อภิธรรมในชีวิต [43] อเหตุกจิต สเหตุกจิต

 
พุทธรักษา
วันที่  2 เม.ย. 2554
หมายเลข  18130
อ่าน  1,364

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อเหตุกจิต และ สเหตุกจิต จิตที่ปราศจากเหตุ และ จิตที่ประกอบด้วยเหตุในชีวิตประจำวัน เราจะรู้ได้ จากการปฏิบัติ (การเจริญสติ) ว่าไม่ใช่มีแต่ จิต ที่มีโลภะ โทสะ โมหะ เกิดร่วมด้วยและ จิต ที่มีโสภณเหตุ (เหตุที่ดีงาม) เกิดร่วมด้วยเท่านั้น แต่ ยังมี "อเหตุกจิต" ซึ่งเป็น จิต ที่ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย เช่น ขณะที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส กระทบสัมผัสทางกาย

จิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส จิตที่รู้โผฏฐัพพะ จะไม่เกิดขึ้น เมื่อไม่มีเหตุปัจจัย สภาพธรรมเหล่านี้ เป็น "วิบาก" เป็น "ผลของกรรม" ซึ่งเป็น "นามธรรม" ผลของกรรมที่เป็นนามธรรม เท่านั้น ที่เป็น "วิบาก" แต่ จักขุปสาท โสตปสาท ฆานปสาท ชิวหาปสาท และ กายปสาทเป็น "รูป ที่เกิดจากกรม" ฉะนั้น จิต และ เจตสิกที่เกิดร่วมกับจิต เท่านั้น ที่เป็น "วิบาก" เป็นนามธรรม รูปธรรม ไม่ใช่ "วิบาก"

พระผู้มีพระภาคฯ ทรงแสดงว่า ธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นนั้น ต้องมีเหตุปัจจัย ขณะที่เห็น สิ่งที่ไม่น่าพอใจ ก็ต้องมีเหตุปัจจัย เพราะขณะนั้น เป็น "ผลของอกุศลกรรม" หรือ "อกุศลวิบาก" อกุศลวิบาก จะเป็น ผลของกุศลกรรม ไม่ได้ ขณะที่เห็นสิ่งที่น่าพอใจ เป็น "กุศลวิบาก" ซึ่งเป็น "ผลของกุศลกรรม"

"วิบากจิต" ที่เกิดขึ้น เมื่อ อารมณ์ที่น่าพอใจ หรือ ไม่น่าพอใจกระทบกับปสาทรูปหนึ่ง ในปสาทรูป ๕ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย) เป็น "อเหตุกจิต" เพราะว่า ขณะนั้น ไม่มี "อกุศลเหตุ" (เหตุที่ไม่ดีงาม) และ ไม่มี "โสภณเหตุ" (เหตุที่ดีงาม) เกิดร่วมกับจิต เช่น ขณะที่ รูปารมณ์ซึ่งไม่น่าพอใจ กระทบกับ จักขุปสาทรูป ขณะนั้น จักขุวิญญาณ (จิตเห็น) เป็น "อเหตุกวิบากจิต" แต่จิตที่ไม่ชอบรูปารมณ์ ที่ไม่น่าพอใจ (โทสมูลจิต) ซึ่งเกิด หลังจากที่จักขุวิญญาณดับไปแล้ว นั้นเป็น "สเหตุกจิต" (จิตที่ประกอบด้วยเหตุ)

จิตเห็น หรือ จักขุวิญญาณ ไม่ใช่ จิตที่ คิดนึกถึง รูปารมณ์ จิต ที่รู้ รูปพรรณสัณฐานของรูปารมณ์ ว่าเป็นอะไรนั้น ไม่ได้รู้ รูปารมณ์นั้น ทางจักขุทวาร แต่ รู้ ทางมโนทวาร ฉะนั้น จิตที่รู้ รูปารมณ์ ทางมโนทวาร เป็น จิตอีกประเภทหนึ่ง

เมื่อพูดว่า "เห็น" ก็มักจะหมายถึง การรู้ รูปพรรณสัณฐาน และ รู้ว่า สิ่งที่เห็นนั้น เป็นอะไรแต่ ต้องมีจิตชนิดหนึ่ง ที่เพียง "เห็น รูปารมณ์" จิตชนิดนี้ เรียกว่า จักขุวิญญาณจิต

จักขุวิญญาณจิต ไม่รู้อะไรอื่นเลย นอกจาก "เห็น" เท่านั้น "สิ่งที่ถูกเห็น" เรียกว่า "รูปารมณ์" หรือ "สี" ซึ่งหมายถึง สิ่งที่ปรากฏได้ "เฉพาะ ทางตา" ขณะที่ "ได้ยิน" ต่างกับขณะที่ "เห็น" จิตได้ยิน เสียง ทางหู จิตเห็น สี ทางตา เป็นต้น

การระลึก รู้ ลักษณะที่ต่างกัน ของสภาพธรรมทั้งหลาย ที่กำลังปรากฏตามปกติ ตามความเป็นจริง ในชีวิตประจำวัน บ่อยๆ เนืองๆ เป็นปัจจัยที่ทำให้ "รู้จัก" สภาพธรรมเหล่านั้น ตามความเป็นจริง

การที่จะรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง (เช่น ขณะที่ได้ยินเสียง) จำเป็นที่จะต้องรู้ ว่าจิต ขณะที่ได้ยินเสียง มีลักษณะต่างกับ จิต ขณะที่ชอบ หรือ ไม่ชอบ เสียง และ จิตเหล่านี้ เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ที่ต่างๆ กัน

ธรรมใดที่พระผู้มีพระภาคฯ ทรงแสดง ธรรมนั้น สามารถพิสูจน์ได้ด้วยการ "เจริญสติ (สติ) ระลึก-รู้-ตรงลักษณะของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และ ทางใจตามปกติ ตามความเป็นจริง ในชีวิตประจำวัน


หนังสือ "พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน" [Abhidhamma in Daily Life] โดย นีน่า วันกอร์คอม แปลโดย อ. ดวงเดือน บารมีธรรม จัดพิมพ์ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดย มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

เปิดอ่านหรือดาวน์โหลดหนังสือ...

พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 4 เม.ย. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 5 เม.ย. 2554

พระผู้มีพระภาคฯ ทรงแสดงว่า ธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นนั้น ต้องมีเหตุปัจจัย ขณะที่เห็น-สิ่งที่ไม่น่าพอใจ ก็ต้องมีเหตุปัจจัย เพราะขณะนั้น เป็น "ผลของอกุศลกรรม" (ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณพุทธรักษาค่ะ)

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
napat
วันที่ 22 พ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของท่านผู้เผยแพรหนังสือครับ

ผมอยากทราบว่าได้มีการทำหนังสือเล่มนี้ ออกมาเป็นรูปแบบของ PDF file หรือยังครับ จะดูสะดวกแก่การอ่านในบางสถานที่มากกว่าถ้าเป็นไปได้ ครับ

ขอขอบพระคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 23 พ.ค. 2554

เรียน ความคิดเห็นที่ 3 ครับ

เข้าใจว่าทางทีมงานเจ้าหน้าที่บ้านธัมมะ คงจะนำขึ้นในเว็ปไซต์ ในหมวดของหนังสือธรรม ต่อไป (อีกไม่นาน) ครับ

... ขออนุโมทนาครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
napat
วันที่ 23 พ.ค. 2554

ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับผม

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ