การมัดต้นโพธิ์ด้วยด้ายเจ็ดสี

 
ponglanna
วันที่  27 เม.ย. 2554
หมายเลข  18270
อ่าน  12,976

ขอกราบเรียนท่านผู้ทางธรรม กระผมและพี่สาว ที่หมู่บ้านผมมีต้นโพธิ์ อายุราว ๑๐๐ กว่าปี

เรียงรายตามทางถนนใหญ่ กระผมและพี่สาวต้องการจะอนุรักษ์ จึงซื้อผ้าเจ็ดสีมา แต่มีคน

มาทักท้วงว่า ไม่ควรทำ แล้วว่าไปต่างๆ นาๆ บ้างว่าเวลามัดแล้วจะทำให้ลูกหลานตัว

เองร้องไห้ เพราะเข้าใจว่า เทพารักษ์จะมากลั่นแกล้ง ผมกับพี่สาวจะทำอย่างไร จะหยุด

โครงการดีมั้ยครับ ผ้าก็ซื้อมาแล้ว โดยการรับบริจาค แล้วเทวดาที่อารักษ์ที่ต้นโพธิ์ จะ

ตำหนิตัวเราหรือ ไม่ครับ โปรดชี้แนะด้วยขอรับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 27 เม.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

พระพุทธศาสนาเป็นเรื่องของปัญญา ในความเป็นจริงแล้วก็มีแต่เพียงสภาพธรรม

ที่เป็น จิต เจตสิก รูป กรรมที่เป็นกุศลมี กรรมที่เป็นอกุศลก็มีครับ กรรมดีคือเจตนาที่ดี

กรรมที่ไม่ดีคือเจตนาที่ไม่ดี การกระทำที่เป็นเจตนาบางอย่าง ก็ต้องพิจารณาด้วย

ปัญญาว่าทำเพราะอะไร ควรหรือไม่ควรครับ

เจตนาที่จะรักษาอนุรักษ์ต้นโพธิ์มีครับ เป็นเจตนาที่ดี หากประกอบด้วยความเข้าใจ

ว่าต้นโพธิ์เป็นเจดีย์หรือสิ่งที่ควรเคารพระลึกบูชาเปรียบเหมือนพระพุทธเจ้า นั่นก็เป็น

สิ่งที่ควรทำ ส่วนการผูกผ้าต้นโพธิ์แล้วจะทำให้บุคคลนั้นเป็นอย่างนั้น บุคคลนั้นเป็น

อย่างนี้ ได้รับสิ่งที่ไม่ดีต่างๆ คงไม่ใช่เหตุครับ เพราะสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของๆ ตน

ไมได้ขึ้นอยู่กับใคร บุคคลใดมาบันดาลได้ จะพันผ้าหรือไม่พันผ้า หากกรรมให้ผลก็ต้อง

ได้รับกรรมนั้นตามเหตุปัจจัยครับ หากเข้าใจความจริงว่าไม่มีสัตว์ บุคคลมีแต่สภาพ

ธรรมที่ทำหน้าที่ จึงไม่มีใคร บุคคลใดทำอะไรให้ มีแต่สภาพธรรมที่เป็นกรรมและผล

ของกรรมและสภาพธรรมอื่นๆ ครับ ที่สำคัญการมีเจตนาที่ดี อันเป็นกุศลกรรม จะให้ผล

ในสิ่งที่ไม่ดีไมได้เลยครับ แต่เมื่อได้รับสิ่งที่ไม่ดีให้เข้าใจว่าเกิดจากเหตุที่ไมดีคือการ

ทำอกุศลกรรมไว้และให้ผลในขณะนั้นครับ เพราะฉะนั้นปัญญาที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้

กับความเชื่ออันเกิดจากความคิดนึกของปุถุชนจึงต่างกันครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 27 เม.ย. 2554

ส่วนในเรื่องว่าจะถูกเทวดาหรือว่าใครตำหนินั้นก็เป็นเพียงความคิดนึกของเราเอง

คิดนึกในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น ดังนั้นทำเท่าที่จะทำได้ครับ ส่วนความคิดนึกของบุคคลอื่น

ก็เป็นความคิดนึกของบุคคลอื่น เป็นโลกคนละโลกคือโลกความคิดของแต่ละคน

สำคัญที่สุดคือต้องเป็นผู้อบรมปัญญาเพื่อประโยชน์คือการดับกิเลส ดังนั้นหนทางคือ

เข้าใจความจริงในขณะนั้นว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา เข้าใจว่าอยู่ในโลกของความคิดนึก

เท่านั้น ไม่มีใครมีแต่ธรรมเท่านั้นครับ

การอนุรักษ์ต้นโพธิ์ก็ส่วนหนึ่ง ดังนั้นไม่ควรเดือดร้อนในสิ่งที่จะทำหรือไมไ่ด้ทำคือ

การอนุรักษ์ต้นโพธิ์ครับ เมื่่อมีเหตุปัจจัยก็ได้ทำ เมื่อไม่มีเหตุปัจจัยก็ไมไ่ด้ทำ ควรคิด

พิจารณาด้วยความป็นอนัตตาบังคับบัญชาไม่ได้ เพียงแต่คิดด้วยความเห็นถูกว่าสิ่งใด

เป็นกุศลธรรม เป็นสิ่งที่ดี และเมื่อทำแล้วไม่นำมาซึ่งความเดือดร้อนกับตนเองและผู้อื่น

ย่อมเป็นสิ่งที่สมควรที่จะทำครับ แต่สิ่งที่ควรพิจารณาและสำคัญที่สุด แม้จะมีต้นโพธิ์

แต่ถ้าขาดความเข้าใจพระธรรมที่ถูกต้องก็เข้าใจเพียงต้นโพธิ์เป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้า

ตรัสรู้เท่านั้น เพราะในความเป็นจริงแล้ว โพธิ หมายถึงปัญญาที่ตรัสรู้ รู้ความจริงของ

สภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ........คำว่าโพธิ [พุทธวงศ์]

แม้ว่าหากไม่มีต้นโพธิ์ในอนาคต แต่มีโพธิคือความรู้ปัญญาของแต่ละคนที่มีความเข้าใจ

ถูกใพระพุทธศาสนาในหนทางดับกิเลส ขณะนั้นก็เป็นการบูชาพระพุทธเจ้าสูงสุด อัน

เป็นการบูชาด้วยการเข้าใจพระธรรม เป็นปฏิบัติบูชา การศึกษาพระธรรมให้มีความ

เห็นถูกแต่ละคน ย่อมเป็นการอนุรักษ์พระพุทธศาสนาเพราะพระพุทธศาสนาจะดำรงอยู่

ได้ด้วยปัญญา ความเข้าใจของแต่ละคนครับ กุศลควรเจริญทุกประการ พร้อมๆ กับความ

เข้าใจที่เป็นปัญญาก็จะทำสิ่งต่างๆ ด้วยความเห็นถูกในสิ่งนั้นครับ ขออนุโมทนาครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ponglanna
วันที่ 27 เม.ย. 2554

กระผมขออนุโมทนา ครับ ที่ชี้แนะให้กระผมได้เข้าใจครับ

และส่วนตัวกระผม จะพิจารณาด้วยปัญญา ครับ ขอบพระคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 27 เม.ย. 2554

การบูชามี 2 อย่าง คือ

1. อามิสบูชา เช่น ดอกไม้ ธูป เทียน ผ้า ของหอม ฯลฯ

2. ปฏิบัติบูชา ฟังธรรมะของพระพุทธเจ้าแล้วน้อมนำมาประพฤติปฏิบัติตาม

พระพุทธเจ้าทรงยกย่องการปฏิบัิติบูชาเลิศกว่าอามิสบูชา

ส่วนผ้าที่ซื้อมาแล้วก็เอาไปบูชาโพธิ์ได้ ในพระไตรปิฏกก็มีแสดงไว้

บุชาต้นโพธิ์ ด้วยน้ำหอม ด้วยผ้า ฯลฯ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 27 เม.ย. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น การบูชา ในสิ่งที่ควรบูชา เป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อความเจริญ เพราะขณะนั้นเป็นกุศลจิต เป็นความเกิดขึ้นเป็นไปของกุศลธรรม ที่มีความเคารพอ่อนน้อม ขจัดซึ่งความหยาบกระด้างแห่งจิต โดยมีกุศลจิต นั่นเอง เป็นเครื่องบูชา เพราะกุศลจิตเกิดขึ้น จึงบูชา สำหรับผู้ที่ได้ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญาเห็นคุณประโยชน์ของกุศลธรรมซึ่งเป็นสภาพธรรมที่ดีงาม ย่อมไม่ละเลยโอกาสของการเจริญกุศล ซึ่งเป็นไปตามการสะสมของแต่ละบุคคล ซึ่งจะต้องเป็นผู้ที่ตรง และจริงใจที่จะขัดเกลากิเลสจริงๆ ไมใช่เพื่อต้องการสิ่งหนึ่งสิ่งใด มื่อมีความเข้าใจพระธรรมไปตามลำดับ ย่อมมีความนอบน้อมที่จะบูชาทั้งด้วยวัตถุสิ่งของ และ ด้วยการปฏิบัติบูชา (ธรรมบูชา) นั่นก็คือ บูชาสูงสุดด้วยการปฏิบัติตามพระธรรมคำสอนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง อบรมเจริญปัญญา สะสมปัญญาไปตามลำดับ เพื่อเข้าใจถูกเห็นถูกในลักษณะสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ตามความเป็นจริง ครับ. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ponglanna
วันที่ 27 เม.ย. 2554

ขอขอบพระคุณ ท่านผู้รู้ธรรมทุกท่าน ที่ชี้แจงให้กระผมได้เข้าใจธรรม การปฏิบัติบูชาขอรับ

ขออนุโมทนา และอุทิศกุศลแก่สรรพสัตว์ทั้งปวง

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
เซจาน้อย
วันที่ 28 เม.ย. 2554
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ธนฤทธิ์
วันที่ 28 เม.ย. 2554
ขอขอบคุณและขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
chaiyakit
วันที่ 29 เม.ย. 2554
ขอขอบคุณและขออนุโมทนา เช่นกันครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ไรท์แจกแล้วไง
วันที่ 3 พ.ค. 2554

จะทำก็ไม่ผิด แต่ถ้ารู้ว่าเป็นความเห็นผิด ก็ไม่ควรทำ จนกว่าจะเห็นถูกแล้วทำจึงจะดี

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ponglanna
วันที่ 3 พ.ค. 2554

ขอขอบพระคุณ และอนุโมทนา แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
pamali
วันที่ 26 พ.ค. 2554
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
Komsan
วันที่ 24 มี.ค. 2555

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ