พึงป้องกันหูจากคามกถา [ติรัจฉานกถา]

 
pirmsombat
วันที่  7 พ.ค. 2554
หมายเลข  18324
อ่าน  1,839

ว่าด้วยติรัจฉานกถา

ติรัจฉานกถา ๓๒ ประการ คือ

เรื่องพระราชา

เรื่องโจร

เรื่องมหาอำมาตย์

เรื่องภัย

เรื่องรบ

เรื่องข้าว

เรื่องน้ำ

เรื่องยาน

เรื่องที่นอน

เรื่องดอกไม้

เรื่องของหอม

เรื่องญาติ

เรื่องบ้าน

เรื่องนิคม

เรื่องนคร

รื่องชนบท

เรื่องสตรี

เรื่องบุรุษ

เรื่องคนกล้า

เรื่องตรอก

เรื่องท่าน้ำ

เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว

เรื่องเบ็ดเตล็ด

เรื่องโลก

เรื่องทะเล

เรื่องความเจริญและความเสื่อม

ด้วยประการนั้น เรียกว่า คามกถา

ในคำว่า พึงป้องกันหูจากคามกถา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า จากคามกถา.

คำว่า

พึงป้องกันหู คือพึงป้องกัน ห้าม สกัดกั้น

รักษา คุ้มครองปิด ตัดขาด ซึ่งหู จากคามกถา

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงป้องกันหูจาก

คามกถา.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 7 พ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ติรัจฉานกถาหรือเดรัจฉานกถาคือคำพูดอันเป็นเครื่องปิดกั้นทางไปสวรรค์และ

ทางแห่งความหลุดพ้น ปิดกั้นการบรรลุนิพพาน

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ 217

อรรถกถาปฐมวัตถุกถาสูตรที่ ๙

บทว่า ติรจฺฉานกถ ได้แก่ เรื่องที่ขัดขวางทางสวรรค์และนิพานเพราะเป็นเรื่องที่

ไม่นำสัตว์ออกทุกข์.

------------------------------------------------------------------------------

เพราะเหตุว่าขณะที่พูดเรื่องราวด้วยจิตเป็นอกุศล จิตที่เป็นอกุศลนั้นไม่ใช่ทางที่จะ

ให้ผลไปสวรรค์และให้ผลด้วยการบรรลุธรรมได้เลยครับเพราะจิตเป็นอกุศลครับ

------------------------------------------------

เดรัจฉานกถา เมื่อไหร่เป็นเดรัจฉานกถา?

เดรัจฉานกถาคือคำพูดที่เป็นไปในเรื่องราวต่างๆ มีเรื่องราวของชาวบ้าน เรื่องราว

ของสิ่งต่างๆ ด้วยเจตนาที่เป็นอกุศลเจตนา อันมีความประสงค์จะพูดเรื่องราวที่ไม่มี

ประโยชน์ ดังนั้นเมื่อไหร่ที่มีเจตนา ต้องย้ำว่ามีเจตนานะครับ มีเจตนาที่เป็นอกุศลด้วย

โลภะ เป็นต้น พูดเรื่องราวที่เป็นบุคคลต่างๆ สิ่งต่างด้วยจิตอกุศลไม่ใช่กุศล ขณะนั้น

เป็นเดรัจฉานกถา คำพุดที่กั้นสวรรค์ มรรคผลนิพพาน

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 7 พ.ค. 2554

จะเป็นเดรัจฉานกถาเพราะเรื่องราวที่พูดหรือไม่?

จะเป็นกุศลหรืออกุศลจิตนั้นสำคัญที่จิตและสำคัญที่เจตนาครับ ดังนั้นคำพูดใดเป็น

เดรัจฉานกถาก็สำคัญที่เจตนา ไม่ใช่เรื่องที่จะพูด สำคัญที่จิตครับ เช่น แม้จะพูดเรื่อง

ราวของบุคคลอื่น เช่น เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องโจร แต่พูดด้วยจิตที่เห็นถึงความ

ไม่เที่ยงว่า แม้โจรคนนี้จะเก่งเพียงใดก็ต้องตาย มีความไม่เที่ยงเป็นที่สุด แม้ข้าว น้ำ

ที่มีมากเพียงใด ข้าวและน้ำนั้นก็ต้องถึงความสิ้น เสื่อมไปเป็นธรรมดา คำพูดนี้ไม่ใช่

เดรัจฉานกถา แม้จะกล่าวเรื่องของโจร เรื่องของข้าว เรื่องของน้ำ เพราะเจตนากล่าว

ด้วยจิตที่เป็นกุศล ด้วยจิตที่เห็นตามความเป็นจริงของสภาพธรรมที่ไม่เที่ยงโดยปรารภ

เรื่องราวในชีวิตประจำวัน แต่จิตขณะนั้นเป็นความเห็นถูก หากจิตเป็นกุศลแล้ว เรื่อง

ราวที่พูดจะเป็นเดรัจฉานกถาไมไ่ด้เลยครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ...คำพูดที่ไม่เป็นเดรัจฉานกถา [ปฐมวัตถุกถาสูตร]

------------------------------------------------------------

อีกอย่าง แม้การถามสาระทุกข์ เมื่อพบปะกันก็ด้วยจิตที่เป็นกุศลได้ อกุศลก็ได้ เรื่อง

ราวเดียวกัน แต่จิตต่างกัน ทักทายกันเพราะโลภะก็ได้ แม้จะคำพูดเดียวกัน แต่อีก

บุคคลพูดด้วยจิตที่ดีงามเป็นกุศลหรือกิริยาจิตก็ได้ครับ ดังเช่น พระพุทธเจ้าทุกๆ

พระองค์ย่อมมีธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันคือ ย่อมถามถึงสาระทุกข์ ถามถึงความเป็นไปของ

ภิกษุผู้อาคันตุกะที่มาถึง ว่าเธอพออดทนได้หรือ ถามถึงความเป็นไปต่างๆ ด้วยจิตที่ดี

ดังนั้นเรื่องราวที่พูดจึงไม่ใช่การตัดสินว่าเป็นเดรัจฉานกถาครับ สำคัญที่จิตและเจตนา

เป็นสำคัญครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 7 พ.ค. 2554

พึงป้องกันหูพึงป้องกันหูจากคามกถา คามกถาคือเรื่องราว

คำพูดที่ไม่เป็นประโยชน์ มีเรื่องราวชาวบ้าน เป็นต้น

-------------------------------------------------------

พึงป้องกันหูไม่ใช่ไม่ให้ฟังเรื่องราว คำพูดที่ไม่เป็นประโยชน์เพราะมีเหตุปัจจัยก็

ได้ยิน ป้องกันไม่ให้ไมไ่ด้ยินไม่ไ่ด้เพราะเป็นเรื่องผลของกรรมที่เป็นวิบาก เมื่อกรรม

ให้ผลก็ทำให้ได้ยินเรื่องราวเหล่านั้น แต่พึงป้องกันหูอย่างไร ป้องกันด้วยสติและ

สัมปชัญญะ ด้วยปัญญา คือไม่เป็นอกุศลในขณะที่ฟังเพราะเข้าใจความจริงในสิ่งที่ได้

ฟังว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา เป็นแต่เพียงเสียง เป็นแต่เพียงสภาพธรรม เป็นต้น นั่นคือพึง

ป้องกันหูจากคามกถา และเมือ่ได้ยินแล้วก็ไม่ใช่เป็นผู้ปรารถนาจะยินดี ใคร่อยากฟัง

นั่นด้วยอกุศล จึงไม่ใช่ผู้ที่ป้องกันหูครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 7 พ.ค. 2554

สำคัญที่มีความเข้าใจว่าไม่มีเรา มีแต่ธรรมที่ทำหน้าที่ ป้องกันหูจากเรื่องราวต่างๆ จึง

ไม่มีตัวตนที่จะไม่พยายามฟัง หรือจะไม่ฟังก็แล้วแต่เหตุว่าจะได้ยินหรือไม่ แต่เมื่อได้ยิน

แล้วก็เป็นผู้ป้องกันหู ไม่ใช่เราป้องกันแต่เป็นสติและปัญญาที่ป้องกัน ป้องกันหูไม่ให้

เข้าใจผิด แต่ให้เข้าใจถูกว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา จึงเป็นเรื่องของธรรม ธรรมที่ทำหน้าที่

ว่าสติจะเกิดหรือไม่เมื่อได้ยินเรื่องราวต่างๆ เมื่อเป็นอกุศลก็ไม่ใช่เป็นผู้ป้องกันหู แต่เมื่อ

เป็นกุศล มีความเห็นถูกเมื่อได้ยินเรื่องราวต่างๆ ที่ไม่เป็นประโยชน์ต่างๆ ขณะนั้นก็เป็น

ผู้ป้องกันหู ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 7 พ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ ครับ เดรัจฉานกถาแน่ๆ ?

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณหมอ และ คุณผเดิม ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
pirmsombat
วันที่ 7 พ.ค. 2554

ขอบคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณเผดิม และ คุณคำปั่น มากครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
bsomsuda
วันที่ 7 พ.ค. 2554

จิตที่เป็นอกุศลในขณะที่พูดและฟัง

เป็นเครื่องกั้นสวรรค์ และพระนิพพาน

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Endeavor
วันที่ 7 พ.ค. 2554
ขออนุโมทนาทุกท่านครับ
กระแสของอกุศล ที่ไหลไปในอารมณ์ทั้งปวง เป็นเรื่องที่ฝืนได้ยาก

แต่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สติและปัญญา เป็นเครื่องกั้น เป็นเครื่องปิด เป็นเครื่องดับกระแสเหล่านั้น

(ขุททกนิกาย สุตตนิบาต ปารายนวรรค อชิตปัญหาที่๑)

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ZetaJones
วันที่ 9 พ.ค. 2554
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 9 พ.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ