การไม่เกี่ยวข้องกัน อสังสัคคกถา

 
pirmsombat
วันที่  24 พ.ค. 2554
หมายเลข  18407
อ่าน  2,472

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สังสัคคะ (ความเกี่ยวข้อง) ในบทว่า อสํสคฺคกถํ (กถาเรื่องการ

ไม่เกี่ยวข้องกัน) นี้มีอยู่ ๕ อย่าง คือ สวนสังสัคคะ (เกี่ยวข้องด้วยการฟัง) ๑

ทัสสนสังสัคคะ (เกี่ยวข้องด้วยการเห็น) ๑ สมุลลปนสังสัคคะ (เกี่ยวข้อง

ด้วยการสนทนา) ๑ สัมโภคสังสัคคะ (เกี่ยวข้องด้วยการบริโภคร่วมกัน) ๑

กายสังสัคคะ (เกี่ยวข้องทางกาย) ๑.

ในสังสัคคะ ๕ อย่างนั้น ภิกษุในศาสนานี้ได้ฟังมาว่า ที่บ้านหรือ

นิคมโน้นมีหญิงหรือหญิงวัยรุ่น มีรูปสวย น่าดู น่ารัก ประกอบด้วยผิว

พรรณงามยิ่งนัก ดังนี้ ภิกษุนั้นได้ฟังดังนั้นแล้วตกหลุมรัก ไม่สามารถ

จะประพฤติพรหมจรรย์อยู่ได้ หมดกำลังที่จะเล่าเรียน เวียนมาเพื่อความ

เป็นคนเลว เพราะเหตุนั้น ราคะจึงเกิดด้วยวิถีแห่งโสตวิญญาณของภิกษุนั้น

ผู้ฟังซึ่งสมบัติมีรูปเป็นต้นที่คนอื่นบอกอย่างนี้ หรือฟังเสียงแม้หัวเราะ

และรำพันด้วยตนเอง ชื่อว่า สวนสังสัคคะ.

ภิกษุในศาสนานี้ไม่ได้ฟัง แต่เห็นเองซึ่งหญิงหรือหญิงวัยรุ่นรูปสวย

น่าดู น่ารัก ประกอบด้วยผิวพรรณงามยิ่งนัก ภิกษุนั้นเห็นเข้าแล้ว

ตกหลุมรัก ไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์อยู่ได้ หมดกำลังที่จะเล่าเรียน

เวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว เพราะเหตุนั้น ราคะจึงเกิดด้วยวิถีแห่งจักขุ-

วิญญาณของภิกษุผู้แลดูรูปอันเป็นข้าศึกอย่างนี้ ชื่อว่า ทัสสนสังสัคคะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 90

อนึ่ง ราคะเกิดด้วยการสนทนาปราศรัยกันและกัน ชื่อว่า สมุล-

ลปนสังสัคคะ.

ราคะเกิดด้วยภิกษุรับของของภิกษุณี หรือภิกษุณีรับของของภิกษุ

แล้วบริโภคร่วมกัน ชื่อว่า สัมโภคสังสัคคะ.

อนึ่ง ราคะเกิดด้วยการจับมือเป็นต้น ชื่อว่า กายสังสัคคะ.

พระอรหันต์ ไม่เกี่ยวข้องกับบริษัท ๔ ด้วยสังสัคคะ ๕ เหล่านี้

พ้นจากการยึดถือ และพ้นจากการเกี่ยวข้อง กล่าวสรรเสริญคุณของการ

ไม่เกี่ยวข้อง ชื่อว่ากล่าว อสังสัคคกถา.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 24 พ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

สังสัคคา คือ ความคลุกคลี ความเกี่ยวข้อง มี 5 อย่างคือ

1.ความคลุกคลี เกี่ยวข้องด้วยการเห็น

2.ความคลุกคลี เกี่ยวข้องด้วยการฟัง

3.ความคลุกคลี เกี่ยวข้องด้วยการสนทนา

4.ความคลุกคลี เกี่ยวข้อง ด้วยการให้สิ่งของแลกเปลี่ยน บริโคร่วมกัน

5.ความคลุกคลี เกี่ยวข้อง ด้วยการสัมผัสทางกาย

จะเห็นว่าความคลุกคลีเกี่ยวข้องเป็นเรื่องของกิเลส การเห็นมีจริง เป็นผลของกรรม

การได้ยินก็มีจริงเป็นผลของกรรม การสนทนาก็มีการเห็น การได้ยินก็มีผลของกรรมใน

ขณะนั้น การให้ แลกเปลี่ยนกันก็ต้องมีวิบากที่จะได้รับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และสุดท้ายคือ

การรับกระทบสัมผัสทางกาย ก็เป็นผลของกรรม ดังนั้นการเกี่ยวข้อง สนิมสนม คลุกคลี

ไม่ใช่ขณะที่เป็นผลของกรรมที่เป็นวิบาก แต่เป็นขณะที่ติดข้อง ยินดีพอใจ ด้วยกิเลสที

เป็นโลภะ ขณะนั้นคลุกคลีแล้ว สนิทสมแล้วด้วยกิเลสที่เกิดขึ้นคือความติดข้องครับ

ความคลุกคลี เกี่ยวข้องจึงเป็นเรื่องของกิเลสที่เป็นโลภะ ความติดข้องนั่นเอง

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 24 พ.ค. 2554

ในชีวิตประจำวันจึงเป็นผู้ตรงว่ายังเป็นผู้มีความคลุกคลี สนิทสนมเพราะยังมีโลภะ

อยู่เป็นธรรมดา การอบรมปัญญาจึงไม่ใช่จะห้ามไม่ให้มีโลภะ นั่นเท่ากับห้ามสมุทัยซึ่ง

เป็นไปไมได้เลยเพราะปัญญายังน้อย แต่การอบรมปัญญาที่ถูกต้องคือการละกิเลส

เป็นลำดับ นั่นคือละความเห็นผิดว่าเป็นสัตว์ บุคคลตัวตนก่อนครับ ปัญญาจึงต้องเริ่ม

เข้าใจว่าในขณะนี้เป็นธรรมไม่ใช่เราครับ ขณะที่เห็นมีจริงเป็นธรรมไม่ใชเรา ขณะที่

เห็นแล้วติดข้อง ความติดข้องก็เป็นสภาพธรรมที่มีจริงไม่ใช่เราครับ

ดังนั้นขณะใดที่เป็นกุศล ขณะที่มีความเข้าใจเกิดขึ้น ขณะนั้นไม่ชื่อว่าคลุกคลี

เกี่ยวข้องเลยครับ แต่ผู้ที่จะไม่เกี่ยวข้องและไม่คลุกคลีด้วยอำนาจกิเลสเลยก็คือพระ

อรหันต์ครับซึ่งจะไปถึงตรงนั้นได้ก็ด้วยการฟังพระธรรมให้เริ่มมีความเห็นถูกว่าแม้ความ

เกี่ยวข้องและความคลุกคลีก็เป็นธรรมไม่ใช่เราครับ ขออนุโมทนา

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 24 พ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงธรรมเรื่องการคลุกคลี และ การไม่คลุกคลีไว้มากทีเดียว เช่น ตรัสกับท่านพระอานนท์ ว่า "ผู้ชอบคลุกคลีกัน ยินดีในการคลุกคลีกัน ประกอบเนืองๆ ซึ่งความชอบคลุกคลีกัน ชอบเป็นหมู่ ยินดีในหมู่ บันเทิงร่วมหมู่ ย่อมไม่งามเลย" (มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ มหาสุญญตสูตร) และตรัสเตือนพระภิกษุทั้งหลายว่า "ถ้าภิกษุทั้งหลาย จักไม่มีการคลุกคลีด้วยหมู่คณะเป็นที่มายินดี จักไม่ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ จักไม่ประกอบเนืองๆ ในความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ตลอดกาลเพียงไร ก็พึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้เลย" (ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร) เป็นต้น (และตามข้อความที่คุณหมอได้ยกมา ด้วย) ทั้งหมดนั้น ก็เพื่อให้ผู้ฟัง ผู้ศึกษาได้เข้าใจตามความเป็นจริง เห็นความต่างกันระหว่างกุศล กับ อกุศล เพราะว่าการคลุกคลีกันนั้น ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบใด ก็ทำให้เกิดอกุศลประการต่างๆ ได้ทั้งนั้น กล่าวคือ โลภะบ้าง โทสะบ้าง และทุกครั้งที่จิตเป็นอกุศล ก็จะมีโมหะ เกิดร่วมด้วย ไม่เป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของกุศลธรรม

แต่พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงบังคับใครเลย ความจริงเป็นอย่างไร ก็ทรงแสดงไปตามความเป็นจริงอย่างนั้น ผู้ที่ได้ฟัง ได้ศึกษา เห็นโทษของอกุศล และประโยชน์ของกุศลธรรมว่าควรอย่างยิ่งที่จะเกิดแทนที่จะเป็นอกุศล ก็จะค่อยๆ ละเว้นไปทีละเล็กทีละน้อย ไม่คลุกคลีกับสิ่งที่จะทำให้เกิดอกุศลซึ่งพิจารณาว่าเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจด้วยความเข้าใจถูกเห็นถูกของตนเอง ครับ. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณหมอ, คุณผเดิม และทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
pirmsombat
วันที่ 24 พ.ค. 2554

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณคำปั่น, คุณเผดิม และทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 25 พ.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ