กิเลสเป็นบาปเสมอไป

 
วินิจ
วันที่  27 พ.ค. 2554
หมายเลข  18432
อ่าน  3,040

ขอเรียนถามว่า กิเลสเป็นบาปเสมอไปหรือไม่? ขอบคุณครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
wannee.s
วันที่ 27 พ.ค. 2554

ขณะที่กิเลสเกิด ไม่ว่าจะเป็นกิเลสประเภทใด ขณะนั้นเป็นอกุศลเสมอ เป็นบาปค่ะ

อกุศลทั้งหมดชื่อว่าบาป บาป แปลว่าชั่ว ไม่ดี ความอยากเป็นอกุศลจิต ซึ่งต่าง

กับกุศลจิต อกุศลแต่ละประเภทมีกำลังไม่เ่ท่ากัน เช่น อยากเป็นพระพุทธเจ้า

เป็นอกุศลจิต แต่ไม่ถึงกับเป็นอกุศลกรรมบถ เพราะไม่ได้กระทำทุจริตกรรมทางกาย

ทางวาจา และทางใจ ผู้ที่เข้าใจหนทางที่ถูกต้อง และอบรมปัญญา ชื่อว่าสาวก ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 27 พ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น การกระทำอะไรก็ตาม ที่จะเป็นบาป หรือ ไม่เป็นบาปนั้น ต้องพิจารณาว่า บาป คืออะไร? บาป คือ สภาพจิตที่เป็นอกุศล เป็นอกุศลธรรม เป็นสภาพธรรมที่ไม่ดี ไม่งาม ให้ผลเป็นทุกข์ ขณะที่อกุศลจิตเกิดขึ้น ขณะนั้นเป็นบาป มีกิเลสเกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ อกุศลจิตที่เกิดขึ้นย่อมเป็นไปตามการสะสมมาของแต่ละบุคคล ถ้าหากว่ามีการล่วงออกมาเป็นทุจริตกรรม เบียดเบียนผู้อื่น เป็นอกุศลกรรมบถที่ครบองค์ ย่อมเป็นอกุศลที่มีกำลัง บาป ย่อมมีแก่ผู้กระทำเท่านั้น ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ทำ ขณะที่อกุศลจิตเกิดขึ้น ย่อมมีกิเลส ซึ่งเป็นอกุสลเจตสิกประการต่างๆ เกิดร่วมด้วยทุกครั้งตามประเภทของอกุศลจิต นั้นๆ เมื่อกล่าวโดยกว้างๆ แล้ว บาป โดยทั่วไปหมายถึง การกระทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนทางกาย ทางวาจา ทางใจ ที่เรียกว่า อกุศลกรรมบถ ๑๐ เช่น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เป็นต้น ผู้มีปกติทำบาปย่อมเดือดร้อนทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า ดังพระพุทธพจน์บทหนึ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้าว่า พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ หน้า๒๐๒ “ผู้มีปกติทำบาป ย่อมเดือดร้อนในโลกนี้ ละไปแล้ว ย่อมเดือดร้อน เขาย่อมเดือดร้อน ในโลกทั้งสอง, เขาย่อมเดือดร้อนว่า 'กรรมชั่ว เราทำแล้ว,' ไปสู่ทุคติ ย่อมเดือดร้อนยิ่งขึ้น” แต่บางขณะแม้ว่าจิตเป็นอกุศล ก็ไม่ใช้ว่าทำบาป เช่น ความยินดีพอใจ ในรูป เสียง กลิ่น รส ที่ดีที่น่าพอใจ เป็นอกุศลธรรมที่สะสม แต่ไม่ก่อให้เกิดวิบาก กรณีที่ใช้คำว่า "อยากเป็น" ควรที่จะได้พิจารณาที่สภาพจิต ถ้าหากว่ามีความประสงค์ที่จะอบรมเจริญปัญญา มีความตั้งใจมั่นในการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม สะสมปัญญาไปตามลำดับ ไม่ใช่บาป ไม่ใช่อกุศล แต่ถ้าเต็มไปด้วยความติดข้องต้องการ ย่อมไม่พ้นไปจากโลภะ เป็นอกุศล ไม่ใช่กุศล "ปัญญาไม่ได้มีเพราะความอยาก แต่มาจากการอบรมทีละเล็กทีีละน้อย" ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ ครับ หวังที่จะเข้าใจธรรมะ ถูกหรือผิด ครับ ดังนั้น เมื่อมีความเข้าใจพระธรรมตามลำดับ ความกังวลใจในเรื่องต่างๆ ก็จะลดน้อยลงตามกำลังของความเข้าใจ และจะมีความมั่นคงในการทำความดี (เจริญกุศลทุกๆ ประการ) เพิ่มมากยิ่งขึ้นเพื่อขัดเกลากิเลสของตนเอง. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 28 พ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย การพิจารณา สำคัญที่ตัวสภาพธรรม ถ้าเราติดที่ชื่อ ก็จะไม่สามารถเข้าใจความจริง

ในเรื่องสภพธรรมได้ครับ อย่างเช่น คำว่าอยาก โดยปกติเราก็เข้าใจโดยทั่วไปว่า

ความอยาก ความใคร่ เป็นสภาพธรรมที่เป็นโลภะ เป็นบาป เป็นอกุศลเป็นสภาพธรรม

ที่ไม่ดี แต่หากในความเป็นจริง ความอยาก ความใคร่ ด้วยจิตที่ไม่เป็นอกุศลก็ได้ครับ

เพียงแต่เป็นสภพาธรรมอีกอย่งหนึ่งในทางธรรมเรียกว่า ฉันทะเจตสิกครับ คือ ความ

พอใจ ความใคร่ ที่ไม่ใช่ความอยากทีเ่ป็นโลภะครับ

ตามที่ยกตัวอย่างมาที่กล่าวว่า อยาก"บรรลุธรรม,"อยาก"เป็น"โพธิสัตว์" คงมี

ตัวอย่างมากมายว่าอยากอย่างนี้จะเป็นบาปไหม อยากแบบนี้จะไม่ใช่บาปไหมครับ

แต่่จะรู้ว่าอยากนั้นเป็นฉันทะที่เกิดกับกุศลธรรม เช่น เป็นผู้ความใคร่ พอใจในความที่

จะเป็นพระพุทธเจ้าอันเกิดจากปัญญาที่เห็นประโยชน์ที่จะช่วยสัตว์โลก อันนี้เป็น

ฉันทะ ที่เกิดกับกุศลไม่ใช่บาป ไม่ใช่อกุศลครับ แต่ถ้าไม่มีเหตุ ไม่มีปัญญา มีแต่แค่

อยากจะเป็นพระพุทธเจ้า อยากเป็นพระโพธิสัตว์นั่นก็เป็นความต้องการ ติดข้องทีเ่ป็น

อกุศลครับ แล้วจะตัดสินอย่างไรดี คำตอบคือ ไม่ใช่การใช้ชื่อมาตัดสิน ถ้าอยากอย่างนี้

เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เพราะขณะที่คิดอยากในเรื่องใดๆ เรื่องนั้นๆ ความอยาก ความใคร่

ในขณะนั้นก็ดับไปแล้ว จะรู้ได้ก็ด้วยจิตของบุคคลนั้นเอง ที่สำคัญการจะรู้ใว่าสภาพ

ธรรมนั้นทีเ่ป็นความอยาก ความใคร่ ความพอใจเป้นกุศลหรือกุศล เป็นบาปหรือไม่

เป็นบาป ก็คือขณะที่จิตนั้นที่เกิดครับ เพราะมีลักษณะให้รู้ และการจะรู้ลักษณะของ

สภาพธรรมในขณะนั้นได้ก็คือ ขณะที่สติปัฏฐานระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่กำลัง

ปรากฎคือขณะที่เกิดความอยาก ความพอใจ ความใคร่ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งนั่นเองครับ

ดังนั้นจึงพอสรุปได้ว่า ความอยาก ความใคร่ พอใจเป็นไปได้ทั้งกุศลหรือ อกุศลทีเ่ป็น

บาป การจะรู้ได้ไม่ใช่เรื่องชื่อแต่ต้องเป็นปัญญา รู้ลักษณะของสภาพธรรมในขณะนั้น

ขออนุโมทนาครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
WS202398
วันที่ 1 มิ.ย. 2554

จากประสบการณ์ของผม คำถามเรื่องบาปหรือไม่บาป ไม่ว่าในประเด็นใดก็ตาม แม้นมีบุคคลมาตอบที่ดี และอาจพอใจกับคำตอบ แต่ก็จะเกิดคำถามแบบนี้ในประเด็นอื่นๆ อีกต่อไป และเมื่อได้คำตอบอีกก็ต้องอาศัยตรรกะส่วนตน ความเชื่อความศรัทธาในคำตอบนั้นตัดสินว่าพอใจในตำตอบนั้นหรือไ่ม่

แต่หากใช้เครืื่่องมือคือสติ และความรู้ว่าใจเราตอนนี้เป็นกุศลหรืออกุศลด้วยสัตย์ซื่อ เมื่อชำนาญแล้วเราจะรู้ได้เองว่าสิ่งใดๆ ก็ตามนั้นบาปหรือไม่บาป ถ้าเป็นกุศลก็ไม่บาป อกุศลก็บาป จากประสบการณ์ของผม สำหรับผมเองยากที่จะบอกว่าบาปหรือไม่บาปโดยกล่าวยกเหตุการณ์รวมๆ เหมายกเข่ง เพราะ จิตใจเป็นของรวดเร็ว และจิตใจนี้ล่ะมีทั้งกุศลและอกุศลที่สั่งสมเป็นนิสัยมาแล้วนับอนันต์ โดยมากจิตจะเป็นกุศลสลับกับอกุศลโดยละเอียดสุขุมมาก อาจต่างที่ขณะที่จิตคิดปรุงแต่งเรื่องหลักทางกุศล ดวงจิตจะมีปริมาณด้ายกุศลมากกว่าอกุศล อีกประการหนึ่งถ้าผมจำมาไม่ผิดท่านผุ้รู้ช่วยแก้ด้วยนะครับ ผมไม่ยืนยันความถูกต้อง กุศลก็เป็นปัจจัยของอกุศลได้ และอกุศลก็เป็นปัจจัยของกุศลได้ ดังนั้นไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่คิด พูด หรือทำเรื่องบุญอยู่แท้ มีจิตบาปเกิดแทรกได้ แม้เป็นบาปชั้นละเอียดก็ตาม

ดังนั้น เพื่อความถูกต้องแก่ใจเราเองว่าถูกหรือผิด เราควรหมั่นเจริญสติพิจารณานามธรรมที่เกิดขึ้นกับเราโดยขยันจริงจัง ที่สำคัญ ต้องตรง ต้องซื่อ ต่อส่ิงที่ปรากฏด้วยครับ ต้องยอมรับความจริงให้ได้หากเห็นบาป หรือบุญเกิดขึ้น

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
วินิจ
วันที่ 4 มิ.ย. 2554

คุณคห.4ครับ,ผมเห็นว่าถ้าทำบุญเพราะปัญญาแห่ง"จิต"เห็นสมควรจะทำ,ก็ไม่เป็นเหตุ

แห่งบาป,แต่ถ้าทำเพราะ"อยาก"ทำก็มีโอกาสเป็นปัจจัยแห่งบาปได้,เช่น เมื่อถูกขัดใจแล้ว

เราไม่พอใจแล้วเกิดไปทำสิ่งไม่สมควรครับ,แต่โดยทั่วไป"จิตเรา"มักเคยชินที่จะผุด

"อยาก"มากกว่าผุด"ปัญญา"ว่าสมควรทำ (ตามเหตุผลความเป็นจริง) ,ส่วน"จิตบาป"แม้จะ

เกิดแทรกก็เป็นต่าง"ขณะ"กับ"จิตบุญ"ครับ,โมทนากับความ"ขวนขวายไฝ่ธรรม"ครับ...

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ