อภิธรรมในชีวิต [39] วิจิกิจฉา ความลังเล สงสัย

 
พุทธรักษา
วันที่  18 มี.ค. 2554
หมายเลข  18070
อ่าน  1,155

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 

วิจิกิจฉา

ขณะที่ โมหมูลจิต ประกอบด้วย วิจิกิจฉา (ความลังเล-สงสัย) เกิดขึ้นนั้น

อาจจะมีความ "สงสัย"
ในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม และ พระอริยสงฆ์ เช่น "สงสัย" ว่า พระผู้มีพระภาคฯ "ทรงตรัสรู้" จริงหรือ.!พระองค์ทรงสอน"หนทางปฏิบัติ" ซึ่งนำไปสู่ "การดับกิเลส" ได้จริงหรือ.!มี "พระอริยบุคคล" ตรัสรู้ เช่นเดียวกับพระผู้มีพระภาคฯ ได้ด้วยหรือ "สงสัย" เรื่องชาติก่อน และ ชาติหน้า เรื่องกรรม และ วิบาก (ผลของกรรม) เป็นต้น

ความสงสัย มีหลายขั้น

เมื่อ "เริ่ม" อบรมเจริญปัญญาก็อาจจะ "สงสัย" เรื่อง สภาพธรรม-ที่กำลังปรากฏ เช่น "สงสัย" ว่า สภาพธรรมนั้น เป็นนามธรรม หรือ รูปธรรม ขณะที่ได้ยิน ก็ย่อมต้องมี เสียง ด้วยแต่ "สติ" จะระลึก รู้ สภาพธรรม ได้-ทีละอย่าง เท่านั้นเพราะ จิตขณะหนึ่ง รู้อารมณ์ได้ อารมณ์หนึ่ง เท่านั้น ฉะนั้น อาจจะมีความ "สงสัย" ว่าสภาพธรรมที่กำลังปรากฏนั้นเป็น นามธรรม (ที่ได้ยินเสียง) หรือ เป็น รูปธรรม (เสียงที่ได้ยิน) เป็นต้น

นามธรรม และ รูปธรรม เกิด-ดับ-รวดเร็วมากและ เมื่อยังไม่ได้ "อบรมเจริญปัญญา" ถึงขั้น "ประจักษ์-ลักษณะที่แตกต่างกัน" ของนามธรรม และ รูปธรรมก็ ไม่สามารถ รู้แน่ชัด ว่า สภาพธรรมใด กำลังปรากฏ ฉะนั้นจึงยังมีความ "สงสัย" ใน "โลกของปรมัตถธรรม" จนกว่า "ปัญญา" จะ "รู้ชัด" ใน "ลักษณะ-ของนามธรรม และ รูปธรรม" คือ ในขณะที่ นามธรรม หรือ รูปธรรมนั้นๆ "กำลังปรากฏ" ทางหนึ่งทางใด ใน ๖ ทวารคือ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และ ทางใจ

ใน อัฏฐสาลินี อรรถกถา ธัมมสังคณีปกรณ์ จิตตุปปาทกัณฑ์พรรณนา อกุสลปทภาชนีย์อธิบาย "ลักษณะของวิจิกิจฉา" ว่า อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า "วิจิกิจฉา" นั้น ด้วย อรรถ ว่า เป็น เหตุยาก คือ ลำบาก ของบุคคล-ผู้ค้นคว้า-สภาวธรรมมีความสงสัย เป็น ลักษณะ มีความหวั่นไหว เป็น รส มีการตกลงใจไม่ได้ เป็น ปัจจุปัฏฐานหรือ มีการถือเอา-โดยส่วนเดียวไม่ได้ เป็น ปัจจุปัฏฐานมี "อโยนิโสมนสิการ" เป็น ปทัฏฐาน บัณฑิต พึงเห็นว่า กระทำอันตรายต่อการ "ปฏิบัติ"

วิจิกิจฉา และ ทิฏฐิ

วิจิกิจฉา ต่างกับ ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ขณะที่ "ทิฏฐิ" เกิดขึ้น ขณะนั้น มีความ "ยึดมั่น" ว่า สภาพธรรม เที่ยง หรือ เป็นตัวตน เป็นต้น ขณะที่ "วิจิกิจฉา" เกิดขึ้น ขณะนั้น มีความ "สงสัย" ว่า นามธรรม ต่างกับรูปธรรม หรือไม่ มีตัวตน หรือไม่สภาพธรรม เที่ยง หรือ ไม่เที่ยง เป็นต้น ไม่มีหนทางอื่นใด ที่จะ "ดับ-วิจิกิจฉา" ได้ นอกจาก การอบรม-เจริญ "ปัญญา" ซึ่ง "ประจักษ์แจ้ง-สภาพธรรม-ตามความเป็นจริง"


หนังสือ "พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน" [Abhidhamma in Daily Life] โดย นีน่า วันกอร์คอม แปลโดย อ. ดวงเดือน บารมีธรรม จัดพิมพ์ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดย มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

เปิดอ่านหรือดาวน์โหลดหนังสือ...

พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 18 มี.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chaiyut
วันที่ 20 มี.ค. 2554

"บัณฑิต พึงเห็น (วิจิกิจฉา) ว่า กระทำอันตรายต่อการ "ปฏิบัติ" ไม่มีหนทางอื่นใด ที่จะ "ดับ-วิจิกิจฉา" ได้ นอกจาก การอบรม-เจริญ "ปัญญา" ซึ่ง "ประจักษ์แจ้ง-สภาพธรรม-ตามความเป็นจริง"

ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ