สติปัฏฐาน ๔

 
samroang69
วันที่  5 ก.ค. 2554
หมายเลข  18682
อ่าน  1,472

ขอรบกวนถามท่านผู้รู้สักหน่อยครับเรื่องสติปัฏฐาน ว่าเราควรที่จะระลึกรู้อะไรก่อนครับใน

กาย เวทนา จิต ธรรม แล้วเป็นไปได้ไหมที่จะรู้กายเวทนาจิตธรรมพร้อมกัน และการที่ระลึก

รู้รูปกับนามเหมือนกันหรือป่าวครับ แล้วเพราะเหตุใดเราจึงรู้ไม่ทันคือมักจะหลงลืมสติชอบ

คิดเรื่องนั้นเรื่องนี้แล้วก็ไม่รู้ตัวว่าคิดอยู่นั้นเป็นความคิด เพราะแต่ละขณะจิตที่เกิดดับอยู่

นั้นเกิดขึ้นเร็วมาก แล้วเราจะทำอย่างไรจึงจะมีความรู้เท่าทันปัจจุบันได้ครับ และพอเราจะ

พยายามจะรู้อยู่ทุกขณะก็ยังเพอไปได้ครับ เราควรที่จะเพียรระลึกรู้อย่างไรดีครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 5 ก.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัยจากคำถามที่ว่า เราควรที่จะระลึกรู้อะไรก่อนครับใน กาย เวทนา จิต ธรรม แล้วเป็นไปได้ไหมที่จะรู้

กายเวทนาจิตธรรมพร้อมกัน

ควรเข้าใจเบื้องต้นพื้นฐานก่อนครับว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา คือ บังคับบัญชา

ไมได้ แล้วแต่เหตุปัจจัยของสภาพธรรม ไม่มีเรา ไม่มีสัตว์ บุคลมีแต่ธรรม จึงไม่มีเราที่

จะบังคับสภาพธรรมได้ครับ สติและปัญญาก็เป็นธรรมเช่นกันครับ เพราะฉะนั้น สติและ

ปัญญาจึงเป็นอนัตตาด้วย คือ ไม่สามารถบังคับบัญชาได้ อย่างอกุศล มีโลภะ เป็นต้น

เมื่อมีเหตุปัจจัยก็เกิดขึ้น และเกิดขึ้นติดข้องในสิ่งใด สิ่งหนึ่งซึ่งก่อนจะเกิดก็ไม่รู้เลยว่า

จะติดข้องสิ่งนี้ แต่เมื่อเกิดก็เกิดติดข้อง นี่แสดงถึงโลภะเป็อนัตตา และไม่รู้ว่าจะติด

ข้องอะไรในเวลาข้างหน้า สติและปัญญาก็เช่นกัน สติปัฏฐานก็คือสติที่ระลึกลักษณะ

ของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ ซึ่งก็ไม่พ้นจากหมวด 4 คือ กาย เวทนา จิต ธรรม

เพราะเป็นสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้นั่นเอง ดังนั้นเมื่อสติปัฏฐาน คือ สติและปัญญา

เป็นอนัตตาแล้ว คือ บังคับให้สติและปัญญาเกิดตามใจชอบไม่ได้ ต้องมีเหตุปัจจัย คือ

สภาพธรรมที่เป็นสติและปัญญาเกิดพร้อมเมือ่ไหร่ สติและปัญญาก็เกิดรู้และเกิดตอน

นั้นครับ นี่คือความเป็นอนัตตา ของสติและปัญญาที่จะเกิดขึ้น และเมื่อสติและปัญญา

เกิดแล้ว ก้ต้องมีสิ่งที่สติ จะระลึก และมีสิ่งที่ปัญญารู้ รู้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา นั่นคือตัว

ธรรมที่มีจริงในขณะนี้ หรือ ในหมวด 4 ของสติปัฏฐาน สิ่งที่สติและปัญญารู้ ก็แล้วแต่

สติและปัญญาเช่นกัน ที่จะรู้อะไร เพราะธรรมเป็นอนัตตา บางครั้งสติก็เกิดระลึกสภาพ

ธรรมที่แข็ง ก็เป็น หมวด กายานุปัสสนา หรือ รู้ เสียง ก็เป็นธัมมานุปัสสนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 5 ก.ค. 2554

จะเห็นว่า ไม่มีตัวเราจะไปเลือก หากเลือกได้ นั่นก็ไม่ใช่สติเพราะขณะนั้น เป็นความ

ต้องการ จดจ้องที่จะเลือกรู้สภาพธรรมนั้นครับ ไม่ใช่สติปัฏฐาน เพราะฉะนั้นจึงเป็น

เรื่องของหน้าที่ธรรมไม่ใช่เรา หน้าที่ของสติและปัญญา ว่าจะรู้ความจริงของสภาพ

ธรรมอะไร ก็ไม่พ้นจากหมวด 4 และสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ครับ ดังนั้นจึงไม่มีการ

ที่จะเลือกรู้อะไรก่อนครับ แล้วแต่สติและปัญญาจะเกิดระลึกรู้อะไรครับ ถ้าเลือกก็มีเรา

และเป็นโลภะ ต้องการที่จะเลือกครับ

-------------------------------------------------------------

จากคำถามที่ว่า......เป็นไปได้ไหมที่จะรู้กายเวทนาจิตธรรมพร้อมกัน

จิตเมื่อเกิดขึ้น ย่อมรู้อารมณ์ทีละอย่าง เช่น เห็นเกิดขึ้นก็ต้องรู้สี จะรู้เสียง จะได้

กลิ่นพร้อมกันกับการเห็นไม่ได้ครับ สติและปัญญาที่เกิดก็ต้องมีสิ่งที่ปัญญารู้เพียง

อย่างเดียวในขณะนั้น เช่น สติระลึกรู้เสียง ก็รู้เพียงเสียงเท่านั้น ไม่รู้แข็งครับ ดังนั้น

ก็รู้ทีละสภาพธรรมไม่พร้อมกัน ที่สำคัญขณะที่สติระลึกไม่ได้ใส่ชื่อว่า กำลังระลึกที่

หมวดไหน แต่มีเพียงลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฎเท่านั้นครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 5 ก.ค. 2554

จากคำถามที่ว่า..การที่ระลึกรู้รูปกับนามเหมือนกันหรือป่าวครับ

การระลึกรู้รูป รูปก็เป็นสภาพธรรม การระลึกรู้นาม นามก็เป็นสภาพธรรมเช่นเดียว

กับรูป ดังนั้นความเหมือนกันคือ รู้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เราทั้งสองอย่าง เพราะมีลักษณะ

ให้รู้เหมือนกัน ที่สำคัญขณะที่ระลึกรู้รูป หรือ นาม ขณะนั้นไม่มีสัตว์ บุคคล มีแต่เพียง

ลักษณะของสภาพธรรมครับ ดังนั้นเหมือนกันตรงที่เป็นสภาพธรรมที่มีจริงเหมือนกัน

แต่เมื่อปัญญาคมกล้ามากขึ้น ย่อมเห็นความต่างของลักษณะของรูปและนามที่ต่างกัน

ในขณะที่สติระลึกครับ

----------------------------------------------------------------

จากคำถามที่ว่า..เพราะเหตุใดเราจึงรู้ไม่ทันคือมักจะหลงลืมสติชอบคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้

แล้วก็ไม่รู้ตัวว่าคิดอยู่นั้นเป็นความคิด เพราะแต่ละขณะจิตที่เกิดดับอยู่นั้นเกิดขึ้นเร็ว

มาก แล้วเราจะทำอย่างไรจึงจะมีความรู้เท่าทันปัจจุบันได้ครับ และพอเราจะพยายาม

จะรู้อยู่ทุกขณะก็ยังพอไปได้ครับ เราควรที่จะเพียรระลึกรู้อย่างไรดีครับ

การที่สติระลึกลักษณะของสภาพธรรมไม่ทันเพราะปัญญายังไม่พอ เพราะสภาพธรรม

เกิดดับเร็วมาก สะสมความไม่รู้มามาก จะให้รู้ทันที เพียงฟังไม่นาน ไม่เท่าไหร่ จะให้รู้

ทันทีไม่ได้ครับ เพราะสะสมอวิชชาความไม่รู้มานานแสนนาน รวมทั้ง ปัญญาก็มีน้อย

จึงไม่สามารถที่จะรู้ความจริงของสภาพธรรมที่ปรากฎในขณะนี้ได้ครับ

--------------------------------------------------------------------

คำถามต่อไปว่า......จะต้องทำอย่างไรถึงจะรู้ทัน

คำตอบคือ ถ้าจะทำก็ถูกโลภะความต้องการที่จะทำ ที่อยากจะรู้อีกแล้วครับ ต้องไม่

ลืมว่า ปัญญายังน้อย สำคัญคือ ฟังพระธรรมต่อไป และไม่ต้องมีเรา ตัวเราไปจัดการ

ไปพยายามระลึก จะให้สติเกิด เพราะทุกอย่างเป็นหน้าที่ของธรรม เพราะถ้าเราถูก

โลภะหลอก ก็จะหาวิธี จะพยายามทำให้สติตามทัน ให้รู้ทันให้สติเกิด ก็เป็นเรื่องของ

ความต้องการทั้งสิ้นครับ ละความต้องการ อันเป็นหนทางที่ถูกด้วยการเข้าใจว่าเป็น

หน้าที่ของธรรม ที่จะค่อยๆ รู้ โดยอาศัยการฟังพระธรรมไปเรื่อยๆ เมือ่ไหร่ก็เมื่อนั้นครับ

รู้ก็รู้ ไม่รู้ก็ไม่รู้ แต่พยายามที่จะรู้ ก็ไม่รู้อยู่ดีครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 5 ก.ค. 2554

ขอแนะนำอีกอย่างครับ สติปัฏฐานไม่ใช่การตามรู้ โดยการคิดว่านี้เป็นธรรมครับ

แต่ต้องเป็นสติที่รู้ตรงลักษณะโดยไม่ใช่การคิด ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากมากๆ ในการที่

สติปัฏฐานจะเกิด เพราะฉะนั้น ขณะนี้แนะนำให้ฟังพระธรรมต่อไป ไม่ต้องทำอะไร

ที่จะให้สติเกิด ไม่ต้องเพียร เพราะธรรมทำหน้าที่เพียรอยู่แล้ว ควรอบรมเหตุคือการฟัง

พระธรรมไปเรื่อยๆ และสติ ปัญญาจะเกิดขึ้นเอง เบาเมื่อไม่ต้องทำ เบาด้วpความเข้าใจ

ว่าเป็นหน้าที่ของธรรม เบาเพราะความเข้าใจพระธรรมครับ ขออนุโมทนา

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 6 ก.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
khampan.a
วันที่ 6 ก.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น สติปัฏฐาน เป็นพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง เป็นหนทางที่เป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์หมดจดของสัตว์ทั้งหลาย ดังนั้น จะขาดปัญญาที่เป็นสภาพธรรมที่เข้าใจถูก เห็นถูก ไม่ได้เลยทีเดียว เพราะเรื่องเจริญสติปัฏฐาน เป็นเรื่องของปัญญาที่เข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง และสติเกิดขึ้นระลึกรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมในขณะนี้ สภาพธรรมที่เป็นอารมณ์หรือเป็นที่ตั้งของสติ ซึ่งเป็นปรมัตถธรรมมีลักษณะให้รู้ได้ นี้ เป็นสติปัฏฐาน สติที่ระลึกรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรม ก็เป็นสติปัฏฐาน ด้วย

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสติปัฏฐานไว้ ๔ ประการ คือหมวดของกาย หมวดของเวทนา หมวดของจิต และหมวดของธรรม ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่มีจริงทั้งหมด กล่าวคือ ขณะใดที่สติเกิดขึ้น ระลึกรู้ลักษณะของรูปที่กาย ขณะนั้นเป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ขณะใดที่สติเกิดขึ้น ระลึกรู้ลักษณะของความรู้สึก (เวทนา) ที่กำลังปรากฏขณะนั้นเป็นเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ขณะใดที่สติเกิดขึ้น ระลึกรู้ลักษณะของจิต

ประเภทต่างๆ ขณะนั้นเป็นจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน และขณะใดที่สติเกิดขึ้น ระลึกรู้ลักษณะของรูปธรรมหรือนามธรรมอื่นๆ ขณะนั้นเป็นธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ไม่ใช่-เพียงประการเดียวเท่านั้น การเจริญสติปัฏฐานไม่ใช่เรื่องง่ายเลย [ไม่ใช่เรื่องทำ] แต่ว่าเป็นเรื่องที่จะต้องอาศัยการฟังในสิ่งที่มีจริงเนืองๆ บ่อยๆ ไม่ขาดการฟังพระธรรม เพราะการฟังพระธรรมบ่อยๆ เนืองๆ มีความเข้าใจขึ้นไปตามลำดับ ก็จะเป็นเหตุให้สติเกิดขึ้นระลึกรู้สสภาพธรรมในขณะนั้น ได้ ข้อสำคัญประการหนึ่ง คือ จะต้องเข้าใจให้ถูกต้องตามความเป็นจริงว่าทุกอย่างที่เป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้นทางกาย ทางใจ นั้น เป็นสติปัฏฐานทั้งสิ้น ไม่ใช่เพียงประการใดประการหนึ่งเท่านั้น เพราะการทรงแสดงสติปัฏฐาน ก็ทรงแสดงถึงสภาพธรรมที่ปรากฏทางตาทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ ที่เมื่อสติเกิดขึ้นระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้นๆ แต่ละอย่างๆ ไม่ปะปนกัน แล้วแต่ว่าสติจะระลึกและปัญญารู้ลักษณะใด โดยไม่จำกัดเจาะจง เพราะธรรมเป็นอนัตตาไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น แต่เป็นไปตามเหตุปัจจัย ครับ.

เนื่องจากเป็นเรื่องที่ละเอียด ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ
กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๑.

เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๑.

จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๑.

ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๑.

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ