ทุกกฎ

 
samroang69
วันที่  28 ก.ค. 2554
หมายเลข  18824
อ่าน  3,035

อาบัติทุกกฎเป็นอย่างไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 28 ก.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

การที่พระภิกษุวิ่งด้วยความไม่สำรวม หรือ เดินก้าวยาวๆ ไม่สำรวม อย่างนี้ก็ชื่อว่าไม่สำรวม ไม่ประพฤติเหมาะสมเป็นการคะนองมือ คะนองเท้าได้ ทำในละแวกบ้านที่ชุมชน เป็นอาบัติทุกกฎเพราะเป็นผู้คะนองมือ คะนองเท้าครับ

[๓๙๑] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ คะนองมือ หรือเท้าไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

[๔๐๑] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เดินโคลงกายไปในละแวกบ้านต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.

[๔๐๓] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เดินไกวแขนไปในละแวกบ้านต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.


พระภิกษุการเล่นบอล ยิ่งแล้วใหญ่ครับ พระพุทธเจ้าทรงแสดง การเล่น เช่น หมากรุก หมากเก็บ การเล่นต่างๆ ของพระภิกษุ เป็นการประพฤติอนาจาร ไม่เหมาะสมสามารถปรับอาบัติได้ ในแต่ละข้อ ไม่ว่าจะเป็นการคะนองมือ คะนองเท้า เสียงดัง เป็นต้น ก็ต้องอาบัติทุกกฎได้ครับ แม้การร้องเพลงก็เช่นกัน แม้แต่การสวดเอื้อนยาวๆ คล้ายเพลงขับหรือร้องเพลง ก็ยังเป็นอาบัติครับ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวดพระธรรมด้วยทำนองยาวคล้ายเพลงขับรูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ

ดังนั้น แม้การสวดเอื้อนยาวก็จัดเป็นการ ขับร้อง ร้องเพลงได้ ยังต้องอาบัติทุกกฎ หากร้องเพลงก็ควรต้องอาบัติทุกกฎเช่นกัน เพราะเป็นการขับร้องครับ ข้อความที่แสดงถึง การสวดเอื้อนยาว กับการขับร้องทั่วไปก็จัดเป็นการขับร้องทั้งคู่ครับ

[เล่มที่ 5] พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓- หน้าที่ 214

สองบทว่า ยงฺกิญฺจิ คีต มีความว่า การขับร้องของพวกนักฟ้อน เป็นต้น หรือการขับร้องกีฬาให้สำเร็จประโยชน์ ซึ่งประกอบด้วยการสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย ในเวลาที่พระอริยเจ้าทั้งหลายปรินิพพาน หรือการขับร้องทำนองสวดธรรมสรภัญญะของพวกภิกษุ ผู้ไม่สำรวมก็ตามที ทั้งหมดนี้จัดเป็นการขับร้องทั้งนั้น.

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 29 ก.ค. 2554

ส่วนการขี่จักรยานไม่เหมาะสมกับเพศพระภิกษุเลยครับ เพราะยานของพระภิกษุที่สมควรคือรองเท้า ไม่ใช่จักรยานหรืออื่นๆ ครับ ดังข้อความจากอรรถกถาดังนี้

[เล่มที่ 11] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 208

..ที่ชื่อว่า ยาน ได้แก่ล้อเลื่อน รถ เกวียน รถมีเครื่องประดับ วอ รถเข็น. นี้มิใช่ยานของบรรพชิต. บรรพชิตมียานอย่างเดียวคือ รองเท้า,

ข้อความจากอรรถกถากินททสูตร
บทว่า ยานโท ได้แก่ ยานทั้งหลายมีหัตถิยาน (ยานช้าง) เป็นต้น ก็แต่ว่าในบรรดายานเหล่านั้น ยานช้าง ยานม้าย่อมไม่สมควรแก่สมณะ การให้ไปด้วยรถก็ไม่สมควรเหมือนกัน ยานที่สมควรแก่สมณะก็คือ รองเท้าสำหรับสมณะผู้รักษาอยู่ซึ่งศีลขันธ์

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 29 ก.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การผิดศีลของพระภิกษุ เรียกว่า ต้องอาบัติ คำว่า อาบัติ หมายถึง กิริยาที่ล่วงละเมิดสิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้แล้วมีโทษอยู่เหนือตน เช่น ภิกษุ มีความจงใจฆ่ามนุษย์ให้ตาย ต้องอาบัติปาราชิก ซึ่งเป็นอาบัติที่หนักมาก ขาดจากความเป็นพระภิกษุทันที เป็นต้น หรือ แม้แต่ตัวอย่างที่ได้ยกมาข้างต้น ก็เป็นอาบัติ เช่นเดียวกันแต่เป็นอาบัติเบา ที่สามารถแก้ไขได้
สำหรับ อาบัติทุกกฏ นั้น เป็นอาบัติที่เบา ถึงแม้จะเบาอย่างไร แต่ถ้าไม่กระทำคืน ด้วยการปลงอาบัติตามพระวินัย ก็ย่อมมีโทษอยู่ตราบนั้น ไม่ว่าจะเป็นวิ่งหรือเดินก้าวยาวและเล่นบอลหรือร้องเพลงหรีือขี่จักรยาน เป็นสิ่งที่ไม่สมควรแก่เพศบรรพชิตโดยประการทั้งปวง เพราะเพศบรรพชิตจะต้องเป็นเพศที่ขัดเกลากิเลสเป็นอย่างยิ่ง เมื่อว่าโดยศัพท์แล้ว ทุกกฏ หมายถึง การกระทำไม่ดี การกระทำไม่สมควร การกระทำผิด ตามข้อความที่ว่า
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ ๖๒๒

จริงอยู่ กรรมใด อันบุคคลทำไม่ดี หรือ ทำผิดรูป กรรมนั้น ชื่อว่าทุกกฏ. ก็ทุกกฏนั้นแล ชื่อว่าผิด เพราะเหตุที่ไม่ทำตามประการที่พระศาสดาตรัส ชื่อว่าแย้ง เพราะเป็นไปแย้งกุศล ชื่อว่าพลาด เพราะไม่ย่างขึ้นสู่ข้อปฏิบัติในอริยมรรค.

อาบัติทุกกฏ เป็นอาบัติที่เบา เมื่อต้องเข้าแล้ว ก็สามารถแก้ไขได้ตามพระวินัยด้วยแสดงแสดงอาบัติต่อหน้าพระภิกษุด้วยกัน ด้วยการมีความจริงใจที่จะสำรวมระวังต่อไป แต่ถ้าไม่แก้ไขด้วยการปลงอาบัติ ก็เป็นเครื่องกั้นการบรรลุมรรคผลนิพพานกั้นสุคติภูมิ ด้วย ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 29 ก.ค. 2554

เพศบรรพชิตเป็นเพศที่สูงกว่าคฤหัสถ์ ต้องสำรวมระวัง กาย วาจา และใจ จะไปกระทำอย่างคฤหัสถ์ไม่ได้ แม้แต่ในการฉันอาหาร พูดไปฉันไปก็ไม่ได้เคี้ยวเสียงดังก็ไม่ได้ ดูข่าวสาร หรือ อ่านหนังสือพิมพ์ ดูทีวี ก็ไม่ได้ เพราะเป็นเพศที่ต้องขัดเกลาิกิเลสอย่างยิ่งค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ