พระอรหันต์ยังมีมานะหรือไม่

 
นาวาเอกทองย้อย
วันที่  5 ก.ค. 2554
หมายเลข  18683
อ่าน  2,693

เมื่อพระพุทธองค์จะเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ตรัสให้ภิกษุทั้งหลายเลิกใช้คำ

เรียกกันว่า อาวุโส ที่แปลว่า ท่านผู้มีอายุ คือตอนนั้นพระผู้ใหญ่เรียกผู้น้อยใช้คำเรียก

ว่า อาวุโส พระผู้น้อยเรียกผู้ใหญ่ ก็ใช้คำว่า อาวุโส เหมือนกัน ตรัสให้เรียกขานกันตาม

ลำดับผู้น้อยผู้ใหญ่ หรือตามลำดับพรรษา คือ ผู้ใหญ่เรียกผู้น้อยก็ใช้คำเรียกว่า อาวุโส

เหมือนเดิม แต่พระผู้น้อยเรียกผู้ใหญ่ ให้ใช้คำว่า ภันเต ที่แปลว่า ท่านผู้เจริญ

การที่พระอรหันต์แบ่งคำที่ใช้เรียกขานกันตามลำดับอ่อนแก่เช่นนี้ จะถือว่าเป็น

มานะชนิดหนึ่งหรือไม่ คือ มานะว่า ฉันเป็นผู้ใหญ่กว่าคุณ คุณจะมาเรียกฉันอย่างนั้นไม่

ได้ คุณเป็นผู้น้อยกว่าฉัน คุณต้องเรียกฉันว่าอย่างนี้

เรื่องนี้จะมองอย่างไรจึงจะถูกต้องตามความเป็นจริงครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 5 ก.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

เมื่อพระพุทธเจ้าจะปรินิพพาน ได้ตรัสให้ภิกษุผู้ใหญ่เรียกผู้น้อยก็ใช้คำเรียกว่า อาวุโส

เหมือนเดิม หรือจะเรียกโดยชื่อ หรือ โดยโคตรก็ได้ แต่สำหรับพระผู้น้อยเรียกผู้ใหญ่

ให้ใช้คำว่า ภันเต ที่แปลว่า ท่านผู้เจริญ หรือเรียกว่า อายสฺมา ก็ได้ครับ

ซึ่งการที่มีการเรียกให้ต่างกัน เมื่อพระองค์จะปรินิพพานแล้ว เพราะคำเหล่านี้ เช่น

การที่ภิกษุพรรษาน้อย เรียก ภิกษุผู้มีพรรษามากกว่า ว่า ภันเต (ท่านผู้เจริญ) หรือ

อายสฺมา ด้วยเหตุผลเพื่อ ให้แสดงถึงความเคารพ ความยำเกรงในภิกษุผู้มีพรรษา

มากกว่านั่นเอง อันการเคารพในธรรมวินัยนี้ ดังเช่น เรื่องที่พระสารีบุตร ท่านไม่ได้ที่

นั่ง ต้องนั่งที่ใต้ต้นไม้ เพราะภิกษุอื่น ที่มีพรรษาน้อยกว่าแย่งที่จนท่านไม่มีที่นั่งใน

วิหาร พระพุทธเจ้าทรงปรารภเรื่องนี้ และได้ให้ภิกษุทั้งหลาย สนทนากันว่าภิกษุ

ทั้งหลายควรเคารพใคร และใครควรได้อาสนะก่อน ซึ่งภิกษุทั้งหลายก็สนทนากัน

บางพวกก็ให้ผู้ควรได้อาสนะก่อน ควรได้ความเคารพก่อน เพราะบวชจากตระกูล

กษัตริย์ บางพวกก็กล่าวว่า ต้องเป็นผู้บรรคุณธรรมสูงควรได้อาสนะก่อน หรือ ควรให้

ความเคารพก่อน สุดท้าย พระพุทธเจ้าให้เคารพ หรือ ควรได้อาสนะก่อน ตามลำดับ

พรรษาครับ ซึ่งการใช้คำเรียก ที่ภิกษุพรรษาน้อยกว่า เรียกภิกษุที่มีพรรษามากกว่า ว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เป็นคำที่แสดงถึงความเคารพในพระภิกษุผู้มีพรรษามากกว่า และคำ

ว่า อายฺสมา ก็เป็นคำที่แสดงถึงความเคารพ ยำเกรงเช่นกัน เมื่อมีการเคารพยำเกรงใน

ภิกษุสงฆ์ เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พระศาสนาก็จะดำรงอยูได้ เพราะธรรมข้อ

หนึ่งที่จะทำให้พระศาสนาอันตรธานคือ การไม่เคารพในเพื่อนพรหมจรรย์ มีการเคารพ

ตามลำดับพรรษ เป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑- หน้าที่ 662

คำว่า อายสฺมา เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าวด้วยความ

เคารพ เป็นคำกล่าวเป็นไปกับด้วยความเคารพ เป็นคำกล่าวด้วยความ

ยำเกรง.

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 5 ก.ค. 2554

ดังนั้นคำที่ใช้จึงควร ให้เหมาะสมและแสดงถึงความเคารพและลำดับพรรษาด้วยครับ

ภิกษุแต่ละรูปที่ได้ยินการพูดกันของภิกษุสองรูป ย่อมทราบว่าใครมีพรรษามากกว่า

พรรษาน้อยกว่าในการสนทนากัน ก็ย่อมรู้และก็ทำข้อวัตรปฏิบัติที่ถูกกับภิกษุที่มี

พรรษามากกว่าและน้อยกว่าได้ครับ คำที่เรียกจึงแสดงถึงความเคารพกันในพระ

ศาสนา และยังทำให้ภิกษุรูปอื่นทราบว่าใครเป็นผู้มีพรรษามากหรือน้อยในการสนทนา

ของภิกษุ 2 รูปก็จะมีการประพฤติวัตรให้เหมาะสมกับภิษุทั้งสองรูปครับ

ดังนั้นเมื่อพระพุทธเจ้าจะปรินิพพาน การเคารพ ยำเกรงกันในสงฆ์เป็นสิ่งที่สำคัญ

มาก แม้คำที่ใช้ก็แสดงถึงความเคารพ ยำเกรงกันด้วยจิตทีเป็นกุศลด้วยครับ

พระอรหันต์ ท่านไม่มีมานะแน่นอนครับ ดังนั้น แม้การใช้เมื่อคราวที่ยังเป็นปุถุชน

คำเดียวกัน เช่น คำว่าเรา ใช้คำเรียก เปรียบเทียบตามลำดับอายุ กับ คำเดียวกันที่

พระอรหันต์ท่านใช้คำว่าเรา หรือ คำเปรียบเทียบ ตามลำดับพรรษา จิตก็ต่างกัน คือ

มีกิเลส กับไม่มีกิเลส ดังนั้นคำที่ใช้เหมือนกัน แต่จิตต่างกันก็ได้ เพราะฉะนั้น พระ

อรหันต์ท่านไม่ละทิ้งสมมติทางโลก แต่ท่านฉลาดในโวหารเทศนาที่จะใช้ให้เหมาะสม

อันเป็นประโยชน์กับการรักษาพระธรรมวินัย มีการเคารพ ยำเกรง เป็นต้น ดังนั้นท่าน

จึงไม่มีมานะว่า เขาด้อยกว่า จึงเรียกคำนั้น หรือ เขาสูงกว่าจึงเรียกคำนั้น แต่ท่านเรียก

ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ อันแสดงถึงความเคารพ ยำเกรงกัน และเคารพตาม

ลำดับพรรษาครับ

ซึ่งก็มีเรื่องที่ เทวดาสงสัยพระอรหันต์รูปหนึ่งว่า ท่านเรียก หรือใช้คำว่า เรา แทนตัว

ท่าน เทวดาจึงสงสัยว่า พระอรหันต์มีมานะอยู่จึงเข้าไปทูลถามเรื่องนี้กับพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าตรัสว่า พระอรหันต์ท่านฉลาดในการกล่าวสมมติทางโลกแม้จะใช้คำว่า

เรา หรืออย่างไรก็ตามท่านก็ไม่มีมานะเลยครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 5 ก.ค. 2554

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 135

๕. อรหันตสูตร

ท. ภิกษุใดเป็นผู้ไกลจากกิเลส มี

กิจทำเสร็จแล้ว มีอาสวะสิ้นแล้ว เป็นผู้

ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด ภิกษุนั้น

พึงกล่าวว่า เราพูดดังนี้บ้าง บุคคลทั้งหลาย

อื่นพูดกะเราดังนี้บ้าง.

ภ. ภิกษุใดเป็นผู้ไกลจากกิเลส มี

กิจทำเสร็จแล้ว มีอาสวะสิ้นแล้ว เป็นผู้

ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด ภิกษุนั้น

พึงกล่าวว่า เราพูดดังนี้บาง บุคคลทั้งหลาย

อื่นพูดกะเราดังนี้บ้าง ภิกษุนั้นฉลาด

ทราบคำพูดในโลก พึงกล่าวตามสมมติ

ที่พูดกัน.

ท. ภิกษุใดเป็นพระอรหันต์ มีกิจ

ทำเสร็จแล้ว มีอาสวะสิ้นแล้ว เป็นผู้ทรง

ไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด ภิกษุนั้นยังติด

มานะหรือหนอ จึงกล่าวว่า เราพูดดังนี้

บ้าง บุคคลทั้งหลายอื่นพูดกะเรา ดังนี้

บ้าง.

ภ. กิเลสเป็นเครื่องผูกทั้งหลาย มิได้

มีแก่ภิกษุที่ละมานะเสียแล้ว มานะและ

คันถะทั้งปวง อันภิกษุนั้นกำจัดเสียแล้ว

ภิกษุเป็นผู้มีปัญญาดี ล่วงเสียแล้วซึ่งความ

สำคัญ ภิกษุนั้นพึงกล่าวว่า เราพูดดังนี้

บ้าง บุคคลทั้งหลายอื่นพูดกะเราดังนี้บ้าง

ภิกษุนั้นฉลาด ทราบคำพูดในโลก พึง

กล่าวตามที่พูดกัน.

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 6 ก.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง มีความละเอียดลึกซึงเป็นอย่างยิ่ง ควรค่าแก่การศึกษา พิจารณาไตร่ตรอง เพื่อความเข้าใจอย่างถูกต้องตรงตามความเป็นจริงพระอรหันต์ เป็นผู้ดับกิเลสทั้งปวงได้อย่างเด็ดขาด กิเลสที่ท่านได้สะสมมาในสังสารวัฏฏ์ จะถูกดับได้อย่างหมดสิ้นเมื่ออรหัตตมัคคจิตเกิดขึ้น ซึ่งก่อนหน้านั้นก้จะต้องมีการดับเป็นขั้นตามลำดับมรรค ตั้งแต่โสดาปัตติมรรค เป็นต้นไป สำหรับมานะ เป็นกิเลสประการหนึ่ง มีทั้งอย่างหยาบและอย่างละเอียด ซึ่งมานะจะถูกดับได้อย่างเด็ดขาดไม่เกิดอีกเลยเมื่อถึงความเป็นพระอรหันต์ พระอรหันต์ไม่มีความสำคัญตน ไม่มี-ความถือตน ไม่มีการยกตนเลย สภาพจิตของท่านเมื่อดับกิเลสถึงความเป็นพระอรหันต์แล้ว มีเพียง ๒ ชาติเท่านั้น คือ วิบาก กับ กิริยา ดังนั้น การกล่าวคำพูดของท่าน ไม่พ้นไปจากขณะที่เป็นมหากิริยาจิต ซึ่งจากคำที่ท่าน นอ.ทองย้อย ได้ยกมานั้น คือ อาวุโส กับ ภันเต อาวุโส แปลว่า ท่านผู้มีอายุ เป็นคำที่ผู้ใหญ่กล่าวกับผู้น้อย ส่วนคำว่า ภันเต แปลว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เป็นคำที่ผู้น้อย กล่าวกับผู้ใหญ่ ทั้งสองคำ นี้ สำหรับพระอรหันต์แล้ว ไม่ใช่กล่าวดวยความสำคัญตนแต่ต้องเป็นสภาพจิตที่ดีงาม ด้วยความเคารพนอบน้อม หรือ มุ่งอนุเคราะห์ให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์ในขณะที่กล่าว เป็นต้น เพราะท่านไม่ได้กล่าวเฉพาะ อาวุโส หรือ ภันเตเท่านั้น ยังจะต้องกล่าวคำอื่นๆ ต่อไปด้วย [เนื่องจากว่าทั้งสองคำนี้ เป็นคำร้องเรียกเป็นคำขึ้นต้นที่จะต้องกล่าวก่อน ก่อนที่จะกล่าวคำอืนๆ ต่อไป เหมือนอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาที่พระองค์จะทรงแสดงพระธรรม ก็จะตรัสว่า "ภิกฺขเว = ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย" เพื่อเป็นเครื่องเตือนให้ตั้งใจฟังในสิ่งที่พระองค์จะได้ทรงแสดงต่อไป] สำหรับบุคคลผู้ที่ยังไม่ใช่พระอรหันต์ มานะ ก็ย่อมจะมีได้ ในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ความหยาบ ความเบาบางก็แตกต่างกันออกไป ทำให้เห็นได้ว่ากิเลส ในชีวิตประจำวันมีมากจริงๆ แล้วแต่ว่าใครจะสะสมหนักมากไปในทางใด หรือว่า ใครจะสามารถขัดเกลาให้ เบาบางลงได้ในแต่ละทาง ซึ่งการที่จะขัดเกลากิเลสได้นั้น ก็ต้องด้วยกุศลธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูก จากการฟังพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง เพราะขณะที่ฟังพระธรรมเข้าใจ ย่อมเป็นการขัดเกลาความไม่รู้ ขัดเกลาความเห็นผิด ขัดเกลาความลังเลสงสัยรวมถึงอกุศลธรรมประการอื่นๆ ด้วย และความเข้าใจก็จะค่อยๆ เจริญขึ้นเรื่อยๆ เมื่อไม่ขาดการฟังพระธรรม ครับ. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของท่าน นอ.ทองย้อย,คุณผเดิมและทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 6 ก.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 7 ก.ค. 2554

ปุถุชน พระโสดาบัน และ พระอนาคามี ยังมีมานะอยู่ และมานะความสำคัญตน

ละได้ตามลำดับกำลังของปัญญาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ