การบำเพ็ญภาวนาและการปรับอินทรีย์

 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่  15 ต.ค. 2553
หมายเลข  17363
อ่าน  1,571

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 764 อีกอย่างหนึ่ง สำหรับผู้เริ่มบำเพ็ญสมาธิ ศรัทธาถึงจะมีพลังก็ใช้ได้. เมื่อเธออย่างนี้ กำหนดอยู่ จะถึงอัปปนา. ในสมาธิและปัญญาสำหรับผู้เริ่มบำเพ็ญสมาธิ เอกกัคคตา (สมาธิ) มีพลังย่อมใช้ได้. ด้วยว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอก็จะบรรลุอัปปนา. สำหรับผู้เริ่มบำเพ็ญวิปัสสนาปัญญามีพลังย่อมใช้ได้. ด้วยว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอก็จะถึงการแทงตลอดลักษณะ (พระไตรลักษณ์) . ก็เพราะทั้งสองอย่างนั้นเสมอกัน อัปปนาก็จะมีทีเดียว. ส่วนสติ มีพลัง ใช้ได้ในที่ทุกสถาน. เพราะว่าสติจะรักษาจิตไว้ได้ จากการตกไปสู่อุทธัจจะ ด้วยอำนาจของศรัทธา วิริยะและปัญญา ซึ่งเป็นฝักฝ่ายแห่งอุทธัจจะ จะรักษาจิตไว้ได้จากการตกไปสู่โกสัชชะ ด้วยสมาธิ ที่เป็นฝักฝ่ายแห่งโกสัชชะ เพราะ-ฉะนั้น สตินั้นจึงจำต้องปรารถนาในที่ทั้งปวง เหมือนในแกงทุกอย่างต้องเหยาะเกลือ และเหมือนในราชกิจทุกชนิด ต้องประสงค์ผู้สำเร็จราช-การ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ก็แลสติจำปรารถนาในที่ทั้งปวงพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว. เพราะเหตุไร? เพราะว่าจิตมีสติเป็นที่พึ่งอาศัย และสติมีการอารักขาเป็นเครื่องปรากฏ. เว้นสติเสียแล้ว การประคองและการข่มจิตจะมีไม่ได้....


เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ