ธรรม ๖ ประการ ที่ควรละเพื่อเจริญสติปัฏฐาน

 
จักรกฤษณ์
วันที่  20 ม.ค. 2554
หมายเลข  17765
อ่าน  3,555

ข้อความในพระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก - ฉักกนิบาต เล่มที่ ๓ หน้า ๘๔๐

ว่าด้วยผู้ควรและไม่ควรเจริญสติปัฏฐานเป็นต้น

[๓๘๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการเป็นผู้ไม่ควรพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ธรรม ๖ ประการ เป็นไฉน?คือ

ความเป็นผู้ชอบการงาน ๑

ความเป็นผู้ชอบคุย ๑

ความเป็นผู้ชอบหลับ ๑

ความเป็นผู้ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๑

ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑

ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่ควรเพื่อพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ...

ผมขออนุญาตเรียนสอบถามว่า ธรรม ๖ ประการ นี้ท่านกล่าวไว้สำหรับภิกษุ แต่สำหรับฆราวาสจะปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร จึงจะเหมาะสมครับ

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 20 ม.ค. 2554

เข้าใจว่าผู้มีธรรมทั้ง ๖ ประการ ไม่ว่าจะเป็นฆราวาส หรือ บรรพชิต ก็เป็นเช่น เดียวกัน เพราะในขณะที่เป็นไปกับธรรมทั้ง ๖ ประการนี้อยู่ ขณะนั้นเป็นอกุศล ธรรม อกุศลธรรมไม่เกื้อกูลแก่สติปัฏฐาน ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
เซจาน้อย
วันที่ 20 ม.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 21 ม.ค. 2554

ขอบพระคุณท่านอาจารย์ประเชิญครับที่กรุณาชี้ให้เห็นข้อพิจารณาในเรื่องกุศลและอกุศล

อย่างไรก็ตามในความเป็นจริงของชีวิตปุถุชนที่ต้องมีหน้าที่ มีภาระ หน้าที่การงาน และครอบครัว

ธรรมบ้างประการใน ๖ ประการ นั้น อาจทำความเข้าใจได้ยาก หรือ ปรับความเหมาะได้ยากเหมือนกันนะครับ เช่น หากไม่ชอบทำงาน ตรงนี้ก็จะกลายเป็นคนขี้เกียจไป หากไม่ชอบคุย ไม่คลุกคลี ก็อาจเป็นอุปสรรค์ในการใช้ชีวิตตามปกติ การที่เป็นผู้คอยคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้ง ๖ หากไม่เข้าใจก็จะเป็นการไปจดจองให้ผิดปกติไป

ส่วนไม่ชอบนอนและรับประทานอาหารตามสมควรนั้น พอเข้าใจได้

การที่เป็นภิกษุนี้ คงไม่มีปัญหา แต่หากเป็นฆราวาสผู้ครองเรื่องทั่วๆ ไป นั้น น่าจะมีแง่คิดที่ดีๆ ให้พิจารณาได้อย่างถูกต้องนะครับ

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 21 ม.ค. 2554

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
somjad
วันที่ 21 ม.ค. 2554

เป็นหัวข้อธรรมที่น่าพิจารณาอย่างมาก แต่ที่ทราบแน่ๆ คือ ตอนหลับ สติปัฏฐานไม่เกิดแน่

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
chaiyut
วันที่ 23 ม.ค. 2554

ตรงนี้สำคัญครับ "เป็นผู้มีปกติอบรมเจริญสติปัฏฐาน"

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
intira2501
วันที่ 23 ม.ค. 2554

เป็นฆราวาส หรือ บรรพชิต ก็เป็นเช่นกัน น่าจะเป็นการขัดเกลาตนเองได้เช่นกัน ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
pirmsombat
วันที่ 23 ม.ค. 2554

ขอบคุณและอนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
bsomsuda
วันที่ 24 ม.ค. 2554

ขอร่วมแสดงความเห็นส่วนตัวนะคะ

หากไม่ถูกต้องอย่างไร ขอท่านผู้รู้ช่วยแก้ไขให้ด้วยค่ะ

ความเป็นผู้ชอบการงาน ๑

ความเป็นผู้ชอบคุย ๑

ความเป็นผู้ชอบหลับ ๑

ความเป็นผู้ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๑

คำว่า "ชอบ" น่าจะเป็น "อกุศล" เป็นการติดข้อง

ดังนั้น ในขณะที่ทำการงาน คุย หลับ หรือคลุกคลีหมู่คณะด้วยความชอบนั้น

"กุศล" จึงเกิดไม่ได้ สติปัฏฐานจึงเกิดไม่ได้

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 27 ม.ค. 2554

เรียน คุณสมสุดา ความเห็นที่ 9 ครับ

ความเห็นข้างต้นเป็นความเห็นที่ละเอียดดีจริงครับ ทำให้พิจารณาเพิ่มเติมได้นะครับว่าความชอบ หรือ ความเพลิน ที่เป็นไปในการทำงาน การพูดคุย การคลุกคลีกับหมู่คณะ เป็นอกุศลแน่นอน เนื่องจากเป็นเรื่องของการติดข้องและหลงลืมสติ (ส่วนชอบนอนคงไม่ต้องพูดถึง เพราะไม่มีสติหรือหมดสติอยู่แล้ว)

ส่วนการทำงาน การพูดคุย การคลุกคลี ใดที่มิได้เป็นไปด้วยความติดข้องหรือความเพลิน หากแต่มีสติสัมปัชชัญญะเกิดขึ้นในขณะหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นสติขั้นใดระดับใด ก็ยังมีช่วงที่กุศลเกิดขึ้นได้ แตกต่างไปจากการชอบทำงาน ชอบคุย ชอบคลุกคลี ที่ไม่อาจเจริญสติได้เลย

ดังนั้น ปุถุชนผู้ครองเรือนที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงการทำงาน การพูดคุย การคลุกคลี ได้ อย่างน้อยก็อย่าไปชอบ ไปติดข้อง ไปเพลิดเพลิน กับสิ่งเหล่านี้จนเกินไป เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อการเจริญสติ และผมคิดว่าก็ไม่ต้องถึงกับเกลียดการทำงาน การพูดคุย การคลุกคลี จนผิดปกติของผู้ครองเรือนไปอีกขั้วหนึ่งเลย เว้นเสียแต่ผู้นั้นจะมีอุปนิสัยเช่นนั้น นะครับ

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาคุณสมสุดาและทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
คุณ
วันที่ 27 ม.ค. 2554

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
โชติธัมโม
วันที่ 28 ม.ค. 2554

ขอน้อมจิตอนุโมทนากับท่านจักกฤษณ์ด้วยครับ

การเผยแพร่ความเข้าใจธรรมที่ถูกต้องนั้นสำคัญมาก

ยังมีผู้ที่ติดในฤทธิ์อีกมาก

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
pannipa.v
วันที่ 30 ม.ค. 2554

สติ จำปรารถนาในที่ทั้งปวง

ขออนุโมทนา ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
jipoam
วันที่ 6 ก.พ. 2554

"สติ จำปรารถนาในที่ทั้งปวง"

เพิ่งรู้ว่านี่เป็นคำกล่าวของพระพุทธองค์ มิน่าประโยคสั้นแต่ความหมายครอบคลุมนัก "พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส (สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าสติแลจำปรารถนาในที่ทั้งปวง"

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
chatchai.k
วันที่ 5 ม.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ