ทุกข์ของก้อนหิน

 
นิสิต
วันที่  9 ส.ค. 2554
หมายเลข  18900
อ่าน  3,936

อยากทราบลักษณะของทุกข์ของก้อนหินก้อนหนึ่ง ก้อนหินมีทุกข์หรือไม่อย่างไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 9 ส.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ก้อนหิน เป็นสภาพธรรมที่เป็นรูปธรรม คือ ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม สี กลิ่น รส โอชา มาประชุมรวมกัน เมื่อเป็นสภาพธรรมที่เป็นเพียงรูปธรรม รูปธรรม เป็นสภาพธรรมที่ไม่รู้อะไรเลย คือไม่สุข ไม่ทุกข์ แต่สภาพธรรมที่ทำให้มีสุขและทุกข์ คือสภาพธรรมที่เป็นสภาพรู้ คือ จิต เจตสิก ซึ่งก้อนหิน ไม่มีจิต เจตสิก จึงไม่ทุกข์อะไร ไม่ว่าใครจะว่าก้อนหิน ตีก้อนหิน ชมก้อนหิน ก้อนหินก็ไม่สุขและไม่ทุกข์อะไรเลยครับ ทุกข์ที่ก้อนหินไม่มี คือ ทุกขเวทนาที่เป็นไปในความทุกข์กาย หรือโทมนัสเวทนาที่เป็นความทุกข์ใจเลย แต่ก้อนหินไม่พ้นจากสภาพธรรมที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตา เพราะก้อนหิน เป็นรูปธรรม ก้อนหินจึงไม่พ้นจากสภาพธรรมที่เป็นสังขารธรรม ซึ่งมีปัจจัยปรุงแต่ง ก้อนหินจึงไม่พ้นจากความเป็นทุกขอริยสัจจะ เพราะเกิดขึ้นและดับไป เพราะเป็นรูปธรรม และไม่พ้นจากความทนไม่ได้ คือ สภาพธรรมที่เป็นทุกขังด้วยครับ ขออนุโมทนาครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 9 ส.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ธรรม ซึ่งป็นสิ่งที่มีจริง นั้น ไม่พ้นไปจากนามธรรม กับ รูปธรรม นามธรรมเป็นสภาพรู้ เป็นธาตุรู้ เช่น เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสกาย คิดนึก กุศลจิตเกิด อกุศลจิตเกิด เป็นต้น เป็นนามธรรม ส่วนรูปธรรม ไม่ใช่สภาพรู้ ไม่รู้อะไรๆ ทั้งสิ้น ไม่มีความรู้สึกเป็นสุข หรือ เป็นทุกข์ เลย เพราะฉะนั้น ถ้าจะกล่าวให้พิจารณา คือ ก้อนหิน ซึ่งเป็นรูปธรรมนั้น ไม่มีทุกข์กาย ทุกข์ใจ [เพราะทุกข์กาย ทุกข์ใจ เป็นนามธรรม กล่าวคือ ทุกข์กาย เป็นอกุศลวิบากจิต เป็นผลของอกุศลกรรมทำให้ได้รับทุกข์ทางกาย ส่วนทุกข์ใจ เป็นความไม่สบายใจ เป็นอกุศลจิต ประเภทโทสมูลจิตประกอบด้วยโทมนัสเวทนา] แต่อย่างไรก็ตาม นามธรรม และ รูปธรรม ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่เกิดแล้วดับไปนั้น ล้วนมีลักษณ์ที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา ด้วยกันทั้งนั้น ไม่มีเว้นเลย ครับ.

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แสงจันทร์
วันที่ 9 ส.ค. 2554

ทุกข์ในอริยสัจ หรือทุกขอริยสัจ ก็คือ ก็คือทุกข์ในไตรลักษณ์นั่นเอง แต่จำกัดขอบเขตเฉพาะปัญหาที่เกิดกับมนุษย์ ซึ่งเกี่ยวข้องกระทบชีวิต ขยายความว่า สังขารทั้งหลายถูกบีบคั้นตามธรรมดาของมัน โดยความเป็นทุกข์ในไตรลักษณ์ และสังขารเท่านั้นนั่นแหละ (ไม่ทั้งหมดเสมอไป) ก็ก่อความบีบคั้นให้แก่คน โดยความเป็นทุกข์ในอริยสัจ (แต่การที่มันจะกลายเป็นของบีบขั้นคนขึ้นมาได้ ก็เพราะมันเองถูกบีบคั้นโดยความเป็นทุกข์ในไตรลักษณ์) พูดง่ายๆ ว่า ทุกขอริยสัจหมายเฉพาะเรื่องเบญจขันธ์ หรืออุปทาน เรียกเป็นศัพย์ว่า ได้แก่ทุกข์เฉพาะส่วนที่เป็นส่วนที่เป็นอินทรีย์พัทธ์ คือเนื่องด้วยอินทรีย์ ไม่รวมถึงทุกข์ที่เป็นอนินทรีย์พัทธ์ (ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์) ซึ่งเป็นทุกข์ในไตรลักษณ์ แต่ไม่จัดเป็ํนทุกข์ในอริยสัจย์ (พึงสังเกตุว่า ทุกขอริยสัจเป็นทุกข์ในไตรลักษณ์ด้วย สมุทัยและมรรค ก็เป็นทุกข์ในไตรลักษณ์ด้วย แต่ไม่เป็นทุกขอริยสัจย์) .พุทธธรรม ๗๐/๑๒

ขอขอบคุณทุกท่านทั้งผู้ถามและผู้ตอบ ทำให้ผมหันค้นคว้าศึกษาธรรมมากขึ้นใช้เวลาให้เป็นประโยชน์มากขึ้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
pat_jesty
วันที่ 9 ส.ค. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
paderm
วันที่ 9 ส.ค. 2554

ขออนุโมทนาคุณแสงจันทร์เช่นกัน ที่หาคำตอบเพื่อความถูกต้องและก็ได้ความเจริญขึ้น

ของปัญญา ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
แสงจันทร์
วันที่ 9 ส.ค. 2554

เพราะทุกข์ในอริยสัจมีสมุทัยคือตัณหา ๓ เป็นเหตุ แต่ทุกข์ในก้อนหินไม่ได้มีสมุทัย คือตัณหา ๓ เป็นเหตุ

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
แสงจันทร์
วันที่ 9 ส.ค. 2554

พระธรรมของพระพุทธเจ้ามีมาก ในการสังคายนาพระเถระยังแบ่งหน้าที่กันตอบเลย เช่นพระอุบาลีเป็นวิสัชนาพระวินัย พระอานนท์เป็นผู้วิสัชนาพระธรรม ถ้าผมเก่งเท่า อาจารย์ผมก็พอใจแล้ว

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
yupa
วันที่ 10 ส.ค. 2554

" มั่นคงในพระธรรม ฟังธรรมด้วยความศรัทธา ฟังเพื่อความเข้าใจ มิไช่เพื่ออย่างอื่น" เป็นประโยคที่ ท่านอาจารย์สุจินต์ กล่าวอยู่เสมอ เป็นคำพูดที่คลายทุกข์ได้ดีเลย

ขออนุโมทนากุศลจิตทุกท่าน

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
paderm
วันที่ 10 ส.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 4 และ 7 ครับ

ก้อนหินนั้นไม่พ้นจากทุกขอริยสัจจะครับ เพราะแม้รูปธรรมทีไม่นับเนื่องในกาย แต่ก็เป็นอารมณ์ของตัณหาได้ครับ ยกตัวอย่างเช่น สี สิ่งที่ปรากฎทางตา ที่ไมไ่ด้นับเนื่องในกายแต่มีการเห็น เห็นสี สิ่งที่ปรากฎทางตา ทีเ่ป็นรูป รูปนั้นก็เป็นทุกขอริยสัจจะด้วยเพราะเกิดขึ้นและดับไป ทุกขอริยสัจจะ คือ ควรกำหนดรู้ รู้ด้วยปัญญาว่าไม่เที่ยงเป็นต้น แม้ สี สิ่งที่ปรากฎทางตาก็ควรกำหนดรู้ว่าไม่เที่ยงไม่ใช่เราด้วยเช่นกัน ดังนั้นแม้ สี คือ รูปที่ไม่นับเนื่องในกายก็เป็นทุกขอริยสัจจะ และ สี รูปธรรมที่ไม่นับเนื่องในกาย ก็เป็นที่ตั้ง เป็นอารมณ์ของตัณหาได้ครับ เพราะตัณหาสามารถติดข้องได้หมดยกเว้น โลกกุตตรธรรม ดังนั้นก้อนหินที่เป็นรูปธรรม ก็ไม่พ้นจากทุกขอริยสัจจะครับ

ดังนั้นพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นสัจจะความจริง และครอบคลุมไม่เหลือเลย โดยเฉพาะอริยสัจ 4 ที่สมณพราหมณ์ มาร พรหม ผู้ใดก็ตามจะกล่าวว่าไม่จริงเพราะเหตุนี้ไมไ่ด้ เพราะจริงและครอบคลุมทั้งหมด ดังนั้นสภาพะรรมที่เป็นรูปธรรมที่ไม่นับเนื่องใน กาย เป็นรูปธรรมเช่น ดิน น้ำ ไฟ ลม สี กลิ่น รส โอชา ที่ประชุมเป็นสิ่งต่างๆ ภายนอก ก็เป็นทุกขอริยสัจจะด้วยครับ ตามเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น เพราะหากไม่ใช่ทุกขอริยสัจแล้ว สีที่ปรากฎทางตา ก็ไม่ใช่อามรณ์ที่ควรกำหนดรู้เพราะไม่ใช่ทุกขอริยสัจจะ (ทุกขอริยสัจจะ ควรกำหนดรู้) แต่ในความเป็นจริง สีที่เห็น ที่ไม่นับเนืองในกาย เช่น สีที่อยู่ในก้อนหิน ก็เป็นสภาพธรรมที่ควรกำหนดรู้ทางตาด้วย ดังเช่นการเจริญสติปัฏฐานที่รู้ความจริงของสภาพธรรมที่เป็นสี ทางตา เป็นต้น ด้งนั้น สี รูปธรรมภายนอกก็เป็นทุกขอริยสัจจะด้วยครับ แม้ก้อนหินก็ไม่พ้นจากทุกขอริยสัจจะ และถ้าอริยสัจ คือ ทุกขอริยสัจจะ มีส่วนเหลือ คือ เว้นรูปภายนอกที่ไม่นับเนื่องด้วยกายแล้ สมณพราหมณ์ บางพวกย่อมแย้งได้ว่าไม่ครอบคลุมความจริงทุกสิ่งทุกอย่าง ซึ่งความจริงที่เป็นอริสัจ 4 พระองค์แสดงว่าไม่มีใครสามารถแย้งได้ เพราะเป็นความจริงครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่างครับ ขออนุโมทนา

ที่ร่วมสนทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
แสงจันทร์
วันที่ 12 ส.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ ๑๐ ครับ

ก่อนอื่นเรามาดูความหมายและขอบเขตของคำว่า อริยสัจ ๔ แปลว่า ความจริงของผู้ประเสริฐ,ความจริงของพระอริยะ ความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะมี๔อย่าง

๑. ทุกข์ :ความทุกข์,สภาพที่ทนได้ยาก,สภาวะที่บีบคั้น ขัดแย้งบกพร่อง ขาดแก่นสารและความไม่เที่ยง ไม่ให้ความพึงพอใจแท้จริง ได้แก่ชาติ ชรามรณะ การประจวบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ความปรารถนาไม่สมหวังโดยย่อว่า อุปาทานขันธ์เป็นทุกข์ (พึงสังเกตต้องมีคำว่าอุปาทานขันธ์ไม่ได้ตรัสว่าขันธ์เฉยๆ ต้องมีอุปาทานคือการเข้าไปยึดถือด้วย)

๒.ทุกขสมุทัย :เหตุเกิดแห่งทุกข์,สาเหตุให้ทุกข์เกิด ได้แก่ตัณหา๓คือกามตัณหา ภวตัณหาและวิภวตัณหา (ไม่ว่าที่ไหนๆ ตรัสแค่๓อย่างนี้)

๓.ทุกขนิโรธ :ความดับทุกข์ ได้แก่ ภาวะที่ดับไป ภาวะเข้าถึง เมื่อกำจัดอวิชชา สำรอกตัณหาสิ้นแล้ว ไม่ติดข้อง หลุดพ้น สงบ ปลอดโปร่งเป็นอิสระคือนิพพาน

๔.ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา :ปฏิปทาที่นำไปสู่ความดับทุกข์,ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่อริยอัฏฐังคิกมรรค หรือเรียกอีกอย่างว่า มัฌชิมาปฏิปทาแปลว่าทางสายกลาง มรรคมีองค์๘นี้ สรุปลงในไตรสิกขา คือศีล สมาธิ ปัญญา อริยสัจ๔นี้เรียกสั้นๆ ว่า ทุก สมุทัย นิโธ มรรค (วิ.มหา.ข้อ๑๔, สํ.ม.ข้อ๑๖๖๕,อภิ.วิ.ข้อ๑๔๔)

ส่วนไตรลักษณ์,สามัญญลักษณ์หรือที่เรียกอีกอย่างว่า ธรรมนิยาม หมายถึง ความกำหนดแห่งธรรมดา ความเป็นไปอันแน่นอนโดยธรรมดา,กฎธรรมชาติ

๑.สพฺเพ สงฺขารา อนิจจา สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง

๒.สพฺเพ สงฺขารา ทุกขา สังขารทั้งปวง เป็นทุกข์

๓.สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งหลายทั้งปวง เป็นอนัตตา (ธรรมในที่นี้มี๒อย่างคือ สังขตธรรมและอสังขตธรรม) ไตรลักษณ์ก็ คือลักษณะการเกิดดับของรูปนามทั้งหลายนั่นเอง (พึงสังเกตุว่าทุกขอริยสัจเป็นทุกข์ในไตรลักษณ์ด้วย สมุทัยและมรรค ก็เป็นทุกข์ในไตรลักษณ์ด้วยแต่ไม่เป็นทุกขอริยสัจย์) .พุทธธรรม ๗๐/๑๒

ส่วนคำที่ว่าดังนั้นพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นสัจจะความจริง และครอบคลุมไม่เหลือเลยโดยเฉพาะอริยสัจ 4 ที่สมณพราหมณ์ มาร พรหม ผู้ใดก็ตามจะกล่าวว่าไม่จริงเพราะเหตุนี้ไม่ได้เพราะจริงและครอบคลุมทั้งหมด ก็คือท่านหมายรวมเอาอริยสัจ๔อย่างนี่ครับ ก็นิโรธคือนิพพานย่อมไม่เป็นทุกข์ (แต่ที่ท่านพระพรหมคุณาภรณ์กล่าวคือเฉพาะทุกขสัจกับทุกข์ในไตรลักษณ์) ครับ

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
แสงจันทร์
วันที่ 12 ส.ค. 2554

หากมีข้อความใดท่านเห็นไม่สมควร ผมอนุญาตให้ลบเลยนะครับ และถ้าจะลบจริงๆ กรุณาลบความเห็นที่ ๔ ของผมด้วยนะครับเพราะกระเทือนถึงครูบาอาจารย์ คราวหลังผมจะระวังให้มากกว่านี้ คือผมอ่านในโสณทันสูตร แล้วเข้าใจแล้วครับ ขออภัยและขออนุโทนาด้วยใจจริงอีกครั้งนะครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
paderm
วันที่ 12 ส.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 11 และ 12 ครับ

ทีละประเด็นก่อนแล้วกันนะครับ ตอนนี้เราเข้าใจตรงกันว่า อุปาทานขันธ์ 5 นั่นแหละ คือทุกขอริยสัจจะ อันนี้เข้าใจตรงกัน ดังข้อความในพระไตรปิฎก ดังนั้นเราก็จะมาหา คำตอบว่า อุปาทานขันธ์ 5 มีอะไรบ้างเพื่อที่จะได้เข้าใจถูกว่า รวมรูปภายนอกไหม ว่า เป็นอุปาทานขันธ์ 5 และถ้ารวมแล้วก็จัดอยู่ในทุกขอริยสัจจะด้วย ลองอ่านคำอธิบายดู นะครับ เพื่อความเข้าใจที่ถูกขึ้น

ข้อความแสดงว่า อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกขอริยสัจจะพระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑- หน้าที่ 284

[๑๕๗] โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นไฉน? รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทาน ขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์ เหล่านี้เรียกว่า โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็น ทุกข์สภาวธรรมนี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ.


ดังนั้นเราจะต้องเข้าใจคำว่าอุปทานขันธ์ 5 ที่เป็นตัวทุกข์ ว่ารูปขันธ์หมายเพียงเฉพาะ รูปที่นับเนื่องในสิ่งมีชีวิตเท่านั้น หรือ รูปที่เป็นอุปาทานขันธ์ หมายถึงรูปภายนอกที่เป็น ที่ตั้งของความยึดถือด้วยครับ ดังนั้นคำว่าอุปาทาน องค์ธรรมคือ โลภะ ดังนั้น โลภะ ติด ข้องได้ทุกอย่างยกเว้น โลกกุตรธรรม

ดังนั้น คำว่า อุปาทานขันธ์ ที่เกิดเพราะยังมีอุปาทานและขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน โดยนัยแรก ขันธ์ ๕ ที่เกิดเพราะอุปาทานเป็นอุปาทานขันธ์ (ตามปฏิจจสมุปปาท ที่ว่า อุปาทานเป็นปัจจัยแก่ภพ) ส่วนนัยหลังแม้ว่าโลกิยขันธ์ทั้งหลายสามารถเป็นอารมณ์ แก่อุปาทานได้ทั้งนั้น

เพราะฉะนั้น เราจะต้องเข้าใจว่า อุปาทานมี 2 นัย รวมทั้ง อุปาทาน คือ สภาพธรรมที่ เป็นที่ตั้งของความยึดถือด้วยโลภะได้ (สภาพธรรมทุกอย่าง เว้นโลกกุตตรธรรม) เป็นที่ ตั้ง หรือเป็นอารมณ์ของความยึดถือด้วยโลภะได้ด้วยครับ รูปแม้ภายนอกที่ไม่ นับเนื่องในกายจึงเป็นอุปาทานขันธ์ด้วย คือ เป็นที่ตั้งของความยึดถือด้วยโลภะ เพราะ โลภะที่เป็นตัวอุปาทานคงไม่ยึดเฉพาะรูปที่อยู่ในร่างกายเราใช่ไหมครับ รูปภายนอก ด้วย ดังนั้นก้อนหินที่เป็นรูปธรรมก็เป็นที่ตั้งของความยึดถือ คือ เป็นอุปาทาน ที่เป็นรูป ขันธ์ด้วยครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ เพื่อความเข้าใจถูกขึ้นในเรื่อง อุปาทานขันธ์ 5 คืออะไร

ขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕

ขณะใดจึงเป็นอุปาทานขันธ์ อายตนะ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 455

คหณลกฺขณํ อุปาทานมีการยึดไว้เป็นลักษณะ

อมุญฺจนรสํ มีการไม่ปล่อยเป็นรส

ตณฺหาทฬฺหตฺตทิฏฺฐปจฺจุปฏฺฐานา มีความมั่นคงด้วยตัณหา และเห็นผิดในอัตตาเป็นปัจจุปัฏฐาน


รูปที่ไม่นับเนื่องในร่างกายก็เป็นอุปาทานขันธ์ 5 ด้วย เมื่อเป็นอุปาทานขันธ์ 5 ด้วยก็ จัดว่าเป็นทุกขอริยสัจจะ ตามข้อความในพระไตรปิฎกข้างต้นที่กล่าวไว้ครับ ก้อนหินที่ เป็นรูปธรรมจึงไม่พ้นจากทุกขอริยสัจจะ ที่เป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยครับข้อความที่แสดงถึงเรื่อง สภาพธรรมทุกๆ อย่างทีเ็ป็นโลกคือแตกดับ ไม่เที่ยง รวมทั้งรูปทั้งหมด ก็เป็นอุปาทานขันธ์ 5 ครับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 726

อีกอย่างหนึ่ง โลกมีมากอย่าง ด้วยสามารถแห่งขันธโลกเป็นต้น.

ถามว่า โลกคืออะไร? คือ ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก วิปัตติภวโลก

วิปัตติสัมภวโลก สัมปัตติภวโลก สัมปัตติสัมภวโลก โลก ๑ คือ สัตว์ทั้งมวลดำรงอยู่ด้วยอาหาร โลก ๒ คือ นาม ๑ รูป ๑ โลก ๓ คือ เวทนา ๓ โลก ๔ คือ อาหาร ๔ โลก ๕ คือ อุปาทานขันธ์ ๕ โลก ๖ คือ อายตนะที่เป็นไปภายใน ๖ โลก ๗ คือ วิญญาณฐิติ ๗ โลก ๘ คือ โลกธรรม ๘ โลก ๙ คือ สัตตาวาส ๙ โลก ๑๐ คือ อายตนะ ๑๐ โลก ๑๒ คือ อายนะ ๑๒ โลก ๑๘ คือ ธาตุ ๑๘ โลกแม้จำแนกออกไปมากอย่าง ดังที่พรรณนามานี้ ย่อมถึงการสงเคราะห์ คือการรวมลงในอุปาทานขันธ์ ๕ เท่านั้น.

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
paderm
วันที่ 12 ส.ค. 2554

และอีกนัยหนึ่งในทุกขอริยสัจจะ ที่แสดงว่า ทุกขอริยสัจจะนั้นควรกำนหดรู้ อะไรบ้าง ที่เป็นทุกขอริยสัจจะที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญา ชาติ ขรา มรณะ...อุปายาสะเท่าหรือ ที่ เป็นทุกขอริยสัจจะเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง สภาพธรรมที่เป็นไปในภูมิ 3 ที่เป็น นามธรรมและรูปธรรม ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา หากกำหนดรู้ ทุกขอริยสัจจะเพียงรูปที่ปรากฎที่นับเนื่องในกายของเราเท่านั้น และขณะที่เห็น สี สี ที่เป็นภายนอก ที่อยู่ในก้อนหิน ขณะนั้นไม่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาหรือครับ ต้องรู้ด้วย รู้ทั่วแม้สีนั้นที่เป็นภายนอกที่ไม่นับเนื่องในสิ่งมีชีวิตว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ถ้ารู้บางส่วน ไม่รู้บางส่วนก็ไม่สามารถดับกิเลสได้เลยครับ ดังนั้นทุกขอริยสัจจะ ที่เป็นธรรมที่ควร กำหนดรู้ จึงรวมรูปภายนอกด้วยครับ เสียงที่กระทบกัน ขณะที่ได้ยิน เสียงที่ไม่เกิดจาก สิ่งมีชีวิต ควรกำหนดรู้ไหมครับและเป็นทุกขอริยสัจจะไหม เมื่อเป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ ด้วยครับ ดังข้อความในพระไตรปิฎกที่แสดงถึงทุกขอริยสัจจะว่าเป็นสิ่งที่ควรกำนหดรู้ ว่ามีอะไรบ้าง เฉพาะรูปที่เนื่องในสิ่งมีชีวิตเท่านั้นหรือไม่ครับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒- หน้าที่ 563

[๖๐๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลาย ที่เรายังไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล ควรกำหนดรู้ ฯลฯ เรา กำหนดรู้แล้ว.


ข้อความที่แสดงถึง สภาพธรรมที่ควรกำหนดรู้ที่เป็นทุกขอริยสัจจะ หมายถึง สภาพ ธรรมทั้งหมดที่เป็นไปในภูมิ 3 ครับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔- หน้าที่ 94

บทว่า อปริชาน ได้แก่ไม่กำหนดรู้. จริงอยู่ ผู้ใดกำหนดรู้ธรรม เป็นไปในภูมิ ๓ ทั้งหมด ผู้นั้นย่อมรู้ด้วยปริญญา ๓ คือด้วยญาตปริญญา (กำหนดรู้ด้วยการรู้) ๑ ด้วยตีรณปริญญา (กำหนดรู้ด้วยการพิจารณา) ๑ ด้วยปหานปริญญา (กำหนดรู้ด้วยการละเสีย) ๑. ในปริญญา ๓ นั้น ญาตปริญญาเป็นไฉน. ภิกษุกำหนดรู้นามรูปเป็นไปในภูมิ ๓ ทั้งหมด คือรูปมีประเภทเป็นต้นว่า ภูตรูปและปสาทรูปและนามมีประเภทเป็นต้นว่า ผัสสะ ว่านี้ รูป รูปมีเท่านี้ ยิ่งไปจากนี้ไม่มี นี้นาม นามมีเท่านี้ ยิ่งไปจากนี้ไม่มี.


การศึกษาพระธรรมจึงต้องกว้างขวางในทุกส่วนของพระไตรปิฎกและที่สำคัญจะต้อง ไม่ขัดแย้งกับการเจริญ อบรมปัญญา ทีเ่ป็นการกำหนดรู้ด้วยปัญญา ที่เป็นเรื่องปริญญา ปัญญาที่รู้ตามความเป็นจริงของสภาพธรรม คือ ไม่ขัดแย้งว่ารู้แต่เพียงรูปภายในที่นับ เนื่องในอินทรีย์ มีชีวิตเท่านั้น รูปภายนอกไม่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
แสงจันทร์
วันที่ 12 ส.ค. 2554

และผมขอเรียนถานอาจารย์ครั้งสุดท้ายว่า ถ้าสิ้นตัณหาแล้วคือไม่มีตัณหาเลย แต่ เสียง กลิ่น สีโผฏฐัฏพะภายนอก ก็มีอยู่ ยังจะเป็นเหตุให้ทุกข์ในอริยสัจจ์ไหมครับ

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
paderm
วันที่ 12 ส.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 15 ครับ

เรียนคุณแสงจันทร์ อ่านในความเห็นที่ 13 และ 14 ในเรื่องอุปาทานขันธ์ 5 ก่อนครับ จะ เข้าใจในประเด็นทั้งหมด เรียนอย่างนี้ครับ คำว่าอุปาทานขันธ์ 5 มี 2 นัยตามที่กล่าวมา ไมได้หมายเพียง รูปที เกิดเพราะอุปาทาน คือ ตัณหาเป็นปัจจัยเท่านั้นที่จะเป็นรูปูปาทานขันธ์ แต่อีกนัยหนึ่ง คือ สภาพธรรมใดที่เป็นที่ตั้งของความยึดถือด้วยโลภะได้ก็คือโลกียธรรมทั้งหมด ยก เว้น โลกกุตรธรรม ก็เป็นอุปาทานขันธ์ 5 ด้วย คือสภาพธรรมที่เป็นอารมณ์ของโลภะได้ นั่นเอง ดังนั้นรูปทั้งหมดจึงเป็นอุปาทานขันธ์ด้วย โดยนัยที่เป็นที่ตั้งของความยึดถือ ซึ่งในประเด็นที่ถามว่า เมื่อสิ้นตัณหาแล้ว เช่น พระอรหันต์นั้น แน่นอนครับว่า ท่านไม่มี อุปาทาน คือความยึดถือเลย รูปที่ท่านเห็นภายนอก ก็ไม่เป็นที่ตั้งของความยึดถือของ ท่าน เพราเหตุอะไร เพราะท่านกำหนดรู้แล้วใช่ไหมครับ แต่ท่านก็มีอุปาทานขันธ์ 5 คือ สภาพธรรมทีเกิดจากตัณหาในอดีตที่ยังมีอยู่ แต่ผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ มีมากมายนับไม่ ถ้วน ที่ยังไมได้กำหนดรู้ คือ ยังไมได้กำหนดรู้แล้วในทุกขอริยสัจจะ ยังไมได้กำหนดรู้ ในอะไร ในสภาพธรรมที่เป็นไปในภูมิ 3 ทั้งหมด (ความคิดเห็นที่ 14) ซึ่งก็รวมรูปธรรม ทั้งหมดด้วย เมื่อยังไม่ใช่พระอรหันต์ก็ยังมีอุปาทาน คือ โลภะ ที่เป็นสภาพธรรมที่ติด ข้อง ยึดถือ ยึดถือเฉพาะรูปในกายเท่านั้นหรือไม่ครับ ในสภาพธรรมทั้งหมด รวมทั้ง รูปธรรมภายนอก ซึ่งผมได้อธิบาย ถึงทุกขอริยสัจจะ ว่าเป็นสภาพธรรมที่ควรกำหนดรู้ สิ่งที่ควรกำหนดรู้มีอะไรบ้าง ไว้ในความเห็นที่ 14 แล้วครับ ดังนั้นที่ผมและคนอื่นๆ ติด ข้อง ยึดมั่นด้วยอุปาทาน คงไม่ใช่เฉพาะกายนี้เท่านั้น แม้รูปภายนอกด้วยก็เช่นกัน อันนี้ตรงตามความเป็นจริงในชีวิตประจำวันไม่เปลี่ยน ดังนั้ รูปภายนอกจึงเป็นอุปาทาน ขันธ์ 5 ด้วย เมื่อเป็นอุปาทานขันธ์ 5 จึงเป็นทุกขอริยสัจจะด้วย ดังข้อความในพระ ไตรปิฎกในความคิดเห็นที่ 13 ครับ ซึ่งเราก็ต้องตรงว่าเรากำหนดรู้แล้ว ทำกิจเสร็จแล้ว ที่จะไม่มีอุปทาน ความยึดถือในรูปภายนอกที่เห็น ดังนั้นเมื่อยังไม่หมดอุปาทาน ก็ต้องมี สภาพธรรมที่ควรกำหนดรู้เพื่ออบรมปัญญา คือ สภาพธรรมทั้งหมด รวมทั้งรูปธรรมภาย นอกด้วยและอุปาทานขันธ์ 5 ก็มี 2 นัตามที่กล่าวมาครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนาครับ การสนทนาเพื่อทำให้เข้าใจถูกต้องขึ้นครับ เกื้อกูลกัน ในพระธรรม

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
แสงจันทร์
วันที่ 13 ส.ค. 2554

[๑๕๗] โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นไฉน? รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์ เหล่านี้เรียกว่า โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์สภาวธรรมนี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ.

คำว่ารูปูปาทานขันธ์แยกกันดังนี้ รูป+อุปาทาน สนธิคือสระหน้าสระหลังเป็นรัสสะเหมือนกันสนธิกันได้บ้าง สำเร็จ รูปูปาทาน หมายถึง การเข้าไปยึดถือในรูป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 726

อีกอย่างหนึ่ง โลกมีมากอย่าง ด้วยสามารถแห่งขันธโลกเป็นต้น.

ถามว่า โลกคืออะไร? คือ ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก วิปัตติภวโลกวิปัตติสัมภวโลก สัมปัตติภวโลก สัมปัตติสัมภวโลก โลก ๑ คือ สัตว์ทั้งมวลดำรงอยู่ด้วยอาหาร โลก ๒ คือ นาม ๑ รูป ๑ โลก ๓ คือ เวทนา ๓ โลก๔ คือ อาหาร ๔ โลก ๕ คือ อุปาทานขันธ์ ๕ โลก ๖ คือ อายตนะที่เป็นไปภายใน ๖ โลก ๗ คือ วิญญาณฐิติ ๗ โลก ๘ คือ โลกธรรม ๘ โลก ๙คือ สัตตาวาส ๙ โลก ๑๐ คือ อายตนะ ๑๐ โลก ๑๒ คือ อายนะ ๑๒โลก ๑๘ คือ ธาตุ ๑๘ โลกแม้จำแนกออกไปมากอย่าง ดังที่พรรณนามานี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 727

ถามว่า ก็ความหมายว่าย่อยยับไป หักพังไป ย่อมมีอยู่ในขันธ์ ๕ โดยไม่แปลกกัน ไม่ใช่หรือ? ตอบว่า มีอยู่จริง แต่สิ่งใดที่ยึดถือไว้ว่า จะไม่ย่อยยับไป สิ่งนั้นหาเป็นอย่างนั้นไม่ ย่อมย่อยยับหักพังไป โดยส่วนเดียวเท่านั้นเพราะฉะนั้น สภาพนั้นจึงชื่อว่าโลก. โลกศัพท์ พึงทราบว่า กำหนดลงไปน่นอนแล้วในอุปาทานขันธ์ทั้งหลายเท่านั้น

เพราะเหตุนั้น คำว่า โลก จึงเป็นทุกขสัจเท่านั้น. แม้ผิว่า เนื้อความแห่งตถาคตศัพท์ ข้าพเจ้าได้จำแนก ไว้แล้ว โดยนัยต่างๆ อย่างพิสดาร ในตถาคตสูตร ในเบื้องหลังไซร้ ถึง อย่างนั้น ในที่นี้ก็จะมีการขยายความให้ชัด โดยมุขคือการพรรณนาเนื้อความ ของพระบาลี ดังต่อไปนี้.

ข้อ ๒ จากความหมายที่ท่านแก้ก็หมายถึงการเข้าไปยึดในขันธ์ ๕

ปล. ที่จริงแล้วผมว่ามันอยู่ที่การตีความของแต่ละบุคคล ผมก็ไม่ได้มุ่งเอาชนะใคร แต่ที่ผมไม่เข้าใจว่า ข้อความที่ ๑๒ ที่ผมส่งไปก็เพราะว่าในข้อความของหนังสือพุทธธรรมหน้านั้นมันชัดเจนและหนังสือพุทธธรรมเชื่อถือของนักวิชาการแม้แต่ของมหาลัยต่างๆ ขัดกับความคิดของท่านอาจารย์เผดิมข้อที่๑ผมเข้าใจว่าท่านเผดิมมีลูกศิษย์เยอะกลัวท่านจะเสียหน้า เลยแจ้งลบไป แต่ท่านกลับเอาความหวังดีของผมขึ้นมาโชว์ ผมรู้ว่าท่านมีปัญญาแต่ไม่รู้ว่าจรรยาบรรณหรือเปล่า

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
paderm
วันที่ 13 ส.ค. 2554

จากพระสูตรที่ยกมานั้น ที่ผมยกขึ้นมาให้พิจารณาในเรื่อง อุปาทานขันธ์ 5 เป็น ทุกขอริยสัจจะ และสภาพธรรมที่เป็นโลกทุกอย่าง ซึ่งก็รวมนามธรรมและรูปธรรมทั้ง หมด รวมลงในอุปาทานขันธฺ 5 และอุปาทานขันธ์ 5 ก็เป็นทุกขอริยสัจจะ เท่ากับว่า เมื่อ รูปทั้งหมด เป็นอุปาทานขันธ์ 5 จากข้อความในโลกสูตร รูปทั้งหมดจึงเป็นทุกขอริยสัจ ด้วยครับ จากข้อความในพระไตรปิฎกลองอ่านอีกครั้งครับ แสดงว่าโลกทั้งหมด รวม รูปธรรมทั้งหมดด้วย สงเคราะห์รวมลงในอุปทานขันธ์ 5 และข้อความก็แสดงต่อว่า อุปาทานขันธ์ 5 ก็เป็นทุกขอริยสัจจะครับ

และก็ควรพิจารณาในเรื่อง กิจของทุกขอริยสัจจะว่า ควรกำหนดรู้ สภาพธรรมใดอะไร บ้างที่ควรกำหนดรู้ที่เป็นทุกขอริยสัจจะ ซึ่งผมได้ยกข้อความในพระไตรปิฎก ว่าธรรมที่ เป็นไปในภูมิ 3 ทั้งหมด เป็นสภาพธรรมที่ครกำหนดรู้ครับ ในความคิดเห็นที่ 14 ครับ ถ้าจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยในสิ่งใดก็ต้องพิจารณาข้อความในพระไตรปิฎกที่ผมยกมา นั้นว่าถูต้องหรือไม่อย่างไร เช่น โลกสูตร ที่อธิบายว่าแสดงว่าโลกทั้งหมด รวมรูปธรรม ทั้งหมดด้วย สงเคราะห์รวมลงในอุปทานขันธ์ 5 และข้อความก็แสดงต่อว่า อุปาทาน ขันธ์ 5 ก็เป็นทุกขอริยสัจจะครับ และเรื่องข้อคามที่ยกมาว่า ธรรที่ควรกำหนดรู้เป็นไป ในสภาพธรรมที่เป็นไปในภูมิ 3 ทังหมด พระไตรปิฎกแสดงอย่างนั้นหรือไม่ครับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔- หน้าที่ 726

อีกอย่างหนึ่ง โลกมีมากอย่าง ด้วยสามารถแห่งขันธโลกเป็นต้น. ถามว่า โลกคืออะไร? คือ ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก วิปัตติภวโลก วิปัตติสัมภวโลก สัมปัตติภวโลก สัมปัตติสัมภวโลก โลก ๑ คือ สัตว์ทั้งมวล ดำรงอยู่ด้วยอาหาร โลก ๒ คือ นาม ๑ รูป ๑ โลก ๓ คือ เวทนา ๓ โลก ๔ คือ อาหาร ๔ โลก ๕ คือ อุปาทานขันธ์ ๕ โลก ๖ คือ อายตนะที่เป็นไป ภายใน ๖ โลก ๗ คือ วิญญาณฐิติ ๗ โลก ๘ คือ โลกธรรม ๘ โลก ๙ คือ สัตตาวาส ๙ โลก ๑๐ คือ อายตนะ ๑๐ โลก ๑๒ คือ อายนะ ๑๒ โลก ๑๘ คือ ธาตุ ๑๘ โลกแม้จำแนกออกไปมากอย่าง ดังที่พรรณนามานี้ย่อมถึงการสงเคราะห์ คือ การรวมลงในอุปาทานขันธ์ ๕ เท่านั้น. และอุปาทานขันธ์ก็เป็นทุกขอริยสัจ คือแม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ ฯลฯ โดยย่นย่อแม้อุปาทานขันธ์ ๕ ก็เป็นทุกข์


และจากข้อความที่ผู้ถาม ยกข้อความในพระไตรปิฎกมาที่ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 727

ถามว่า ก็ความหมายว่าย่อยยับไป หักพังไป ย่อมมีอยู่ในขันธ์ ๕ โดย ไม่แปลกกัน ไม่ใช่หรือ? ตอบว่า มีอยู่จริง แต่สิ่งใดที่ยึดถือไว้ว่า จะไม่ ย่อยยับไป สิ่งนั้นหาเป็นอย่างนั้นไม่ ย่อมย่อยยับหักพังไป โดยส่วนเดียวเท่านั้น เพราะฉะนั้น สภาพนั้นจึงชื่อว่าโลก. โลกศัพท์ พึงทราบว่า กำหนดลงไป แน่นอนแล้วในอุปาทานขันธ์ทั้งหลายเท่านั้น เพราะเหตุนั้น คำว่า โลก จึงเป็นทุกขสัจเท่านั้น. แม้ผิว่า เนื้อความแห่งตถาคตศัพท์ ข้าพเจ้าได้จำแนก ไว้แล้ว โดยนัยต่างๆ อย่างพิสดาร ในตถาคตสูตร ในเบื้องหลังไซร้ ถึง อย่างนั้น ในที่นี้ก็จะมีการขยายความให้ชัด โดยมุขคือการพรรณนาเนื้อความ ของพระบาลี ดังต่อไปนี้.


จากข้อความที่ผมทำสี และทำแถบสี ได้แสดงให้เห็นถึงความหมายของคำว่าโลก คือ

สภาพธรรมี่แตกดับ คือ เกิดดับ ซึ่งสภาพธรรมที่เกิดดับนั้น เว้นเพียงรูปที่นับเนื่องใน กายหรือไม่ครับ หรือ รูปธรรมภายอกก็เกิดดับด้วยและรูปธรรมภายนอกเป็นโลกไหม อัน นี้เป็นคำถามที่ต้องคิดว่า รูปธรรมภายนอกเป็นโลกไหม ถ้าเป็นโลกด้วย คือ สภาพธรรม ที่แตกดับ เกิดดับด้วย ในอรรถกถาโลกสูตรงจึงแสดงว่า โลกที่กล่าวมาทั้งหมด สงเคราะห์ลงในอุปาทานขันธ์ 5 และคำว่าโลก ก็เป็นทุกขอริยสัจจะ ด้วย ตามข้อความ ในแถบสีเหลืองที่ได้ทำไว้ครับ เพราะฉะนั้นคำว่าโลก จำกัเฉพาะรูปธรรมที่นับเนื่องใน กายหรือไม่ หรือ ว่าคำว่าโลก หมายถึงรูปธรรมที่ไม่นับเนื่องในกายด้วยครับ ตรงนี้จะ ต้องเข้าใจ หาคำตอบให้ชัดเจน ซึ่ง ในข้อความในอรรกถาก็แสดงแล้วว่า โลกมีมาก หลาย อย่าง ทั้ง นามและรูป ขันธโลก ธาตุโลกทุกๆ โลกครับ ดังนั้น เมื่อโลกคือสภาพ ธรรมที่เป็นรูปธรรมภายนอกด้วย รูปธรรมภายนอกก็เป็นทุกขอริยสัจจะด้วยครับ ดังแถบ สีเหลืองได้กล่าวไว้ครับ


ผมขออนุญาตสนทนากับประเด็นเรื่อง คำว่าอุปาทานขันธ์ 5 ว่าคืออะไรก็ไ้ดสนทนากับ วิทยากรของมูลนิธิเพิ่มเติมก็ได้ความเข้าใจตรงกันและขออธิบายดังนี้ครับ

อุปาทานขันธ์ 5

ก็ต้องแยกระหว่่าง อุปาทาน และ ขันธ์ ก่อนครับ อุปาทาน คือ สภาพธรรมที่เป็นความ

ยึดถือ นั่นคือ โลภะและทิฏฐิ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ก่อนครับ..อุปาทาน ๔ เป็นไฉน [วิภังค์]

คือ ยึดถือด้วยความติดข้องและยึดถือด้วยความเห็นผิด แสดงให้เห็นนะครับว่า

อุปาทานจึงหมายถึง ตัวสภาพธรรมที่ยึดถือ แต่ต้องมีสิ่งที่ถูกยึดถือด้วยใช่ไหมครับ

อะไรที่ถูกยึดถือ โลภะยึดถืออะไรบ้างครับ ก็คือ โลกียธรรมทั้งหมด รวมรูปธรรมภายนอก

ด้วย นั่นคือ ขันธ์ 5 นั่นเอง ดังนั้นสภาพธรรมที่ถูกยึดถือ จึงเป็นอุปาทานขันธ์ 5 นั่นเอง

ครับ ดังนั้นเราไม่ไ่ด้ยึดถือด้วยโลภะและทิฏฐิเพียงรูปภายในกายเท่านั้นใช่ไหมครับ

แม้รูปภายนอกก็เป็นที่ตั้งของความยึดถือด้วย ซึ่งวิทยากรมูลนิธิยกตัวอย่างว่า เช่น บ้าน

เราถูกไฟไหม้ เราเดือดร้อนไหมครับ เดือดร้อนเพราะอะไร เพราะโลภะ ที่เป็นอุปาทาน

เข้าไปยึดถือ ยึดถือแม้รูปภายนอก จึงเดือดร้อนเมื่อรูปนั้นแปรปรวนไปครับ เพราะฉะนั้น

เมือเราเข้าใจก่อนเบื้องต้นว่า อุปทาน คือ สภาพธรรมที่ยึดถือ ก็คือโลภะและทิฏฐิ และ

จะต้องมีสภาพธรรมที่ถูกยึดถือด้วย คือ ขันธ์ 5 นั่นเองครับ ก็รวมรูปธรรมภายนอกด้วย

ครับ เพราะฉะนั้นเราก็จะเป็นผู้ตรงว่า เราเอง ยึดถือเฉพาะตา หู จมูก รูปภายในเท่านั้น

หรือ หรือว่ายึดถือ มีอุปทาน ในสภาพธรรมทีเ่ป็นรูปภายนอกด้วยครับ อันนี้ต้องตรงตาม

ความเป็นจริงครับ

ดังนั้นในมหาปเทส 4 จึงไม่ใช่ ยึดว่า หนังสือเล่มใดยอมรับมาก แต่นำความคิดเห็น

นั้นตรวจสอบว่าลงกับธรรมและวินัยของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่เพียงสูตรเดียวนะครับ ให้

สอดคล้องกับ 3 ปิฎก ไม่ขัดแย้งกัน ทั้ง สภาพธรรมที่ควรกำหนดรู้มีอะไรบ้างที่เป็น

ทุกขอริยสัจจะ และสภาพธรรมที่เป็นโลกทั้งหมด รวมลงอยู่ในอุปาทานขันธ์ 5 หรือไม่

ตามข้อความในพระไตรปิฎกที่กล่าวมาครับ รวมทั้งคำว่าอุปาทาน หมายถึงอะไรในพระ

ไตรปิฎกครับ

ส่วนเรื่องจรรยาบรรณ คงเป็นเรื่องเข้าใจผิดนะครับ อันนี้เรียนคุณแสงจันทร์ให้ทราบ

เพราะทางเวปมาสเตอร์โทรมาหาผม เมื่อ 2 วันที่แล้ว ว่า ระบบจะมีปัญหา เพราะจะมี

การย้าย เซิฟเวอร์ไปอีกตัวหนึ่ง ข้อมูลบางอย่างจะหายไป แม้กระทู้ของผมที่ตอบบาง

ข้อก็หายไปในเมื่อวาน และกระทู้ที่ผมตอบกับคุณแสงจันทร์บางความคิดเห็นก็หายไป

ด้วย แต่เวลาผมตอบ ผมจะเซฟของผมไว้ก่อนเสมอในเครื่องผมครับ แต่บางข้อก็ไมได้

เซฟก็ต้องนั่งพิมพ์ใหม่ และตอนนี้ทางเวปมาสเตอร์ก็พยายามกูข้อมูลคืนอยู่ครับ เพราะ

ฉะนั้นช่วงนี้จะมีปัญหา อย่างเช่น บางครั้งที่คุณแสงจันทร์ ตอบแล้วบอกว่า ส่งไมได้

เพราะวันนั้น เมื่อวานซืน ระบบกำลังถ่ายโอนข้อมูลครับ ดังนั้นไม่มีใครลบของคุณแสง

จันทร์หรอกครับ ของผมก็โดนด้วย แต่เป็นเพราะระบบมีการย้ายเซฟเวอร์ อยู่ครับ ซึ่ง

ทางเวปมาสเตอร์ก็บอกผมว่าระวังว่าช่วงนี้เมื่อมีการตอบ ข้อมูลอาจหายไปครับ หวังว่า

คงเข้าใจ นะครับ ทุกคนเข้าใจผิดกันได้ เข้าใจครับ ยังไงก็เป็นกัลยาณมิตรเกื้อกูลกัน

จึงไม่เกี่ยวกับลูกศิษย์หรืออะไรครับ แต่เพื่อให้ถูกต้องตรงตามพระธรรมที่พระพุทธเจ้า

ทรงแสดงสำคัญที่สุดครับ ซึ่งข้อความในอรรถกถาและพระไตรปิฎก็ชัดเจนอยู่แล้ว ไม่

ได้อยู่ที่หนังสือเล่มอื่นชัดเจนครับ ขึ้นอยู่กับพระธรรมที่พระองค์แสดงในพระไตรปิฎก

แสดงว่าอย่างไร ในสูตรต่างๆ ที่สอดคล้องกันครับ ในเรื่องโลกทั้งหมดเป็นอุปาทาน

ขันธ์ 5 และ อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกขอริยสัจจะครับ และข้อความในพระไตรปิฎกก็

ชัดเจนเช่นกันว่า ธรรมที่ควรกำหนดรู้ที่เป็นทุกขอริยสัจจะ คือ สภาพธรรมทั้งหมดที่เป็น

ในภูมิ 3 ในความคิดเห็นที่ 14 ครับ ขออภัยที่ทำให้เข้าใจผิดในเรื่องการลบนะครับ ขอ

อนุโมทนาที่ร่วมสนทนา สาธุครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
แสงจันทร์
วันที่ 13 ส.ค. 2554

จากพระสูตรที่ยกมานั้น ที่ผมยกขึ้นมาให้พิจารณาในเรื่อง
อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกขอริยสัจจะ
และสภาพธรรมที่เป็นโลกทุกอย่าง ซึ่งก็รวมนามธรรมและรูปธรรมทั้งหมด
รวมลงในอุปาทานขันธฺ 5 และอุปาทานขันธ์ 5 ก็เป็นทุกขอริยสัจจะ เท่ากับว่า เมื่อรูปทั้งหมด เป็นอุปาทานขันธ์ 5จากข้อความในโลกสูตร รูปทั้งหมดจึงเป็นทุกขอริยสัจด้วยครับ จากข้อความในพระไตรปิฎกลองอ่านอีกครั้งครับ แสดงว่าโลกทั้งหมด รวมรูปธรรมทั้งหมดด้วย สงเคราะห์รวม

เรียนท่านอาจารย์ที่เคารพครับที่จริงผมเข้าใจที่ท่านอธิบายว่ารูปภายนอก ภายใละเอียด
ฯลฯก็เป็นเหตุที่ตั้งของอุปาทานทั้งนั้นเป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ แต่เจ้าตัวก้อนหินตัวมันเองมันจะกำหนดรู้ตัวมันเองยังไงว่าตัวมันเป็นทุกขสัจจ์ ที่ท่านเจ้าคุณประยุต (พระพรหมคุณาภรณ์) อยากให้เข้าใจง่ายจึงใช้คำว่า ปัญหา คือมันจะเกิดกับสังขารที่มีใจครองหรือทาท่านกล่าวว่าเนื่องด้วยอินทรีย์คือมันเกิดขึ้นในใจของคน และของท่านอาจารย์เผดิมกล่าวว่าก้อนหินเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทานขันธ์๕มันก็ถูก แต่ว่าเจ้าตัวก้อนหินมันไม่มีหัวใจทุกขอริยคือความจริงอันประเสริฐก็ไปปรากฏที่หัวใจของก้อนหินไม่ได้ ก้อนมันมีอุปาทานในตัวมันเองไม่ได้
ฉะนั้นในหนังสือพุทธธรรมจึงกล่าวว่าทุกขสัตว์เกี่ยวเนื่องอินทรีย์พัทธ์ แต่ตัวก้อนหินมันทนอยู่ในรูปร่างเดิมไม่ซึ่งอยู่ในทุกข์ส่วนของไตรลักษณ์
ดังนั้นไม่ควรกล่าวว่าหนังสือพุทธธรรมเขียนผิด แต่เป็นการเข้าใจผิดของผู้อ่านมากกว่า และขอความกรุณาลบข้อความที่๑๒ของผมด้วย

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 22  
 
paderm
วันที่ 13 ส.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 21 ครับ

เราก็ต้องกลับมาที่คำถามที่ว่า รูปภายนอกเป็นที่ตั้งของอุปาทาน คือโลภะได้ใช่ไหม

ครับ อันนี้เราก็เข้าใจตรงกันแล้ว ดังนั้นไม่ได้หมายถึงว่า รูปภายนอกจะต้องรู้ว่าตัวมัน

เองควรกำหนดรู้ เพราะรูปเป็นสภาพธรรมที่ไม่รูอะไรเลแม้รูปภายในก็เป็นสภาพธรรม

ที่ไม่รูอะไรเลยเช่นกัน ดังนั้น ตามที่ผมกล่าวไปแล้วว่า อุปาทาน กับ ขันธ์ 5 แยกกัน

ก่อน เข้าใจเป็นลำดับว่า อุปาทาน คือสภาพธรรมที่เป็นตัวยึดถือ ด้วยโลภะ หรือ ทิฏฐิ

แต่ต้องมีสภาพธรรมที่ถูกยึดถือ นั่นคือขันธ์ 5 ซึ่งรูปภายนอกก็เป็นที่ตั้งของความยึดถือ

ของโลภะได้ แม้รูปภายนอก จะไม่ใช่สภาพธรรมที่กำหนดรู้ตัวมันเองเพราะเป็นรูปธรรม

ไม่รู้อะไร และที่สำคัญที่สุด ถ้าเราจะกล่าวว่าเพราะรูปภายนอกมันไม่รู้ตัวมันเองว่าควร

กำหนดรู้ แม้รูปภายในก็เป็นรูปที่เป็นสภาพธรรมไม่รูอะไรเช่นกับรูปภายนอก ถ้าอย่างนั้น

มันก็ไม่รู้ตัวมันเองว่าควรกำหนดรู้อะไรเช่นกันก็กลายเป็นรูปภายในก็ไม่ใช่ทุกขอริยสัจ

จะ เพราะเหตุผลนี้ครับ แต่ในความเป็นจริงทั้งรูปภายในและภายนอก เป็นสภาพธรรมที่

ควรกำหนดรู้เพราะมีจริง เพราะถ้าไม่รู้ กำหนดรู้รูปภายนอกด้วยอะไร ด้วยปัญญา ถ้าไม่รู้

รูปภายนอก ที่เป็นสภาพธรรมที่ควรกำหนดรู้แล้ว เราก็ยึดถือ โต๊ะ ว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิงใด

ยึดถือรูปภายนอกว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ไม่รู้ว่าเป็นธรรมเพราะไม่กำหนดรู้ด้วยปัญญานั่น

เองครับ ปัญญาที่เป็นการกำหนดรู้จึงไม่ใช่เพียงแค่รูปภายในเท่านั้น รวมรูปภายนอก

ด้วยครับ ดังข้อความในพระไตรปิฎกที่ว่า..อันแสดงถึง สภาพธรรมที่ควรกำหนดรู้ เป็น

สภาพธรรมทั้งหมดที่เป็นไปในภูมิ 3 ครับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔- หน้าที่ 94

บทว่า อปริชาน ได้แก่ไม่กำหนดรู้. จริงอยู่ ผู้ใดกำหนดรู้ธรรม

เป็นไปในภูมิ ๓ ทั้งหมด ผู้นั้นย่อมรู้ด้วยปริญญา ๓ คือด้วยญาตปริญญา

(กำหนดรู้ด้วยการรู้) ๑ ด้วยตีรณปริญญา (กำหนดรู้ด้วยการพิจารณา) ๑

ด้วยปหานปริญญา (กำหนดรู้ด้วยการละเสีย) ๑.

ในปริญญา ๓ นั้น ญาตปริญญาเป็นไฉน. ภิกษุกำหนดรู้นามรูปเป็น

ไปในภูมิ ๓ ทั้งหมด คือรูปมีประเภทเป็นต้นว่า ภูตรูปและปสาทรูปและนาม

มีประเภทเป็นต้นว่า ผัสสะ ว่านี้ รูป รูปมีเท่านี้ ยิ่งไปจากนี้ไม่มี นี้นาม นามมี

เท่านี้ ยิ่งไปจากนี้ไม่มี.

---------------------------------------------------------------

ดังนั้นเบื้องต้นเราจะต้องแยก เข้าใจ คำว่าอุปาทานก่อน และขันธ์ และอุปาทานขันธ์คือ

อะไรครับ อ่านข้อความนี้อีกครั้งครับ

ผมขออนุญาตสนทนากับประเด็นเรื่อง คำว่าอุปาทานขันธ์ 5 ว่าคืออะไรก็ไ้ดสนทนากับ

วิทยากรของมูลนิธิเพิ่มเติมก็ได้ความเข้าใจตรงกันและขออธิบายดังนี้ครับ

อุปาทานขันธ์ 5

ก็ต้องแยกระหว่่าง อุปาทาน และ ขันธ์ ก่อนครับ อุปาทาน คือ สภาพธรรมที่เป็นความ

ยึดถือ นั่นคือ โลภะและทิฏฐิ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ก่อนครับ..อุปาทาน ๔ เป็นไฉน [วิภังค์]

คือ ยึดถือด้วยความติดข้องและยึดถือด้วยความเห็นผิด แสดงให้เห็นนะครับว่า

อุปาทานจึงหมายถึง ตัวสภาพธรรมที่ยึดถือ แต่ต้องมีสิ่งที่ถูกยึดถือด้วยใช่ไหมครับ

อะไรที่ถูกยึดถือ โลภะยึดถืออะไรบ้างครับ ก็คือ โลกียธรรมทั้งหมด รวมรูปธรรมภายนอก

ด้วย นั่นคือ ขันธ์ 5 นั่นเอง ดังนั้นสภาพธรรมที่ถูกยึดถือ จึงเป็นอุปาทานขันธ์ 5 นั่นเอง

ครับ ดังนั้นเราไม่ไ่ด้ยึดถือด้วยโลภะและทิฏฐิเพียงรูปภายในกายเท่านั้นใช่ไหมครับ

แม้รูปภายนอกก็เป็นที่ตั้งของความยึดถือด้วย ซึ่งวิทยากรมูลนิธิยกตัวอย่างว่า เช่น บ้าน

เราถูกไฟไหม้ เราเดือดร้อนไหมครับ เดือดร้อนเพราะอะไร เพราะโลภะ ที่เป็นอุปาทาน

เข้าไปยึดถือ ยึดถือแม้รูปภายนอก จึงเดือดร้อนเมื่อรูปนั้นแปรปรวนไปครับ เพราะฉะนั้น

เมือเราเข้าใจก่อนเบื้องต้นว่า อุปทาน คือ สภาพธรรมที่ยึดถือ ก็คือโลภะและทิฏฐิ และ

จะต้องมีสภาพธรรมที่ถูกยึดถือด้วย คือ ขันธ์ 5 นั่นเองครับ ก็รวมรูปธรรมภายนอกด้วย

ครับ เพราะฉะนั้นเราก็จะเป็นผู้ตรงว่า เราเอง ยึดถือเฉพาะตา หู จมูก รูปภายในเท่านั้น

หรือ หรือว่ายึดถือ มีอุปทาน ในสภาพธรรมทีเ่ป็นรูปภายนอกด้วยครับ อันนี้ต้องตรงตาม

ความเป็นจริงครับ

------------------------------------------------------------------

เป็นเรื่่องสนทนาธรรมเพื่อให้ได้ความเข้าใจถูกครับ ประโยชน์คือตรงนี้ครับ จึงไม่มี

อะไรต้องกังวลครับ เพราะเราหวังประโยชน์เกื้อกูลกันและยึดพระธรรมที่พระพุทธเจ้า

ทรงแสดงเป็นสิ่งสำคัญครับ ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 25  
 
paderm
วันที่ 24 ส.ค. 2554

จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่าทุกข์นี้มีประการต่างๆ เป็นอเนก คือ

ทุกขทุกข์ (ทุกข์เพราะทนได้ยาก)

วิปริณามทุกข์ (ทุกข์เพราะเปลี่ยนแปลง)

สังขารทุกข์ (ทุกข์ของสังขาร)

ปฏิจฉันนทุกข์ (ทุกข์ปกปิด)

อัปปฏิจฉันนทุกข์ (ทุกข์เปิดเผย)

ปริยายทุกข์ (ทุกข์โดยอ้อม)

นิปปริยายทุกข์ (ทุกข์โดยตรง) .

ทุกขทุกข์ คือ ทุกขเวทนาที่เป็นไปทางกายและจิต ชื่อว่า เพราะเป็นทุกข์ทั้ง

โดยสภาวะทั้งโดยชื่อ.

วิปริณามทุกข์ คือ สุขเวทนา เพราะเหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ โดยการเปลี่ยนแปลง.

สังขารทุกข์ คือ อุเบกขาเวทนา และสังขารทั้งหลายที่เหลือเป็นไปในภูมิ ๓

เพราะถูกความเกิดและดับบีบคั้น ก็ความบีบคั้น (ด้วยความเกิดและดับ)

ย่อมมีแม้แก่มรรคและผลทั้งหลายเหมือนกัน เพราะฉะนั้น พึงทราบว่าธรรม

เหล่านั้น ชื่อว่า สังขารทุกข์ ด้วยอรรถว่า นับเนื่องด้วยทุกขสัจจะ.

ปฏิจฉันนทุกข์ คือ ป่วยไข้ทางกายและจิตมีปวดหู ปวดฟัน ความเร่าร้อนเกิดแต่

ราคะ ความเร่าร้อนเกิดแต่โทสะเป็นต้น เพราะต้องถามจึงรู้และเพราะก้าวเข้าไป

แล้วก็ไม่ปรากฏ ท่านเรียกว่า ทุกข์ไม่ปรากฏดังนี้บ้าง

อัปปฏิจฉันนทุกข์ ความป่วยไข้มีการถูกลงกรรมกรณ์ ๓๒ เป็นต้น เป็นสมุฏฐาน

ชื่อพราะไม่ถามก็รู้ได้ และเพราะเข้าถึงแล้วก็ปรากฏ

นิปปริยายทุกข์. คือ ทุกขทุกข์

เว้นทุกขทุกข์ที่เหลือ ชื่อว่า ปริยายทุกข์ เพราะเป็นวัตถุ (ที่อาศัยเกิด) แห่งทุกข์

นั้นๆ .

ในบรรดาทุกข์เหล่านั้น พึงกล่าวทุกขอริยสัจตั้งไว้ใน ๒ บท นี้ คือ

ปริยายทุกข์ และนิปปริยายทุกข์

 
  ความคิดเห็นที่ 26  
 
แสงจันทร์
วันที่ 24 ส.ค. 2554

พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๒ วิภังคปกรณ์ - หน้าที่ 92

๔. สัจจวิภังค์

สุตตันตภาชนีย์

[๑๔๔] อริยสัจ ๔ คือ

๑. ทุกขอริยสัจ

๒. ทุกขสมุทยอริยสัจ

๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ

๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

ทุกขอริยสัจ

[๑๔๕] ในอริยสัจ ๔ นั้น ทุกขอริยสัจ เป็นไฉน

ชาติทุกข์ ชราทุกข์ มรณทุกข์ โสกปริเทวทุกขโทมนัสสอุปายาสทุกข์อัปปิเยหิ

สัมปโยคทุกข์ ปิเยหิวิปปโยคทุกข์ ยัมปิจฉังนลภติตัมปิทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕

เป็นทุกข์

[๑๔๖] ในทุกขอริยสัจนั้น ชาติ เป็นไฉน

ความเกิด ความเกิดพร้อม ความหยั่งลง ความเกิดจำเพาะ ความปรากฏ

แห่งขันธ์ ความได้อายตนะ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันใด นี้เรียกว่า

ชาติ

[๑๔๗] ชรา เป็นไฉน

ความคร่ำคร่า ภาวะที่คร่ำคร่า ความที่ฟันหลุด ความที่ผมหงอก ความที่หนัง

เหี่ยวย่น ความเสื่อมสิ้นแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของ

เหล่าสัตว์นั้นๆ อันใด นี้เรียกว่าชรา

[๑๔๘] มรณะ เป็นไฉน

ความเคลื่อน ภาวะที่เคลื่อน ความทำลาย ความหายไป มฤตยู ความตาย

พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๒ วิภังคปกรณ์ - หน้าที่ 93

ความทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความทิ้งทรากศพไว้ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่

สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันใด นี้เรียกว่า มรณะ

[๑๔๙] โสกะ เป็นไฉน

ความโศกเศร้า กิริยาโศกเศร้า สภาพโศกเศร้า ความแห้งผากภายใน ความ

แห้งกรอบภายใน ความเกรียมใจ ความโทมนัส ลูกศรคือความโศก ของผู้ที่ถูก

กระทบด้วยความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรคความเสื่อมศีล

หรือความเสื่อมทิฏฐิ ของผู้ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง ของผู้ที่ถูกกระทบ

ด้วยเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า โสกะ

[๑๕๐] ปริเทวะ เป็นไฉน

ความร้องไห้ ความคร่ำครวญ กิริยาร้องไห้ กิริยาคร่ำครวญ สภาพร้องไห้

สภาพคร่ำครวญ ความบ่นถึง ความพร่ำเพ้อ ความร่ำไห้ ความพิไรร่ำกิริยาพิไรร่ำ

สภาพพิไรร่ำ ของผู้ที่ถูกกระทบ ด้วยความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความ

เสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิ ของผู้ประกอบด้วยความเสื่อม

อย่างใดอย่างหนึ่ง ของผู้ที่ถูกกระทบด้วยเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า ปริเทวะ

[๑๕๑] ทุกข์ เป็นไฉน

ความไม่สบายกาย ความทุกข์กาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิด

แต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่กายสัมผัสอันใด นี้เรียกว่า ทุกข์

[๑๕๒] โทมนัส เป็นไฉน

ความไม่สบายใจ ความทุกข์ใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่

เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัสอันใด นี้เรียกว่า

โทมนัส

[๑๕๓] อุปายาส เป็นไฉน

ความแค้น ความขุ่นแค้น สภาพแค้น สภาพขุ่นแค้น ของผู้ที่ถูกกระทบด้วย

ความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล หรือ

ความเสื่อมทิฏฐิ ของผู้ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่งของผู้ที่ถูกกระทบด้วย

แห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า อุปายาส

พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๒ วิภังคปกรณ์ - หน้าที่ 94

[๑๕๔] อัปปิเยหิสัมปโยคทุกข์ เป็นไฉน

ความไปร่วม ความมาร่วม ความประชุมร่วม ความอยู่ร่วม กับอารมณ์อันไม่เป็นที่ปรารถนา ไม่เป็นที่รักใคร่ ไม่เป็นที่ชอบใจของเขาในโลก ได้แก่รูป เสียงกลิ่น รส โผฏฐัพพะ หรือกับบุคคลผู้ที่มุ่งก่อความพินาศ มุ่งทำลายประโยชน์ มุ่งทำลายความผาสุก มุ่งทำอันตรายความเกษมจากโยคะของเขานี้เรียกว่า อัปปิเยหิสัมปโยคทุกข์

[๑๕๕] ปิเยหิวิปปโยคทุกข์ เป็นไฉน

ความไม่ไปร่วม ความไม่มาร่วม ความไม่ประชุมร่วม ความไม่อยู่ร่วมกับอารมณ์

อันเป็นที่ปรารถนา เป็นที่รักใคร่ เป็นที่ชอบใจของเขาในโลก ได้แก่รูป เสียง กลิ่น

รส โผฏฐัพพะ หรือกับบุคคลผู้ที่ใคร่แต่ความเจริญ ใคร่แต่ประโยชน์ ใคร่แต่ความสำราญ

ใคร่แต่ความเกษมจากโยคะของเขา ได้แก่มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิงน้องหญิง มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิตนี้เรียกว่า ปิเยหิวิปปโยคทุกข์

[๑๕๖] ยัมปิจฉังนลภติตัมปิทุกข์ เป็นไฉน

ความปรารถนาย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา อย่างนี้ว่าเออหนอ

ขอเราทั้งหลายอย่าได้เป็นผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา หรือความเกิดอย่าได้มาถึงเราทั้งหลายเลยหนา

ข้อนี้ไม่พึงสำเร็จตามความปรารถนา นี้เรียกว่า ยัมปิจฉังนลภติตัมปิทุกข์ประการหนึ่ง

ความปรารถนาย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ฯลฯความปรารถนาย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ผู้มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ฯลฯ ความปรารถนาย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ผู้มีความตายเป็นธรรมดา ฯลฯ

ความปรารถนาย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ผู้มีโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสเป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า เออหนอ ขอเราทั้งหลายอย่าได้เป็นผู้มีโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสเป็นธรรมดา หรือโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสอย่าได้มาถึงเราทั้งหลายเลยหนา

ข้อนี้ไม่พึงสำเร็จตามความปรารถนา นี้เรียกว่า ยัมปิจฉังนลภติตัมปิทุกข์ประการหนึ่ง

[๑๕๗] โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นไฉน

รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์วิญญาณูปาทาน

ขันธ์ เหล่านี้เรียกว่า โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

สภาวธรรมนี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ

 
  ความคิดเห็นที่ 27  
 
แสงจันทร์
วันที่ 25 ส.ค. 2554

สุตตันตปิฎก เล่ม ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ - หน้าที่ 82

ทุกขอริยสัจ

[๑๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน แม้ชาติก็เป็นทุกข์ แม้ชราก็เป็นทุกข์

แม้มรณะก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ก็เป็นทุกข์ ความประจวบ

กับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นไฉน? ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลง เกิด

เกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ

อันนี้เรียกว่า ชาติ ก็ชราเป็นไฉน? ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนัง

ย่นความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้ เรียกว่า ชรา ก็มรณะเป็นไฉน? ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความแตกทำลายความ

พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ - หน้าที่ 83

หายไป มฤตยู ความตาย ความทำกาละ ความทำลายแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งซากศพไว้

ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่า มรณะ

ก็โสกะเป็นไฉน? ความแห้งใจ กิริยาที่แห้งใจ ภาวะของบุคคลผู้แห้งใจ ความผาก ณ ภายใน ความแห้งผาก ณ ภายใน ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรม คือ ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่า โสกะ ก็ปริเทวะเป็นไฉน? ความคร่ำครวญ ความร่ำไร รำพัน กิริยาที่คร่ำครวญ กิริยาที่ร่ำไรรำพัน ภาวะของบุคคลผู้คร่ำครวญ ภาวะของ บุคคลผู้ร่ำไรรำพัน ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่า ปริเทวะ ก็ทุกข์เป็นไฉน? ความลำบากทางกาย ความไม่สำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์ ซึ่งเกิดแต่กายสัมผัส อันนี้เรียกว่า

ทุกข์ ก็โทมนัสเป็นไฉน? ความทุกข์ทางจิต ความไม่สำราญทางจิต ความเสวยอารมณ์อันไม่ดี

ที่เป็นทุกข์ ซึ่งเกิดแต่มโนสัมผัส อันนี้เรียกว่า โทมนัส ก็อุปายาสเป็นไฉน? ความแค้น

ความคับแค้น ภาวะของบุคคลผู้แค้น ภาวะของบุคคลผู้คับแค้น ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความ พิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรม คือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่า อุปายาส

ก็ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน? ความประสบ ความพรั่งพร้อม ความร่วมความระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจหรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูล ปรารถนาความไม่ผาสุก ปรารถนาความไม่เกษมจากโยคะ ซึ่งมีแก่ผู้นั้น อันนี้เรียกว่า ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ก็ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน? ความไม่ประสบ ความไม่ พรั่งพร้อม ความไม่ร่วม ความไม่ระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนาประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูล ปรารถนาความ

ผาสุก ปรารถนาความเกษมจากโยคะ ซึ่งมีแก่ผู้นั้น คือ มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง มิตร อำมาตย์ หรือญาติสาโลหิต อันนี้เรียกว่า ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ก็ปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน? ความปรารถนา ย่อมบังเกิด แก่สัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความเกิดเป็นธรรมดา ขอความ

พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ - หน้าที่ 84

เกิดอย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้น สัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ ความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความเจ็บเป็นธรรมดา ... ความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ ผู้มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสเป็นธรรมดา ขอโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส อย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้น สัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่า ปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ ก็โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ป็นไฉน? อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเหล่านี้เรียกว่า โดยย่อ

อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียก ทุกขอริยสัจ.

 
  ความคิดเห็นที่ 30  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 20 ก.พ. 2562

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ