การแสดงธรรมที่เกี่ยวข้องกับอนุปสัมบัน ที่ผิดพระวินัย [มหาวิภังค์]

 
JANYAPINPARD
วันที่  20 เม.ย. 2552
หมายเลข  12004
อ่าน  2,576

พระบัญญัติในพระวินัยมีดังนี้ครับ

[เล่มที่ 3] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้าที่ ๑๘๗

พระอนุบัญญัติ

๕๖. ๗. อนึ่ง ภิกษุใดแสดงธรรมแก่มาตุคามยิ่งกว่า ๕-๖ คำ เว้นไว้ แต่มีบุรุษผู้รู้เดียงสาอยู่ เป็นปาจิตตย์.

สิกขาบทวิภังค์

[๓๐๑] บทว่า อนึ่ง ..ใด ความว่า ผู้ใด คือผู้เช่นใด.

บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. ..นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้ ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่ หญิงมนุษย์ ไม่ใช่หญิงยักษ์ ไม่ใช่หญิงเปรต ไม่ใช่สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย เป็นผู้รู้เดียงสา สามารถทราบถ้อยคำที่เป็น สุภาษิตทุพภาษิต ชั่วหยาบและสุภาพ.

บทว่า ยิ่งกว่า ๕-๖ คำ คือ เกินกว่า ๕-๖ คำ ที่ชื่อว่า ธรรม ได้แก่ถ้อยคำที่เป็นพุทธภาษิต สาวกภาษิต อิสิ ภาษิตเทวตาภาษิต ซึ่งประกอบด้วยอรรถ ประกอบด้วยธรรม.

บทว่า แสดง คือ แสดงโดยบท ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ บท แสดงโดยอักขระ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ อักขระ คำว่า เว้นไว้แต่มีบุรุษผู้รู้เดียงสาอยู่ คือ ยกไว้แต่บุรุษผู้รู้ความอยู่ด้วย


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 20 เม.ย. 2552

[เล่มที่ 4] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ หน้าที่ ๑๕๖

พระบัญญัติ

๕๓.๔. อนึ่ง ภิกษุใดยังอนุปสัมบันให้กล่าวธรรมโดยบทเป็นปาจิตตีย์.

สิกขาบทวิภังค์

[๒๘๕] บทว่า อนึ่ง ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้ . ที่ชื่อว่า อนุปสัมบัน คือ ยกเว้นภิกษุ ภิกษุณี นอกนั้นชื่อว่าอนุปสัมบัน.

[๒๘๖] ที่ชื่อว่า โดยบท ได้แก่ บท อนุบท อนุอักขระ อนุพยัญชนะ. ที่ชื่อว่า บท คือ ขึ้นต้นพร้อมกัน ให้จบลงพร้อมกัน. ที่ชื่อว่า อนุบท คือ ขึ้นต้นต่างกัน ให้จบลงพร้อมกัน. ที่ชื่อว่า อนุอักขระ คือ ภิกษุสอนว่า รูปํ อนิจฺจํ อนุปสัมบัน กล่าวพร้อมกันว่า รู ดังนี้ แล้วหยุด.

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 27 พ.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ