ในโพธิปักขิยธรรมสังคหะนี้ มีธรรมอยู่ ๗ หมวด

 
ลุงหมาน
วันที่  25 พ.ค. 2554
หมายเลข  18413
อ่าน  4,261

๑. สติปัฎฐาน ๒. สัมมัปปธาน ๓. อิทธิบาท ๔. อินทรีย์ ๕. พละ ๖. โพชฌงค์ ๗. มัค

คังคะ ว่าโดยประเภท มี ๓๗ ประการ

องค์ธรรมของทั้งหมดนี้ มีมหากุศลจิต ๘ แต่ถ้าแบ่งออกโดยสัมปยุตตจิต ก็จะได้มหากุศล

ญาณสัมปยุตตจิต ๔ มหากุศลญาณวิปปยุตตจิต ๔ ที่อยากทราบคือมหากุศลญาณวิปปยุต

ตจิต ๔ ดวงที่ไม่ประกอบด้วยปัญญานี่แหละ ทำไมจึงเป็นองค์ธรรมของโพธิปักขิยธรรมได้

ขอทราบรายละเอียดกับผู้รู้กับทุกท่านด้วยครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 25 พ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

โพธิปักขิยธรรม คือ ธรรมที่เป็นฝักฝ่ายการตรัสรู้ ประกอบด้วยธรรม ๓๗ ประการได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรค ๘

โพธิปักขิยธรรมมีหลายระดับ โพธิปักขิยธรรมเป็นทั้งโลกิยะและโลกุตตระ เป็นทั้ง

ขณะที่อบรมเจริญและขณะที่ประชุมรวมกันเป็นโพธิปักชิยธรรมและดับกิเลสได้

ดังนั้นที่กล่าวในประเด็นว่าทำไม โพธิปักขิยธรรม จึงเป็นมหากุศล 8 ดวง คือเป็น

กุศลที่มีปัญญา เกิดร่วมด้วย 4 ดวงและมีกุศลที่ไม่มีปัญญาเกิดร่วมด้วย 4 ดวง เหตุที่

สงสัยเพราะว่าดูแล้วน่าจะมีปัญญาเสมอ แล้วขณะที่ไม่มีปัญญา 4 ดวงมีไ้ด้อย่างไร

ที่ท่านกล่าวว่ามี 8 ดวงเพราะท่านกล่าวโดยรวมครับ อธิบายว่า ขณะที่อบรมเจริญ

โพธิปักขิยธรรม อบรมเจริญสติปัฏฐาน 4 เป็นต้นในปัญญาระดับต้น ขณะนั้นก็มีวิถีจิต

อื่นเกิดสลับ มีกุศลญาณสัมปยุตเกิดบ้างอยย่างรวดเร็วมาก ท่านจึงกล่าวรวมว่าขณะที่

อบรมโพธิปักขิยธรรม ขณะนั้นก็มีมหากุศล 8 ดวงที่ไม่ประกอบด้วยปัญญาครับ อย่าง

เช่น ขณะที่ฟังธรรม ก็เป็นมหากุศลทั้ง 8 ดวง มีทั้งที่ประกอบด้วยปัญญาและไม่ประกอบ

ด้วยปัญญาสลับกันไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งท่านก็กล่าวรวมว่าเป็นขณะที่อบรมเจริญปัญญา

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 432

แม้เมื่อคิดว่า เราจักเจริญภาวนาดังนี้ ก็ย่อมพิจารณาด้วยกามาวจรกุศลจิต ๘

ดวง ดวงใดดวงหนึ่งนั่นแหละแม้เมื่อเจริญภาวนา ก็ย่อมเจริญด้วยกามาวจรกุศลจิต

๘ ดวง ดวงใดดวงหนึ่งนั่นแหละ แม้เมื่อพิจารณาว่า ภาวนาเราเจริญแล้ว ดังนี้ ก็

ย่อมพิจารณาด้วยกามาวจรกุศล ๘ ดวง ดวงใดดวงหนึ่งเหมือนกัน.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 433

แม้เมื่อฟังก็ย่อมฟังด้วยกามาวจรกุศลจิต ๘ เหล่านั้น ดวงใดดวงหนึ่ง แม้เมื่อ

พิจารณาว่า เราฟังธรรมแล้ว ดังนี้ ก็ย่อมพิจารณาด้วยกามาวจรกุศล ๘

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 25 พ.ค. 2554

แต่ถ้ากล่าวโดยขณะ ขณะที่เป็นโพธิปักขิยธรรม อันเป็นไปในธรรมเครื่องตรัสรู้ อัน

เป็นไปในการอบรมปัญญา ขณะที่สติปัฏฐานเกิด ขณะที่มีความเห็นตรงและขณะที่แทง

ตลอดสภาพธรรม ขณะที่ประชุมองค์มรรค โพธิปักขิยธรรมที่เป็็นความเห็นตรงเป็น

สัมมาทัสนะ การเห็นชอบในขณะนั้นต้องเป็นมหากุศลที่ประกอบด้วยปัญญา 4 ดวงเท่า

นั้นครับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 390

การที่ทิฏฐิดำเนินไปตรงชื่อว่าความเห็นตรง (ทิฏฐิชุกรรม) คำว่าทิฏฺิชุคต นี้ เป็น

ชื่อของสัมมาทัสสนะอันเป็นไปแล้วโดยนัยมีอาทิว่า ทานที่ให้แล้วมีผล. เพราะว่า

ความเห็นตรงนี้ถึงจะเป็นญาณวิปปยุตในตอนต้น หรือตอนหลัง แต่ในเวลาทำความ

เห็นให้ตรงแล้วก็เป็นญาณสัปปยุตนั่นเอง.

---------------------------------------------------------------------------------

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 433

แม้เมื่อคิดว่า เราจักกระทำทิฏฐิให้ตรง ดังนี้ก็ย่อมคิดด้วยกามาวจรกุศลจิต ๘

เหล่านั้น ดวงใดดวงหนึ่ง ก็เมื่อจะกระทำความเห็นให้ตรง ก็ย่อมกระทำโดยญาณ

สัมปยุต ๔ ดวงใดดวงหนึ่ง

-------------------------------------------------------------------------------

ดังนั้นจึงเป็นที่เข้าใจว่าเมื่อกล่าวถึงโพธิปักขิยธรรมหรือขณะที่อบรมปัญญาระดับต้น

ก็มีกุศลที่ไม่ประกอบด้วยปัญญาสลับ กับกุศลที่ประกอบด้วยปัญญา ท่านจึงกล่าวรวม

ว่าเป็นขณะที่อบรม เป็นมหากุศล 8 ดวง คือ กุศลที่ประกอบด้วยปัญญาและไม่ประกอบ

ด้วยปัญญาอย่างละ 4 ดวงรวมเป็น 8 แต่ถ้าเป็นขณะที่มีความเห็นตรงแทงตลอดสภาพ

ธรรม ขณะที่ประชุมกันของโพธิปักขิยธรรม 38 แล้วในขณะที่เป็นโลกุตตระ ในขณะ

มรรคแล้วจะต้องเป็นมหากุศลที่ประกอบด้วยปัญญาเท่านั้นครับใน 4 ดวง

ขออนุโมทนาครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ลุงหมาน
วันที่ 25 พ.ค. 2554

ขอขอบคุณ paderm มากครับ

ที่ช่วยขจัดให้หายความข้องใจ ก็พยายามอ่านอยู่หลายรอบจึงเข้าใจว่าที่เจริญโพธิ

ปักขิยธรรมนั้นมิได้มีแต่มหากุศลญาณสัมปยุตตจิต ๔ อย่างเดียว ยังมีมหากุศลวิปปยุต

ตจิต ๔ สลับกันเกิดขึ้นก็ได้จึงต้องใช้มหากุศลจิต ๘ ครับขอบคุณนะครับ

และผมเองคงไปนึกถึงอีกว่า มหาวิปาก 8 ดวงอีกนะครับ ว่าบุคคลที่เกิดมาที่เป็นทวิ

เหตุกบุคคลนี้ จะพยายามกระทำสติปัฏฐานอย่างแรงกล้าในชาตินี้มีโอกาสจะได้ ฌาน

มรรค ผล นิพพานในชาตินี้บ้างไหม และถ้าจุติจากชาตินี้จะไปปฏิสนธิในภูมิไหนได้ง่าย

มากที่สุดและจะสังเกตได้อย่างไรว่าเราเกิดมาด้วยติเหตุกหรือทวิเหตุก

โอกาสหน้าจะมาขอถามใหม่ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 25 พ.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 3

อนุโมทนาครับที่เข้าใจในประเด็นนี้ ส่วนประเด็นเรื่องบุคคลที่ปฏิสนธิด้วยทวิเหตุ

คือปฏิสนธิด้วย อโลภะและอโทสะ แต่ไม่มีปัญญาที่เป็นอโมหะ ไม่มีทางที่ะบรรลุใน

ชาตินั้นครับ เพราะปฏิสนธิไม่ประกอบด้วยปัญญา ถึงแม้จะฟังมากเพียงใดก็ตามครับ

ส่วนจะสังเกตอย่างไรว่าเป็นทวิเหตุบุคคล หรือ ติเหตุกบุคคล คงสังเกตภายนอก

ไม่ไ่ด้ครับ แต่เมื่อไหร่ทีไ่ด้บรรลุฌานหรือได้วิปัสสนาญาน หรือถึงการบรรลุมรรคผลจึง

รู้ได้ว่าเป็นติเหตุกบุคคลครับ สิ่งที่สำคัญที่สุดไม่ว่าจะเป็นบุคคลประเภทใดก็ฟังพระ

ธรรม ศึกษาพระธรรมต่อไปครับ ขออนุโมทนาคุณลุงหมานครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 25 พ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น จะหาความเจริญสมบูรณ์พร้อมของปัญญาได้จากที่ไหน ถ้าไม่เริ่มตั้งแต่ขั้นต้น ด้วยการฟัง ด้วยการศึกษาพระธรรม ศึกษาในสิ่งที่มีจริง เพื่อเข้าใจถูก เห็นถูกตามความเป็นจริง ซึ่งจะเห็นได้ว่า องค์ธรรมที่เป็นไปในฝักฝ่ายของการตรัสรู้นั้น ไม่ขาดปัญญาเลย ไม่ว่าจะเป็นหมวดใดก็ตาม แต่ตามปกติในขั้นของการอบรมจนกว่าจะถึงความสมบูรณ์พร้อมของปัญญานั้น ไม่ใช่ว่าจะมีแต่ปัญญาเกิดตลอด ซึ่งเป็นไปไม่ได้ ย่อมมีอกุศลจิตเกิดเป็นธรรมดา ขณะที่อกุศลจิตเกิด ไม่มีปัญญาเกิด พร้อมทั้งไม่มีธรรมฝ่ายดีอื่นๆ เกิดด้วย ซึ่งกิเลสอกุศลทั้งหลายเหล่านี้ จะถึงการถูกดับได้ตามลำดับ เมื่อถึงความเป็นพระอริยบุคคลเริ่มตั้งแต่ขั้นต้น จนกระทั่่งสูงสุด คือ ถึงความเป็นพระอรหันต์ เป็นการบริบูรณ์ของโพธิปักขิยธรรม ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณลุงหมาน,คุณผเดิมและทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 25 พ.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ลุงหมาน
วันที่ 26 พ.ค. 2554

ขออนุโมทนาสาธุครับ...กับคำตอบของท่าน อ.ผเดิม อ. คำปั่น ที่ให้ธรรมะเป็นธรรมทาน

เป็นคำตอบที่ตอบอย่างชัดเจนมากเข้าใจได้ง่ายและตรงกับคำถาม

ผมเพิ่งสมัครเป็นสมาชิกใหม่หากเป็นคำถามที่เลอะเลือนไม่มีประโยชน์ ไม่มีสาระอันใดก็

ต้องขออภัยและช่วยแนะนำด้วยครับ อันเนื่องมาจากความรู้น้อยนั่นเองขอบคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ลุงหมาน
วันที่ 26 พ.ค. 2554

บุคคลที่ฆาราวาสเมื่อได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ก็จะต้องบวชเป็นพระภิกษุในวันนั้น

มิฉะนั้นก็จะต้องปรินิพพาน....มีเหตุผลอะไร....และถ้าเทวดาบรรลุเป็นพระอรหันต์

เล่า มิต้องปรินิพพานในวันเลยหรือเพราะเทวดาจะบวชเป็นพระภิกษุก็ไม่ได้ จะหาที่

หลีกเร้น ก็ไม่มี ภูมิของเทวดานั้นมีแต่กามสุข จึงเป็นสถานที่ไม่เหมาะสมกับเทวดาที่

เป็นพระอรหันต์หรือถ้าหากจะต้องปรินิพพานในวันนั้น ภูมิของเทวดาจะมิต้องขาดพระ

อรหันต์หรือๆ จะย้ายภูมิได้ไหมเช่นไปอยู่ในพรหมภูมิ และถ้าเป็นเช่นนั้นได้จริงและก็

เทวดาผู้ไม่ได้ฌานล่ะจะไปยังไง....มีกำหนดกฏเกณอะไรไหมสำหรับภูมิของเทวดา....

ถามเพื่อทราบครับ

ขอขอบคุณคำตอบไว้ล่วงหน้าครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
paderm
วันที่ 26 พ.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 8 ครับ จากคำถามที่ว่า

บุคคลที่เป็นฆราวาสเมื่อได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ก็จะต้องบวชเป็นพระภิกษุในวันนั้น

มิฉะนั้นก็จะต้องปรินิพพาน....มีเหตุผลอะไร....

-----------------------------------------------------------------------------------------

เหตุผลดังนี้ครับ การบรรลุเป็นพระอรหันต์ พระอรหันต์เป็นคุณธรรมที่สูงสุุด ดังนั้น

เพศที่รองรับคุณะรรมก็ต้องเหมาะกับการรองรับคุณธรรมนี้ คือเพศบรรพชิตในภพภูมิ

มนุษย์ครับ

ส่วนเพศฆราวาสเป็นเพศที่ต่ำ ไม่สามารถรองรับคุณธรรมคือความเป็นพระอรหันต์ื

ได้ครับ เปรียบเหมือนว่า หญ้า ไม่สามารถรองรับก้อนหินใหญ่ได้ฉันใด แม้เพศคฤหัสถ์

ก็ไม่สามารถรองรับคุณธรรมคือความเป็นพระอรหันต์ได้ เปรียบเหมือนคนที่มีบุญน้อย

แต่ได้ปราบดาได้เป็นกษัตริย์ เพราะความที่ตนมีบุญน้อย ไม่มีความสามารถก็

ไม่สามารถปกครองราชสมบัติและเกิดความเดือดร้อนตามมามากมาย จะโทษสมบัติก็

ไม่ไ่ด้ ต้องโทษความที่ตนมีบุญ้น้อย ฉันใด ผู้ที่มีเพศต่ำคือคฤหัสถ์ไม่สามารถรองรับ

คุณธรรมคือความเป็นพระอรหันต์ หากไม่บวชก็ต้องปรินิพพานในวันนั้น จะโทษความ

เป็นพระอรหันต์ไม่ไ่ด้ เพราะเพศนั้นคือเป็นเพศคฤหัสถ์ไม่เพียงพอที่จะรองรับคุณธรรม

ขั้นสูงได้ครับ ดังนั้นผู้ที่ไม่บวชเมื่อเป็นมนุษย์แล้วย่อมปรินิพพานในวันนั้น แต่ถ้าบวชก็

สามารถดำรง มีชีวิตอยู่ได้เพราะเพศบรรพชิต สามารถดำรงคุณธรรมความเป็นพระ

อรหันต์ได้ครับ ซึ่งตัวอย่างผู้ที่บรรลุเป็นพระอรหันต์ในพศฆราวาสแล้วไม่ไ่ด้บวช

ปรินิพพานในวันนั้นก็เป็นท่านสันตติมหาอำมาตย์ ส่วนผู้ที่บรรลุเป็นพระอรหันต์ใน

เพศฆราวาสแล้วบวช สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เช่น พระภัททชิเถระครับ

เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่ครับ

ฆราวาสได้เป็นพระอรหัตหากไม่บวชต้องเข้าสู่พระนิพพาน [มิลินทปัญหา]

------------------------------------------------------------

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 445 บทว่า นตฺถิ โข วจฺฉ ดูก่อนวัจฉะ ไม่มีเลย คือ ผู้ยังไม่ละคิหิสังโยชน์ ชื่อว่าจะทำที่สุดทุกข์ย่อมไม่มี.แม้บุคคลเหล่าใดดำรงเพศคฤหัสถ์คือ สันตติมหาอำมาตย์ อุคคเสนะ เศรษฐีบุตร วีตโสกธารกะ ก็บรรลุพระอรหัตได้. แม้บุคคลเหล่านั้น ก็ยังความใคร่ในสังขารทั้งปวงให้แห้งไปด้วยมรรคแล้วบรรลุได้. แต่เมื่อบรรลุแล้วก็ไม่ตั้งอยู่ด้วยเพศนั้น. ชื่อว่าเพศคฤหัสถ์นี้เลว ไม่สามารถทรงคุณอันสูงสุดไว้ได้. เพราะฉะนั้น ผู้ตั้งอยู่ในเพศคฤหัสถ์นั้นบรรลุพระอรหัตแล้วย่อมบวช หรือปรินิพพานในวันนั้นเอง

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
paderm
วันที่ 26 พ.ค. 2554

และจากคำถามที่ว่า

ถ้าเทวดาบรรลุเป็นพระอรหันต์เล่า มิต้องปรินิพพานในวันเลยหรือเพราะเทวดาจะ

บวชเป็นพระภิกษุก็ไม่ได้ จะหาที่หลีกเร้น ก็ไม่มี ภูมิของเทวดานั้นมีแต่กามสุข จึงเป็น

สถานที่ไม่เหมาะสมกับเทวดาที่เป็นพระอรหันต์หรือถ้าหากจะต้องปรินิพพานในวันนั้น

ภูมิของเทวดาจะมิต้องขาดพระอรหันต์หรือๆ จะย้ายภูมิได้ไหม เช่นไป อยู่ในพรหมภูมิ

และถ้าเป็นเช่นนั้นได้จริงและก็เทวดาผู้ไม่ได้ฌานล่ะจะไปยังไง....มีกำหนดกฏเกณฑ์

อะไรไหมสำหรับภูมิของเทวดา....ถามเพื่อทราบครับ

---------------------------------------------------------------------------------------

สำหรับภพภูมิที่เป็นเทวดา เมื่อบรรลุคุณธรรม เป็นพระโสดาบันและพระสกทาคามี

สามารถดำรงอยู่ในเทวดาทั้ง 6 ชั้นและพรหมโลกได้ แต่เมื่อบรรลุเป็นพระอนาคามี

เมื่อเป็นเทวดา ถึงความเป็นพระอนาคามีย่อมย้ายภพภูมิไปเกิดที่พรหมโลกอันเป็นที่

สมควรเหมาะกับพระอนาคามีครับ แต่เมื่อเทวดาที่บรรลุคุณธรรมเป็นพระอรหันต์แล้ว

หากเป็นภุมมเทวดาคือเทวดาภาคพื้น ย่อมมีที่หลีกเล้น เช่น มีวิมานอยู่ที่ต้นไม้ อัน

เป็นที่หลีกเล้นได้ เทวดาที่เป็นภุมมเทวดาที่บรรลุเป็นพระอรหันต์ ย่อมดำรงอยู่ได้

เพราะมีที่หลีกเล้นอันสมควรครับ แต่ถ้าเป็นเทวดา 6 ชั้น ที่ไม่ใช่ภุมมเทวดา ที่เหล่า

นั้นเป็นที่ไม่เหมาะสม ไม่เหมาะในการอยู่วิเวกของพระอรหันต์ครับและไม่มีที่ที่สมควร

หลีกเล้น ดังนั้นท่านก็ปรินิพพานเลยก็ได้ หรือในวันนั้น หรือ องค์ใดได้ฌานท่านก็ย้าย

ภพภูมิไปเกิดที่พรหมโลกก็ได้ ตราบใดที่กรรมที่จะทำให้ท่านจุติหรือตายยังไม่มาถึงครับ

--------------------------------------------------------------------------------------

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 445

ผู้ตั้งอยู่ในเพศคฤหัสถ์นั้นบรรลุพระอรหัตแล้วย่อมบวช หรือปรินิพพานในวันนั้นเอง

แต่ภุมมเทวดายังดำรงอยู่ได้. เพราะเหตุไร. เพราะมีโอกาสที่จะแฝงตัวอยู่ได้.ในกามภพที่เหลือ พระอริยบุคคล ๓ จำพวกมีพระโสดาบันเป็นต้น ยังดำรงอยู่ได้ใน

มนุษยโลก. ในกามาวจรเทวโลก พระโสดาบันและพระสกทาคามียังดำรงอยู่ได้. แต่

พระอนาคามีและพระขีณาสพจะดำรงอยู่ในกามาวจรเทวโลกนี้ไม่ได้. เพราะเหตุไร.

เพราะที่นั้นมิใช่เป็นที่อยู่ของชนผู้ละอายแล้ว. และที่นั้นมิใช่เป็นที่ปกปิดที่สมควรแก่

วิเวกของพระขีณาสพเหล่านั้น.

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
wannee.s
วันที่ 26 พ.ค. 2554

พูดถึงขณะจิต บางขณะก็มีปัญญาเกิดร่วมด้วย บางขณะก็ไม่ีมีัปัญญาเกิดร่วมด้วย

ไม่ใช่ว่ากุศลจะต้องมีปัญญาเกิดร่วมด้วยทุกครั้ง เช่น ขณะที่ฟังธรรมมีัปัญญาเกิด

ร่วมด้วยก็ได้ หรือมีแต่ศรัทธาแต่ไม่ประกอบด้วยปัญญาก็ได้ กว่าที่สติจะเกิด กว่า

ที่ปัญญาจะเจริญขึ้นไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องใช้่เวลาที่อบรมยาวนานมากนับชาติไม่ถ้วนค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
ลุงหมาน
วันที่ 26 พ.ค. 2554
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 18413 ความคิดเห็นที่ 11 โดย wannee.s

พูดถึงขณะจิต บางขณะก็มีปัญญาเกิดร่วมด้วย บางขณะก็ไม่ีมีัปัญญาเกิดร่วมด้วย

ไม่ใช่ว่ากุศลจะต้องมีปัญญาเกิดร่วมด้วยทุกครั้ง เช่น ขณะที่ฟังธรรมมีัปัญญาเกิด

ร่วมด้วยก็ได้ หรือมีแต่ศรัทธาแต่ไม่ประกอบด้วยปัญญาก็ได้ กว่าที่สติจะเกิด กว่า

ที่ปัญญาจะเจริญขึ้นไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องใช้่เวลาที่อบรมยาวนานมากนับชาติไม่ถ้วนค่ะ

ขอขอบคุณ wannee.s มากครับที่ช่วยขยายความให้ชัดเจนขึ้น

ขออนุโมทนาในกุศลจิตครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
ลุงหมาน
วันที่ 26 พ.ค. 2554
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 18413 ความคิดเห็นที่ 9 โดย paderm

เรียนความเห็นที่ 8 ครับ จากคำถามที่ว่า

บุคคลที่เป็นฆราวาสเมื่อได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ก็จะต้องบวชเป็นพระภิกษุในวันนั้น

มิฉะนั้นก็จะต้องปรินิพพาน....มีเหตุผลอะไร....

-----------------------------------------------------------------------------------------

เหตุผลดังนี้ครับ การบรรลุเป็นพระอรหันต์ พระอรหันต์เป็นคุณธรรมที่สูงสุุด ดังนั้น

เพศที่รองรับคุณะรรมก็ต้องเหมาะกับการรองรับคุณธรรมนี้ คือเพศบรรพชิตในภพภูมิ

มนุษย์ครับ

ส่วนเพศฆราวาสเป็นเพศที่ต่ำ ไม่สามารถรองรับคุณธรรมคือความเป็นพระอรหันต์ื

ได้ครับ เปรียบเหมือนว่า หญ้า ไม่สามารถรองรับก้อนหินใหญ่ได้ฉันใด แม้เพศคฤหัสถ์

ก็ไม่สามารถรองรับคุณธรรมคือความเป็นพระอรหันต์ได้ เปรียบเหมือนคนที่มีบุญน้อย

แต่ได้ปราบดาได้เป็นกษัตริย์ เพราะความที่ตนมีบุญน้อย ไม่มีความสามารถก็

ไม่สามารถปกครองราชสมบัติและเกิดความเดือดร้อนตามมามากมาย จะโทษสมบัติก็

ไม่ไ่ด้ ต้องโทษความที่ตนมีบุญ้น้อย ฉันใด ผู้ที่มีเพศต่ำคือคฤหัสถ์ไม่สามารถรองรับ

คุณธรรมคือความเป็นพระอรหันต์ หากไม่บวชก็ต้องปรินิพพานในวันนั้น จะโทษความ

เป็นพระอรหันต์ไม่ไ่ด้ เพราะเพศนั้นคือเป็นเพศคฤหัสถ์ไม่เพียงพอที่จะรองรับคุณธรรม

ขั้นสูงได้ครับ ดังนั้นผู้ที่ไม่บวชเมื่อเป็นมนุษย์แล้วย่อมปรินิพพานในวันนั้น แต่ถ้าบวชก็

สามารถดำรง มีชีวิตอยู่ได้เพราะเพศบรรพชิต สามารถดำรงคุณธรรมความเป็นพระ

อรหันต์ได้ครับ ซึ่งตัวอย่างผู้ที่บรรลุเป็นพระอรหันต์ในพศฆราวาสแล้วไม่ไ่ด้บวช

ปรินิพพานในวันนั้นก็เป็นท่านสันตติมหาอำมาตย์ ส่วนผู้ที่บรรลุเป็นพระอรหันต์ใน

เพศฆราวาสแล้วบวช สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เช่น พระภัททชิเถระครับ

เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่ครับ

ฆราวาสได้เป็นพระอรหัตหากไม่บวชต้องเข้าสู่พระนิพพาน [มิลินทปัญหา]

------------------------------------------------------------

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 445 บทว่า นตฺถิ โข วจฺฉ ดูก่อนวัจฉะ ไม่มีเลย คือ ผู้ยังไม่ละคิหิสังโยชน์ ชื่อว่าจะทำที่สุดทุกข์ย่อมไม่มี.แม้บุคคลเหล่าใดดำรงเพศคฤหัสถ์คือ สันตติมหาอำมาตย์ อุคคเสนะ เศรษฐีบุตร วีตโสกธารกะ ก็บรรลุพระอรหัตได้. แม้บุคคลเหล่านั้น ก็ยังความใคร่ในสังขารทั้งปวงให้แห้งไปด้วยมรรคแล้วบรรลุได้. แต่เมื่อบรรลุแล้วก็ไม่ตั้งอยู่ด้วยเพศนั้น. ชื่อว่าเพศคฤหัสถ์นี้เลว ไม่สามารถทรงคุณอันสูงสุดไว้ได้. เพราะฉะนั้น ผู้ตั้งอยู่ในเพศคฤหัสถ์นั้นบรรลุพระอรหัตแล้วย่อมบวช หรือปรินิพพานในวันนั้นเอง

ขอบคุณแสดงความคิดเห็นที่ ๙-๑๐ ครับ

เข้าใจดีมากครับ และยังช่วยยกหลักฐานอ้างอิง เป็นสิ่งที่อยากรู้มานานแล้วครับ

กราบขอบพระคุณอย่างยิ่ง

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
ลุงหมาน
วันที่ 26 พ.ค. 2554

เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ เป็นภูมิสุดท้ายของอรูปภูมิ ๔ มีบุคคลเกิดได้ ๘ บุคคลคือ

ติเหตุกปุถุชน ๑ อริยะเบื้องบน ๗ (เว้นโสดาปัตติมรรค)

พระอริยะเบื้องบน ๗ ย่อมปรินิพพานในภูมินั้นโดยที่ไม่กลับมายังภูมิที่ต่ำกว่า

แต่ที่อยากทราบนะครับว่า ติเหตุกปุถุชน ๑ นั้นไม่สามารถฟังธรรมจากใครได้ก็หมด

โอกาสที่จะบรรลุเป็นพระอริยะได้ ทีนี้เมื่อท่านหมดอายุในภูมินั้นท่านจะอยู่ซ้ำภูมิหรือจะ

ต้องไปเกิดในภูมิไหนอีก หรือถ้าเกิดซ้ำภูมิไปเรื่อยๆ ก็หมดโอกาสบรรลุธรรม ที่จะถามก็

คือ อุทกดาบส ผู้ที่เคยเป็นอาจารย์ของพระพุทธเจ้ามาก่อนตามที่เคยอ่านพบมานะครับ

ขอทราบจากผู้รู้นะครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
paderm
วันที่ 26 พ.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 14 ครับ

ผู้ที่เกิดในอรูปพรหมภูมิที่ยังเป็นปุถุชน เมื่อจุติจากอรูปพรหมแล้ว จะไม่เกิดในอบายทันที

ครับ จะเกิดในสุคติภูมิเท่านั้นเพียงแต่ว่าจะไปเกิดในสุคติภูมิใดก็แล้วแต่กรรมจะให้ผลครับ

เกิดเป็นมนุษย์ก็ได้ เทวดาก็ได้ หรือเกิดเป็นรูปพหรม อรูปพรหมต่อก็ได้ ก็แล้วแต่กรรมใดที่

จะให้ผล แต่จะไม่เกิดในอบายภูมิและสุทธาวาสภูมิในชาติที่จุติจากอรูปพรหมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
ลุงหมาน
วันที่ 27 พ.ค. 2554
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 18413 ความคิดเห็นที่ 15 โดย paderm

เรียนความเห็นที่ 14 ครับ

ผู้ที่เกิดในอรูปพรหมภูมิที่ยังเป็นปุถุชน เมื่อจุติจากอรูปพรหมแล้ว จะไม่เกิดในอบายทันที

ครับ จะเกิดในสุคติภูมิเท่านั้นเพียงแต่ว่าจะไปเกิดในสุคติภูมิใดก็แล้วแต่กรรมจะให้ผลครับ

เกิดเป็นมนุษย์ก็ได้ เทวดาก็ได้ หรือเกิดเป็นรูปพหรม อรูปพรหมต่อก็ได้ ก็แล้วแต่กรรมใดที่

จะให้ผล แต่จะไม่เกิดในอบายภูมิและสุทธาวาสภูมิในชาติที่จุติจากอรูปพรหมครับ

ขอกราบอนุโมทนาในกุศลจิตครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
ลุงหมาน
วันที่ 28 พ.ค. 2554

ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่มาก บางท่านบอกว่าต้นไม้นั้นมีชีวิต บางท่านบอกว่าไม่มีชีวิต

ขอความเห็นของทุกท่านว่าเป็นอย่างไร และขอให้อธิบายด้วยครับเพื่อความเข้าใจ

ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
paderm
วันที่ 28 พ.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 18 ครับ ต้นไม้ไม่ใช่รูปที่เกิดจากกรรม จึงไม่ใช่รูปที่ทรงชีวิต รูปของสัตว์บุคคลมีชีวิต เป็นรูป

ซึ่งเกิดเพราะกรรมเป็นสมุฏฐาน ทำให้ทรงสภาพที่มีชีวิต ซึ่งต่างกับต้นไม้ซึ่งไม่ได้

เกิดเพราะกรรมเป็นสมุฏฐานครับ ดังนั้นต้นไม้เป็นเพียงสภาพธรรมที่เป็นรูปธรรม

ประชุมรวมกัน ไม่มีจิต เจตสิกเลย ดังนั้นการวัดว่ามีชีวิตจึงไมไ่ด้วัดที่การเคลื่อนไหว

หรือการเจริญเติบโต เพราะการเคลื่อนไหว เจริญเติบโต เกิดจากอุตุเป็นปัจจัยก็ได้ครับ

ไม่ใช่กรรมเป็นปัจจัยครับ ต้นไม้จึงไม่มีชีวิตเลยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
ลุงหมาน
วันที่ 30 พ.ค. 2554

เพราะเหตุใดพระพุทธองค์จึงมีความขวนขวายน้อย น้อมไปเพื่อจะไม่แสดงธรรม?

จึงทำให้ท้าวสหัมบดีพรหมมาอาราธนาเพื่อการแสดงธรรม หรือเป็นธรรมเนียมของพระ

พุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ ทั้งๆ ที่พระพุทธองค์ ตั้งใจที่จะรื้อขนสัตว์ออกจากสังสารวัฏฏ์ จึง

ได้สร้างบารมีมาถึง 4 อสงไขย แสนกัปป์ ดูแล้วพระพุทธองค์ไม่น่าจะมีความคิดตรงนี้

ขออนุโมทนาไว้ล่วงหน้าครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
paderm
วันที่ 30 พ.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 19 ครับ

ด้วยเหตุผล 2 ประการคือเพราะพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ ละเอียด ลึกซึ้ง รู้ได้ยาก

และอีกประการหนึ่ง พระองค์ทรงเห็นสัตว์โลกมากไปด้วยกิเลส ยากที่จะเข้าใจพระธรรมที่

พระองค์ทรงตรัสรู้ และก็เป็ฯธรรมเนียมทั่วไปด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
ลุงหมาน
วันที่ 31 พ.ค. 2554

เมื่อพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าตั้งพุทธปณิธานที่จะแสดงธรรมสั่งสอนเหล่าเวไนยสัตว์ทั้งปวงด้วยพระมหากรุณาคุณ จึงทรงพิจารณาว่าบุคคลผู้ใดสมควรจะได้ฟังพระธรรมเทศนา ลำดับนั้นพระพุทธองค์ทรงนึกถึง อาฬารดาบส กาลามโคตร และ อุทกดาบส รามบุตร ซึ่งพระองค์เคยเสด็จไปทรงศึกษาหาความรู้ก่อนที่สำเร็จสัมมาสัมโพธิญาณ แต่มีเทพยดาองค์หนึ่งได้เข้ามากราบทูลว่าบัดนี้อาฬารดาบสได้ดับขันธ์สิ้นชีพล่วงไปได้ ๗ วันแล้ว สมเด็จพระชินสีห์จึงส่องทิพยจักษุฌานดูก็ทรงประจักษ์ว่าเป็นจริงตามนั้น และบัดนี้พระดาบสได้ไปบังเกิดในอากิญจัญญาตนอรูปภพ อรูปพรหมชั้นที่ ๓ จึงมีพุทธดำริว่าหากพระดาบสยังมีชีวิตอยู่ต่ออีก ๑ วันก็จะได้สดับพระสัทธรรมและสามารถบรรลุมรรคผลสำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้อย่างแน่นอน ด้วยเป็นบัณฑิตชาติอุดมด้วยสติปัญญาและกมลสันดานเบาบางจากกิเลสมลทิน

ลำดับต่อมาพระพุทธองค์ได้ทรงรำลึกถึงเหล่าปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ อันได้แก่ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานมะ และอัสสชิ ซึ่งเคยอุปัฏฐากปรนนิบัติพระองค์มา ทรงพิจารณาด้วยพระญาณจึงทราบว่าบัดนี้เหล่าปัญจวัคคีย์สถิตอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสีแห่งแคว้นกาสี อันอยู่ห่างจากตำบลอุรุเวลาเสนานิคมเป็นระยะเวลาประมาณ ๑๘ โยชน์ ทรงเห็นว่าเหล่าปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ จะสามารถบรรลุธรรมได้ และเบื้องแรกสมเด็จพระสัพพัญญูจะเหาะเสด็จไปทางอากาศ แต่พิจารณาว่าควรเสด็จพระพุทธดำเนินไปทางปฐมพีเพื่อจะได้สงเคราะห์แก่อุปกาชีวก ซึ่งต่อไปภายหน้าจะได้บรรพชาในพระพุทธศาสนาศึกษาธรรมจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ทั้งนี้ก็ด้วยพระมหากรุณาคุณซึ่งมีต่อมวลมนุษย์และเหล่าสรรพสัตว์อันหาที่สุดมิได้

พระผู้มีพระภาคจึงเสด็จพุทธดำเนินโดยพระบาทไปในเวลาเช้าของวันขึ้น ๑๔ ค่ำเดือน ๘ เมื่อพบและทรงแสดงธรรมแก่อุปกาชีวกพอเป็นแนวทางแห่งการบรรพชาในเบื้องหน้า และเสด็จพุทธดำเนินต่อจนถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวันใน เวลาเย็น

การที่เสด็จจากตำบลพระศรีมหาโพธิ์จนกระทั่งถึงกรุงพาราณสีแสดงให้เห็นพระวิริยะอุตสาหะอันแรงกล้า และการตั้งพระทัยแน่วแน่ที่จะประทานปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์เป็นพวกแรกอย่างแท้จริง เพราะระยะทางระหว่างตำบลพระศรีมหาโพธิ์ถึงพาราณสีนั้นไกลมาก ซึ่งการเสด็จดำเนินด้วยพระบาทเปล่าอาจใช้เวลาหลายวัน แต่ปรากฏว่าพอตอนเย็นวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน อาสาฬหะ นั้น พระพุทธองค์ก็เสด็จถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี อันเป็นที่อยู่ของปัจจวัคคีย์

เมื่อพระพุทธองค์ทรงดำเนินไปด้วยพระบาทเป็นระยะทาง ๑๘ โยชน์นั้นก็เพื่อประโยชน์แก่อุปกชีวก และได้พบกับอุปกะชีวกเป็นคนแรกในระหว่างทาง และสนทนากันเพียงเล็กน้อยแล้วจากไป เพื่อประโยชน์อันใดที่พระพุทธองค์จึงไม่แสดงธรรมโปรดอุปกชีวกในขณะนั้น ทั้งๆ ที่อุปกชีวกมีคุณธรรมพร้อมที่จะรับฟังธรรมแล้วบรรลุได้.....ขอแสดงความคิดเห็นด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 22  
 
paderm
วันที่ 31 พ.ค. 2554

เรียนความเห็นที่ 22 ครับ จากคำถามที่ว่า

เมื่อพระพุทธองค์ทรงดำเนินไปด้วยพระบาทเป็นระยะทาง ๑๘ โยชน์นั้นก็เพื่อ

ประโยชน์แก่อุปกชีวก และได้พบกับอุปกะชีวกเป็นคนแรกในระหว่างทาง และสนทนา

กันเพียงเล็กน้อยแล้วจากไป เพื่อประโยชน์อันใดที่พระพุทธองค์จึงไม่แสดงธรรมโปรด

อุปกชีวกในขณะนั้น ทั้งๆ ที่อุปกชีวกมีคุณธรรมพร้อมที่จะรับฟังธรรมแล้วบรรลุได้.....ขอ

แสดงความคิดเห็นด้วยครับ

----------------------------------------------------------------------------------

เรียนอย่างนี้ครับ พระพุทธเจ้าทรงทราบว่าญาณ ปัญญาของอุปกาชีวก ยังไม่แก่กล้า

แต่พระองค์ทรงเปล่งพระอุทาน สนทนาเล็กน้อยเพื่อเป็นอุปนิสัยให้บรรลุธรรมใน

อนาคตครับ คือ หลังจากนั้น อุปกาชีวกก็ไปมีภรรยาสาว ตอนหลังถูกภรรยาพูดไม่ดี

อุปกาชีวกก็เลยหนีภรรยา ไปพบพระพุทธเจ้าเพราะนึกถึงเมื่อเคยพบกันครั้งแรก พระ

พุทธเจ้าแสดงธรรม ท่านได้บรรลุเป็นพระอนาคามีครับ และเมื่อท่านสิ้นชีวิตท่านก็ไป

เกิดที่พรหมโลกเป็นพระอรหันต์ครับ ดังนั้นเมื่อพบกันครั้งแรก ปัญญาท่านยังไม่แก่กล้า

พอที่จะบรรลุ แต่พระองค์ทรงเปล่งพระอุทานเพื่อเป็นอุปนิสัยให้อุปกาชีวก บรรลุใน

อนาคตและที่สำคัญ บุคคลที่จะบรรลุคนแรกจะเป็นอุปกาชีวกไม่ได้นอกจากพระอัญ

ญาโกณทัญญะที่ตั้งอธิษฐานทำบุญมาว่าขอเป็นผู้บรรลุธรรมเป็นคนแรกครับ ในภพ

มนุษย์ ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 23  
 
ลุงหมาน
วันที่ 31 พ.ค. 2554

ขออนุโมทนาคำตอบของท่านอาจารย์เป็นคำตอบที่ชัดเจนมากครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 24  
 
SOAMUSA
วันที่ 4 มิ.ย. 2554

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านค่ะ

กราบขอบพระคุณ ท่านเจ้าของคำถาม และท่านผู้ตอบค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 25  
 
ผ้าเช็ดธุลี
วันที่ 9 มิ.ย. 2554
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 26  
 
ING
วันที่ 11 ก.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอขอบพระคุณ และขออนุโมทนาอย่างยิ่งสำหรับทั้งผู้ถามและผู้ตอบ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านด้วยค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ