ม้ชฌิมาปฏิปทา

 
pirmsombat
วันที่  28 ต.ค. 2553
หมายเลข  17456
อ่าน  1,875

ข้อความบางตอนจากการบรรยายธรรมโดยท่านอาจารย์ สุจินต์ บริหารวนเขตต์

ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นไม่ใช่ว่าพอได้ยินเรื่องก็จะทำ นั่นแสดงว่า ผู้นั้นยังไม่มีปัญญาของตนเองลย ต้องฟังเรื่องลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ จนกระทั่งมีความเข้าใจเพื่มขึ้นว่า ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน อย่างไร แล้วสติจึงจะเริ่มระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ซึ่งท่านผู้ฟังทุกท่านก็เป็นอย่างนี้ใช่ไหม ไม่ใช่ว่าจะปฏิบัติทันที หรือว่าอยากปฏิบัติก็ปฏิบัติได้ แต่ต้องแล้วแต่ว่า สติจะเกิดหรือไม่เกิด ถ้าขณะใดสติไม่เกิดคือขณะนั้นไม่ระลึก มีสภาพธรรมกำลังปรากฏ แต่สติไม่เกิด จึงไม่ระลึกที่ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ

แต่ว่าในขณะนี้เอง ขณะที่สติเกิด ก็คือกำลังระลึกที่ลักษณะของสภาพธรรมหนึ่งสภาพธรรมใดที่กำลังปรากฏ ในขณะนั้น ก็จะเข้าใจถูกว่า ติเกิดขึ้นทำกิจของสติ คือระลึกลักษณะของสภาพธรรม นี่คือการอบรมเจริญปัญญา โดยสติระลึกลักษณะของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ แต่ไม่ใช่มีใครที่จะทำหรือจะปฏิบัติ

ท่านที่กล่าวว่าเรื่องของการปฏิบัติเป็นเรื่องที่จะต้องเข้าใจก่อน ท่านก็บอกว่าท่านได้อ่านเรื่อง "มัชฌิมาปฏิปทา" จากหนังสือเล่มหนึ่ง ซึ่งทุกท่านที่จะอ่านหนังสือธรรมไม่ว่าเรื่องใดทั้งสิ้น ก็ควรที่จะได้รู้จุดประสงค์ของการอ่านว่า เพื่อเข้าใจให้ถูกต้อง ให้ลึกซึ้ง ให้ครบถ้วน ไม่ใช่เพียงแต่อ่าน แม้แต่คำว่า มัชฌิมาปฏิปทา ทางสายกลางถ้าแปลคือไม่ตกไปใน กามสุขัลลิกานุโยคหรืออัตตกิลมถานุโยค เพราะฉะนั้นบางท่านก็อาจจะสงสัยว่า ขณะใดจะเป็น มัชฌิมาปฏิปทา เพราะว่าพระผู้มีพระภาคฯทรงใช้คำว่า มัชฌิมาปฏิปทา ทางสายกลาง บางคนก็แปลเอง ว่าต้องพอดีๆ แต่ว่าอย่างไรจึงจะพอดี

ในขณะนี้ที่กำลังเห็น แล้วเกิดโลภะ สมมติว่าเห็นสี่งหนึ่งสี่งใด เห็นแล้วเกิดชอบใจเพลินไปอย่างยิ่ง สติปัฏฐาน เป็น มัชฌิมาปฏิปทา ขณะที่สติระลึกรู้ลักษณะ ของความพอใจ เป็นลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงๆ กำลังดูหนังดูละคร กำลังอ่านหนังสือสนุกๆ ขณะนั้นสติปัฏฐาน ระลึกลักษณะของความพอใจอย่างยิ่งในขณะนั้นซึ่งมีจริงๆ เพราะว่าเกิดขึ้นแล้ว ขณะนั้นกำลังปรากฏ เพราะเหตุใดจึงเป็น มัชฌิมาปฏิปทา เพราะว่าขณะนั้น ตัตรมัชฌัตตตา เป็นกลาง สามารถที่จะระลึกรู้ได้ว่าขณะนั้น เป็นสภาพธรรม ไม่ใช่ ตัวตน สัตว์ บุคคล

ขณะใดที่ปัญญาสามารถที่จะระลึก ศึกษา พิจารณา เข้าใจได้ว่า เป็นแต่เพียงสภาพธรรมที่มีจริง ขณะนั้นเป็นมัชฌิมาปฏิปทา เพราะว่าสามารถที่จะเป็นกลาง รู้ความจริงของสภาพธรรมในขณะนั้นได้ ว่าแม้จะเป็นโลภะอย่างแรง ก็เป็นสภาพธรรมที่ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน

เพราะฉะนั้น ปํญญาคือขณะใดที่สติ ระลึกที่ลักษณะของสภาพธรรม ตามปกติในชีวิตประจำวัน แล้วรู้ตามความเป็นจริง ต้องเป็นปัญญาที่จะรู้ได้ตามความเป็นจริงว่าลักษณะนั้นๆ เป็น นามธรรม หรือเป็น รูปธรรม ไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตนถ้ารู้อย่างนี้ นั่นคือ มัชฌิมาปฏิปทา ไม่เข้าใจผิด แต่ว่าถ้าเป็น อกุศล สภาพธรรมนั้น เป็นอะไร แล้วอาจจะรู้สึกชอบ ไม่ชอบ ลักษณะของสภาพธรรมนั้น เช่น เวลาที่เกิดโกรธ ก็อาจจะมีกายวาจาซึ่งเปลี่ยนไปจากปกติ ผู้นั้นก็รู้สึกไม่ชอบ อาการนั้น ขณะนั้นไม่ใช่ มัชฌิมาปฏิปทา เพราะว่าไม่ใช่ขณะที่ปัญญาระลึกรู้ ลักษณะของสภาพที่เป็นนามธรรม และรู้ตามความเป็นจริงว่าไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน

เพราะฉะนั้น โสภณเจตสิก ซึ่งเกิดกับกุศลจิต และโดยเฉพาะเกิดกับ สติสัมปชัญญะ ที่ระลึกลักษณะของสภาพธรรม แล้วสามารถเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมนั้นตามความเป็นจริงได้ จึงเป็น มัชฌิมาปฏิปทา ไม่ใช่ว่าจะต้องรับประทานอาหารพอดีๆ แล้วก็ไม่รู้ว่าพอดีอย่างไร จะเป็น หนึ่งจานพอดีหรือ สองจานพอดี หรือว่าจานครึ่งพอดี แล้วก็พยายามจะไปหา มัชฌิมาปฏิปทา นั่นไม่ใช่

แต่มัชฌิมาปฏิปทา ต้องเป็นกุศลจิตที่เกิดพร้อมสติสัมปชัญญะ ที่ระลึกลักษณะของสภาพธรรม แล้วเป็นกลาง คือรู้ตรงตามความเป็นจริงของสภาพธรรม ในขณะนั้น จึงจะเป็น มัชฌิมาปฏิปทา ซึ่งก็คือ สติปัฏฐาน นั่นเอง


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
pamali
วันที่ 29 ต.ค. 2553

สาธู ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 29 ต.ค. 2553

ขอบพระคุณและขออนุโมทนามากครับ

ผมเพิ่งจะทราบว่า "ทางสายกลาง" นี้ ที่จริงและถูกต้องแล้วคืออะไรก็เมื่อได้อ่านธรรมะที่ท่านอาจารย์แสดงและคุณหมอกรุณานำมาลงไว้ นี่เอง ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
pirmsombat
วันที่ 29 ต.ค. 2553

ขออนุโมทนา ขอบคุณและดีใจมากครับ ที่ คุณ จักรกฤษณ์ เข้าใจ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Nongnuch
วันที่ 30 ต.ค. 2553

Anumotana ka.

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 30 ต.ค. 2553

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
bsomsuda
วันที่ 30 ต.ค. 2553

ขอบพระคุณมาก และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
pirmsombat
วันที่ 31 ต.ค. 2553

ขอบพระคุณ และอนุโมทนาทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 20 ส.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ