เป็นพระเเต่ โดนใช้ไห้ไปพรากของเขียว อาบัติใหม .

 
พระบอม
วันที่  14 ส.ค. 2554
หมายเลข  18941
อ่าน  12,216

ตอนช่วงเช้าผมเรียนธรรมะ อาจารย์สอนถึงข้อที่ว่าพรากของเขียว เหยียบของเขียว อาบัติ ตกมาช่วงบ่ายอาจารย์ผมเขาเป็นทั้งอาจารย์และเจ้าอาวาสด้วย เขาก็เรียกเลย พระหนุ่มหนุ่มแข็งแรงมานี้หน่อยสิ พรุ่งนี้งานสราท หญ้าขึ้นเต็มเลยเห็นใหม เดียวพรุ้งนี้โยมมาทำบุญเห็นเข้าจะดูไม่สวยงาม เอ้านี้มีดเครื่องพ่นยาฆ่าหญ้า ให้เรียบร้อยละเดียวฉันจะลงมาดูสอนเมื่อเช้า พรากของเขียวบาปตกบ่ายยังไม่ทันขาดคำพอบ่าย สั่งไห้ไปตัดต้นไม้ตัดต้นหญ่า อาบัติใหมเนีย -.-

ขอโทษนะครับที่ไช้คำไม่เป็นทางการหรือไม่สุภาพ ^-^


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 14 ส.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การตัดต้นไม้ ต้นหญ้าเป็นอาบัติปาจิตตีย์ครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่

ทำไมภิกษุพรากพีชคามและภูตคามไม่ได้

พีชคามและภูตคาม [มหาวิภังค์]

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 14 ส.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระภิกษุ ที่ศึกษาพระธรรมวินัยด้วยความละเอียดรอบคอบ มีความเข้าใจอย่างถูกต้องก็ย่อมจะรักษาพระธรรมวินัย ไม่ล่วงละเมิดสิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ไม่ว่าจะเป็นในกรณีใดๆ ก็ตาม แต่สำหรับผู้ที่ไม่ได้ศึกษา หรือ ศึกษาแต่ไม่เข้าใจอย่างถูกต้อง หรือเป็นผู้ที่ไม่มีความละอาย ไม่มีความเคารพยำเกรงในพระรัตนตรัยก็ย่อมจะล่วงละเมิดสิกขาบทได้ทั้งนั้น เมื่อล่วงละเมิดสิกขาบทแล้ว เป็นผู้มีอาบัติ ซึ่งเป็นโทษแก่ตนเองเท่านั้น ยิ่งถ้าไม่ได้กระคืนแก้ไขให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยแล้ว เป็นอันตรายมาก เพราะถ้ามรณภาพลงในขณะที่ยังไม่ได้ปลงอาบัติ ก็เป็นผู้มีอบายเป็นที่ไปในเบื้องหน้าทั้งนั้น แม้แต่ในเรื่องของการพรากของเขียวก็เช่นเดียวกันซึ่งเป็นอาบัติปาจิตตีย์

ในพระไตรปิฎก ก็มีแสดงไว้เช่นเดียวกันว่า พระภิกษุรูปหนึ่ง พรากของเขียว แต่ไม่แสดงอาบัติ ในที่สุดเวลาใกล้ตายก็หาพระที่ตนจะแสดงอาบัติด้วยไม่ได้ เกิดความเดือดร้อนใจ มรณภาพแล้ว ไปเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ในอบายภูมิซึ่งเป็นสิ่งที่น่าคิดทีเดียว ว่า ในชาตินี้ บวชเป็นพระภิกษุ แต่ชาติหน้า ต้องไปเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉานในอบายภูมิ ความเป็นบรรพชิต ถ้ารักษาไม่ดี มีแต่จะคร่าไปสู่อบายภูมิจริงๆ ครับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
พระบอม
วันที่ 15 ส.ค. 2554

แล้วปลงอาบัติ ใช้บทสวด สัพพาตา อาปัตติโยอาโรเจมิ ใช้บทนี้ปลงอาบัติหลุดไหมครับ พลากของเขียวเนียครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
พระบอม
วันที่ 15 ส.ค. 2554

ผมมีคำถามอีกเยอะที่เกียวกับพระวินัย ช่วยติดตามและตอบกระทู้ผมด้วยนะครับ

ขอบใจท่านทั้งหลายที่มีเมตรตาจิตชี้ทางสว่างให้แก่ผม

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
khampan.a
วันที่ 15 ส.ค. 2554
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 18941 ความคิดเห็นที่ 4 โดย พระบอม

แล้วปลงอาบัติ ใช้บทสวด สัพพาตา อาปัตติโยอาโรเจมิ ใช้บทนี้ปลงอาบัติหลุดไหมครับ พลากของเขียวเนียครับ

เรียน ความคิดเห็นที่ ๔ (ขอแสดงความคิดเห็นดังนี้ครับ)

เมื่อภิกษุผู้ต้องอาบัติปาจิตติย์ เพราะพรากของเขียว พึงเข้าไปหาภิกษุด้วยกัน นุ่งห้มผ้าให้เรียบร้อย นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กราบพระภิกษุผู้มีพรรษาแก่กว่า นั้น พร้อมกับเปล่งวาจาต่อหน้าพระภิกษุรูปนั้น แสดงออกถึงความจริงใจในการที่จะสำรวมหรือระมัดระวังไม่ให้ล่วงสิกขาทข้อนั้นๆ อีก ดังข้อความต่อไปนี้

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๗๑๐

อหํ ภนฺเต อิตฺถนฺนามํ อาปตฺตึ อาปนฺโน ตํ ปฏิเทเสมิ
(คำแปล คือ ท่านเจ้าข้า ! กระผมต้องอาบัติมีชื่ออย่างนี้ ขอแสดงคืนอาบัตินั้น) .

ภิกษุด้วยกันซึ่งเป็นผู้รับแสดงอาบัติ พึงกล่าวว่า ปสฺสสิ (เธอเห็นหรือ?) .

ผู้แสดง: อาม ปสฺสามิ (ขอรับ ! ผมเห็น)

ผู้รับ: อายตึ สํวเรยฺยาสิ (เธอพึงสำรวมต่อไป) .

ผู้แสดง: สาธุ สุฏฺฐุ สํวริสฺสามิ (ดีละ ผมจะสำรวมให้ดี) .

[ส่วนบทที่พระคุณเจ้ายกมานั้น ไม่ตรงตามพระวินัย ควรที่จะยึดถือตามพระวินัยตามข้อความที่ปรากฏอยู่ข้างบนนี้] จะเห็นได้ว่า การแสดงอาบัติ หรือ ปลงอาบัติ เป็นการแก้ไขทางพระวินัย เพื่อจะได้ไม่เป็นเครื่องกั้นการไปสู่สวรรค์ และ ไม่เป็นเครื่องกั้นการบรรลุ มรรค ผล นิพพาน เพราะถ้าไม่แสดงหรือไม่ปลง ก็เป็นเครื่องกั้น ครับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
พระบอม
วันที่ 15 ส.ค. 2554
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 18941 ความคิดเห็นที่ 6 โดย khampan.a
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 18941 ความคิดเห็นที่ 4 โดย พระบอม

ปกติผมใช้อันนี้เวลาทำวัดเช้าเย็นไช้อันนี้ปลงไม่รู้จะใช้เปล่า พรรษาอ่อนว่า สัพพา ตา อาปัตติโย อาโรเจมิ (ว่า 3 หน)

สัพพา คะรุละหุกา อาปัตติโย อาโรเจมิ (ว่า 3 หน)

อะหัง ภันเต สัมพะหุลา นานาวัตถุกาโย อาปัตติโย

อาปัชชิง ตา ตุมหะ มูเล ปะฏิเทเสมิ

พรรษาแก่ว่า ปัสสะสิ อาวุโส ตาอาปัตติโย

พรรษาอ่อนว่า อุกาสะ อามะ ภันเต ปัสสามิ

พรรษาแก่ว่า อายะติง อาวุโส สังวะเรยยาสิ

พรรษาอ่อนว่า สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ

ทุติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ

ตะติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ

นะ ปุเนวัง กะริสสามิ

นะ ปุเนวัง ภาสิสสามิ

นะ ปุเนวัง จินตะยิสสามิ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
khampan.a
วันที่ 16 ส.ค. 2554

เรียน ความคิดเห็นที่ ๗ ครับ

การแสดงอาบัติ (ปลงอาบัติ) ของพระภิกษุ แสดงไว้อย่างชัดเจนแล้ว ตามข้อความใน[เล่มที่ 3] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค-ทุติยภาค เล่ม ๑ ภาค ๓- หน้า ๗๑๐ ดังที่แสดงแล้วในคิดเห็นที่ ๖ ครับ

ขออนุโมทนา ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
chatchai.k
วันที่ 11 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ