คิดทุกคำที่พูดแต่อย่าพูดทุกคำที่คิด

 
Tey
วันที่  27 พ.ค. 2554
หมายเลข  18436
อ่าน  56,704

คิดทุกคำที่พูดแต่อย่าพูดทุกคำที่คิด คำสอนนี้มีความหมายว่าอย่างไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 27 พ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง เป็นเครื่องเตือนที่ดีทุกแง่มุมของชีวิตรวมไปถึงการพูด ด้วย การใคร่ครวญไตร่ตรองให้ละเอียดถี่ถ้วน ก่อนจะพูดอะไร จะทำอะไร (ด้วยกุศล) ย่อมเป็นสิ่งที่ดี ควรอย่างยิ่งที่จะเป็นอย่างนั้น, การพูด เป็นสิ่งที่สำคัญในชีวิตประจำวัน จำเป็นจะต้องพูดคุยสนทนากับผู้อื่นอยู่เสมอ และเป็นที่น่าพิจารณาว่า ในวันหนึ่งๆ โดยปกติของผู้ที่ยังมีกิเลสอยู่นั้น ย่อมเป็นไป หวั่นไหวด้วยอำนาจของอกุศลเสียเป็นส่วนใหญ่ ตามการสะสม ไม่ใช่ว่าจะพูดด้วยกุศลจิตตลอดบางครั้งก็พูดด้วยอกุศลจิต จึงมีวจีทุจริตเกิดขึ้นค่อนข้างมากในชีวิตประจำวัน แต่เวลาที่หิริ (ความละอายต่ออกุศลธรรม) โอตตัปปะ (ความเกรงกลัวต่ออกุศลธรรม)

มีกำลังมากขึ้น ก็จะทำให้พูดสิ่งที่ดีเพิ่มขึ้น ซึ่งแต่ก่อนอาจจะพูดไปโดยที่ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นจะเป็นโทษเป็นภัยอย่างไร แต่เวลาที่หิริโอตตัปปะเกิดขึ้น จะทำให้พิจารณาเห็นได้ว่าสิ่งใดที่ไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ ก็สามารถที่จะเว้นไม่พูดในขณะนั้นได้ ไม่ได้ห้ามการพูด ไม่ใช่ไม่ให้พูด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า สิ่งใดที่พูดไปแล้ว แม้จะเป็นเรื่องจริง เป็นการเพิ่มอกุศลให้กับทั้งคนพูดและคนฟัง ก็ไม่ควรพูดแต่ถ้าสิ่งใด เมื่อพูดไปแล้ว เป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นแห่งกุศลธรรม ควรพูด แต่จะเป็นไปได้มากแค่ไหน ขึ้นอยู่กับความเข้าใจและเห็นประโยชน์ แต่ละบุคคล มีความประพฤติเป็นไปตามการสะสม ถึงแม้ว่าเราจะพูดดี ให้คำแนะนำที่ดี พูดความจริงให้เห็นโทษของอกุศล ให้เห็นคุณของกุศล เป็นต้น แต่บุคคลนั้นไม่รับฟัง ไม่เห็นด้วย ไม่ชอบ ก็มี แสดงว่าเขาเป็นศัตรูกับเรา เพราะขณะนั้น เขาเป็นอกุศล แต่เราจะไม่เป็นศัตรูของเขา คือ ไม่เป็นอกุศล ไม่โกรธ แ่ต่พร้อมเสมอที่จะมีเมตตา เกื้อกูลเท่าที่จะเป็นไปได้ หรือ ถ้าจะมองในทางกลับกัน ถ้าเป็นบุคคลที่สะสมมาดี เป็นบัณฑิต มีจิตน้อมไปในทางที่เป็นกุศลอยู่เสมอ เมื่อเราพูดผิด พูดไม่ดี ก็จะไม่ถือโทษโกรธในความผิดดังกล่าว พร้อมที่จะให้อภัย และ แนะนำให้เห็นโทษดังกล่าวด้วย แต่ละบุคคลจึงเป็นแต่ละหนึ่งจริงๆ พระธรรม เป็นเรื่องของการขัดเกลากิเลส ไม่ใช่การเพิ่มกิเลส เพราะฉะนั้น ถ้าพิจารณาเห็นว่าสิ่งใด เป็นโทษ ไม่เป็นประโยชน์ ก็ควรจะงดเว้นในสิ่งนั้น แล้วเจริญกุศลธรรมในชีวิตประจำวัน มีการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม เป็นต้น ความเข้าใจพระธรรม จะเป็นเครื่องปรุงแต่งให้มีความประพฤติที่ดีงาม ทั้งทางกาย ทางวาจาและทางใจ ครับ. ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ คำพูดที่ควรพูดและไม่ควรพูด

การพูดความจริง กล่าววาจาต่อหน้าและลับหลัง [อรณวิภังคสูตร] องค์แห่งวาจาสุภาษิต ๕ ประการ [วาจาสูตร] ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
lovedhamma
วันที่ 27 พ.ค. 2554

จริงครับ เพราะฉะนั้นคำพูดที่ว่า คิดก่อนพูด/ทำ จึงเป็นสิ่งที่เราควรยั้งคิดเสมอก่อนเลย

นะครับ ในทุกๆ ครั้งที่เราจะพูดหรือทำสิ่งใด อย่างคำพูดง่ายๆ คือ 1. กลับไปเถิด กับ 2.

กลับไปซะ ความหมายที่ 1. เมื่อฟังแล้วรื่นหูกว่า คนที่ได้ฟังเค้าย่อมมีความรู้สึกใน

ทางที่ดีกว่า นะครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 28 พ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 265

[๑๒๘] ดูก่อนราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน แว่นมีประโยชน์อย่างไร.

มีประโยชน์สำหรับส่องดู พระเจ้าข้า.

ฉันนั้นเหมือนกันแล ราหุล บุคคลควรพิจารณาเสียก่อน แล้วจึงทำกรรมด้วยกาย

ด้วยวาจา ด้วยใจ.

-------------------------------------------------------------------------------

การพูดสิ่งใดก็เพราะอาศัยจิต หากไม่มีจิตและเจตสิกแล้วก็จะไม่มีการพูดเกิดขึ้นเลย

ครับ ดังนั้นเพราะอาศัยจิตที่เกิดขึ้น ย่อมมีการพูดเกิดขึ้น ดังนั้นการพูดจึงพูดด้วยกุศล

จิตและอกุศลจิตก็ได้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่าให้ใคร่ครวญก่อนพูด ใคร่ครวญด้วย

ปัญญา และพิจารณาก่อนพูดว่าสิ่งใดพูดแล้วเป็นกุศล มีประโยชน์ ควรพูดแต่ต้องดู

กาลเวลาให้เหมาะสม แต่สิ่งใด ไม่จริง พูดแล้วเป็นอกุศลก็ไม่ควรพูด ทำใ้ห้เกิดทุกข์

แก่ตนเองและผู้อื่นก็ไม่ควรพูดครับ ดังนั้นการใครครวญก่อนพูดจึงเป็นสิ่งทีสำคัญ

เพราะภัยไม่ได้เกิดจากคนอื่น เกิดจากอกุศลจิตของตนเองเท่านั้นครับ

ในทางโลกมีมิตร มีศัตรูที่สมมติเป็นสัตว์ บุคคล พูดด้วยวาจาไม่จริงก็ย่อมเสียมิตร

พูดด้วยจิตที่เป็นอกุศล มีวาจาหยาบก็ต้องเสียมิตรไปได้ ย่อมได้ศัตรูที่เป็นสมมติ

บัญญัติ ดังนั้นการพูดโดยไม่ใคร่ครวญ พูดด้วยอกุศลก็ย่อมเสียมิตรได้ศัตรูทางโลกที่

สมมติกัน

แต่ที่สำคัญที่สุด ขณะีี่พูดไม่คิด พูดด้วยอกุศลจิต ขณะนั้นเสียมิตรที่แท้จริงและได้

ศัตรูที่แท้จริงแล้ว คือ เสียมิตรที่เป็นกุศลในขณะนั้นและได้ศัตรูเพิ่มคือ อกุศลจิตที่เกิด

ขึ้น อกุศลกรรมที่เกิดทางวาจาที่พูดในขณะนั้นครับ ดังนั้นมิตรที่แท้จริงคือกุศลธรรม

และ ศัตรูที่แท้จริงคือ อกุศลธรรม ไม่ว่าจะเป็นทางกายและวาจาและใจครับ ดังนั้นควร

มีแว่นสองใจคือปัญญา พิจารณาด้วยปัญญาทั้งทางกาย วาจาและใจก่อนทำครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ....พึงพิจารณา วาจาที่จะพูด [จูฬราุหุโลวาทสูตร]

ขออนุโมทนาครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
mint
วันที่ 30 พ.ค. 2554
ขออนุโมทนา
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
สมศรี
วันที่ 31 พ.ค. 2554
ขอบคุณและอนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
นาวาเอกทองย้อย
วันที่ 3 มิ.ย. 2554

คิดทุกคำที่พูดแต่อย่าพูดทุกคำที่คิด คำสอนนี้มีความหมายว่าอย่างไร

คำสอนนี้มีความหมายว่า จงระวังคำพูดของตัวเอง อย่าพูดอะไรออกไปง่ายๆ และอย่าพูดก่อนคิด

คุณ T เจอคุณ B คุณ T อาจจะคิดอะไรเกี่ยวกับคุณ B ตั้งร้อยอย่าง เช่นการแต่งตัว กิริยาท่าทาง เสียงพูด เสียงหัวเราะ รวมทั้งรูปร่างหน้าตา ส่วนนั้นส่วนนี้ในร่างกายของคุณ B และอาจคิดเลยเถิดไปถึงว่าน่าจะทำยังงั้นยังงี้ หรือยังงี้ยังโง้นกับคุณ B ฯลฯ ถามว่า ทุกเรื่องที่คิดนั้น พูดออกไปได้ทั้งหมดหรือไม่ ตอบว่า ไม่ได้ และหลายเรื่องที่คิดนั้นพูดไม่ได้อยางเด็ดขาดด้วย พูดออกไปแล้ว คุณ B จะต้องโกรธคุณ T ไปจนตายเลยก็ได้ นี่คือเหตุผลที่ท่านสอนว่า อย่าพูดทุกคำที่คิด

แต่เมื่อคุณ T ตกลงใจว่าจะพูดเรื่องอะไรออกไป (ก็เรื่องที่คิดเกี่ยวกับคุณ B นั่นแหละ) คุณ T จะต้องคิดทุกคำที่จะพูดว่า พูดอย่างนี้เหมาะไหม ใช้ถ้อยคำแบบนั้นหรือแบบไหนจึงจะเหมาะ พูดตอนนี้หรือรอไว้พูดตอนไหนดี ฯลฯ ถ้าไม่คิดเสียก่อน แล้วพูดออกไป คุณ B ก็อาจจะโกระธคุณ T ไปจนตายได้อีกเหมือนกัน นี่คือเหตุผลที่ท่านสอนว่า จงคิดทุกคำที่พูด

ขอให้ทุกท่านมีสติในการใช้คำพูดครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 3 มิ.ย. 2554

คิดจะพูดด้วยอกุศลขณะนั้นเป็นปริยุฎฐานกิเลสขณะที่ล่วงทุจริตทางวาจาขณะนั้นเป็นวีติกกัมกิเลสที่อาจเป็นกรรมบถนำเกิดได้..คิดทุกคำพูดหมายความว่าควรพิจารณาคำพูดก่อนที่จะพูด..ไม่ใช่คิดแล้วพูดเลยโดยไม่ไตร่ตรอง (พูดทุกคำที่คิด) ในพระไตรปิฎก..กล่าวว่าไม่ควรรีบพูด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในประการแรกนั้น

เมื่อรีบด่วนพูด กายก็ลำบาก จิตก็แกว่ง เสียงก็พร่า คอก็เครือ แม้คำพูด

ของผู้ที่รีบด่วนพูดก็ไม่สละสลวย ไม่พึงรู้ชัดได้.คลิกอ่านเพิ่มเติมได้คะ.......อย่ารีบด่วนพูด [อรณวิภังคสูตร]และการพูดที่ไม่ไตร่ตรอง..มีผล [๑๘๒๗] บุคคลที่พูดล่วงเลยขอบเขต ย่อมได้ ประสบการจองจำ การถูกฆ่า ความเศร้าโศก และ ความร่ำไห้คลิกอ่านเพิ่มเติมได้คะ.......การพูดดีเป็นศรีแก่ตัว [ตักการิยชาดก] . ..............................................................การพูดต้องเป็นคำจริง เป็นประโยชน์และถูกกาลคะ...ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
natre
วันที่ 9 มิ.ย. 2554
ขออนุโมทนาครับ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ