ผู้มีปกติเจริญสติปัฏฐาน [วิภังค์]

 
chaiyut
วันที่  9 ก.พ. 2554
หมายเลข  17856
อ่าน  1,340

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 42

คำว่า มีปกติตามเห็นกายในกาย ท่านกล่าวแล้ว เพื่อการแสดง การแยกฆนะเป็นต้น ด้วยประการฉะนี้. อนึ่ง ในอธิการนี้ บัณฑิตพึงทราบเนื้อความแม้นี้ ด้วยอาทิศัพท์. จริงอยู่ พระโยคาวจรนี้มีปกติตามเห็นกายในกายนี้เท่านั้น มิใช่มีปกติตามเห็นธรรมอื่น. ถามว่า ข้อนี้ ท่านอธิบายไว้อย่างไร. ตอบว่า ท่านอธิบายว่าชนทั้งหลาย ผู้มีปกติตามเห็นพยับแดดแม้อันไม่มีน้ำ ว่าเป็นน้ำ ฉันใด พระโยคาวจรมีปกติตามเห็นกายนี้ อันเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นอสุภะนั่นแหละว่า เป็นของเที่ยง เป็นสุขเป็นอัตตา เป็นสุภะ ฉันนั้นหามิได้ โดยที่แท้ มีปกติตามเห็นกายก็คือ มีปกติตามเห็นการประชุมแห่งอาการของความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาเป็นอสุภะเท่านั้น ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง บัณฑิตพึงทราบเนื้อความแม้อย่างนี้ว่า กายนี้ใด มีลมอัสสาสะปัสสาสะเป็นเบื้องต้น และมีกระดูกอันแตกเป็นจุณไปเป็นที่สุด ที่พระผู้พระภาคเจ้าตรัสไว้ในมหาสติปัฏฐานโดยนัยว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุในศาสนานี้ ไปที่ป่าก็ตาม ฯลฯ เ ธอย่อมมีสติเทียวหายใจเข้า"เป็นต้น. และกายใดที่พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทาว่า ภิกษุบางพวกในพระศาสนานี้ ย่อมตามเห็นกาย คือปฐวี โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยทำนองเดียวกัน ย่อมตามเห็นกาย คืออาโปกายคือเตโช กายคือวาโย กายคือผม กายคือขน กายคือ ผิวกายคือ หนัง กายคือเนื้อ กายคือเลือด กายคือเอ็น กายคือกระดูก กายคือเยื่อในกระดูก โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยงเป็นต้น ก็เพราะการตามเห็นอยู่ในกายนี้นั่นแหละแห่งกายทั้งปวง จึงชื่อว่า มีปกติตามเห็นกายในกาย (กาเย กายานุปสฺสี) ดังนี้.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
คุณจิต
วันที่ 27 ก.ค. 2554

ขออนุโมทนาบุญ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 10 เม.ย. 2567

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ