เรือง จิตตั้งมั่น

 
คนรักธรรมะ
วันที่  10 ต.ค. 2553
หมายเลข  17334
อ่าน  1,482

รบกวนท่านผู้รู้ช่วยอธิบายประโยคนี้ด้วยค่ะ

ิตํ จิตฺตํ วิปฺปมุตฺตํ



  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 11 ต.ค. 2553

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระบาลีที่คุณ “คนรักธรรมะ” ยกมานั้น เป็นเพียงบางส่วนของข้อความธรรมในส่วนนั้นเท่านั้น ซึ่งคำว่า ฐิตํ จิตฺตํ วิปฺปมุตฺตํ แปลได้ว่า จิตที่ตั้งมั่น หลุดพ้นวิเศษแล้วหมายถึงจิตของพระอรหันต์เท่านั้น ที่บริสุทธิ์ ปราศจากกิเลสโดยประการทั้งปวงสำหรับข้อความเต็มๆ ในส่วนนี้ มีดังนี้ ครับ .-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ ๗๑๑

"ภูเขาศิลาเป็นแท่งทึบ ย่อมไม่หวั่นไหวด้วยลม ฉันใด รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและธรรมารมณ์ทั้งสิ้น ทั้งที่เป็น อิฏฐารมณ์ (อารมณ์ที่น่าปรารถนา) และอนิฏฐารมณ์ (อารมณ์ที่ไม่น่า ปรารถนา) ย่อมยังจิตอันตั้งมั่น หลุดพ้นวิเศษแล้ว ของภิกษุผู้คงที่ ให้หวั่นไหวไม่ได้ ฉันนั้น.

(ข้อความบางตอนจาก ... พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต โสณสูตร)

สภาพธรรมทั้งหลายทั้งปวง เป็นสิ่งที่มีจริง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (สภาพธรรมที่กระทบสัมผัสกาย) ก็เป็นสิ่งที่มีจริง ในพระไตรปิฎกแสดงว่าสิ่งเหล่านี้ เป็นโลกามิส (เหยื่อล่อประจำโลก) ไม่พ้นไปได้เลย ยังต้องประสบกับสิ่งเหล่านี้อยู่เสมอถ้าเกิดความยินดี พอใจ ติดข้อง หรือ ไม่พอใจ ไม่ชอบใจในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ในขณะใด ขณะนั้นเป็นผู้ถูกกิเลสทั้งหลายครอบงำแล้ว, ที่ติดข้องยินดีพอใจ หรือ แม้กระทั่งไม่พอใจ นั้น ไม่ใช่ความผิดของรูป เสียง เป็นต้น แต่เป็นเพราะการได้สะสมกิเลสประเภทนั้นๆ มาแล้วจึงเป็นอย่างนั้น เมื่อได้เหตุได้ปัจจัยกิเลสก็เกิดขึ้น

ส่วนผู้ที่ดับกิเลสทั้งปวงได้อย่างเด็ดขาดแล้ว ถึงความเป็นพระอรหันต์กิเลสย่อมไม่เกิดขึ้น ไม่มีการหวั่นไหวไปด้วยอำนาจของกิเลสโดยประการทั้งปวง ไม่ว่าจะกระทบกับอารมณ์ประเภทใดๆ (กล่าวคือจะเป็นอารมณ์ที่น่าปรารถนา หรือ ไม่น่าปรารถนา) ก็ตาม ดังนั้น พระอรหันต์ จึงเป็นผู้คงที่ คือ ไม่หวั่นไหวด้วยอำนาจของกิเลส เพราะดับกิเลสได้หมดแล้ว นั่นเอง ประการที่สำคัญที่ผู้ศึกษาพระธรรมควรพิจารณาอยู่เสมอ คือ เนื่องจากยังมีกิเลสอยู่นี่เอง จึงจำเป็นต้องศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม อบรมเจริญปัญญา ต่อไป เพื่อความเข้าใจถูก เห็นถูกในสภาพธรรมตามความเป็นจริง อันจะเป็นไปเพื่อการขัดเกลากิเลสในชีวิตประจำวัน จนกว่าจะเป็นผู้หมดจดจากกิเลสได้ในที่สุด

หนทางแห่งความบริสุทธิ์แห่งจิต มีอยู่ทางเดียว คือ อบรมเจริญปัญญาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ครับ.

(หมายเหตุ เนื่องจากว่า พวกเราทุกคน เป็นคนไทย เกิดในประเทศไทย ใช้ภาษาไทย เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ควรศึกษาพระธรรม ด้วยภาษาที่คนไทยเข้าใจกัน นั่นก็คือ ภาษาไทย และที่สำคัญ พระไตรปิฎก ก็มีการแปลเป็นภาษาไทย แล้ว ซึ่งสะดวกสำหรับศึกษา เพิ่มพูนความเข้าใจพระธรรม เป็นอย่างยิ่ง ครับ) ...

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
คุณ
วันที่ 12 ต.ค. 2553
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 12 ต.ค. 2553

ขอบพระคุณและขออนุโมทนา อ.คำปัน ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
napachant
วันที่ 12 ต.ค. 2553
ขอขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
prachern.s
วันที่ 12 ต.ค. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
คนรักธรรมะ
วันที่ 12 ต.ค. 2553

(หมายเหตุ เนื่องจากว่า พวกเราทุกคน เป็นคนไทย เกิดในประเทศไทย ใช้ภาษาไทย เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ควรศึกษาพระธรรม ด้วยภาษาที่คนไทยเข้าใจกัน นั่นก็คือ ภาษาไทย และที่สำคัญ พระไตรปิฎก ก็มีการแปลเป็นภาษาไทย แล้ว ซึ่งสะดวกสำหรับศึกษา เพิ่มพูนความเข้าใจพระธรรม เป็นอย่างยิ่ง ครับ)

เรียน คุณ khampan.a ค่ะ

คือจริงๆ แล้ว ไม่ถนัดบาลีเลยค่ะ ไม่เคยเรียนด้วย (อ่านที่แปลเป็นภาษาไทยก็ยังไม่ค่อยจะเข้าใจเลยค่ะ) เพียงแต่ที่ยกบาลีบางส่วนมานั้น เพราะ มีผู้ยกบาลีนี้ขึ้นมาและตีความว่า จิตพระอรหันต์ไม่เคลื่อน คือ ไม่เกิดดับ ซึ่งมีความเห็นที่แตกต่างจากที่รับทราบมา จึงอยากเรียนถามเพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้น และคำตอบของคุณ khampan.a ก็ช่วยให้ได้รับความกระจ่างดีทีเดียวค่ะ

ขอขอบคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Noparat
วันที่ 13 ต.ค. 2553

ขอบคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
pamali
วันที่ 14 ต.ค. 2553

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ที่พึ่งที่ระลึก
วันที่ 5 พ.ย. 2553
อนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ภัสร์
วันที่ 24 พ.ย. 2553

สาธุ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ