อภิธรรมในชีวิต [10] เจตสิกเกิดพร้อมจิต รู้อารมณ์เดียวกับจิต

 
พุทธรักษา
วันที่  28 ม.ค. 2554
หมายเลข  17789
อ่าน  1,222

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ปรมัตถธรรมที่ ๒ คือ เจตสิก ซึ่งเป็น นามธรรม

ดังที่ทราบแล้ว ว่า จิต เป็นสภาพธรรม-ที่รู้-อารมณ์ จิตเห็น มี สิ่งที่ปรากฏทางตา เป็น อารมณ์จิตได้ยิน มี เสียง เป็น อารมณ์การคิดนึก มี เรื่องที่คิดนึก เป็น อารมณ์ เป็นต้น
แต่ ไม่ใช่ว่า มีแต่ จิต เพียงอย่างเดียว ยังมี นามธรรมอื่นๆ เกิดร่วมด้วย อีกมากซึ่งก็คือ เจตสิก หลายดวง (ประเภท) ที่เกิดร่วมกับจิตดวง (ประเภท) หนึ่งๆ เช่นเราอาจจะ "คิด" อะไร ด้วย "โทสะ" หรือ ด้วย "ความรู้สึก-เป็นสุข" หรือ ด้วย "ปัญญา" (เป็นต้น) สภาพธรรมดังกล่าว เป็น "นามธรรม ซึ่งไม่ใช่จิต" แต่ เป็น "เจตสิก ประเภทต่างๆ " ซึ่งเกิดร่วมกับ "จิต ประเภทต่างๆ "

ในขณะหนึ่ง (ที่จิตประเภทใดประเภทหนึ่ง เกิดขึ้น) ขณะนั้น มี จิตดวง (ประเภท) หนึ่ง เท่านั้น แต่ มี เจตสิก หลายดวง (ประเภท) อย่างน้อยที่สุด จะต้องมี ๗ ดวง (ประเภท) เจตสิก ซึ่งเกิดร่วมกับจิต (เกิดพร้อมกัน) และ ดับไปพร้อมกันกับจิตนั้น

จิต จะเกิดขึ้นตามลำพัง ไม่ได้เลย เช่น ความรู้สึก ซึ่ง ภาษาบาลี เรียกว่า เวทนาเวทนา เป็น เจตสิก ที่ต้องเกิดกับจิตทุกดวง (ทุกประเภท ทุกขณะ) จิต เพียงแต่ "รู้-อารมณ์" จิต รู้สึก ไม่ได้ (เป็นต้น) เวทนา-เจตสิก เป็น "สภาพธรรม" ที่รู้สึก บางครั้ง รู้สึก-เป็นสุข บางครั้ง รู้สึก-เป็นทุกข์ ขณะใด ที่ไม่รู้สึก ว่า เป็นสุข หรือ เป็นทุกข์ ขณะนั้น ก็ยังมีความรู้สึก ที่เป็นความรู้สึก เฉยๆ ความรู้สึก ย่อมมีอยู่เสมอ ไม่มีสักขณะจิตเดียว ที่ปราศจาก ความรู้สึก เช่น เมื่อ จิตเห็น เกิดขึ้น ความรู้สึก (เวทนาเจตสิก) ก็เกิดร่วมกับจิตเห็นจิตเห็น รู้-สิ่งที่ปรากฏทางตา เท่านั้น ขณะนั้น ยังไม่มี "ความรู้สึก-ชอบ" หรือ "ความรู้สึก-ไม่ชอบ" เกิดขึ้น (เพราะว่า) "เวทนาเจตสิก" ที่เกิดร่วมกับจิตเห็น ต้องเป็น "ความรู้สึก - เฉยๆ " (อุเบกขาเวทนา) หลังจากที่ จิตเห็น ดับไปแล้ว จิตดวง (ประเภท) อื่นๆ ก็เกิดขึ้น และ อาจจะเป็น จิต-ที่ไม่ชอบ-ในอารมณ์-ที่เห็น นั้น (หมายความว่า) เวทนาเจตสิก ที่เกิดร่วมกับจิตขณะนั้น เป็น "โทมนัส-เวทนา"

จิต มีหน้าที่ รู้-อารมณ์จิต เป็นใหญ่ เป็นประธาน ในการรู้-อารมณ์ เจตสิก ที่เกิดร่วมกับจิต จะต้องมีอารมณ์เดียวกับจิต (ประเภทนั้นๆ) เจตสิก แต่ละดวง (ประเภท) นั้นต้องมี "ลักษณะ" และ "กิจ" (หน้าที่) เฉพาะของตนๆ เจตสิก ทั้งหมด มี ๕๒ (ดวง) ประเภทแต่ มี "เจตสิก ๗ ดวง (ประเภท) เป็นอย่างน้อย ที่ต้องเกิดร่วมกับจิตทุกดวง (ทุกประเภท ทุกขณะ) ภาษาบาลี เรียก เจตสิก ๗ ประเภทนี้ ว่า สัพพจิตตสาธารณเจตสิก เจตสิก (ประเภท) อื่นๆ ไม่ได้เกิดกับจิตทุกดวง (ประเภท)


หนังสือ "พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน" [Abhidhamma in Daily Life] โดย นีน่า วันกอร์คอม แปลโดย อ. ดวงเดือน บารมีธรรม จัดพิมพ์ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดย มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

เปิดอ่านหรือดาวน์โหลดหนังสือ...

พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 28 ม.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ