โทษของการไม่ปลงอาบัติ

 
JANYAPINPARD
วันที่  20 เม.ย. 2552
หมายเลข  12003
อ่าน  4,705

[เล่มที่ 10] พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 620

วิเคราะห์สังฆาทิเสส

คำว่า สงฺโฆว เทติ ปริวาสํ เป็นอาทิ ท่านกล่าวแล้ว เพื่อแสดงแต่เนื้อความเท่านั้น ไม่เอื้อเฟื้อพยัญชนะ

แม้ในคาถาที่ ๒. ก็ในบทว่า สงฺฆาทิเสโส เป็นอาทินี้ มีเนื้อความดังต่อไปนี้:-

การออกจากอาบัตินั้นใด ของภิกษุผู้ต้องอาบัตินี้แล้วใคร่จะออก สงฆ์ อันภิกษุนั้นพึงปรารถนาในกรรมเบื้องต้นแห่งการออกจากอาบัตินั้น เพื่อประโยชน์แก่การให้ปริวาสและในกรรมที่เหลือจากกรรมเบื้องต้น คือในท่ามกลาง เพื่อประโยชน์แก่การให้มานัตต์ หรือเพื่อประโยชน์แก่การให้มานัตต์กับมูลายปฏิกัสสนะ และในที่สุดเพื่อประโยชน์แก่อัพภาน. ก็ในกรรมทั้งหลายมีปริวาสกรรม เป็นต้นนี้ กรรมแม้อย่างหนึ่ง เว้นสงฆ์เสีย อันใครๆ ไม่อาจทำได้ ฉะนี้แล.

สงฆ์อันภิกษุพึงปรารถนาในกรรมเบื้องต้น และในกรรมที่เหลือแห่งกองอาบัตินั้น เหตุนั้น กองอาบัตินั้น ชื่อว่าสังฆาทิเสส.

วิเคราะห์นิสสัคคีย์

เนื้อความแห่งคาถาที่ ๕ พึงทราบดังนี้:- หลายบทว่า นิสฺสชฺชิตฺวา ย เทเสติ เตเนตํ มีความว่า ความละเมิดนั้น ท่านเรียกนิสสัคคิยะ เพราะต้องสละแล้วจึงแสดง


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 20 เม.ย. 2552

[เล่มที่ 10] พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 622

วิเคราะห์ปาจิตตีย์

เนื้อความคาถาที่ ๖ พึงทราบดังนี้:-

บาทคาถาว่า ปาเตติ กุสลํ ธมฺมํ มีความว่า ความละเมิดนั้นยังกุศลจิต กล่าวคือกุศลธรรมของบุคคลผู้แกล้งต้องให้ตกไป เพราะเหตุนั้นความละเมิดนั้น ชื่อว่ายังจิตให้ตกไป เพราะฉะนั้น ความละเมิดนั้น ชื่อว่า ปาจิตติยะ

ก็ปาจิตติยะ ย่อมยังจิตให้ตกไป ปาจิตติยะนั้น ย่อมผิดต่ออริยมรรคและย่อมเป็นเหตุแห่งความลุ่มหลงแห่งจิต เพราะเหตุนั้น คำว่า ผิดต่ออริยมรรค และคำว่า เป็นเหตุแห่งความลุ่มหลงแห่งจิต ท่านจึงกล่าวแล้ว

วิเคราะห์ปาฏิเทสนียะ

ในปาฏิเทสนียคาถาทั้งหลาย คำว่า ภิกษุเป็นผู้ไม่มีญาติ เป็นอาทิ ท่านกล่าวแล้ว เพื่อแสดงความกระทำความเป็นธรรมที่น่าติ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า แน่ะเธอ ฉันต้องธรรมที่น่าติ. ก็อาบัตินั้น ท่านเรียกว่าปาฏิเทสนียะ เพราะจะต้องแสดงคืน

วิเคราะห์ทุกกฏ

เนื้อความแห่งทุกกฏคาถา พึงทราบดังนี้:-

คำว่า ผิด แย้ง พลาด นี้ทั้งหมด เป็นคำมักเรียก ทุกกฏที่กล่าวไว้ในคำนี้ว่า ยญฺจ ทุกฺกฏํ. จริงอยู่ กรรมใด อันบุคคลทำไม่ดี หรือทำผิดรูป กรรมนั้น ชื่อว่าทุกกฏ. ก็ทุกกฏนั้นแล ชื่อว่าผิด เพราะเหตุที่ไม่ทำตามประการที่พระศาสดาตรัส ชื่อว่าแย้ง เพราะเป็นไปแย้งกุศล ชื่อว่าพลาด เพราะไม่ย่างขึ้นสู่ข้อปฏิบัติในอริยมรรค

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
P.boon
วันที่ 20 ก.ย. 2553

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 29 ส.ค. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chatchai.k
วันที่ 11 ก.ค. 2563

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ