ฝัน

 
วิริยะ
วันที่  1 มิ.ย. 2554
หมายเลข  18464
อ่าน  1,228

เรียนถามค่ะ

เท่าที่ฟังท่านอาจารย์สุจินต์ บรรยายธรรม ทราบว่า ฝันคือจิตคิด แต่ไม่มีอารมณ์ปรากฏ จริงๆ ดิฉันมีปัญหาอยากทราบว่า เมื่อดิฉันตื่นขึ้นมา ดิฉันเกิดความสงสัยว่า เมื่อคืนนี้เรา ฝันหรือเปล่า มีความรู้สึกคล้ายๆ กับไม่แน่ใจ ซึ่งไม่เหมือนสมัยยังเป็นเด็ก เมื่อฝันอะไร พอ ตื่นชึ้น จะเล่าได้เป็นเรื่องเป็นราว จะบอกว่าหลับสนิท ไม่ได้ฝันอะไรเลย ก็ไม่ค่อยแน่ใจ ความรู้สึกนี้ เป็นจิตติดข้อง หรือเป็นอย่างไรคะ

ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 1 มิ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ควรเข้าใจครับว่า สิ่งที่มีจริงคือสภาพธรรมทีเป็นามธรรมและรูปธรรม คือ จิต เจตสิก รูป ขณะฝันก็ไม่พ้นจากสภาพธรรมเช่นกัน ขณะฝัน ขณะนั้นก็เป็นจิต จิตที่คิดนึกใน เรื่องราวต่างๆ เพราะฉะนั้นอาศัย สัญญา ความจำ จำในสิ่งต่างๆ และเมื่อมีความจำ ก็มี การคิดนึกในสิ่งที่จำมาในชีวิตประจำวันหรือในอดีตที่เคยเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส รู้สิ่ง กระทบสัมผัส และเมื่อมีการเห็น ได้ยินสิ่งต่างๆ ในอดีตแล้ว ขณะนั้นก็ต้องมีการจำด้วย จำในสิ่งต่างๆ ทีๆ ได้เห็น ได้ยิน และก็มีการคิดนึกถึงเรื่องที่เห็น ทีได้ยินทีได้จำมาครับ เพราะฉะนั้น ขณะที่ฝันก็เป็นการคิดนึกคือจิตที่คิดนึกถึงเรื่องราวต่างๆ ที่เคยเห็น เคย ได้ยินมา เป็นต้น เพราะฉะนั้นอาศัยสภาพธรรม อาศัย สัญญาความจำ อาศัยจิตจึงมีการ ฝันเป็นเรื่อราวต่างๆ เป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง ขณะที่ฝันไม่ใช่ขณะที่เห็น แต่เหมือนเห็น เพราะขณะนั้นไม่ได้เห็นจริงๆ แต่คิดนึกเรื่องราว จำในสิ่งที่เคยเห็นมา ฝันคือการคิดนึก

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 1 มิ.ย. 2554

สภาพธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัยและบังคับบัญชาไม่ได้ การจำได้หรือไมได้ก็เช่นกัน ในชีวิตประจำวัน ที่ไม่ใช่ฝัน บางครั้งเมื่อมีเหตุการณ์ที่ จะต้องนึกถึง ก็จำได้บ้างไมได้บ้าง เป็นไปตามเหตุปัจจัย บังคับบัญชามไม่ได้ ซึ่ง การระลึกนึกถึง ในชีวิตประจำวันก็เป็นจิตที่คิดนึก แม้ขณะที่ฝันก็เป็นจิตที่คิดนึก เช่นกัน เมื่อตื่นขึ้นที่สมมติกัน ก็เป็นเพียงวิถีจิตที่เกิดขึ้น เกิดดับสืบต่อกันไปครับ การฝันก็คือการคิดนึก บางครั้งก็นึกถึงเรื่องที่ฝันไมได้ บางครั้งก็นึกถึงเรื่องที่ฝันได้ ก็ตามเหตุปัจจัย แสดงถึงความเป็นอนัตตา ซึ่งหลับสนิท มากกว่าฝันก็ได้ ฝันมากกว่า หลับสนิทก็ได้ครับ เมื่อตื่นจากหลับสนิทก็นึกถึงเรื่องที่ฝันก็ได้ หรือไม่สามารถนึกถึง เรื่องที่ฝันก็ได้ ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยหลายประการ ทั้งความเป็นผู้มีสติ ทั้งเรื่องราวที่ ฝัน และทั้งความเป็นผู้มีสมาธิ และทรงจำได้ดี เป็นต้น ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ประการในการจำเรื่องราวที่ฝันได้หรือไม่ได้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 1 มิ.ย. 2554

ประโยชน์ของการการฝันที่ได้คือเข้าใจความจริงว่า ไม่มีเรามีแต่สภาพธรรมที่คิดนึก ฝันก็คือความคิดนึก และในชีวิตประจำวัน สิ่งที่คิดว่ามีเจริง เป็นเรื่อราวต่างๆ หลังจาก เห็น ได้ยิน เป็นสัตว์ บุคคลต่างๆ ก็ไม่ต่างจากความฝันเลย สำคัญว่ามีจริง แต่ใน ความเป็นจริงก็เป็นเพียงเรื่องราวที่คิดนึกเท่านั้น ย่อมละความไม่รู้ ความเข้าใจผิด ทีละเล็กละน้อยว่ามีสัตว์ บุคคล ตัวตนจริงๆ และขณะนี้สภาพธรรมต่างๆ ก็เกิดขึ้นและ ดับไป เรื่องราวต่างๆ ที่ผ่านไปแล้วที่คิดว่าสำคัญมากมาย หากมองย้อนไปก็ไม่ต่าง อะไรจากความฝันเลย เพราะไม่มีจริงเป็นแต่เพียงเรื่องราวที่คิดนึก ประโยชน์คือเข้าใจ ความจริงของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ เข้าใจความจริงว่าเป็นธรรม สิ่งใดผ่านไป แล้วก็เป็นอันผ่านไปแล้ว ไม่สามรถเข้าใจความจริงที่ผ่านไปแล้ว แม้ขณะที่คิดนึกเรื่อง ของฝันว่าเป็นเพราะอะไร ขณะที่คิดนึกเรื่องนั้นก็ไม่ต่างอะไรอะไรจากความฝันเพราะ ขณะนั้นคิดเรื่องว่าฝันเพราะอะไร สิ่งที่มีจริงในขณะนั้นคือ สภาพจิต จิตที่คิด ครับ

ขออนุโมทนาครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
วิริยะ
วันที่ 1 มิ.ย. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 1 มิ.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขณะที่กำลังฝัน ไม่พ้นไปจากนามธรรม คือ จิตและเจตสิก ที่ฝัน และขณะที่ฝันต้องไม่ใช่ขณะที่หลับสนิท เพราะถ้าเป็นขณะที่หลับสนิท จิตเป็นภวังค์ ดำรงภพชาติความเป็นบุคคลนี้ จิตไม่ได้เกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางใดทางหนึ่งใน ๖ ทาง จึงไม่ฝัน เพราะในขณะที่ฝัน ต้องเป็นวิถีจิต (จิตที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์์ทางหนึ่งทางใด ใน ๖ ทาง) แต่ไม่ใช่วิถีจิตทางตา หู จมูก ลิ้น กาย แต่เป็นวิถีจิตทางใจ เท่านั้น ที่ฝัน เป็นกุศล บ้าง เป็นอกุศล บ้าง ตามการสะสม ซึ่งขณะที่กำลังฝันนั้น เป็นการคิดนึกถึงเรื่องบัญญัติของสิ่งที่เคยเห็น เคยได้ยิน เคยได้กลิ่น เป็นต้น นั่นเอง

ในขณะที่ฝัน จิต เจตสิก เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ไม่มีเราที่ฝัน ซึ่งเป็นความเกิดขึ้นเป็นไปของธรรมเท่านั้น ส่วน เรื่องราวที่ฝัน ไม่มีจริง เพราะฉะนั้น ในการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ก็เพื่อเข้าใจธรรม ตามความเป็นจริง ไม่เว้นแม้แต่ขณะเดียวของชีวิต เนื่องจากทุกขณะของชีวตไม่มีขณะใดเลยที่จะปราศจากธรรม แม้แต่ในขณะที่ฝัน ก็เป็นหนึ่งในสภาพธรรมที่มีจริง ที่ควรศึกษาให้เข้าใจ ว่า อะไร คือ สิ่งที่มีจริงในขณะ นั้น เพื่อละคลายความไม่รู้ ละคลายความเห็นผิดที่ยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตนเป็นสัตว์ เป็นบุคคล ครับ

... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
chatchai.k
วันที่ 6 ต.ค. 2566

ยินดีในกุศลจิตครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ