ต้องละจากหมู่ไปสู่ที่สงัด

 
WS202398
วันที่  12 ก.ค. 2554
หมายเลข  18733
อ่าน  1,416

ข้อความจาก อภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉทที่9 เวอร์ชั่นที่ผมมีอยู่

* * * *

อธิบาย องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก ทรงแสดง

วิปัสสนากัมมัฏฐานญาณอันสูงสุด รู้เห็นตามทัสสนะที่เป็นจริง ประดุจดวงอาทิตย์

อุทัย ยังโลกให้สว่างฉะนั้น บรรดาสาวกของพระพุทธองค์ได้น้อมรับฐานที่ตั้งของการ

งานที่ให้เกิดความรู้แจ้งเห็นจริงด้วยประการต่างๆ มาศึกษาปฏิบัติ จนประทับใจมนุษย์

และเทวดาทั้งหลายเป็นอันมาก ยากที่จะหาสิ่งใดมาเปรียบปานได้ สิ่งนั้น คือ วิปัสสนา

กัมมัฏฐาน อันเป็นไปเพื่อความบริสุทธิหมดจดโดยส่วนเดียว ซึ่งเรียกว่า วิสุทธิมัคค

คือทางบริสุทธิ ผู้ใดเดินทางนี้จนถึงที่สุดแล้ว ย่อมบรรลุจุดหมายปลายทาง อมตะมหา

นิพพาน อันเป็นที่บริสุทธิ สิ้นกิเลสและพ้นจากกองทุกข์ทั้งปวงอันคำว่า มัคค หรือทาง

มีความหมาย ๒ อย่าง คือ ปกติมคฺโค ทางปกติได้แก่ ทางน้ำ ทางบก เป็นต้น สำหรับ

คนและสัตว์เดิน และ ปฏิปทามคฺโค ทางปฏิบัติ ได้แก่ บาปบุญที่บุคคลทำ อันเป็นทาง

สำหรับ กาย วาจา ใจ เดินปฏิปทามัคค คือทางปฏิบัตินั้น จำแนกได้เป็นหลายนัย แต่

ในที่นี้ขอจำแนกว่ามี ๕ สาย คือ

๑. ทางสายไปอบายภูม ิ ได้แก่ ความทุสีล หรืออกุสลกรรมบถ ๑๐ มีโลภะ โทสะ โมหะ

เป็นมูล

๒. ทางสายไปมนุษยภูมิ ได้แก่ มนุษย์ธรรม คือ รักษาสีล ๕ สีล ๘หรือ กุสลกรรมบถ ๑๐

๓. ทางสายไปกามาวจรสวรรค์ ได้แก่ มหากุสลจิต ๘ ดวง ที่มีหิริและโอตตัปปะ เป็นหัว หน้า เช่น ให้ทาน ฟังธรรม แสดงธรรม เป็นต้น

๔. ทางสายไปพรหมโลก ได้แก่ การเจริญสมถภาวนาจนเกิดฌาน

๕. ทางสายไปพระนิพพาน ได้แก่ การเจริญวิปัสสนาภาวนา จนบรรลุมรรค ผล นิพพานในทาง ๕ สายนี้ สายที่ ๕ เป็นทางแห่งสันติ เป็นทางที่ให้ถึงซึ่งความบริสุทธิหมดจด

อันเรียกว่า วิสุทธิมัคค ที่จะกล่าวต่อไปนี้ ทางสายที่ ๕ นี้เรียกอีกนัยหนึ่งว่า

เอกายนมรรค เพราะอรรถว่าก. เป็นทางสายเดียว ที่จะให้ถึงความหมดจดได้ ไม่มีทางสายอื่นใดอีกเลยข. เป็นทางไปคนเดียว คือ ต้องละจากหมู่ไปสู่ที่สงัด ปฏิบัติแต่ผู้เดียวใครจะมาช่วยทำให้ไม่ได้ และบรรลุแต่ผู้เดียว จะขอใครให้บรรลุตามไปด้วยไม่ได้ค. เป็นทางที่ผู้เดียวค้นพบ คือ เป็นทางที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบด้วยพระองค์เองแต่ผู้เดียว ไม่ใช่มีใครมาช่วยค้นหาด้วยจึงได้พบง. เป็นทางแห่งเดียว คือ มีอยู่ในพระพุทธศาสนาแต่แห่งเดียวเท่านั้น มิได้มีในศาสนาอื่นใดอีกเลยป.9/น.84จ. เป็นทางไปสู่จุดหมายเดียว คือ ไปสู่พระนิพพานจุดเดียวเท่านั้น ไม่ไปสู่จุดอื่นใดอีกเลย

* * * * * * *

ข้อความข้างต้นถูกต้องหรือไม่ โดยเฉพาะข้อความต่อไปนี้

ข. เป็นทางไปคนเดียว คือ ต้องละจากหมู่ไปสู่ที่สงัด ปฏิบัติแต่ผู้เดียวใครจะมาช่วยทำให้ไม่ได้ และบรรลุแต่ผู้เดียว จะขอใครให้บรรลุตามไปด้วยไม่ได้


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 12 ก.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

จากข้อความทั้ง 5 ข้อ (ข้อ ก ข ค ง จ) ที่ยกมานั้น ก็เกือบตรงกันกับในมหาสติปัฏฐาน

สูตรที่ อธิบาย เอกายนะมรรค หนทาง ที่เป็นสติปัฏฐาน ที่เป็นหนทางเดียว ทางเอก

ไม่ใช่ทางสองแพร่ง สติปัฏฐานเป็นหนทางเดียวที่จะบรรลุธรรมนั่นเองครับ เป็นประการ

ที่หนึ่ง

ประการที่สองคือ อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่า เอกายนะ เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า เป็นทางที่

บุคคล พึงไปผู้เดียว. คำว่า ผู้เดียว คือคนที่ละการคลุกคลีด้วยหมู่ ปลีกตัวไปสงบสงัด.

ประการที่ 3 สติปัฏฐาน เป็นหนทาง เป็นเครื่องไป อธิบายว่า ไปจากสังสารวัฏสู่พระ

นิพพาน.

ประการที่ 4 หนทางไปของบุคคลผู้เป็นเอก ชื่อว่า เอกายนะ. บทว่า เอกสฺส

คือ ของบุคคลผู้ประเสริฐสุดแห่งสรรพสัตว์. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงประเสริฐกว่า

สรรพสัตว์ เพราะฉะนั้น ท่านจึงอธิบายว่า หนทางของพระผู้มีพระภาคเจ้า. แม้สัตว์

เหล่าอื่น ถึงจะเดินไปด้วยหนทางนั้นก็จริง แม้เช่นนั้น หนทางนั้นก็เป็นทางเดินของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น เพราะเป็นทางที่พระองค์ทรงทำให้เกิดขึ้น.

ประการที่ 5 คือ หนทางนี้คือสติปัฏฐาน มีในพระศาสนานี้เท่านั้น หนทางไปในธรรม

วินัยอันเดียว ชื่อว่า เอกายนะ ท่านอธิบายว่า หนทางเป็นไปในธรรมวินัยนี้เท่านั้น ไม่

เป็นไปในธรรมวินัย (ศาสนา) อื่น. เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ (ในมหาปรินิพพานสูตร) ว่า

ดูก่อนสุภัททะ มรรคมีองค์ ๘ ที่เป็นอริยะ บุคคลจะได้ก็แต่ในธรรมวินัยนี้แล ดังนี้.

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 12 ก.ค. 2554

ข้อความข้างต้นถูกต้องหรือไม่ โดยเฉพาะข้อความต่อไปนี้

ข. เป็นทางไปคนเดียว คือ ต้องละจากหมู่ไปสู่ที่สงัด ปฏิบัติแต่ผู้เดียวใครจะมาช่วยทำให้ไม่ได้ และบรรลุแต่ผู้เดียว จะขอใครให้บรรลุตามไปด้วยไม่ได้

--------------------------------------------------------------------------------------- สำหรับประเด็นปัญหาคือ ข้อ 2 ที่ว่าหนทางนี้ เป็นหนทางที่บุคคลพึงไปผู้เดียว

ละการคลุกคลลีด้วยหมู่ แต่ไม่มีข้อความที่ผู้ถาม ถามในข้อ ข ที่ว่า ปฏิบัติแต่ผู้เดียว

ใครจะมาช่วยทำให้ไม่ได้ และบรรลุแต่ผู้เดียว จะขอใครให้บรรลุตามไปด้วยไม่ได้

ข้อความที่ขีดเส้นใต้นี้ ไม่มีแสดงไว้ในพระไตรปิฎกครับ มีแต่แสดงว่า หนทางนี้

เป็นหนทางที่ผู้เดียวพึงไป ผู้เดียวคือ การละคลายความคลุกคลี จากหมู่ ปลีก สงบสงัด

แน่นอนครับว่า ข้อความนี้อาจจะมีทำให้สงสียว่าการเจริญสติปัฏฐาน จะต้องปลีกตัว

ละคลายจากหมุ่คณะหรือไม่ครับ ซึ่งถ้าเราอ่านเพียงข้อความเพียงตรงนี้ ก็อ่านทำให้

เข้าใจผิดได้ว่าการเจริญสติปัฏฐานจะต้องแยกออกไปผู้เดียว แต่พระธรรมที่พระองค์

แสดง แสดงอย่างสูงสุด จนถึงการหลีกออกจากหมู่ด้วยอัธยาศัยที่เป็นอย่างนั้น แต่

ต้องมีความเข้าใจ ในการเจริญสติปัฏฐานด้วย เพราะหากไม่มีปัญญา การอยู่ผู้เดียว

ก็ย่อมคลุกคลีด้วยอกุศล ด้วยความคิดนึกที่เป็นอกุศลก็ได้ เมื่อมากไปด้วยกิเลส ไม่มี

ปัญญา แม้กายจะอยู่ผู้เดียว จะชื่อว่าอยู่ผู้เดียวไม่ได้ครับ เพราะเป็นผู้คลุกคลีด้วย

กิเลสและไม่มีปัญญารู้ตามความเป็นจริงในหนทางการอบรมสติปัฏฐานครับ

การอบรมสติปัฏฐาน คือการรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ ดังนั้นธรรม

จึงไม่ได้มีตอนที่อยู่ผู้เดียว หรือ อยู่ในป่า แต่ขณะนี้ก็มีธรรมเพราะธรรมคือสิ่งที่มีจริง

คือ จิต เจตสิก รูป เช่น เสียง คิดนึก ยิน เห็น เป็นต้นก็มีเป็นธรรมที่มีในชีวิตประจำวัน

ขาดแต่เพียงปัญญาจะไปรู้เท่านั้นครับ ดังนั้นเหตุให้เกิดปัญญา รู้ความจริงในขณะนี้

ที่เป็นสติปัฏฐาน คือ การฟังพระธรรม ศึกษาพระรรมในเรื่องของสภาพธรรมนั่นเองครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 12 ก.ค. 2554

หากเราได้ศึกษาในส่วนของพระไตรปิฎก จะเห็นผู้เป็นคฤหัสถ์ท่านเจริญสติปัฏฐาน

ในชีวิตประจำวันโดยไม่ได้ แยกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ไปป่าเลยครับ ท่านอนาถ นาง

วิสาขา ท่านก็บรรลุ เป็นพระโสดาบัน โดยไมได้หลีกเล้น แต่เพราะฟังพระรรมแล้วก็

บรรลุครับ ท่านสันตติมหาอำมาตย์ ก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ท่ามกลางผู้คนมากมายได้

นั่นแสดงว่า สถานที่ ไมได้ห้ามการเกิดขึ้นของปัญญาเลยครับ ดังนั้นที่แสดงในเรื่อง

หนทางนี้ เป็นหนทางของผู้ไปผู้เดียว คือ หลีกออกจากหมู่ นั่นแสดงโดยนัยสูงสุด

ของบุคคลผู้มีอัธยาศัยในการหลีกออกจากหมู่และเป็นผู้เดียว และที่สำคัญมีความ

เข้าใจในการอบรมปัญญาสติปัฏฐานแล้วครับ

ที่สำคัญที่สุดครับ เรื่อง การเป็นผู้มีปกติอยู่ผู้เดียว อีกนัยหนึ่งพระองค์แสดงว่า การ

ที่บุคคลเห็นรูป ด้วยตา ได้ยินเสียง ด้วย หู แล้วไม่เพลิดเพลิน ติดข้อง ขณะนั้นชื่อว่า

เป็นผู้มีปกติอยู่ผู้เดียว เพราะผู้เดียวที่ไม่มีอกุศลเป็นเพื่อนสองนั่นเองครับ การเจริญ

สติปัฏฐาน จึงเป็นหนทางของ ผู้มีปกติผู้เดียว เพราะรู้ความจริงของธรรมในขณะนั้น

ทาง ตา หู...ใจ ก็ไม่เพลิดเพลินและติดข้อง พราะรู้ความจริง เป็นกุศลที่ประกอบด้วย

ปัญญา จึงเป็นผู้มีปกติอยู่ผู้เดียวในขณะนั้นครับ ขออนุโมทนา

เชิญคลิกอ่านเรื่องเป็นผู้มีปกติอยู่ผู้เดียวครับ เป็นประโยชน์มาก

มีปกติอยู่ผู้เดียว [ปฐมมิคชาลสูตร]

ผู้มีปกติอยู่ผู้เดียว [เถรนามสูตร]

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
WS202398
วันที่ 13 ก.ค. 2554

เนื่องจากธรรมะมีนัยต่างๆ ทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด ด้วยเหตุนี้ใช่หรือไม่ครับ

อย่างที่ผมเป็นอยู่นี้ ทำให้เข้าใจคลาดเคลื่อน ในอรรถพยัญชนะ ถ้าผมไม่ได้ศึกษามา

บ้างเลยถ้าอ่านข้อความตรงนี้แล้ว หนีไปบวชเข้าป่าไปเลยแบบนี้ก็คงแย่สิครับ ลักษณะ

นี้เป็นลักษณะที่ท่านเปรียบจับงูที่หางใช่หรือไม่ครับ

มาถึงตรงนี้ผมอดเห็นใจผู้ที่ได้อ่านได้ฟังได้ศึกษามาน้อยครับ ซึ่งทำให้มีข้อมูลเปรียบ

เทียบสอบทานน้อย เป็นไปได้มากที่จะเข้าใจผิด

บางทีหนังสือธรรมะตามท้องตลาด ก็มีทั้งตรงมาก ตรงน้อย

มีหนังสือเล่มหนึ่งเขาอีเมล์ต่อๆ กันมาในข้อความบางส่วน กล่าวถึง ว่าการให้ทานโดย

หวังผลเป็นการเพิ่มพูนกิเลส ลงทุนมากได้ผลน้อย สู้ศีล สู้ภาวนา ไม่ได้เพราะมีผล

มากกว่า ไม่ต้องให้ทุนทรัพย์ อ่านดูก็เข้าทีดีครับ แต่มีข้อความหนึ่งว่า "สิ่งที่เห็นนั้นจริง

สิ่งที่ถูกเห็นนั้นไม่จริง" ถ้าจะตีความว่า สิ่งที่เห็นคือสิ่งที่กำลังปรากฏเป็นสิ่งที่มีจริง ก็

น่าจะถูก ส่วนที่ว่าสิ่งที่ถูกเห็นนั้นไม่จริงนั้น สิ่งที่ถูกเห็นคืออารมณ์คือนามรูป ข้อนี้น่าจะ

ผิดเพราะนามรูปก็เป็นสิ่งที่ีมีจริงเช่นกัน และสิ่งที่เห็นและสิ่งที่ถูกเห็นต่างก็ไม่จริงในแง่

ไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตาเช่นกัน

ท่านผู้สนใจมีความเห็นเช่นใดกับข้อความต่อไปนี้่ครับ

"สิ่งที่เห็นนั้นจริง สิ่งที่ถูกเห็นนั้นไม่จริง"

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
paderm
วันที่ 13 ก.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 4 ครับ จากคำถามที่่ว่า

เนื่องจากธรรมะมีนัยต่างๆ ทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด ด้วยเหตุนี้ใช่หรือไม่ครับ

อย่างที่ผมเป็นอยู่นี้ ทำให้เข้าใจคลาดเคลื่อน ในอรรถพยัญชนะ ถ้าผมไม่ได้ศึกษามา

บ้างเลยถ้าอ่านข้อความตรงนี้แล้ว หนีไปบวชเข้าป่าไปเลยแบบนี้ก็คงแย่สิครับ ลักษณะ

นี้เป็นลักษณะที่ท่านเปรียบจับงูที่หางใช่หรือไม่ครับ

------------------------------------------------------------------

การศึกษาพระธรรม เป็นเรื่องละเอียด เพราะเป็พระปัญญาคุณของพระพุทธเจ้า

ดังนั้นการศึกษาธรรมจึงต้องอ่านโดยสอดคล้องกันทั้ง 3 ปิฎก โดยกว้างขวางครับ

เพราะถ้าอ่านเพียงข้อความเดียว และก็สรุปเอาแล้ว ตามความเข้าใจเดิมของตน แต่

ไม่สอดคล้องกับพระธรรม ส่วนอื่นๆ ก็ทำให้เป็นผู้เข้าใจผิดไปได้ ดังเช่น ในเรื่อง ข้อ

ความที่ เป็นผู้ๆ เดียว หลีกออกจากหมู่จึงจะเจริญสติปัฏฐานได้ ก็เท่ากับว่าผู้ที่จะเจริญ

สติปัฏฐาน ต้องไปอยู่ที่เงียบๆ คนเดียว ซึ่งนั่นไม่ใช่หนทางในกรอบรมปัญญา หรือ ต้อง

เข้าป่าไปตามที่ผู้ถาม แสดงความคิดเห็นครับ นั่นก็แสดงถึงการศึกษาโดยไม่ละเอียด

รอบคอบ ย่อมเป็นโทษกับผู้ศึกษาเพราะทำให้เกดิความเข้าใจผิด เห็นผิดได้ อันเป็น

เครื่องกั้นสวรรค์และมรรคผล นิพพานครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
paderm
วันที่ 13 ก.ค. 2554

และจากคำถามที่ว่า มีหนังสือเล่มหนึ่งเขาอีเมล์ต่อๆ กันมาในข้อความบางส่วน กล่าวถึง ว่าการให้ทาน

โดยหวังผลเป็นการเพิ่มพูนกิเลส ลงทุนมากได้ผลน้อย สู้ศีล สู้ภาวนา ไม่ได้เพราะมี

ผลมากกว่าไม่ต้องให้ทุนทรัพย์ อ่านดูก็เข้าทีดีครับ แต่มีข้อความหนึ่งว่า "สิ่งที่เห็นนั้น

จริง สิ่งที่ถูกเห็นนั้นไม่จริง" ถ้าจะตีความว่า สิ่งที่เห็นคือสิ่งที่กำลังปรากฏเป็นสิ่งที่มี

จริง ก็น่าจะถูก ส่วนที่ว่าสิ่งที่ถูกเห็นนั้นไม่จริงนั้น สิ่งที่ถูกเห็นคืออารมณ์คือ นามรูป

ข้อนี้น่าจะผิดเพราะนามรูปก็เป็นสิ่งที่ีมีจริงเช่นกัน และสิ่งที่เห็นและสิ่งที่ถูกเห็นต่างก็

ไม่จริงในแง่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็น อนัตตาเช่นกันท่านผู้สนใจมีความเห็นเช่นใดกับข้อ

ความต่อไปนี้่ครับ"สิ่งที่เห็นนั้นจริง สิ่งที่ถูกเห็นนั้นไม่จริง"

------------------------------------------------------------------------------------

ข้อความเรื่องทาน จริงๆ แล้วกุศลควรเจริญทุกๆ ประการ เพราะขณะที่ไม่เป็นกุศล

ส่วนใหญ่ก็เป็นอกุศล ดังนั้นที่กล่าวว่ามีผลน้อย ควรทำศีลและภาวนาดีกว่า ไม่ต้อง

เสียทรัพย์ นั่นแสดงให้เห็นว่าก็มีโลภะ ต้องการผล ต้องการอานิสงส์ของบุญที่มีมาก

กว่านั่นเองครับ นั่นก็เท่ากับว่า ถูกโลภะหลอก และก็ไม่ตรงอีกเช่นกันครับ

ส่วนประเด็นในเรื่อง "สิ่งที่เห็นนั้นจริง สิ่งที่ถูกเห็นนั้นไม่จริง"

สิ่งที่มีจริง คือ สภาพธรรมที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม นั่นคือ จิต เจตสิกและรูป

เป็นสิ่งที่มีจริงเพราะมีลักษณะให้รู้ได้ครับ เห็นเป็นธรรม เป็นจิต เป็นสิ่งที่มีจริงเพราะ

มีลักษณะให้รู้ แต่เมื่อเห็นแล้วต้องมีสิ่งที่ถูกเห็น จิตเห็น ต้องเห็น สิ่งที่ปรากฎทางตา

หรือ สี สภาพธรรมก็คือ รูปธรรมก็เป็นสิ่งที่มีจริงเช่นกันเพราะเป็นสภาพธรรม มีลักษณะ

ให้รู้ เห็นก็มีจริง เป็นจิต เป็นธรรม สิ่งที่ถูกเห็น ก็มีจริงเป็น สิ่งที่ปรากฎทางตา เป็นสี

เป็นรูปธรรมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
paderm
วันที่ 13 ก.ค. 2554

ดังนั้นคำว่า "สิ่งที่เห็นนั้นจริง สิ่งที่ถูกเห็นนั้นไม่จริง" จึงไม่ถูกต้องครับ ซึ่งสิ่งที่ไม่

จริง คือ ไม่มีลักษณะให้รู้ คือ บัญญัติ เรื่องราวที่เป็นสิ่งต่างๆ เป็นสัตว์ บุคคล เป็นสิ่ง

ต่างๆ อันเกิดจากการคิดนึก หลังจากเห็นแล้วครับ ตรงนี้ต่างหากที่ไม่จริง แต่ขณะ

ที่เห็น สิ่งที่ถูกเห็นเป็นปรมัตถธรรม คือ สี ที่เป็นรูปธรรม มีจริง แต่เมื่อเห็นแล้ว จิตคิด

นึกต่อ จิตที่คิดมีจริง แต่เรื่องที่คิด เป็นสัตว์ บุคคลไม่มีจริงครับ เป็นบัญญัติไม่มี

ลักษณะให้รู้ครับ เพราะฉะนั้น จิตเห็นมีอารมณ์เป็นปรมัตถธรรมเท่านั้น มีอารมณ์คือ

สิ่งที่มีจริงทีเ่ป็นรูปธรรม คือ สีครับ

ดังนั้นในยุคปัจจุบัน พระธรรมก็ย่อมเสื่อมไปตามความเข้าใจและปัญญาของสัตว์

โลกที่มีน้อยและมีกิเลสมาก จึงมีปรากฎ สัทธรรมปฏิรูป คือ ธรรมที่ไม่ถูกต้อง ไม่ใช่

ของจริง ก็ทำให้พระธรรมคลาดเคลื่อนและค่อยๆ อันตรธานไปเพราะมีความเข้าใจผิด

และยึดถือธรรมที่ผิด จากหนังสือหรือแนวคิดของบุคคลอื่นที่ผิดครับ ผู้ศึกษาพระธรรม

จึงต้องเป็นผู้ละเอียดครับ ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนาธรรมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
WS202398
วันที่ 13 ก.ค. 2554

ขอขอบคุณขออนุโมทนากับคำตอบครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
khampan.a
วันที่ 13 ก.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ความเข้าใจธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเท่านั้น ที่จะเป็นสาระเป็นประโยชน์ที่แท้จริงสำหรับชีวิต เพราะแต่ะละคนก็เป็นแต่ละหนึ่ง ไม่เหมือนกันเลย ซึ่งก็ไม่พ้นไปจากสภาพธรรมที่เกิดขึ้นเป็นไป ทั้งนามธรรมและรูปธรรม การอบรมเจริญปัญญาจึงเป็นเรื่องของบุคคลที่เห็นประโยชน์ของความเข้าใจธรรมซึ่งเป็นสิ่งที่มีจริงในชีวิตประจำวัน เป็นการดำเนินไปตามหนทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ หนทางที่จะรู้ความจริง ต้องเริ่มที่การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมให้เข้าใจ ไม่ใช่ว่าพบข้อความใด แล้วจะทำตามอย่างนั้นเลย เป็นไปไม่ได้ เพราะธรรม เป็นอนัตตา ไม่ใช่เรื่องทำแต่เป็นสิ่งที่ควรศึกษาให้เข้าใจ เมื่อเข้าใจแล้วก็จะเป็นปัจจัยให้สภาพธรรมฝ่ายดีเกิดขึ้นทำกิจหน้าที โดยไม่มีตัวตนที่ไปทำอะไรที่ผิดปกติ เลย แม้แต่การหลีกออกจากหมู่ไปสู่ที่สงัด ก็เช่นเดียวกัน ควรที่จะได้พิจารณาว่า ไม่ได้ขึ้นอยู่กับสถานที่ แต่ขึ้นอยู่กับสภาพจิตเป็นสำคัญ ถ้ากุศลจิตเกิด จะอยู่ที่ใด ที่นั่นก็สงัด เช่น ขณะที่นั่งฟังพระธรรมอยู่ที่บ้านมีความเข้าใจที่ถูกต้อง ขณะนั้นก็สงัดจากอกุศล ชั่วขณะที่กุศลจิตเกิดขึ้น เป็นต้น สงัดในที่นี้ หมายถึง สงัดจากอกุศล โดยที่ไม่มีตัวตนที่จะไปหา หรือ ไปเจาะจงว่า ที่ไหนเป็นที่ที่ควรแก่การให้กุศลจิตเกิดเพื่อจะได้สงัดจากอกุศล เพราะแต่ละคนก็เป็นแต่ละหนึ่ง มีอัธยาศัยสะสมมาแตกต่างกัน แต่เพราะปัญญาและกุศลธรรมประการต่างๆ เกิดขึ้นเป็นไป จึงมีการน้อมไปในทางที่เป็นกุศลยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นที่ใดก็ตาม แต่ถ้าเป็นนัยตรงกันข้าม ถ้าอยู่ในสถานที่ที่สมมติกันว่าเป็นสถานที่เงียบสงบ แต่จิตเป็นอกุศล มีความติดข้องต้องการ หรือ หนักไปกว่านั้น คือ มีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วย ขณะนั้น ก็ไม่สงัด เพราะจิตเป็นอกุศล ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
พรรณี
วันที่ 15 ก.ค. 2554

ขออนุโมทนาในกุศลจิตค่ะ

อ่านแล้วทำให้เข้าใจถึงความหมายว่า

การเป็นผู้มีปกติอยู่เพียงผู้เดียว หมายถึงอย่างไร ขอบคุณมากค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
pat_jesty
วันที่ 17 ก.ค. 2554

สงัดในที่นี้ หมายถึง สงัดจากอกุศล

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ