ตราบนั้น เป็นไปด้วยอำนาจของกิเลสที่แต่ละบุคคลได้สะสมมา แม้ในเรื่องของการพูด ก็เช่นเดียวกัน ขณะใดคำพูดเป็นไปเพราะอกุศลจิต เช่น การพูดนินทา ว่าร้าย เป็นต้น เป็นคำพูดที่เกิดจากจิตใจที่ไม่สะอาด และ เป็นการสะสมอกุศลให้มีมากยิ่งขึ้นด้วย คำพูดอย่างนี้ย่อมไม่สมควรที่จะพูดเพราะไม่เป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น แต่ก็ไม่ใช่ว่าวันหนึ่งๆ จะมีแต่อกุศลตลอดเวลา กุศลจิตก็สามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน การพูดด้วยกุศลจิต ก็ย่อมจะมีได้ด้วยเช่นกัน เช่น พูดให้กำลังใจ ให้ความเป็นมิตรเป็นเพื่อน ให้ข้อคิดเตือนใจที่ดี เพื่อประโยชน์แก่การพิจารณาสำหรับผู้นั้น อย่างนี้ย่อมเป็นสิ่งที่สมควร

จะเห็นได้ว่า คำพูดที่พูดกันมีมากมาย การพูดด้วยอกุศลจิตไม่มีประโยชน์กับบุคคลใดทั้งสิ้น เป็นสิ่งที่ควรละเว้น ไม่ควรเลยที่จะกล่าว แต่ควรอย่างยิ่งที่จะกล่าวเฉพาะวจีสุจริต เท่านั้น เมื่อเป็นอย่างนี้ได้ การพูดด้วยกุศลจิต ก็จะมีมากขึ้น การพูดด้วยกุศลจิตทั้งหมดย่อมจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ฟัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ การกล่าวธรรม พูดธรรมตามที่พระสัมมาสัมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง เพื่อความเข้าใจถูก เห็นถูก แก่ผู้นั้น เป็นคำพูดที่ควรพูดเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้ผู้นั้น ได้ยินได้ฟัง ได้สะสมความรู้ความเข้าใจยิ่งขึ้น ซึ่งความเข้าใจพระธรรม นี้เอง จะเป็นที่พึ่งที่แท้จริงสำหรับชีวิตของผู้นั้น ครับ. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
pat_jesty
วันที่ 19 ส.ค. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Pigmy
วันที่ 19 ส.ค. 2554

ขอบพระคุณมากครับ ขออนุโมทนา

ขออนุญาตถามต่อนะครับ

พูดเพ้อเจ้อ หมายถึง การพูดทำลายประโยชน์เหรอครับ

แล้วประโยชน์ที่ว่า ต้องเป็นไปในทางกุศลเท่านั้นใช่มั้ยครับ

หากพูดส่งเสริมประโยชน์ผู้อื่น แต่ประโยชน์นั้นเป็นความติดข้อง

จะถือว่าเป็นการพูดเพ้อเจ้อมั้ยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Graabphra
วันที่ 20 ส.ค. 2554
ขอบพระคุณมาก และขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
paderm
วันที่ 20 ส.ค. 2554

เรียนควาเมห็นที่ 4 ครับ ในที่นี้ หมายถึง การพูดเพ้อเจ้อที่สำเร็จเป็นกรรมบถครับ แต่ถ้าพูดในการแนะนำ เช่น

ครูให้การศึกษา จิตขณะที่หวังดี มี แต่ขณะที่ให้ความรู้ ก็มีอกุศลเกิดบ้าง แต่ไม่ถึงกับ

เป็นกรรมบถที่เป็นการพูดเพ้อเจ้อ แต่ด้วยความละเอียดแล้ว ขณะที่เป็นอกุศล ก็เป็น

การพูดไม่มีประโยชน์ ไม่มีสาระในทางธรรม คือ เป็นอกุศลก็ได้ครับ ซึ่งก็เป็นการพูด

เพ้อเจ้อที่เป็นอกุศลได้ แต่ไม่ถึงกับการพูดเพ้อเจ้อทีทำลายประโยชน์ผู้อื่น เช่น การ

ทำลายประโยชน์ ให้ผู้อื่นเสียหาย จากทรัพย์สิน จากสิ่งต่างๆ ครับ พระโสดาบันท่าน

ยังพูดเพ้อเจ้อได้ แต่กรรมไม่เป็นกรรมบถ เพราะไม่มีกำลังถึงขนาดไปทำลายประโยชน์

ครับ ขออนุโมทนาที่เป็นผู้ละเอียดในเรื่องนี้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
พุทธรักษา
วันที่ 20 ส.ค. 2554

เดรัจฉานกถา เป็น คำพูดเพ้อเจ้อ ใช่ไหมคะ.?

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
paderm
วันที่ 20 ส.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 7 ครับเดรัจฉานกถา คือ คำพูดที่กั้นสุคติและมรรค ผล เป็นคำพูดเพ้อเจ้อครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับจะอธิบายรายละเอียดไว้ครับ

อยากทราบเกี่ยวกับ เดรัจฉานกถา คือพูดไร้สาระเพ้อเจ้อค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
พุทธรักษา
วันที่ 20 ส.ค. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
wannee.s
วันที่ 20 ส.ค. 2554

การพูดให้กำลังใจสำคัญมาก ในพระไตรปิฏกก็มีแสดงไว้ บุรุษคนหนึ่งถูกเสียบหลาว

เปรตที่เป็นญาติมาให้กำลังใจ มาปลอบใจว่า การมีชีวิตอยู่ประเสริฐ ต่อมาพระราชา

็ก็ปล่อยตัวบุรุษคนนี้ ภายหลังบุรุษคนนี้พบพระกัปปิตกภิกษุได้ฟังธรรมจากท่าน และ

ออกบวชได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ค่ีะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
Pigmy
วันที่ 20 ส.ค. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
ทิพย์
วันที่ 20 ส.ค. 2554

ขอขอบคุณและอนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ